Day: September 22, 2021

รับมือกับภาวะ “ท้องผูกเรื้อรัง”

ภาวะท้องผูก เป็นอาการที่พบบ่อยในชีวิตประจำวัน มีหลายสาเหตุ การใช้ยาระบายหรือยาถ่าย ต้องระมัดระวังในผู้ป่วยที่ท้องผูกจากภาวะการอักเสบในช่องท้อง หรือกระเพาะ หรือลำไส้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ไทฟอยด์ ลำไส้อักเสบ รวมทั้งกรณีที่มีการอุดตันของลำไส้ ลำไส้ทะลุ หรือมีเลือดออก หรือผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องรุนแรงหรืออาเจียน ซึ่งต้องหาสาเหตุที่แน่นอน การใช้ยาในผู้สูงอายุหรือคนที่มีร่างกายอ่อนแอต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ภาวะท้องผูกที่จะกล่าวต่อไป เป็นภาวะท้องผูกเรื้อรังที่ไม่ได้มีโรคเฉียบพลันเป็นต้นเหตุโดยตรง ในทัศนะแพทย์แผนปัจจุบัน จะใช้ยาที่มีฤทธิ์หลักๆ ๓ อย่างด้วยกัน คือ 1. ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ 2. ยาเพิ่มปริมาณน้ำในลำไส้ 3. ยาที่ช่วยหล่อลื่นลำไส้ แต่ในทัศนะแพทย์จีนมักจะวิเคราะห์แยกโรคดังภาวะสมดุลของร่างกายเป็นหลัก และให้การรักษาอาการท้องผูก ร่วมกับสร้างสมดุลภายในของร่างกาย โดยสาเหตุใหญ่ๆ แบ่งได้ 2 ลักษณะ ซึ่งประกอบไปด้วย 1. ลักษณะแกร่ง ได้แก่ แบบร้อน และแบบพลังอุดกั้น 2. ลักษณะพร่อง ได้แก่ แบบเย็น (หยางพร่อง)  แบบพลังพร่อง และแบบเลือดพร่อง ท้องผูกเป็นภาวะการทำงานผิดปกติของลำไส้ใหญ่ ทำให้การถ่ายอุจจาระไม่คล่อง โดยทั่วไป 3-5 วัน บางครั้ง 7-8 วัน ถึงจะถ่ายอุจจาระสักครั้ง (บางรายนานถึงครึ่งเดือน) …

รับมือกับภาวะ “ท้องผูกเรื้อรัง” Read More »

กรณีศึกษา : ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย

ผู้ป่วยที่มาหาหมอด้วยปัญหาปวดท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย มีให้พบเห็นเสมอ เวลาท้องอืด ท้องเฟ้อ บางคนคิดถึง ยาหม่อง ยาลม ยาธาตุน้ำขาว ยาธาตุน้ำแดง ขมิ้นชัน ขิง หรือน้ำร้อนใส่กระเป๋าน้ำร้อน ฯลฯ ตามแต่จะมีคนแนะนำ หรือตามแต่ประสบการณ์ที่เคยทดลองกับตนเองมาแล้วได้ผล ความจริงท้องอืด ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย เป็นเพียงอาการที่แสดงออกเท่านั้น แต่สาเหตุมีด้วยกันหลายแบบ ถ้าสังเกตสักนิด จะทำให้เราเลือกวิธีการรักษาและป้องกันได้ไม่ยาก ตัวอย่างเช่น นาย ก. ปกติเป็นคนแข็งแรงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องท้องอืดท้องเฟ้อ อยู่มาคืนหนึ่งขณะเข้าโครงการลดน้ำหนักกินแต่ผัก ผลไม้ ก่อนนอนกินแตงโม แช่เย็น น้ำมะพร้าวแช่เย็น ส้มโอปริมาณมาก พร้อมดื่มชาเขียวใส่น้ำแข็งอีก 2 แก้ว แล้วเข้านอน เนื่องจากอากาศค่อนข้างร้อน ที่บ้านไม่มีแอร์ เลยเปิดพัดลมจ่อเข้าลำตัว แถมยังนอนบนพื้นปูนอีกต่างหาก นอนไปค่อนคืนตกใจตื่น เพราะคืนนั้นฝันทั้งคืน แถมยังปวดท้อง ท้องอืด เย็นๆ ในท้อง ลุกขึ้นเข้าห้องน้ำ มีการถ่ายเหลวเป็นอาหารที่ไม่ย่อย  แพทย์แผนจีนวินิจฉัยภาวะโรคของนาย ก. ว่าเป็นเพราะความเย็นกระทบทำให้พลังหยางของน้ำอุดกั้นเลือด และพลังสะดุด เกิดอาการปวดแน่นและอาหารไม่ย่อย นาย ก. กินอาหารที่มีคุณสมบัติเย็น …

กรณีศึกษา : ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย Read More »

