ความผิดปกติในการนอนหลับ

เรื่องของแพทย์ชั้นสูง แพทย์ชั้นกลาง และแพทย์ชั้นล่าง

เปี่ยนเชวียะ扁鹊 (ก่อน ปีค.ศ.407 – 310) เป็นแพทย์จีนที่มีชื่อเสียง ได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานหลักการตรวจจับชีพจรแบบแพทย์จีน ครั้งหนึ่ง เว่ยเวินหวาง (魏文王) กษัตริย์แห่งรัฐฉินในสมัยชุ่นชิวจ้านกว่อ ( 春秋战国the Warring States period (475-221 BC) ได้สอบถามเปี่ยนเชวียะในข้อข้องใจบางประการ  เว่ยเวินหวางถาม “ในครอบครัวของเจ้ามีพี่น้อง 3 คน ล้วนแต่เป็นแพทย์ที่มีฝีมือยอดเยี่ยม ถึงที่สุดแล้วทั้ง 3 คนใครเก่งที่สุด?” เปี่ยนเชวียะตอบว่า  “พี่ชายคนโตเก่งที่สุด พี่คนรองเก่งรองมา ส่วนข้าพเจ้าเก่งน้อยที่สุด” เว่ยเวินหวางถามต่อ “แล้วเหตุใด เจ้าจึงเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเล่า?” เปี่ยนเชวียะตอบ “พี่ชายคนโตรักษาโรคก่อนเกิดโรค คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเขาได้ขจัดต้นเหตุและเงื่อนไขต่างๆเพื่อไม่ให้เกิดโรค ชื่อเสียงความสามารถของเขาจึงไม่มีคนรู้ มีแต่คนในครอบครัวเท่านั้นที่รับรู้ ส่วนพี่ชายคนกลางรักษาโรคเมื่อโรคเพิ่งแสดงอาการเริ่มแรก คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นการรักษาโรคง่ายๆ จึงมีชื่อเสียงในหมู่บ้าน ส่วนข้าพเจ้ารักษาเมื่อเป็นโรคเมื่อโรคลุกลามและมีความรุนแรงแล้ว คนทั่วไปเห็นข้าพเจ้าใช้เข็ม ใช้การปล่อยเลือด ใช้ยาทาพอกภายนอก ทำให้เข้าใจว่าเป็นแพทย์ฝีมือยอดเยี่ยม ชื่อเสียงจึงระบือไกลทั่วประเทศ” สรุปได้ว่า พี่ชายคนโต ใช้แค่การมองพลังชีวิต บ่งบอกถึงสภาพร่างกายโดยองค์รวม ก็หาแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพ ดูแลตั้งแต่โรคยังไม่ก่อตัว เป็นการหามาตรการเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา …

เรื่องของแพทย์ชั้นสูง แพทย์ชั้นกลาง และแพทย์ชั้นล่าง Read More »

