Day: October 27, 2021

โรคอัมพาตใบหน้า

หากมองปัญหาของโรคอัมพาตใบหน้า เราสามารถเปรียบเทียบระหว่างการแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีนได้ ดังนี้ 1. สาเหตุการเกิดโรคอัมพาตใบหน้า ที่ส่งผลให้เส้นประสาทคู่ที่ 7 อักเสบหรือบวม แพทย์แผนปัจจุบัน ให้ความสนใจไปที่การติดเชื้อไวรัส และกล่าวถึงปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้เกิดจากภาวะการกระทบความเย็นและตากลม ความเครียดทางอารมณ์ คนที่มีความดันโลหิตสูง เบาหวานหรือบาดเจ็บบนใบหน้าในขณะที่ การเปี้ยนเจิ้งของแพทย์จีน เน้นไปที่ปัจจัยภายใน พื้นฐานร่างกาย บางคนเลือดพลังพร่อง บางคนยินพร่อง หยางแกร่ง (คล้ายกับความดันโลหิตสูง) บางคนเสมหะภายในมาก ระบบการย่อยไม่ดี หรือมีเสมหะสะสมภายในนานๆ (คล้ายกับภาวะไขมันในเลือดสูง) หรือคนที่บาดเจ็บบริเวณใบหน้า (ซึ่งทำให้เส้นลมปราณหยางหมิงถูกกระทบกระเทือนเป็นพื้นฐานอยู่ก่อน)นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับปัจจัยภายนอกที่มากระทบ แพทย์จีนโบราณ ไม่มีคำว่า ไวรัส รู้จักแค่การเปลี่ยนแปลงของอากาศที่มากระทบต่อร่างกายบริเวณใบหน้า จำแนกตามอาการอัมพาตว่ามีลักษณะหน้า ปวด หย่อน ร้อน ว่าเป็นปัจจัยชนิดไหนมากระทบ แล้วทำการใช้ยาขับปัจจัยก่อโรคเหล่านั้นออกไป 2. การรักษาแผนปัจจุบัน มุ่งไปที่รักษาเพื่อลดอาการบวมและการอักเสบของเส้นประสาทคู่ที่ 7 โดยตรง ระยะเริ่มแรกให้ยาเพร็ดนิโซโลนขนาดสูง และลดขนาดลง ยาต้านไวรัสพิจารณาเป็นรายๆ ไป และปล่อยให้ร่างกายหายเองแผนจีน แบ่งแยกลักษณะอัมพาตตามสภาพพื้นฐานสมดุลของร่างกาย และปัจจัยที่ก่อโรค รักษาพื้นฐานร่างกายควบคู่กับการขับปัจจัยก่อโรค เน้นสร้างสมดุลให้ร่างกายฟื้นตัวได้ด้วยตัวเองการฝังเข็ม ด้านหนึ่งเน้นเลือกจุดบนเส้นลมปราณหยางหมิงที่หล่อเลี้ยงบริเวณใบหน้า อีกด้านหนึ่งเน้นการขับลมจากภายนอกและปรับลมภายใน เช่น จุดเหอกู่ (合谷) จุดเฟิงฉือ (风池) หรือดึงพลังหยางลงล่าง เช่น …

โรคอัมพาตใบหน้า Read More »

โรคอัมพาตใบหน้า ในทัศนะแพทย์แผนจีน

สาเหตุของการเกิดโรค1. ส่วนใหญ่เกิดจากบริเวณใบหน้ากระทบกับลมและความเย็น (风寒) เป็นการกระทบของลมต่อเส้นลมปราณจิงลั่ว (风中经络) ทำให้พลังไม่สามารถไปเลี้ยงใบหน้าได้ มีอาการอ่อนแรงของร่างกายครึ่งซีก มีอาการปากเบี้ยว ตาปิดไม่สนิท แบบเฉียบพลัน2. เส้นลมปราณหยางหมิงของขาที่วิ่งผ่านบริเวณปาก มีภาวะพร่อง ขาดพลังหล่อเลี้ยง เมื่อโดนลมกระทบ เกิดการหดตัวไม่คล่อง ลมที่กระทบมีทั้งลมเย็น ลมร้อน ลมชื้น ลมเสมหะ รวมถึงภาวะเลือดอุดกั้น ภาวะพลังและเลือดติดขัด ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปาก ตา บิดเบี้ยวได้ทั้งสิ้นการวินิจฉัยแบบเปี้ยนเจิ้ง (辨症论治)1. ลมกระทบจากภายนอก ทำให้เกิดอัมพาตที่ใบหน้า (风邪外袭)ลมรวมกับปัจจัยก่อโรคอาจเป็นความเย็น ความร้อน ความชื้น เมื่อมากระทบบริเวณใบหน้า คือ เส้นพลังลมปราณของหยางหมิงที่ควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าส่วนใหญ่ ทำให้เลือดและพลังไหลเวียนไม่คล่อง กล้ามเนื้อที่ตาและปากอ่อนแรง ทำให้บิดเบี้ยวเพราะไม่มีกำลัง การรับความรู้สึกบนใบหน้าผิดปกติกระทบ ลมเย็น-กล้ามเนื้อใบหน้าปวดเกร็ง เพราะความเย็นทำให้หดตัวกระทบ ลมร้อน-กล้ามเนื้อใบหน้าหย่อน ผิวหนังร้อนแดงกระทบ ลมชื้น-กล้ามเนื้อใบหน้า หน้าบวม บางครั้งมีอาการปวดร่วมด้วย2. ลม ตับ เคลื่อนไหวภายใน (肝风内动)มีอาการอัมพาตใบหน้า ร่วมกับมีพื้นฐานร่างกายเป็นคนที่มีภาวะตับแกร่งหรือยินพร่อง-หยางแกร่ง มักมีอาการเวียนศีรษะ แขนขาชา ภาวะหยางที่มากเกินไปทะลวงผ่านเส้นลมปราณหยางหมิงบริเวณใบหน้า ทำให้ใบหน้าแดงก่ำ เวียนศีรษะมากขึ้น ผู้ป่วยมักมีลิ้นแดงออกม่วง ชีพจรเร็วและตึงมีกำลัง ฝ้าบนลิ้นเหลือง หรือมีฝ้าบนลิ้นน้อย ตัวลิ้นแห้ง3. ลมเสมหะอุดกั้นเส้นลมปราณ (风痰阻络)มีอาการอัมพาตบริเวณใบหน้า ร่วมกับพื้นฐานร่างกายที่บ่งบอกว่ามีเสมหะอุดกั้น กล่าวคือ …

โรคอัมพาตใบหน้า ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »