ยาจีน

“ไต” ต้องดูแลแบบองค์รวม

คนจำนวนมากพอเรียนรู้ว่าอวัยวะไต (ในความหมายแพทย์แผนจีน) ได้ชื่อว่า เป็นอวัยวะรากฐานของชีวิต จึงคิดแต่จะบำรุงไตอย่างเดียว คิดเพียงง่ายๆว่าถ้าไตดีทุกอย่างก็ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วต้องเรียนรู้เพิ่มเติมอีกว่าไตยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอวัยวะอื่นๆ ด้วย อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับไต เช่น หัวใจ, ตับ, ม้าม, ปอด ซึ่งถ้าอวัยวะเหล่านั้นมีปัญหา เช่น เสื่อมหรือทำงานผิดปกติ ก็มีผลกระทบต่ออวัยวะไตด้วย การดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์แผนจีน จึงต้องเข้าใจความเชื่อมสัมพันธ์ของอวัยวะภายในต่างๆ ต้องดูแลอวัยวะอื่นปรับสมดุลควบคู่กับการดูแลไตไปด้วยกัน จึงจะทำให้ต้นไม้แห่งชีวิตเติบใหญ่มีพลังอย่างแท้จริง ความสัมพันธ์ระหว่าง อวัยวะตับ กับ ไต ตับกับไต เป็นอวัยวะที่มีแหล่งกำเนิดเดียวกัน (肝肾同源) หน้าที่ของตับ คือ การเก็บเลือด, ทำให้เลือดไหลเวียนคล่องตัวไม่ติดขัด ส่วนหน้าที่ของไต คือ การเก็บสารจิง ไตสร้างไขกระดูก, ไขกระดูกสร้างตับ สร้างเลือด แม้ว่าหน้าที่ของตับและไตจะต่างกัน แต่จะเห็นว่ารากฐานของมันเกี่ยวข้องกัน  เป็นแหล่งของสารจิงและเลือด สารจิงมาจากไตซึ่งมีมาตั้งแต่เกิด สารจิงสร้างไขกระดูกและไขกระดูกสร้างเลือด “สารจิงกับเลือดมีแหล่งกำเนิดเดียวกัน”(精血同源)ร่างกายทุกอวัยวะล้วนได้รับเลือดไปบำรุงหล่อเลี้ยง ต้องอาศัยการทำงานของตับและสารจิงของไตที่ดีในการสร้างเลือด  เก็บเลือด  ขับเคลื่อนเลือด ดังนั้นการบำรุงไตจึงต้องดูแลการทำงานของตับควบคู่กันไปด้วย คนที่มียินของตับและไตพร่อง นอกจากจะมีอาการปวดเมื่อยเอว แก้มแดง ไข้หลังเที่ยง ร้อนฝ่ามือฝ่าเท้ากลางอก มีเหงื่อลักออก …

“ไต” ต้องดูแลแบบองค์รวม Read More »

น้ำปัสสาวะ นํ้ามหัศจรรย์รักษาโรค

เรื่องของน้ำปัสสาวะสามารถรักษาโรคได้สารพัด ถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณะอย่างครึกโครมเป็นระยะๆ จำได้ว่า ขึ้นเป็นข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2535 โดยบรรยายสรรพคุณว่าสามารถรักษาโรคได้ ตั้งแต่โรคง่ายๆ เช่น หวัดไปจนถึงโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง โดย การศึกษาวิจัยของสถาบัน MCL (miracle cup of liquid แปลว่า น้ำในถ้วยมหัศจรรย์) ของญี่ปุ่น ขณะเดียวกันก็พบว่า มีการตื่นตัวแปลหนังสือเผยแพร่เป็นภาษาต่างประเทศทั่วโลกในขณะที่แพทย์สมัยใหม่หลายคนออกมาคัดค้านว่า ความเชื่อในเรื่องน้ำปัสสาวะเป็นน้ำมหัศจรรย์ ไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน ความวิเศษตามที่กล่าวอ้างในชีวิตจริง ผู้เขียนเคยพบเห็นผู้ที่ใช้น้ำปัสสาวะเพื่อรักษาโรคเรื้อรัง ของตนเองตามความเชื่อ เนื่องจากผู้ป่วยพบว่าไม่สามารถหาทางออกได้จากการรักษาโดยการแพทย์แผนปัจจุบัน จึงตัดสินใจลองรักษาตัวเองโดยวิธีนี้ บทความที่จะเขียนต่อไปนี้ คงไม่สามารถให้คำตอบที่เบ็ดเสร็จว่า น้ำปัสสาวะจะสามารถแก้ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บบางอย่าง ตามที่มีผู้กล่าวอ้างจริงหรือไม่ ในขณะเดียวกัน ก็ไม่อาจจะสรุปลงไปเลยว่า น้ำปัสสาวะ ไม่มีคุณค่าใดๆเลยต่อการรักษาโรค บทความนี้ทำหน้าที่เสนอ เล่าสู่กันฟังถึงความเชื่อ และการใช้ น้ำปัสสาวะมารักษาโรคที่การแพทย์แผนจีนได้มีการบันทึกกล่าวไว้เพื่อเป็นข้อมูลในการเข้าใจถึงประสบการณ์ของคนจีน คงจะเป็นประโยชน์ แก่ผู้สนใจไม่มากก็น้อย การรักษาโรคด้วยน้ำปัสสาวะ หมายถึง การนำน้ำปัสสาวะของคนหรือสัตว์ (ส่วนที่เป็นน้ำใสและองค์ประกอบในน้ำปัสสาวะ) มา ใช้ดื่มเพื่อเข้าสู่ภายในร่างกาย หรือใช้ภายนอกในการรักษาโรคที่ได้มีการสืบทอดกันมา ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยน้ำปัสสาวะบันทึกไว้ว่า …