เปรียบเทียบการรักษา แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน

ในมุมมองของแพทย์แผนจีน ปัจจัยของการเกิดโรคที่มีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน (จั้งฝู่) โดยตรงคือปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ แพทย์แผนจีนอธิบายว่าอารมณ์ทั้ง 7 (โมโห ดีใจ กังวล เศร้าโศก เสียใจ ตกใจ กลัว) มีผลโดยตรงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการทำงานของอวัยวะภายในที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของร่างกาย เปรียบเทียบการรักษาระหว่างแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน1. ปัญหาการนอนไม่หลับผู้ป่วยบางรายเมื่อได้ยานอนหลับแบบแพทย์แผนปัจจุบัน กลับไม่หลับ แต่ถ้าให้ยานอนหลับที่แรงมาก จะหลับและเพลียตลอดทั้งวัน มึนงงทั้งวัน แพทย์แผนปัจจุบันเน้นการคลายหรือกดประสาท แต่แพทย์แผนจีนมองว่าต้องบำรุงประสาท (บำรุงพลังและเลือดของหัวใจ) ให้มีกำลังพอเป็นหลัก เสริมฤทธิ์ด้วยยาสมุนไพรจีนช่วยนอนหลับเป็นด้านรอง มีแต่การบำรุง (เพราะพลังหัวใจพร่องมาก) เป็นหลักเท่านั้นจึงทำให้หลับ ถ้ายังไปใช้วิธีการกดประสาท พลังหัวใจจะยิ่งอ่อนแอมากขึ้น ไม่สามารถแก้ปัญหาระยะยาวได้2. ปัญหาระบบย่อยอาหารแพทย์แผนปัจจุบันเน้นที่การกระตุ้นความอยากอาหาร ใช้ยาช่วยย่อยอาหารและเสริมบำรุงวิตามิน ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก กรณีโลหิตจาง แพทย์แผนจีนเน้นบำรุงระบบม้าม เพื่อทำให้ความอยากอาหาร การย่อยและดูดซึมอาหารทำงานดีขึ้น ก่อน การบำรุงด้วยธาตุเหล็กหรือวิตามิน ในขณะที่ระบบย่อยอาหารไม่ดี จะทำให้ไม่สามารถดูดซึมได้ บางรายกลับท้องเสีย ปวดท้องเนื่องจากระคายเคืองจากธาตุเหล็กที่ได้ เมื่อพลังม้ามดีขึ้น การลำเลียงอาหารไปสมองดีขึ้น สมองได้อาหารหล่อเลี้ยง จะไม่มึนงง สมาธิดีขึ้น สมองได้รับการบำรุง 3. ภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติถ้าพบว่าเกล็ดเลือดต่ำโดยไม่พบสาเหตุ ทางแพทย์แผนปัจจุบันอาจพิจารณาใช้ยาสเตียรอยด์ …

เปรียบเทียบการรักษา แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน Read More »

อาหารสมุนไพรจีน สำหรับ ภาวะง่วงนอนและหลับมากผิดปกติ

เรื่องของความผิดปกติของการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นการนอนไม่หลับ ฝันบ่อย การหลับมากผิดปกติ แพทย์แผนจีนมองว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอวัยวะภายในของร่างกายทั้งสิ้น การรักษาภาวะดังกล่าวจึงต้องใช้หลักการปรับสมดุลตามสภาพปัญหาของแต่ละบุคคล แพทย์แผนจีนอธิบายว่า “พลังเว่ยชี่เคลื่อนออกสู่ภายนอก(เส้นลมปราณหยาง)ก็ทำให้ตื่น  พลังเว่ยชี่เคลื่อนเข้าสู่อวัยวะภายใน ก็ทำให้นอนหลับ” (卫气行于阳则寤,卫气行于阴则寐  ) ช่วงกลางวัน ธรรมชาติของพลังแสงอาทิตย์จะส่งเสริมการขับเคลื่อนพลังเว่ยชี่ (卫气)ของร่างกายออกสู่ภายนอก  ช่วงกลางวันคนส่วนใหญ่จึงมีการตื่นนอนและความกระปรี่กระเปร่า ช่วงเวลากลางคืนพลังเว่ยชี่(卫气)จะเคลื่อนไหวกลับเข้าสู่ภายใน  ทำให้ร่างกายภายนอกขาดความตื่นตัวเข้าสู่ภาวะง่วงเหงาหาวนอนอยากจะหลับ กล่าวสำหรับคนที่มีภาวะง่วงนอนและหลับมากผิดปกติ มักพบในคนอ้วนคนอ้วนซึ่งจำแนกตามศาสตร์แพทย์แผนจีนที่พบบ่อยมีอยู่ 2 ประเภท 1. คนอ้วนประเภทเสมหะความชื้นภายในตกค้างสะสม (痰湿内盛) เนื่องจากระบบม้ามอ่อนแอ ทำหน้าที่ในการย่อยและลำเลียงอาหารได้ไม่ดี หรือเรียกว่าพลังส่วนกลางพร่อง  ทำให้การลำเลียงสารอาหารที่ย่อยสลายไปสู่ส่วนบนไม่ดีพอ โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ พลังเว่ยชี่(卫气)ที่อยู่ภายนอกจะถูกดึงจากภายนอกเพื่อไปช่วยในการย่อยดูดซึมและลำเลียงอาหารทำให้พลังที่ผิวภายนอกลดลงอย่างมาก   ผลที่ตามมาคือเกิดการง่วงนอน ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการอื่น ๆ ร่วมเช่น สีหน้าไม่ค่อยมีชีวิตชีวา ศีรษะและหนังตาจะหนักๆ  หน้าอกหน้าท้องมักจะแน่นอึดอัด เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย  2. คนอ้วนประเภทหยางหัวใจและไตพร่อง (心肾阳虚) ขาดพลังความร้อน-ทำให้เกิดความอบอุ่นกับร่างกายผู้ป่วยมักมีใบหน้าขาดความมีชีวิตชีวา อ่อนเพลีย ไม่ค่อยอยากจะเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายเพราะเหนื่อยง่าย แขนขามักจะเย็น ชีพจรเล็ก ไม่มีกำลัง ร่างกายอ่อนแอ เมื่อพลังโดยรวมของร่างกายน้อยลง พลังเว่ยชี่(卫气) เกี่ยวข้องกับการตื่นตัวและการใช้ขับเคลื่อนกิจกรรมการดำเนินชีวิตในภาวะปกติก็น้อยลงด้วย  จึงทำให้เกิดอาการง่วงนอนตลอดเวลา  ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักเป็นคนที่มีโรครุนแรงมาก่อน แล้วไม่รับการดูแลฟื้นฟูที่ดีพอ …

