บริการ

ความสำคัญของหัวใจ ในทัศนะแพทย์แผนจีน

หัวใจเป็นหนึ่งในอวัยวะตัน มีเยื่อหุ้มหัวใจปกคลุมห่อหุ้มอยู่ภายนอก หัวใจเปรียบเสมือน จ้าวแห่งชีวิต (生命之主宰) เป็นแกนหลักของอวัยวะภายในทั้งหมด(五脏六腑之大主) 1. อวัยวะหัวใจ สัมพันธ์กับจิตใจ ความนึกคิด การรับรู้และการตอบสนอง จึงสามารถมองการทำงานของหัวใจจากแววตา สีหน้า ราษี ความมีชีวิตชีวา การรับรู้ตอบสนองต่อสื่งกระตุ้น อวัยวะรับความรู้สึก หู ตา จมูก ลิ้น – หัวใจที่เป็นเลือดเนื้อ(血肉之心) ความหมายใกล้เคียงกับอวัยวะหัวใจทางกายวิภาค อยู่ในช่องอกระหว่างปอดและตับ แนวระดับกระดูกสันหลังที่ 5 – หัวใจที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดหรือจิตใจ (神明之心) ทำหน้าที่ในการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นภายนอก ความรู้สึกตัว การรับรู้ การคิด อารมณ์ ฯลฯ 2. หัวใจกำกับหลอดเลือดชีพจร (心主血脉) การทำหน้าที่ที่สมบูรณ์ของหัวใจอาศัย 3 ปัจจัยที่สำคัญ คือ พลังหยางของหัวใจที่สมบูรณ์เต็มเปี่ยม เป็นตัวกำหนด แรงบีบตัว อัตราการเต้นและจังหวะการเต้นของหัวใจ เลือดที่เพียงพอและคุณภาพเลือดที่ดี กำหนดปริมาณเลือดที่ไหลเวียนในเส้นเลือด ทางเดินเลือดไม่ติดขัด กำหนดการไหลเวียนที่คล่องตัวเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย 3. หัวใจกำกับหลอดเลือดชีพจร ความอุดมสมบูรณ์แสดงออกบนใบหน้า เปิดทวารที่ลิ้น   …

ความสำคัญของหัวใจ ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

เรื่องของแพทย์ชั้นสูง แพทย์ชั้นกลาง และแพทย์ชั้นล่าง

เปี่ยนเชวียะ扁鹊 (ก่อน ปีค.ศ.407 – 310) เป็นแพทย์จีนที่มีชื่อเสียง ได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานหลักการตรวจจับชีพจรแบบแพทย์จีน ครั้งหนึ่ง เว่ยเวินหวาง (魏文王) กษัตริย์แห่งรัฐฉินในสมัยชุ่นชิวจ้านกว่อ ( 春秋战国the Warring States period (475-221 BC) ได้สอบถามเปี่ยนเชวียะในข้อข้องใจบางประการ  เว่ยเวินหวางถาม “ในครอบครัวของเจ้ามีพี่น้อง 3 คน ล้วนแต่เป็นแพทย์ที่มีฝีมือยอดเยี่ยม ถึงที่สุดแล้วทั้ง 3 คนใครเก่งที่สุด?” เปี่ยนเชวียะตอบว่า  “พี่ชายคนโตเก่งที่สุด พี่คนรองเก่งรองมา ส่วนข้าพเจ้าเก่งน้อยที่สุด” เว่ยเวินหวางถามต่อ “แล้วเหตุใด เจ้าจึงเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเล่า?” เปี่ยนเชวียะตอบ “พี่ชายคนโตรักษาโรคก่อนเกิดโรค คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเขาได้ขจัดต้นเหตุและเงื่อนไขต่างๆเพื่อไม่ให้เกิดโรค ชื่อเสียงความสามารถของเขาจึงไม่มีคนรู้ มีแต่คนในครอบครัวเท่านั้นที่รับรู้ ส่วนพี่ชายคนกลางรักษาโรคเมื่อโรคเพิ่งแสดงอาการเริ่มแรก คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นการรักษาโรคง่ายๆ จึงมีชื่อเสียงในหมู่บ้าน ส่วนข้าพเจ้ารักษาเมื่อเป็นโรคเมื่อโรคลุกลามและมีความรุนแรงแล้ว คนทั่วไปเห็นข้าพเจ้าใช้เข็ม ใช้การปล่อยเลือด ใช้ยาทาพอกภายนอก ทำให้เข้าใจว่าเป็นแพทย์ฝีมือยอดเยี่ยม ชื่อเสียงจึงระบือไกลทั่วประเทศ” สรุปได้ว่า พี่ชายคนโต ใช้แค่การมองพลังชีวิต บ่งบอกถึงสภาพร่างกายโดยองค์รวม ก็หาแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพ ดูแลตั้งแต่โรคยังไม่ก่อตัว เป็นการหามาตรการเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา …

เรื่องของแพทย์ชั้นสูง แพทย์ชั้นกลาง และแพทย์ชั้นล่าง Read More »