น้ำปัสสาวะ นํ้ามหัศจรรย์รักษาโรค Read More »

อาหารสมุนไพรป้องกัน โรคหัวใจและหลอดเลือดแข็งตัว

คนอายุมาก มักจะมีปัญหาเรื่องของหลอดเลือดแข็งตัว  จากสาเหตุความเสื่อมตามอายุขัยหรือจากโรคความดันโลหิตสูง  โรคไขมันในเลือดสูง  เบาหวานที่เป็นมาหลายปี แม้ว่าจะได้รับการบำบัดดูแลรักษาอย่างดีด้วยยามาอย่างต่อเนื่องก็ตาม                          หลอดเลือดแข็งตัว   ทำให้อวัยวะสำคัญๆ เกิดปัญหาได้ง่าย  เช่น  สมอง  หัวใจ  ไต หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองแข็งตัว  มีโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก  เกิดอัมพฤกษ์อัมพาต  อีกทั้งทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ง่าย  หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจแข็งตัว ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย,  หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน ทำให้หัวใจขาดเลือด   หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสื่อมแข็งตัว  ทำให้ไตฝ่อ  ไตทำหน้าที่น้อยลง เกิดภาวะไตวาย หลอดเลือดทั่วร่างกายแข็งตัว  อวัยวะต่างๆทุกส่วนของร่างกายขาดเลือดหล่อเลี้ยง   เกิดอาการไม่สบายทั้งตัว  ปลายมือปลายเท้าชา  กล้ามเนื้ออ่อนแรง  ร่างกายอ่อนเพลีย การดูแลหลอดเลือดให้แข็งแรง  ยืดหยุ่น  ควบคุมภาวะความดันสูง จึงเป็นการดูแลสมอง , หัวใจ และสุขภาพโดยรวม ปรมาจารย์แพทย์จีน หลี่สือเจิน ( 李时珍 )  กับ เคล็ดลับอาหาร ป้องกันรักษาโรคสมอง ด้วยอาหารและสมุนไพรหลายตัว เช่น 1.เก๋อเกิน  (葛根) บางคนเรียกว่า โสมภูเขา  ( 山人参 ) …

อาหารสมุนไพรป้องกัน โรคหัวใจและหลอดเลือดแข็งตัว Read More »