อาหารสมุนไพรจีน สำหรับ ภาวะง่วงนอนและหลับมากผิดปกติ Read More »

การนอนหลับที่ดี ต้องมีคุณภาพ

การนอนหลับที่ดีต้องเป็นการนอนหลับที่ลึก จึงจะเป็นการนอนหลับที่มีคุณภาพ บางคนหลับๆ ตื่นๆ ตกใจตื่นง่าย แม้มีเสียงรบกวนจากภายนอกเพียงเล็กน้อย บางคนนอนหลับแต่ฝันตลอดทั้งคืน (เป็นการหลับตื้น ไม่มีคุณภาพ) ลักษณะของความฝันก็บ่งบอกภาวะสุขภาพร่างกาย และจิตใจได้เหมือนกัน มาดูกันว่า คุณเป็นคนหลับตื้นหรือหลับลึก และหลับมีคุณภาพหรือไม่1. ใช้เวลาเข้าสู่การหลับเร็วหรือไม่ บางคนพอล้มตัวนอนก็หลับทันที ถือว่าเป็นคนหลับได้เร็ว2. กลางคืนหลับรวดเดียวถึงเช้า ไม่มีการตื่นนอนตอนกลางดึก เรียกว่าหลับได้ตลอดคืน3. ไม่ค่อยฝัน เวลาตื่นนอน มักจะจำเรื่องราวในความฝันไม่ได้4. หลังตื่นนอน รู้สึกร่างกายผ่อนคลายทั่วตัว สดชื่นมีชีวิตชีวา เรียกว่าตื่นนอนแล้วรู้สึกสดชื่น5. ช่วงกลางวัน รู้สึกทำงานมีประสิทธิภาพ สมองปลอดโปร่งถ้าการนอนหลับของเราเข้าอยู่ในเกณฑ์ 5 ข้อ มากที่สุด แสดงว่าการนอนหลับมีประสิทธิภาพ มีการหลับลึก ช่วงเวลาของการฝันก็สำคัญ?  – ช่วงเวลา ๐๑.๐๐-๐๓.๐๐ น. พลังวิ่งเส้นลมปราณตับ ตับในทางแพทย์จีน เกี่ยวข้องกับจิตสำนึกด้านความมีเหตุมีผล ความมีสติ (肝魂跟理智,理性相关) การฝันในช่วงดังกล่าว จึงมักเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเหตุและผล – ช่วงเวลา ๐๓.๐๐-๐๕.๐๐น. พลังวิ่งเส้นลมปราณปอด ปอดในทางแพทย์จีน เกี่ยวข้องกับสัญชาตญาณ (肺魄跟本能相关) การฝันในช่วงดังกล่าว จึงมักเกี่ยวข้องกับเรื่องของสัญชาตญาณ …

การนอนหลับที่ดี ต้องมีคุณภาพ Read More »