เปรียบเทียบการรักษา แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน

ในมุมมองของแพทย์แผนจีน ปัจจัยของการเกิดโรคที่มีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน (จั้งฝู่) โดยตรงคือปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ แพทย์แผนจีนอธิบายว่าอารมณ์ทั้ง 7 (โมโห ดีใจ กังวล เศร้าโศก เสียใจ ตกใจ กลัว) มีผลโดยตรงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการทำงานของอวัยวะภายในที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของร่างกาย เปรียบเทียบการรักษาระหว่างแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน1. ปัญหาการนอนไม่หลับผู้ป่วยบางรายเมื่อได้ยานอนหลับแบบแพทย์แผนปัจจุบัน กลับไม่หลับ แต่ถ้าให้ยานอนหลับที่แรงมาก จะหลับและเพลียตลอดทั้งวัน มึนงงทั้งวัน แพทย์แผนปัจจุบันเน้นการคลายหรือกดประสาท แต่แพทย์แผนจีนมองว่าต้องบำรุงประสาท (บำรุงพลังและเลือดของหัวใจ) ให้มีกำลังพอเป็นหลัก เสริมฤทธิ์ด้วยยาสมุนไพรจีนช่วยนอนหลับเป็นด้านรอง มีแต่การบำรุง (เพราะพลังหัวใจพร่องมาก) เป็นหลักเท่านั้นจึงทำให้หลับ ถ้ายังไปใช้วิธีการกดประสาท พลังหัวใจจะยิ่งอ่อนแอมากขึ้น ไม่สามารถแก้ปัญหาระยะยาวได้2. ปัญหาระบบย่อยอาหารแพทย์แผนปัจจุบันเน้นที่การกระตุ้นความอยากอาหาร ใช้ยาช่วยย่อยอาหารและเสริมบำรุงวิตามิน ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก กรณีโลหิตจาง แพทย์แผนจีนเน้นบำรุงระบบม้าม เพื่อทำให้ความอยากอาหาร การย่อยและดูดซึมอาหารทำงานดีขึ้น ก่อน การบำรุงด้วยธาตุเหล็กหรือวิตามิน ในขณะที่ระบบย่อยอาหารไม่ดี จะทำให้ไม่สามารถดูดซึมได้ บางรายกลับท้องเสีย ปวดท้องเนื่องจากระคายเคืองจากธาตุเหล็กที่ได้ เมื่อพลังม้ามดีขึ้น การลำเลียงอาหารไปสมองดีขึ้น สมองได้อาหารหล่อเลี้ยง จะไม่มึนงง สมาธิดีขึ้น สมองได้รับการบำรุง 3. ภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติถ้าพบว่าเกล็ดเลือดต่ำโดยไม่พบสาเหตุ ทางแพทย์แผนปัจจุบันอาจพิจารณาใช้ยาสเตียรอยด์ …

เปรียบเทียบการรักษา แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน Read More »

กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

ศาสตร์การแพทย์แผนจีนเป็นการแพทย์แผนโบราณของชาวฮั่นที่มีมากว่า 5,000 ปี สำนักการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขให้ข้อมูลว่า องค์ประกอบหลักของการแพทย์แผนจีนคือ การวินิจฉัยหรือการบอกโรค การรักษาด้วยการฝังเข็ม การใช้ยาสมุนไพร การนวดทุยหนา ชี่กง และอาหารที่เป็นยา โดยหลักพื้นฐานของการแพทย์แผนจีนจะเกี่ยวข้องกับหยินหยาง การเดินลมปราณ ลักษณะของอวัยวะส่วนต่างๆ ตลอดจนโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท การแพทย์แผนปัจจุบันอธิบายว่าเกิดจากการเสื่อมของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งเกิดจากอายุที่มากขึ้น รวมถึงอาจมาจากการยกของหนักผิดท่า ตลอดจนอุบัติเหตุกระแทกบริเวณกระดูกสันหลังบ่อยๆ ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้นจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการทรุดตัวของโครงสร้างกระดูกตามไปด้วย ทำให้เกิดกระดูกงอกหรือหินปูนขึ้นมาเพื่อต้านการทรุดตัว  โดยปกติแล้วกระดูกงอกที่ร่างกายสร้างขึ้นมาใหม่ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่บางรายเกิดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทและทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาทของร่างกายได้ โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเป็นๆ หายๆ เป็นเวลานาน และปวดขาตั้งแต่บริเวณสะโพกร้าวไปบริเวณน่องและเท้า ทางร่วม…รักษาโรค  ในการรักษาผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ต้องดูการตรวจเอกซเรย์กระดูกว่ามีลักษณะ อย่างไร มีการกดทับของกระดูกมากน้อยแค่ไหน ถ้ากดทับไม่มากก็ไม่จำเป็นต้องรับการผ่าตัดซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูง และเสี่ยงว่าผลที่ได้รับอาจไม่ดีอย่างที่คาดคิด  สำหรับแพทย์แผนจีน สิ่งสำคัญในการรักษาผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทคือ การทำให้ร่างกายของผู้ป่วยกลับมาอยู่ในภาวะสมดุล สำหรับผู้ที่ถูกกดทับมาก และจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด หรือเคยผ่านการผ่าตัดมาแล้ว สามารถใช้การแพทย์แผนจีนร่วมกับการรักษาแผนตะวันตกเพื่อฟื้นฟูความสมดุลของร่างกายได้ด้วย “อาการปวดของผู้ป่วย เกิดจากการไหลเวียนของเลือดและพลังลมปราณติดขัด ดังนั้นในการบรรเทาอาการปวด เราจะเน้นกระตุ้นให้การไหลเวียนเลือดและพลังเดินได้คล่อง ซึ่งสาเหตุการติดขัดต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป อาจเกิดจากลม ความเย็น ความชื้น เลือดหรือพลังอุดกั้น และพิจารณาภาวะพร่องของร่างกายว่ามีจุดอ่อนที่ส่วนไหน เพื่อทำให้เกิดความสมดุล” …

กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท Read More »

น้ำปัสสาวะ นํ้ามหัศจรรย์รักษาโรค

เรื่องของน้ำปัสสาวะสามารถรักษาโรคได้สารพัด ถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณะอย่างครึกโครมเป็นระยะๆ จำได้ว่า ขึ้นเป็นข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2535 โดยบรรยายสรรพคุณว่าสามารถรักษาโรคได้ ตั้งแต่โรคง่ายๆ เช่น หวัดไปจนถึงโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง โดย การศึกษาวิจัยของสถาบัน MCL (miracle cup of liquid แปลว่า น้ำในถ้วยมหัศจรรย์) ของญี่ปุ่น ขณะเดียวกันก็พบว่า มีการตื่นตัวแปลหนังสือเผยแพร่เป็นภาษาต่างประเทศทั่วโลกในขณะที่แพทย์สมัยใหม่หลายคนออกมาคัดค้านว่า ความเชื่อในเรื่องน้ำปัสสาวะเป็นน้ำมหัศจรรย์ ไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน ความวิเศษตามที่กล่าวอ้างในชีวิตจริง ผู้เขียนเคยพบเห็นผู้ที่ใช้น้ำปัสสาวะเพื่อรักษาโรคเรื้อรัง ของตนเองตามความเชื่อ เนื่องจากผู้ป่วยพบว่าไม่สามารถหาทางออกได้จากการรักษาโดยการแพทย์แผนปัจจุบัน จึงตัดสินใจลองรักษาตัวเองโดยวิธีนี้ บทความที่จะเขียนต่อไปนี้ คงไม่สามารถให้คำตอบที่เบ็ดเสร็จว่า น้ำปัสสาวะจะสามารถแก้ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บบางอย่าง ตามที่มีผู้กล่าวอ้างจริงหรือไม่ ในขณะเดียวกัน ก็ไม่อาจจะสรุปลงไปเลยว่า น้ำปัสสาวะ ไม่มีคุณค่าใดๆเลยต่อการรักษาโรค บทความนี้ทำหน้าที่เสนอ เล่าสู่กันฟังถึงความเชื่อ และการใช้ น้ำปัสสาวะมารักษาโรคที่การแพทย์แผนจีนได้มีการบันทึกกล่าวไว้เพื่อเป็นข้อมูลในการเข้าใจถึงประสบการณ์ของคนจีน คงจะเป็นประโยชน์ แก่ผู้สนใจไม่มากก็น้อย การรักษาโรคด้วยน้ำปัสสาวะ หมายถึง การนำน้ำปัสสาวะของคนหรือสัตว์ (ส่วนที่เป็นน้ำใสและองค์ประกอบในน้ำปัสสาวะ) มา ใช้ดื่มเพื่อเข้าสู่ภายในร่างกาย หรือใช้ภายนอกในการรักษาโรคที่ได้มีการสืบทอดกันมา ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยน้ำปัสสาวะบันทึกไว้ว่า …

น้ำปัสสาวะ นํ้ามหัศจรรย์รักษาโรค Read More »

โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ น้ำเหลืองเสีย

โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ เป็นโรคผิวหนังอักเสบที่เป็นๆ หายๆ  มักจะมีแนวโน้มทางพันธุกรรมอยู่เป็นพื้นฐาน เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน ระบบน้ำเหลือง  ระบบฮอร์โมนประสาทแปรปรวน โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้มักไม่ได้เกิดจากการแพ้อาหาร หรือสารเคมีอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เกิดจากผิวหนังของผู้ป่วยไวต่อสภาพแวดล้อมรอบตัว ทั้งความร้อน  ความเย็น  ความแห้ง ความชื้น เชื้อโรค และสารเคมีที่มาสัมผัสกับผิวหนัง  บางรายมีการอักเสบ ติดเชื้อ มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม หรือที่เรียกกันว่า “น้ำเหลืองเสีย” หรือ “น้ำเหลืองไม่ดี”โดยส่วนใหญ่จะเป็นอาการของเลือดเป็นพิษ “ระบบน้ำเหลือง” มีหน้าที่ช่วยรักษาความสมดุลของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย  ระบบน้ำเหลืองทำงานร่วมกับระบบภูมิคุ้มกันในการต่อต้านและทำลายเชื้อโรค รวมทั้งการขับของเสียต่างๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับระบบการไหลเวียนของเลือด เพื่อที่จะลำเลียงสารอาหาร ออกซิเจน และฮอร์โมนจากเซลล์เม็ดเลือดต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นไปยังเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย  รวมทั้งช่วยในการขับของเสีย ของเหลวส่วนเกิน เซลล์เม็ดเลือดที่ตายแล้ว เชื้อโรคต่างๆ เซลล์มะเร็ง และสารพิษให้ออกจากช่องว่างเนื้อเยื่อของร่างกาย โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้-น้ำเหลืองเสียในมุมมองแพทย์แผนจีน สาเหตุเกิดจากปัจจัย สองด้าน คือปัจจัยภายในซึ่งเป็นพื้นฐานของร่างกายที่มีภาวะเลือดพลังยินและหยางเสียสมดุลทำไวต่อการกระตุ้น และปัจจัยภายนอกที่มากระตุ้น ได้แก่ สิ่งที่กระตุ้นทางผิวหนัง  ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ทำให้เกิดพิษสะสมในร่างกาย หลักการรักษาคือการขับลม ขับพิษระบายร้อน สลายความชื้น  ควบคู่กับการปรับสมดุลร่างกาย ในด้านอาหารเน้นการรับประทานอาหารรสจืดและไม่เหนียวข้น(ใส) …

โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ น้ำเหลืองเสีย Read More »

อาหารสมุนไพรป้องกัน โรคหัวใจและหลอดเลือดแข็งตัว

คนอายุมาก มักจะมีปัญหาเรื่องของหลอดเลือดแข็งตัว  จากสาเหตุความเสื่อมตามอายุขัยหรือจากโรคความดันโลหิตสูง  โรคไขมันในเลือดสูง  เบาหวานที่เป็นมาหลายปี แม้ว่าจะได้รับการบำบัดดูแลรักษาอย่างดีด้วยยามาอย่างต่อเนื่องก็ตาม                          หลอดเลือดแข็งตัว   ทำให้อวัยวะสำคัญๆ เกิดปัญหาได้ง่าย  เช่น  สมอง  หัวใจ  ไต หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองแข็งตัว  มีโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก  เกิดอัมพฤกษ์อัมพาต  อีกทั้งทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ง่าย  หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจแข็งตัว ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย,  หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน ทำให้หัวใจขาดเลือด   หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสื่อมแข็งตัว  ทำให้ไตฝ่อ  ไตทำหน้าที่น้อยลง เกิดภาวะไตวาย หลอดเลือดทั่วร่างกายแข็งตัว  อวัยวะต่างๆทุกส่วนของร่างกายขาดเลือดหล่อเลี้ยง   เกิดอาการไม่สบายทั้งตัว  ปลายมือปลายเท้าชา  กล้ามเนื้ออ่อนแรง  ร่างกายอ่อนเพลีย การดูแลหลอดเลือดให้แข็งแรง  ยืดหยุ่น  ควบคุมภาวะความดันสูง จึงเป็นการดูแลสมอง , หัวใจ และสุขภาพโดยรวม ปรมาจารย์แพทย์จีน หลี่สือเจิน ( 李时珍 )  กับ เคล็ดลับอาหาร ป้องกันรักษาโรคสมอง ด้วยอาหารและสมุนไพรหลายตัว เช่น 1.เก๋อเกิน  (葛根) บางคนเรียกว่า โสมภูเขา  ( 山人参 ) …

อาหารสมุนไพรป้องกัน โรคหัวใจและหลอดเลือดแข็งตัว Read More »