อาหารสมุนไพรจีน ลดไขมันในเลือด

ถ้าเปรียบหลอดเลือดของร่างกายเหมือนกับแม่น้ำสายหนึ่ง มีโคลนตมหรือขยะตกค้างเมื่อมีการสะสมมากขึ้นมากขึ้น  การไหลเวียนของน้ำในแม่น้ำจะช้าลงช้าลง  หรือในที่สุดก็จะเอ่อล้นท่วมออกนอกแม่น้ำ  เช่นเดียวกับหลอดเลือดของคนที่มีภาวะไขมันในเลือดมาก จะทำให้การไหลเวียนเลือดติดขัด ช้าลง  ซึ่งจะตามมาด้วยปัญหาหัวใจขาดเลือด  หลอดเลือดสมองตีบหรือแตก ภาวะไขมันในเลือดสูง ในทัศนะแพทย์จีนเกี่ยวข้องกับการสะสมของตัวเสมหะความชื้น (痰湿 ) และภาวะเลือดคั่งค้างไหลเวียนไม่คล่อง (血瘀 ) เสมหะและความชื้นที่สะสมตัว มีพื้นฐานจากการทำงานของระบบย่อย (กระเพาะอาหารและม้าม)  ไม่สามารถย่อยหรือดูดซึมอาหารได้หมด   เนื่องจากการบริโภคอาหารที่ก่อให้เกิดภาวะร้อนชื้นมากเกินไป หรือเกิดจากระบบย่อยอาหารอ่อนแอ ไม่มีพลังในการย่อยสลายอาหารได้อย่างเต็มที่ ภาวะเลือดคั่งค้างไม่ไหวเวียน  มักเกิดจากพลังหยาง (阳气) ของร่างกายอ่อนแอ   ไม่มีพลังในการขับเคลื่อนการไหลเวียนของเลือด  ทำให้เลือดคั่งค้างไหลเวียนช้า  ทั้งสองภาวะก่อตัวให้เลือดหนืด เคลื่อนตัวช้า  ยิ่งทำให้มีการสะสมของขยะ (เสมหะความชื้นและเลือด)  มากยิ่งขึ้น จนเกิดการตีบตันหรือแตกในที่สุด แนวทางในการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง ต้องคำนึงถึง อย่างน้อย 2 ด้าน เน้นที่การขับเสมหะความชื้นและกระจายเลือดคั่งค้าง   เป็นการรักษาอาการหรือปรากฏการณ์ เน้นการเสริมสร้างที่การปรับการทำงานของระบบกระเพาะอาหารและม้าม  รวมทั้งพลังหยาง (阳气) ตำรับที่ 1  อาหารสมุนไพรสำหรับลดไขมันในเลือด เต้าหู้  เห็ดหูหนูดำ  สาหร่ายทะเล (จี๋ฉ่าย) เนื้อหมูแดง ขิงสด สรรพคุณ                     เต้าหู้   ทำมาจากถั่วเหลือง  …

อาหารสมุนไพรจีน ลดไขมันในเลือด Read More »

อาหารเช้าเพื่อสุขภาพ แบบแพทย์แผนจีน

มีคำกล่าวของนักโภชนาบำบัดเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของแพทย์จีน กล่าวไว้ว่า “อาหารมื้อเช้าให้รับประทานเหมือนพระราชา”  (早餐吃得要像皇帝 ) “อาหารมื้อกลางวันให้รับประทานเหมือนสามัญชน” (午餐吃得要像平民) “อาหารมื้อค่ำให้รับประทานเหมือนยาจก” (晚餐吃得要像乞丐 ) รับประทานเหมือนพระราชา  บ่งบอกว่า อาหารต้องมีคุณค่าสูง ต้องรับประทานให้อิ่ม มื้อเช้าต้องมีความสำคัญมาก ยังมีการกล่าวเสริมเติมอีกว่า อาหารต้องมีลักษณะฤทธิ์ร้อนด้วย แพทย์แผนจีนให้ความสำคัญกับกระเพาะอาหาร  ซึ่งมีหน้าที่ในการเก็บรับอาหารมาเพื่อทำการย่อยให้ละเอียดเป็นเบื้องต้น    ก่อนจะส่งไปย่อยให้ละเอียดและดูดซึมต่อไป     การย่อยอาหารของกระเพาะอาหารต้องการ ความร้อนในการบีบตัวหรือกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย    กระเพาะอาหารชอบความอุ่นเกลียดกลัวความเย็น (胃喜温恶寒 ) อันตรายจากการไม่รับประทานอาหารเช้า เพิ่มอัตราภาวะท้องผูก  เพราะกระเพาะอาหารลำไส้ไม่ถูกกระตุ้นให้บีบตัว โอกาสเกิดโลหิตจาง ขาดอาหารมื้อสำคัญที่จะไปสร้างเลือด โอกาสอ้วนง่าย (มื้อเช้าอาหารเผาผลาญดี) ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จะใช้งานตลอดวัน  ต้องใช้พลังงานสำรอง   ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ , แก่เร็ว , ระบบย่อยอาหารอ่อนแอในระยะยาว โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี   ถุงน้ำดีเก็บสะสมน้ำดีไว้ช่วงกลางคืน  ถ้าช่วงเช้าไม่ได้รับการกระตุ้น จะทำให้มีการตกตะกอนสะสมตัวเป็นนิ่วได้ เกิดแผลของกระเพาะอาหารและลำไส้ นอนมาตลอดคืน ท้องว่าง มีกรดออกมาแต่ไม่มีอาหาร กระทบการเรียนและการทำงาน เนื่องจากขาดอาหารไปเลี้ยงสมอง ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ขาดพลัง  จะทำให้เกิดโรคได้ง่าย   ถ้าเป็นคนที่พื้นฐานไม่แข็งแรง  มีโรคเรื้อรัง อาการจะรุนแรงขึ้น …