เหงื่อออกกลางคืน แก้อย่างไร

หนึ่งในคำถามที่เจอบ่อยๆคือ เหงื่อออกในเวลากลางคืน ทั้งๆที่นอนในห้องปรับอากาศ เหงื่อมักจะออกตามแนวกระดูกสันหลัง ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร และจะแก้ไขอย่างไร ตัวอย่างคนไข้ ดิฉันอายุ 48 ปี ผ่าตัดมดลูกและรังไข่ 2 ข้าง ตั้งแต่ปี 2535 กินฮอร์โมนวันละ 1 เม็ด ปีแรกๆๆๆไม่ค่อยกิน แต่ต่อมากินเกือบทุกวัน2 ปีที่ผ่านมา กินแคลเซียมเสริมมแบบใส่น้ำฟู่ ขนาด 500 มิลลิกรัม วันละ 2 – 3 เม็ด 2 เดือนที่แล้วเปลี่ยนมากินโยเกิร์ตแบบครีม มื้อละ 1 กระป๋อง วันละ 3 กระป๋อง และก่อนนอนบางคืนเพิ่มแคลเซียมเสริม 1 เม็ด พร้อมยาเคลือบกระเพาะ 2 เม็ด เพราะกินแล้วจะระคายกระเพาะ แต่ถ้ากินแคลเซียมเสริมวันละ3 เม็ด เล็บกลับไม่มีปัญหาค่ะ แต่ถ้าไม่กินแคลเซียมเสริมหรือโยเกิร์ต เล็บจะเปราะแตกมาก ภายใน 2 วัน สีเล็บปกติ ดิฉันอยากจะเรียนถามคุณหมอดังนี้ค่ะ1. …

เหงื่อออกกลางคืน แก้อย่างไร Read More »

ทัศนะแพทย์แผนจีน ต่อการนอนหลับ

เวลากลางวัน เป็นหยาง ระบบประสาทส่วนกลาง จะถูกกระตุ้นให้มีความตื่นตัว หลังเที่ยงวัน พลังหยางของธรรมชาติจะค่อยๆ ลดลงจนถึงเที่ยงคืน ภาวะความตื่นตัวของระบบประสาทส่วนกลางค่อยๆ อ่อนล้าหรือลดลง การทำงานของคนเราควรจะต้องให้สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติ และสภาพของ “นาฬิกาชีวิต” ของร่างกาย เวลากลางคืน เป็นยิน ระบบประสาทส่วนกลางควรอยู่ในสภาพสงบและพัก เพื่อขจัดความเมื่อยล้าจากการทำงาน การเคลื่อนไหวของร่างกาย จิตใจ ตลอดวันที่ผ่านมา การนอนหลับจึงเป็นวิธีการพักผ่อนตามธรรมชาติที่ดีที่สุด ถ้าการนอนหลับเพียงพอ หลับสนิท และเป็นการหลับตอนกลางคืนในช่วงเวลาที่เหมาะสมก็จะทำให้ร่างกายมีการฟื้นตัวได้ดีที่สุด เมื่อตื่นนอนตอนเช้าก็จะมีความสดชื่น มีสภาพร่างกาย สภาพของสมองที่พร้อมจะทำงานให้เกิดประสิทธิภาพดีที่สุด ปัญหาจะเกิดขึ้นมากมาย เมื่อร่างกายและสมอง ไม่สามารถพักผ่อน และฟื้นฟูสภาพได้จากภาวะการนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หรือหลับไม่พอ ร่างกายคนเรามีระบบการทำงานของร่างกายที่มีกฎเกณฑ์ เพื่อดำรงไว้ซึ่งระบบสมดุล กฎเกณฑ์เหล่านี้เปรียบเสมือน “นาฬิกาชีวิต” การเคลื่อนไหวของมันเป็นไปตามวิถีการหมุนรอบตัวเองของโลก การเข้าใจกฎเกณฑ์ของ “นาฬิกาชีวิต” เป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติรอบตัว นำมาซึ่งสุขภาพที่ดี อายุยืนยาว การปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ตัวอย่างกฎเกณฑ์ทางสรีระของร่างกาย เช่น ความดันของหัวใจ ประมาณ 72 ครั้ง/นาที การหายใจ ประมาณ 16 ครั้ง/นาที อุณหภูมิของร่างกาย ช่วงเช้าต่ำกว่าช่วงค่ำ …

ทัศนะแพทย์แผนจีน ต่อการนอนหลับ Read More »

“ความฝัน” บ่งบอกสุขภาพได้จริงหรือ?