อาหารสมุนไพรจีน สำหรับ ภาวะง่วงนอนและหลับมากผิดปกติ

เรื่องของความผิดปกติของการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นการนอนไม่หลับ ฝันบ่อย การหลับมากผิดปกติ แพทย์แผนจีนมองว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอวัยวะภายในของร่างกายทั้งสิ้น การรักษาภาวะดังกล่าวจึงต้องใช้หลักการปรับสมดุลตามสภาพปัญหาของแต่ละบุคคล แพทย์แผนจีนอธิบายว่า “พลังเว่ยชี่เคลื่อนออกสู่ภายนอก(เส้นลมปราณหยาง)ก็ทำให้ตื่น  พลังเว่ยชี่เคลื่อนเข้าสู่อวัยวะภายใน ก็ทำให้นอนหลับ” (卫气行于阳则寤,卫气行于阴则寐  ) ช่วงกลางวัน ธรรมชาติของพลังแสงอาทิตย์จะส่งเสริมการขับเคลื่อนพลังเว่ยชี่ (卫气)ของร่างกายออกสู่ภายนอก  ช่วงกลางวันคนส่วนใหญ่จึงมีการตื่นนอนและความกระปรี่กระเปร่า ช่วงเวลากลางคืนพลังเว่ยชี่(卫气)จะเคลื่อนไหวกลับเข้าสู่ภายใน  ทำให้ร่างกายภายนอกขาดความตื่นตัวเข้าสู่ภาวะง่วงเหงาหาวนอนอยากจะหลับ กล่าวสำหรับคนที่มีภาวะง่วงนอนและหลับมากผิดปกติ มักพบในคนอ้วนคนอ้วนซึ่งจำแนกตามศาสตร์แพทย์แผนจีนที่พบบ่อยมีอยู่ 2 ประเภท 1. คนอ้วนประเภทเสมหะความชื้นภายในตกค้างสะสม (痰湿内盛) เนื่องจากระบบม้ามอ่อนแอ ทำหน้าที่ในการย่อยและลำเลียงอาหารได้ไม่ดี หรือเรียกว่าพลังส่วนกลางพร่อง  ทำให้การลำเลียงสารอาหารที่ย่อยสลายไปสู่ส่วนบนไม่ดีพอ โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ พลังเว่ยชี่(卫气)ที่อยู่ภายนอกจะถูกดึงจากภายนอกเพื่อไปช่วยในการย่อยดูดซึมและลำเลียงอาหารทำให้พลังที่ผิวภายนอกลดลงอย่างมาก   ผลที่ตามมาคือเกิดการง่วงนอน ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการอื่น ๆ ร่วมเช่น สีหน้าไม่ค่อยมีชีวิตชีวา ศีรษะและหนังตาจะหนักๆ  หน้าอกหน้าท้องมักจะแน่นอึดอัด เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย  2. คนอ้วนประเภทหยางหัวใจและไตพร่อง (心肾阳虚) ขาดพลังความร้อน-ทำให้เกิดความอบอุ่นกับร่างกายผู้ป่วยมักมีใบหน้าขาดความมีชีวิตชีวา อ่อนเพลีย ไม่ค่อยอยากจะเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายเพราะเหนื่อยง่าย แขนขามักจะเย็น ชีพจรเล็ก ไม่มีกำลัง ร่างกายอ่อนแอ เมื่อพลังโดยรวมของร่างกายน้อยลง พลังเว่ยชี่(卫气) เกี่ยวข้องกับการตื่นตัวและการใช้ขับเคลื่อนกิจกรรมการดำเนินชีวิตในภาวะปกติก็น้อยลงด้วย  จึงทำให้เกิดอาการง่วงนอนตลอดเวลา  ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักเป็นคนที่มีโรครุนแรงมาก่อน แล้วไม่รับการดูแลฟื้นฟูที่ดีพอ …

อาหารสมุนไพรจีน สำหรับ ภาวะง่วงนอนและหลับมากผิดปกติ Read More »

การนอนหลับที่ดี ต้องมีคุณภาพ

การนอนหลับที่ดีต้องเป็นการนอนหลับที่ลึก จึงจะเป็นการนอนหลับที่มีคุณภาพ บางคนหลับๆ ตื่นๆ ตกใจตื่นง่าย แม้มีเสียงรบกวนจากภายนอกเพียงเล็กน้อย บางคนนอนหลับแต่ฝันตลอดทั้งคืน (เป็นการหลับตื้น ไม่มีคุณภาพ) ลักษณะของความฝันก็บ่งบอกภาวะสุขภาพร่างกาย และจิตใจได้เหมือนกัน มาดูกันว่า คุณเป็นคนหลับตื้นหรือหลับลึก และหลับมีคุณภาพหรือไม่1. ใช้เวลาเข้าสู่การหลับเร็วหรือไม่ บางคนพอล้มตัวนอนก็หลับทันที ถือว่าเป็นคนหลับได้เร็ว2. กลางคืนหลับรวดเดียวถึงเช้า ไม่มีการตื่นนอนตอนกลางดึก เรียกว่าหลับได้ตลอดคืน3. ไม่ค่อยฝัน เวลาตื่นนอน มักจะจำเรื่องราวในความฝันไม่ได้4. หลังตื่นนอน รู้สึกร่างกายผ่อนคลายทั่วตัว สดชื่นมีชีวิตชีวา เรียกว่าตื่นนอนแล้วรู้สึกสดชื่น5. ช่วงกลางวัน รู้สึกทำงานมีประสิทธิภาพ สมองปลอดโปร่งถ้าการนอนหลับของเราเข้าอยู่ในเกณฑ์ 5 ข้อ มากที่สุด แสดงว่าการนอนหลับมีประสิทธิภาพ มีการหลับลึก ช่วงเวลาของการฝันก็สำคัญ?  – ช่วงเวลา ๐๑.๐๐-๐๓.๐๐ น. พลังวิ่งเส้นลมปราณตับ ตับในทางแพทย์จีน เกี่ยวข้องกับจิตสำนึกด้านความมีเหตุมีผล ความมีสติ (肝魂跟理智,理性相关) การฝันในช่วงดังกล่าว จึงมักเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเหตุและผล – ช่วงเวลา ๐๓.๐๐-๐๕.๐๐น. พลังวิ่งเส้นลมปราณปอด ปอดในทางแพทย์จีน เกี่ยวข้องกับสัญชาตญาณ (肺魄跟本能相关) การฝันในช่วงดังกล่าว จึงมักเกี่ยวข้องกับเรื่องของสัญชาตญาณ …