อาหารเช้าเพื่อสุขภาพ แบบแพทย์แผนจีน Read More »

อาหารกับการป้องกันและรักษาสิว แบบแพทย์แผนจีน

สิวเกิดจากต่อมไขมันผลิตไขมันมาก และมีการอุดกลั้นทางเดินของไขมัน หากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ก็จะทำให้เกิดสิวอักเสบหรือเป็นหนอง โดยส่วนใหญ่แล้วสิวจะขึ้นตามบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก ได้แก่ บริเวณใบหน้า หลัง หรือ หน้าอก ฮอร์โมนเพศชาย แอนโดรเจน มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดสิวในเด็กวัยรุ่น การเพิ่มขึ้น ฮอร์โมนนี้จะเริ่มสร้างเมื่ออายุ 11-14 ปี จะกระตุ้นให้ต่อมไขมันสร้างไขมันเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ  ไขมันที่มากขึ้นและร่วมกับเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดการอุดตันจนและเกิดสิวมากในวัยนี้และอาจจะเป็นอยู่นานหลายปี ปัจจัยหลายอย่างสามารถกระตุ้นทำให้อาการของสิวเป็นมากและรุนแรงขึ้น เช่น การบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ได้แก่ น้ำตาล แป้ง อาหารมัน หรือนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัวมากเกินไป  การสูบบุหรี่  การใช้เครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ก่อให้เกิดการอุดตันรูขุมขน  รวมถึงภาวะความเครียด การพักผ่อนนอนหลับที่ไม่เพียงพอและนอนดึก  จะส่งผลให้ระบบฮอร์โมนทำงานไม่สมดุล และทำให้มีปริมาณสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น สิวในมุมมองแพทย์แผนจีน ปอดกำกับผิวหนัง สาเหตุสำคัญของการเกิดสิวมีหลายประการ เช่น  สาเหตุจากความร้อนของเส้นลมปราณปอด ภาวะร้อนชื้นของกระเพาะอาหารและม้าม  เลือดติดขัดเสมหะเกาะตัว  เส้นลมปราณชงและเริ่นเสียสมดุล(ระบบฮอร์โมนแปรปรวน) แพทย์จีนมองว่าสิวบนใบหน้าเป็นภาพสะท้อนความเสียสมดุลของอวัยวะภายใน ผิวหนังบนใบหน้า  นอกจากเกี่ยวข้องกับอวัยวะปอดแล้ว ยังเป็นทางเดินของเส้นลมปราณกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่  ลำไส้ใหญ่มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับปอด กระเพาะอาหารที่ร้อน(จากการกินของเผ็ดร้อน หวานมัน เนื้อสัตว์มากๆ)หรือกระเพาะอาหารเย็นเกิน(จากการรับประทานอาหารฤทธิ์เย็น น้ำแข็ง เครื่องดื่มเย็นมากเกินไป) ทำให้การไหลเวียนของเส้นลมปราณบริเวณใบหน้าติดขัด มีการเกาะตัวของเลือดและเสมหะ การสะสมหมักหมมทำให้เกิดไฟ …

อาหารกับการป้องกันและรักษาสิว แบบแพทย์แผนจีน Read More »