แพทย์แผนจีน ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับการฝันของคนอย่างน่าสนใจ กล่าวคือ หัวใจเป็นที่พักของสติ ความรู้สึกนึกคิด ในตอนกลางคืนสติและความรู้สึกนึกคิดจะกลับเข้าสู่ หัวใจเพื่อการเลี้ยงบำรุงจากเลือดของหัวใจ จะทำให้เกิดการนอนหลับ แต่ถ้าภาวะของจิตใจว้าวุ่น แปรปรวนมาก สติและความรู้สึกนึกคิดจะไม่กลับมาพักและรับการบำรุงเลี้ยง ทำให้ระบบประสาทตื่นตัวอยู่ มีการฝันเกิดขึ้น ผลที่ตามมาจากการที่ ไม่ได้รับการหล่อเลี้ยงของเลือดจากหัวใจ ทำให้ขาดความสดชื่น พลังสติปัญญาอ่อนล้า รู้สึกอ่อนเปลี้ย ลักษณะเนื้อหาของการฝันก็พอจะบ่งบอกถึงความผิดปกติของอวัยวะภายในได้ด้วย กล่าวคือ – คนที่พลังของหัวใจอ่อนแอ มักจะฝันเกี่ยวกับเรื่องเศร้าโศก ฝันเป็นความทุกข์โศก – คนที่ไฟหัวใจแกร่ง มักจะ ฝันเกี่ยวกับเรื่องตื่นเต้น ผจญภัยสนุกสนาน – คนที่ตับ ถุงน้ำดีพร่อง มักจะฝันเกี่ยวกับเรื่องน่ากลัว – คนที่ไฟตับแกร่ง อารมณ์ โมโหง่าย มักจะฝันเกี่ยวกับสิ่งเลวร้าย ฝันร้ายบ่อยๆ – คนที่ไตพร่อง มักฝันเกี่ยวกับทางเพศ ซึ่งอาจจะมีอาการฝันเปียกร่วมด้วย – คนที่ม้ามพร่อง มักฝันถึงการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง หรือทัศนะคติทางด้านลบ – ภาวะของร่างกายสิ่งแวดล้อม มีผลต่อการฝัน เช่น ถ้ากินอาหารเสียอิ่มแป้ แล้วนอนหลับ อาจทำให้ฝันว่ากินมากดื่มมาก – ถ้าท้องหิวมากแล้วนอนหลับ อาจทำให้ฝันว่าอดอยาก หิวโหย – ถ้าห่มผ้าบางเกินไป ในขณะนอนหลับ และมีอากาศหนาวเย็น อาจทำให้ฝันว่าตกน้ำ …

“ความฝัน” บ่งบอกสุขภาพได้จริงหรือ? Read More »

การนอนหลับ วิธีบำรุงรักษาพลังหยางที่ดีที่สุด

พลังหยาง (阳气) คือพลังของชีวิต ในวัยเด็กพลังหยางค่อยๆ สะสมตัว เด็กเจริญเติบโตมีพละกำลังคล่องแคล่วว่องไว ไม่เหนื่อยง่าย จนพลังหยางสูงสุดในวัยหนุ่มสาว และเข้าสู่วัยกลางคน พลังหยางก็เริ่มถดถอยลดน้อยลง ร่างกายก็ไม่กระฉับกระเฉง ความคิดอ่าน ความจำ ความว่องไวทางประสาท สมอง ก็ลดลงเรื่อยๆ ถึงวัยชราภาพ พลังหยางน้อยลงไปอีกและหมดไปในที่สุดพร้อมกับการดับลงของชีวิต เป็นวัฏจักรของการเกิด พัฒนา เสื่อมถอย และการตาย การบำรุงพลังหยางจึงมีความสำคัญต่อชีวิต เพราะเป็นตัวกำหนดการเกิด พัฒนาและการเสื่อมถอยของร่างกาย ยังรวมถึงโอกาสการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ของร่างกายและจิตใจด้วยแต่ก่อนจะไปศึกษาค้นคว้าหาสิ่งภายนอกมาบำรุงรักษาพลังหยาง ควรกลับมาพิจารณาวิธีการที่เป็นธรรมชาติและประหยัดที่สุด ที่เราสามารถกำหนดและปฏิบัติได้เอง คือ การนอนหลับช่วงเวลาจื่อสือ (子时觉) ระหว่างเวลา 23.00 – 01.00 น. การเกิดของพลังหยาง เริ่มต้นที่เวลา 23.00 – 01.00 น.ช่วงพลังลมปราณไหลผ่านเส้นลมปราณถุงน้ำดีกลางคืนพลังยินมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงเที่ยงคืน ระหว่างเวลา 23.00 – 01.00 น. คือช่วงเปลี่ยนผ่านจากพลังยินสูงสุด และการก่อเกิดพลังหยาง พลังหยางจะเก็บสะสมได้มากในภาวะที่สงบที่สุด การตื่นนอนหรือยังไม่หลับ เป็นการใช้พลังหยางทำให้การเกิดสะสมตัวของพลังหยางถูกรบกวน ไม่สามารถสะสมได้อย่างเต็มที่ ซึ่งหมายถึงสต็อกพลังหยางที่จะถูกนำไปใช้ในวันใหม่จะน้อยลง ส่งผลเสียต่อการทำงานในช่วงกลางวันของวันใหม่ ทำให้เหนื่อยง่าย ง่วงนอน …