การนอนหลับที่ดี ต้องมีคุณภาพ Read More »

เหงื่อออกกลางคืน แก้อย่างไร

หนึ่งในคำถามที่เจอบ่อยๆคือ เหงื่อออกในเวลากลางคืน ทั้งๆที่นอนในห้องปรับอากาศ เหงื่อมักจะออกตามแนวกระดูกสันหลัง ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร และจะแก้ไขอย่างไร ตัวอย่างคนไข้ ดิฉันอายุ 48 ปี ผ่าตัดมดลูกและรังไข่ 2 ข้าง ตั้งแต่ปี 2535 กินฮอร์โมนวันละ 1 เม็ด ปีแรกๆๆๆไม่ค่อยกิน แต่ต่อมากินเกือบทุกวัน2 ปีที่ผ่านมา กินแคลเซียมเสริมมแบบใส่น้ำฟู่ ขนาด 500 มิลลิกรัม วันละ 2 – 3 เม็ด 2 เดือนที่แล้วเปลี่ยนมากินโยเกิร์ตแบบครีม มื้อละ 1 กระป๋อง วันละ 3 กระป๋อง และก่อนนอนบางคืนเพิ่มแคลเซียมเสริม 1 เม็ด พร้อมยาเคลือบกระเพาะ 2 เม็ด เพราะกินแล้วจะระคายกระเพาะ แต่ถ้ากินแคลเซียมเสริมวันละ3 เม็ด เล็บกลับไม่มีปัญหาค่ะ แต่ถ้าไม่กินแคลเซียมเสริมหรือโยเกิร์ต เล็บจะเปราะแตกมาก ภายใน 2 วัน สีเล็บปกติ ดิฉันอยากจะเรียนถามคุณหมอดังนี้ค่ะ1. …

เหงื่อออกกลางคืน แก้อย่างไร Read More »

ปวดหัวไหล่ สกัดจุดที่หน้าแข้ง

เรื่องพลังบนเส้นลมปราณ การฝังเข็มหรือกดจุด (ซึ่งต้องกดให้ลึกพอ) นอกจากจะสามารถทะลวงให้พลังไหลเวียนคล่องเพื่อรักษาโรคต่างๆ ตามแนวทางเดินของเส้นแล้วยังมีปรากฏการณ์แปลกๆ คือการรักษาพลังลมปราณข้ามเส้น ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยปวดเอว สามารถใช้การฝังเข็มหรือกดจุดที่บริเวณเหนือข้อมือทำให้อาการปวดเคล็ดเอวทุเลาลงได้ผู้ป่วยปวดต้นคอ สามารถฝังเข็มหรือสกัดจุดที่บริเวณมือ ทำให้หายคอเคล็ดได้ผู้ป่วยปวดหัวไหล่ ฝังเข็มสกัดจุดบนหน้าแข้ง ทำให้หายปวดหัวไหล่ได้ผู้ป่วยหญิงมีอาการปวดหัวไหล่ซ้าย ยกแขนไม่ถนัด มีอาการปวดตึง มือไขว้หลังไม่ได้ เป็นมาประมาณ 2-3 วัน กินยาแก้ปวดแล้วอาการไม่ค่อยทุเลา แพทย์ให้การวินิจฉัยว่า เนื้อเยื่อรอบหัวไหล่อักเสบ ไปหาหมอฝังเข็ม หมอฝังเข็มตรวจคลำจุดบริเวณหน้าแข้งซ้ายและขวา พบว่ามีจุดกดเจ็บบริเวณหน้า แข้งขวามากกว่าซ้าย กดแล้วผู้ป่วยจะเจ็บมาก หมอฝังเข็มใช้ เข็มยาวประมาณ 3 นิ้ว แทงลงบนจุดนั้นลึกประมาณ 1.5 นิ้ว กระตุ้นเข็มขึ้นลงและหมุนอย่างแรง จนผู้ป่วยเกิดความรู้สึกหนักๆ หน่วงๆ เสียวๆ (ความรู้สึกว่าพลังลมปราณเคลื่อน) กระตุ้น 3 นาที คาเข็มไว้ 20 นาที ระหว่าง 20 นาทีกระตุ้นเป็นระยะ 2-3 ครั้ง ระหว่างกระตุ้นให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวแขนไปด้วย หลังจากการฝังเข็ม จะพบว่ามีผู้ป่วยหายปวดและเคลื่อน ไหวหัวไหล่ได้คล่องทันที (บางรายที่เป็นมากอาจต้องใช้การฝังเข็มแบบนี้หลายครั้ง หรือต้องเสริมการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เพิ่ม)ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น การปวดหัวไหล่สามารถทุเลาหรือ …

ปวดหัวไหล่ สกัดจุดที่หน้าแข้ง Read More »