แนวทางการรักษา โรคเครียด

หญิงวัย 20 ปี มีปัญหาเรื่องหงุดหงิดง่าย บางครั้งแน่นหน้าอกเหมือนจะขาดใจ ได้รับการรักษาด้วยยาจากจิตแพทย์มา 7 ปี อาการเป็นๆหายๆ ดีบ้างหายบ้าง บางครั้งมีหูแว่ว มีภาพหลอน ในที่สุดแพทย์ได้ตัดสินใจให้ยาตัวใหม่  ผู้ป่วยได้ยาตัวนี้มานาน 1 เดือนเศษ หลังจากกินยา มีอาการปัสสาวะรดที่นอน น้ำลายมาก เปียกที่นอนทุกคืน คุณแม่ของเด็กบังเอิญไปอ่านฉลากยาพบว่ามีข้อแนะนำให้เด็กตรวจเลือดเพื่อดูจำนวนเม็ดเลือดขาวทุก 2 เดือน คุณแม่กังวลใจมากถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับการใช้ยาเพราะไม่รู้ว่าจะใช้ไปนานอีกเท่าไหร่ ร่างกายจะดีข้นจริงหรือผลแทรกซ้อนจะเป็นอย่างไร หนทางนี้จะเป็นการรักษาที่ถูกต้องจริงหรือ หญิงวัย 38 ปี ร่างกายอ่อนแอ อ่อนเพลียง่าย เครียดง่าย คิดมาก กลัวความเย็น เวียนศีรษะบ่อยๆ ชอบง่วงนอนกลางวัน กลางคืนนอนไม่ค่อยหลับ ถ้าหลับก็จะฝันร้าย ตื่นกลางคืนแล้วหลับต่อลำบาก บางครั้งมีใจสั่น กินอาหารไม่ค่อยได้ ร่างกายดูท้วม ๆ เคยรักษาด้วยยาคลายเครียด ยานอนหลับ กลับรู้สึกว่าหลับแล้วไม่ค่อยอยากที่จะตื่น อ่อนเพลียมากขึ้น หญิงวัย 45 ปี มีความรู้สึกหงุดหงิด โมโหง่าย โดยเฉพาะเวลาหิว ถ้าไม่กินอาหารลงไปให้เพียงพออาการจะกำเริบมากขึ้น มีอาการปวดเมื่อยทั่วร่างกาย …

แนวทางการรักษา โรคเครียด Read More »

ขับเหงื่อ : ขับพิษ

ร่างกายของเราในยามปกติสุขก็มีพิษสะสมอยู่มาก พิษที่มีอยู่ในร่างกายได้มาหลายทางด้วยกัน เช่นจากอาหารที่กินเข้าไป อากาศที่หายใจ น้ำที่ดื่ม สิ่งแวดล้อม หรือเกิดจากกลไกการทำงานของร่างกายเอง ฟังดูแล้วน่าตกใจว่า เราจะอยู่ได้อย่างไร เมื่อพิษมีอยู่เต็มตัว แต่โชคดีธรรมชาติได้สร้างระบบการขับพิษแก่ร่างกาย เช่น การทำลายพิษของตับ การขับถ่ายทางอุจจาระ ขับปัสสาวะ การขับเหงื่อ การหายใจ เป็นต้น การขับพิษโดยเทคนิคการขับเหงื่อในทางศาสตร์แพทย์แผนจีนมีเนื้อหาที่น่าสนใจ การขับเหงื่อเป็นการขับพิษที่เข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังทำให้เลือดพลังในเส้นลมปราณไหลคล่อง เพิ่มการไหลเวียนเลือดส่วนผิว ทำให้สารพิษจากร่างกายขับออกได้มากขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น เป็นการป้องกันโรคและเป็นการขจัดปัจจัยก่อโรค โดยเฉพาะความเย็น ลม ความชื้น ที่กระทบจากภายนอก ประโยชน์ของการขับพิษทางเหงื่อ 1. ช่วยขจัดพิษที่สะสมในร่างกาย เวลาอาบน้ำ ถูขี้ไคล จะพบว่าคราบขี้ไคล เกิดจากเหงื่อกับเซลล์ผิวหนังที่เสื่อมตายหลุดลอก หรือกลิ่นตัวที่หมักหมม เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปร่วมทำปฏิกิริยาด้วยคนที่เป็นโรคไตที่การขับของเสียทางไตลดลง ต้องหันมาสนใจหรือใช้การขับเหงื่อช่วยอีกทางหนึ่ง 2. การขับปัจจัยก่อโรค เสียชี่ ที่อยู่ระดับผิว แพทย์แผนจีนใช้การขับเหงื่อเป็นการทะลวงขับการถูกโจมตี และการคั่งค้างของเสียชี่จากภายนอก ที่ทำให้เกิดอาการกลัวหนาว ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว เนื่องจากการกระทบลมเย็น ลมร้อน หรือลมชื้น เช่นเดียวกับยาแผนปัจจุบัน การกินยาพาราเซตามอล หรือยาแอสไพริน ทำให้ขับเหงื่อ …

ขับเหงื่อ : ขับพิษ Read More »