การนอนหลับ วิธีบำรุงรักษาพลังหยางที่ดีที่สุด Read More »

นอนเท่าไหร่…ก็ไม่รู้จักพอ

เรามักจะเจอคนบางคนมีอาการ นั่งที่ไหนก็ง่วงหลับที่นั่น ทั้งๆที่ไม่ได้อดหลับอดนอนมา หลับแล้ว ตื่นขึ้นมาก็ยังรู้สึกว่านอนไม่พอ ยังอยากจะหลับต่อ คนที่มีลักษณะเช่นนี้มักไม่ค่อยจะสดชื่น มีแต่ความรู้สึกอยากจะนอนทั้งวัน แต่มักจะตื่นง่าย หลังจากตื่นก็ขอนอนหลับต่อ ทางการแพทย์แผนปัจจุบันถือว่าเป็นความผิดปกติของระบบประสาท (การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ) ลักษณะแบบนี้ อาจพบได้ในคนที่เจ็บไข้ได้ป่วย ตัวร้อนเรื้อรัง ทำให้อ่อนเพลีย ต้องการพักผ่อน หรือระยะที่โรคกำลังรุนแรง ในที่นี้จะกล่าวถึงคนปกติที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ แต่ชอบง่วงเหงา หาวนอนเป็นประจำ แพทย์แผนจีนมองว่า การนอนหลับเป็นภาวะยิน การตื่นนอนเป็นภาวะหยาง คนที่ง่วงนอนแสดงว่ายินแกร่ง (ยินเกิน) เพราะภาวะของหยางพร่อง (หยางขาด) ภาวะของหยางพร่อง มาจากการทำงานของม้ามน้อยลง ทำให้มีการอุดกั้นของเสมหะ และความชื้น หรือภาวะอุดกั้นของเสมหะและความชื้นทำให้พลังม้ามพร่อง มักจะพบในคนที่อ้วนได้บ่อยกว่าคนผอม เพราะในคนอ้วนถือว่ามีการสะสมไขมัน (เสมหะหรือความชื้น) ในร่างกายมาก ยิ่งถ้ากินอาหารอิ่มใหม่ๆ ระบบย่อยอาหาร หรือกระเพาะอาหารมักต้องทำงานหนัก พลังของม้ามจะอ่อนเปลี้ย ความอยากนอนจึงมัก เกิดได้ง่าย (ทางแพทย์แผนปัจจุบัน มองว่าขณะย่อยอาหาร เลือดจะไปเลี้ยงสมองน้อยลง ทำให้หนังท้องตึง หนังตาหย่อน) และสำหรับคนผอมก็มีสิทธิ์จะง่วงนอนผิดปกติได้หมือนกัน ถ้าอยู่ในภาวะที่เจ็บไข้เรื้อรังหรือร่างกาย อ่อนเพลีย ที่ทำให้การย่อยอาหารและการดูดซึมไม่ดี เป็นภาวะที่พลัง ทั่วร่างกายพร่องเลือดก็จะไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้ง่วงนอนได้ง่าย …

นอนเท่าไหร่…ก็ไม่รู้จักพอ Read More »