ปวดประจำเดือน สัญญาณเตือนเนื้องอก

อาการปวดประจำเดือน สำหรับผู้หญิงหลายคนอาจจะมองเป็นเรื่องธรรมดาที่พบได้ทั่วไป โดยเฉพาะในวัยรุ่นสาวๆ แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า อาการปวดประจำเดือนในวัยรุ่นสาวๆ หรือแม้กระทั่งวัยเลยคำว่า “สาว” มานานแล้ว แต่ยังมีอาการปวดประจำเดือนอยู่นั้น คือสัญญาณเตือนภัยที่น่ากลัว บางคนเมื่ออายุยังน้อยๆ และมีอาการปวดประจำเดือน เมื่อไปตรวจส่วนใหญ่ก็คงจะไม่พบความผิดปกติอะไร แต่หากอายุมากขึ้นและยังปวดประจำเดือนอยู่ คราวนี้ไปตรวจอาจพบว่ามีก้อนเนื้องอกเกิดขึ้น วิธีคิดแบบนี้หมายความว่า เนื้องอกป้องกันลำบาก เพราะเมื่ออายุมากขึ้นก็จะต้องเกิด ถ้าเป็นมากก็ตัดออก หรือในบางรายที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกงอกผิดที่ บางทีก็มีพังผืดยึดเกาะ บ้าง ยึดติดกับลำไส้ ก็ตัดได้ลำบาก แต่บางคนที่อายุสูงขึ้นกว่านั้น มองว่าไม่ใช้มดลูกแล้วก็อาจจะพิจารณาตัดมดลูกยกออกออกทั้งยวงเลย ประเด็นสำคัญก็คือ เนื้องอกที่เกิดขึ้นนั้น หากพิจารณากันให้ดีๆ มองให้ต่อเนื่องจะเห็นว่า จริงๆ แล้วคนส่วนใหญ่ในช่วงระยะแรกๆ ก็ยังไม่เป็นก้อนเนื้องอก เพียงแต่เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งมักจะมาตรวจพบในภายหลัง ซึ่งเนื้องอกที่เกิดขึ้นมานี้ ก็คือผลที่ต่อเนื่องมาจากอาการเล็กๆ น้อยๆ ที่แสดงออกให้เห็นในช่วงแรกๆ เช่น อาการปวดประจำเดือนนั่นเอง ซึ่งในทางแพทย์จีนเชื่อว่า สาเหตุใหญ่ๆ ของการเกิดเนื้องอกที่มีสัญญาณเตือนจากภาวะปวดประจำเดือนนั้น มักจะเกิดจากความไม่สมดุลของร่างกายที่มีพื้นฐานหลักๆ อยู่ 3 แบบคือ 1.กลุ่มที่มีเลือดและพลังพร่อง หรือเลือดและพลังไม่พอ คนกลุ่มนี้ในเวลาปกติมักจะเป็นคนที่มีประจำเดือนน้อยอยู่แล้ว หน้าตามักจะซีดเซียว ใบหน้าดูไม่ค่อยมีสีเลือด ลิ้นมักจะมีสีออกซีดๆ ถือเป็นกลุ่มที่มีพื้นฐานเป็นคนที่มีเลือดและพลังไม่พอ มักเป็นคนที่เหนื่อยง่าย …

ปวดประจำเดือน สัญญาณเตือนเนื้องอก Read More »

ไขมันพอกตับ กับการรักษาด้วย แพทย์แผนจีน

“ไขมันพอกตับ” โรคที่เกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โรคอ้วน ยา สารพิษ การขาดสารอาหาร โรคเบาหวาน โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาของตับ ทำให้มีการสะสมของไขมันที่ตับมากเกินไป ปัจจุบันแม้ว่าระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่เกิดปัญหาด้านอาหารและมาตรการการป้องกัน ทำให้อัตราการเกิดไขมันในตับยังคงเพิ่มขึ้น และพบในกลุ่มคนที่มีอายุน้อยลง ซึ่งปัจจุบันไขมันสะสมในตับเป็นโรคที่พบบ่อยจนกลายเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้คน อัตราการเกิด ไขมันพอกตับ ในประเทศจีนสูงถึง 8.4 – 12.9 % ซึ่งพบบ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ มักพบมากในผู้สูงอายุ ที่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือ 40 – 50 ปี ไขมันพอกตับ จัดว่าเป็นโรคไม่ร้ายแรงเฉกเช่นมะเร็ง มักค่อยๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยา มีอัตราถึง 25% และ 1.5 – 8% ของผู้ป่วยอาจพัฒนาไปสู่โรคตับแข็ง ซึ่งในที่สุดการทำงานของตับจะล้มเหลวจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงไม่ควรละเลยที่จะให้ความสำคัญกับอันตรายของโรคนี้ ภาวะ ไขมันพอกตับ มักจะไม่มีอาการที่เห็นได้เด่นชัด ส่วนมากมีอาการอ่อนเพลีย มักตรวจพบตอนตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลว่ามีไขมันในเลือดสูงและจากผลอัลตราซาวน์มีไขมันพอกตับ สำหรับคนที่อ้วนขึ้นเรื่อยๆ หรือคนที่อดอาหารเพื่อลดความอ้วนแต่ไม่ได้ผลยิ่งมีความจำเป็นต้องตรวจภาวะ …