มะเร็งรังไข่ กับอาหารสมุนไพรจีน

มะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer) เป็นมะเร็งพบบ่อยทั่วโลกรวมทั้งในผู้หญิงไทย (เป็น 1 ใน 10 โรคมะเร็งพบบ่อย) โดยทั่วไปพบได้ทั้งในเด็กโตและในผู้ใหญ่ ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ความผิดปกติทางพันธุกรรม โอกาสพบโรคได้สูงขึ้นในคนมีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งรังไข่  โรคมะเร็งเต้านม และ/หรือโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่  มักพบโรคในอายุ 50 ปีขึ้นไป พบโรคในคนอ้วนสูงกว่าในคนผอม  โอกาสพบโรคนี้ได้สูงในคนมีประจำเดือนเร็วคือ อายุต่ำกว่า 12 ปี หรือหมดประจำเดือนช้าคือช้ากว่าอายุ 55 ปี หรือมีประวัติจากใช้ยากระตุ้นการตกไข่ ในการรักษาภาวะมีบุตรยากหรือจากใช้ยาฮอร์โมนเพศชดเชยในช่วงวัยหมดประจำเดือน จากสถิติพบว่าส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งรังไข่มักเป็นระยะที่ 3มากที่สุด นั่นหมายถึง การตรวจพบหรือจะได้รับการรักษามักอยู่ในระยะลุกลาม  เพราะเริ่มต้นจะ มีอาการอาจมีแค่ท้องอืดเสียด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องโตขึ้น ซึ่งอาการเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่คิดว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ทำให้รักษาผิดทางมาตลอด การวินิจฉัยโรคมะเร็งรังไข่ ต้องทำการตรวจภายในและตรวจร่างกายอย่างละเอียด ซึ่งมักคลำพบก้อนที่ปีกมดลูกส่วนใหญ่  ตรวจเพิ่มเติมด้วยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง(Ultrasound )  บางกรณีที่ต้องการประเมินมีการลุกลามไปอวัยวะส่วนอื่นในช่องท้องว่ามากน้อยเพียงใด อาจมีการส่งตรวจที่ละเอียดยิ่งขึ้น เช่น การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ CT หรือ MRI  รวมถึงการเจาะเลือดหาค่าบ่งมะเร็ง ( tumor marker)เพื่อช่วยในการวินิจฉัยและตรวจติดตามผลการรักษา …

มะเร็งรังไข่ กับอาหารสมุนไพรจีน Read More »

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง กับการรักษาแบบแพทย์แผนจีน

โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส (myasthenia gravis) หรือ ‘โรคเอ็มจี’ เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อเล็กๆ บริเวณใบหน้า โดยอาการทั่วไปนั้น ผู้ป่วยบางคนมีอาการหนังตาตก ถ้าเป็นมากอาจจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อทั่วตัว รวมทั้งกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการหายใจ ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงทั่วๆ ไป กลืนลำบาก สำลักอาหาร ถ้าเป็นมากอาจถึงกับหายใจไม่ได้ ลักษณะสำคัญของโรคนี้คือ เป็นโรคเรื้อรัง อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเป็นๆ หายๆ ชนิดที่พบบ่อยที่สุด จะเกิดในผู้ใหญ่ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่ถ้าอาการเริ่มเป็นหลังอายุ 40 ปี จะพบในเพศชายมากกว่าหญิง โรคนี้พบร่วมกับโรคลูปุส เช่นเดียวกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เดิมทีเดียวโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงนี้ ถือเป็นโรคที่มีอัตราการตายสูงมากตั้งแต่ร้อยละ 30-70 แต่หลังจากการค้นพบยาซึ่งสามารถรักษาอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ รวมทั้งพบว่าผลการรักษาโดยการผ่าตัดต่อมไธมัสได้ผลดี จึงทำให้อัตราการตายของผู้ป่วยโรคนี้ลดลงเรื่อยๆ โรคนี้มีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆด้วยกันคือประเภทที่เป็นเฉพาะที่คืออาจจะเป็นที่ตา ทำให้ไม่มีแรงลืมตา หนังตาตก อาจเป็นข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง ทำให้มีลักษณะคล้ายคนง่วงนอน เห็นภาพซ้อนจากกล้ามเนื้อตาที่อ่อนแรง ถ้าพูดถึงตามหลักการแพทย์แผนจีนนั้นก็เหมือนกับการที่ร่างกายใช้พลังไประยะหนึ่ง อย่างเช่นในขณะที่เพิ่งตื่นนอนก็ยังไม่เท่าไหร่  แต่พอเราออกกำลังกายหรือใช้พลังไปสักระยะหนึ่ง พลังก็ตก ทำให้ตาลืมไม่ขึ้น  บางคนก็มีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการกลืน ทำให้กลืนอาหารไม่ได้ เคี้ยวข้าวก็ลำบาก บางครั้งมีอาการสำลักอาหารบ่อยๆ  …

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง กับการรักษาแบบแพทย์แผนจีน Read More »