ไขมันพอกตับ กับการรักษาด้วย แพทย์แผนจีน Read More »

อาการปวดและการรักษาอาการปวด ด้วยแพทย์แผนจีน

แพทย์แผนจีนอธิบายสาเหตุของอาการปวดเกิดจากการไหลเวียนของเลือดและพลังลมปราณในเส้นลมปราณ (Meridian) ติดขัด ไม่คล่อง : ความคล่อง-ไม่ติดขัด (ของเลือดและพลัง) ทำให้ไม่เจ็บปวดการปวดก็เพราะการติดขัด-ไม่คล่อง (ของเลือดและพลัง) ลักษณะการปวดแบบแพทย์แผนจีน 1. การปวดแบบเคลื่อนที่ เช่นการปวดตามข้อ และเปลี่ยนตำแหน่ง เป็นๆ หายๆ เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เหมือนลม เรียกว่า ปวดแบบลม2. การปวดแบบลึกๆ หนักๆ เหมือนผ้าชุบน้ำ เรียกว่า ปวดแบบความชื้น3. การปวดแบบอักเสบ บวม แดง ร้อน เรียกว่า ปวดแบบร้อน4. ปวดแบบรุนแรงมาก โดยเฉพาะเวลากระทบความเย็น เรียกว่า ปวดแบบเย็น5. ปวดแบบเข็มแทง เฉพาะที่ เป็นมากตอนกลางคืน เรียกว่า ปวดแบบเลือดคั่ง6. ปวดแบบเรื่อยๆ ไม่รุนแรง เป็นมากเวลาอ่อนเพลีย เรียกว่า ปวดแบบร่างกายพร่องอ่อนแอ ตำแหน่งการปวด บอกถึงการกระทบกระเทือน เส้นลมปราณอะไร เช่น 1. ปวดบริเวณหน้าผาก – ปวดเส้นลมปราณหยางหมิง2. ปวดศีรษะด้านข้าง – ปวดเส้นลมปราณซ่าวหยาง3. …

อาการปวดและการรักษาอาการปวด ด้วยแพทย์แผนจีน Read More »

7 อาการไอ ในมุมมองแพทย์แผนจีน

ปอดเหมือนหลังคาหรือสิ่งปกคลุมอวัยวะจั้งอื่นๆ (肺为华盖)  เปรียบเสมือนเครื่องกำบังสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงภายนอก เช่น ลม แดด ฝน หิมะของรถม้า(车盖)พระที่นั่งของกษัตริย์โบราณ  การเปลี่ยนแปลงภายนอกหรือปัจจัยก่อโรคภายนอกต้องมากระทบสิ่งกำบัง(อวัยวะปอด)ก่อนที่จะบุกรุกไปที่อวัยวะอื่นๆ  ปอดเป็นอวัยวะที่บริสุทธิ์และอ่อนแอ (清虚之体) การเปลี่ยนแปลงของอากาศมีผลกระทบโดยตรงกับการรับความรู้สึกของผิวหนังและอากาศที่เข้าสู่ถุงลม จึงเป็นด่านแรกของการถูกรุกรานจากภายนอกโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของอากาศภายนอก อากาศในปอดไม่บริสุทธิ์ ทำให้กลไกของปอดในการกำกับการแพร่กระจายของชี่  และการกำกับพลังลงล่าง(肺气不清,失于宣肃) หรือหายใจเข้าดูดซับเอาสิ่งดี หายใจออกเอาขับสิ่งที่เสีย(吸清呼浊) เสียหน้าที่ เกิดพลังย้อนขึ้นด้านบนและเกิดเสียงไอ บางครั้งร่วมกับการขากเสมหะ กลไกการเกิดโรค เนื่องจากเหตุแห่งโรคและการปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่างกันทำให้มีลักษณะการไอแตกต่างกันไป โดยทั่วไปแบ่งเป็น สาเหตุมาจากปัจจัยก่อโรคภายนอกเป็นด้านหลัก เช่น ลมเย็น ลมร้อน ความแห้ง การแสดงออกของโรคเป็นแบบเฉียบพลัน รวดเร็ว ระยะเวลาดำเนินของโรคสั้น มักมีอาการไข้ ปวดศีรษะ กลัวความเย็น และไอมีเสมหะ สาเหตุมาจากปัจจัยภายใน คือภาวะเสียสมดุลของการทำงานของอวัยวะภายใน การแสดงออกของโรคเป็นแบบช้าๆ เรื้อรัง ระยะเวลาดำเนินของโรคใช้เวลานาน 7 กลุ่มอาการไอ วินิจฉัยแบบแพทย์แผนจีน 1.ลมเย็นโจมตีปอด(风寒犯肺) อาการสำคัญ  เริ่มต้นไอคันคอ ไอเสียงดัง หายใจเร็ว ขากเสมหะใส เป็นฟอง มีอาการแน่นจมูก น้ำมูกใส ฝ้าบนลิ้นขาวบาง ชีพจรลอย …

7 อาการไอ ในมุมมองแพทย์แผนจีน Read More »