กล้วยหอม ในทัศนะแพทย์แผนจีน

กล้วยหอมเป็นผลไม้เมืองร้อน พบได้ทางตอนใต้ของประเทศจีน เช่น มณฑลฝูเจี้ยน กวางตุ้ง ยูนนาน กล้วยหอมสุกมีส่วนประกอบของแป้งร้อยละ 0.5 โปรตีนร้อยละ 1.3 ไขมันร้อยละ 0.6 น้ำตาลร้อยละ 11 นอกจากนี้ยังมีวิตามิน เอ บี ซี อี แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก รวมถึง 5-ไฮดร็อกซีทริปทามีน (5-hydroxytryptamin) นอร์อะดรีนาลิน (noradrenaline) และโดพามีน (dopamine) ในปริมาณเล็กน้อย ในทัศนะแพทย์แผนจีน กล้วยหอมมีรสหวาน ฝาดเล็กน้อย รสเย็นมาก เข้าเส้นลมปราณ ปอด และลำไส้ใหญ่ สรรพคุณ 1. เนื่องจากฤทธิ์เย็นและเข้าเส้นลมปราณปอด จึงมีการนำกล้วยหอมมาใช้รักษาโรคร้อน กระหายน้ำ (การถ่ายทอดสดกีฬาเทนนิสจากต่างประเทศ มีนักกีฬาระดับโลกหลายคนช่วงพักระหว่างการแข่งขัน หยิบกล้วยหอมขึ้นมากิน) แผลอักเสบ บวม แก้เมาเหล้า ไอเรื้อรัง 2. เข้าเส้นลมปราณลำไส้ใหญ่ ทำให้ลำไส้ใหญ่ไม่แห้ง แก้ท้องผูก ถ่ายเป็นเลือด 3. …

กล้วยหอม ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

อาหารสมุนไพรจีน สำหรับ ภาวะง่วงนอนและหลับมากผิดปกติ

เรื่องของความผิดปกติของการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นการนอนไม่หลับ ฝันบ่อย การหลับมากผิดปกติ แพทย์แผนจีนมองว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอวัยวะภายในของร่างกายทั้งสิ้น การรักษาภาวะดังกล่าวจึงต้องใช้หลักการปรับสมดุลตามสภาพปัญหาของแต่ละบุคคล แพทย์แผนจีนอธิบายว่า “พลังเว่ยชี่เคลื่อนออกสู่ภายนอก(เส้นลมปราณหยาง)ก็ทำให้ตื่น  พลังเว่ยชี่เคลื่อนเข้าสู่อวัยวะภายใน ก็ทำให้นอนหลับ” (卫气行于阳则寤,卫气行于阴则寐  ) ช่วงกลางวัน ธรรมชาติของพลังแสงอาทิตย์จะส่งเสริมการขับเคลื่อนพลังเว่ยชี่ (卫气)ของร่างกายออกสู่ภายนอก  ช่วงกลางวันคนส่วนใหญ่จึงมีการตื่นนอนและความกระปรี่กระเปร่า ช่วงเวลากลางคืนพลังเว่ยชี่(卫气)จะเคลื่อนไหวกลับเข้าสู่ภายใน  ทำให้ร่างกายภายนอกขาดความตื่นตัวเข้าสู่ภาวะง่วงเหงาหาวนอนอยากจะหลับ กล่าวสำหรับคนที่มีภาวะง่วงนอนและหลับมากผิดปกติ มักพบในคนอ้วนคนอ้วนซึ่งจำแนกตามศาสตร์แพทย์แผนจีนที่พบบ่อยมีอยู่ 2 ประเภท 1. คนอ้วนประเภทเสมหะความชื้นภายในตกค้างสะสม (痰湿内盛) เนื่องจากระบบม้ามอ่อนแอ ทำหน้าที่ในการย่อยและลำเลียงอาหารได้ไม่ดี หรือเรียกว่าพลังส่วนกลางพร่อง  ทำให้การลำเลียงสารอาหารที่ย่อยสลายไปสู่ส่วนบนไม่ดีพอ โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ พลังเว่ยชี่(卫气)ที่อยู่ภายนอกจะถูกดึงจากภายนอกเพื่อไปช่วยในการย่อยดูดซึมและลำเลียงอาหารทำให้พลังที่ผิวภายนอกลดลงอย่างมาก   ผลที่ตามมาคือเกิดการง่วงนอน ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการอื่น ๆ ร่วมเช่น สีหน้าไม่ค่อยมีชีวิตชีวา ศีรษะและหนังตาจะหนักๆ  หน้าอกหน้าท้องมักจะแน่นอึดอัด เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย  2. คนอ้วนประเภทหยางหัวใจและไตพร่อง (心肾阳虚) ขาดพลังความร้อน-ทำให้เกิดความอบอุ่นกับร่างกายผู้ป่วยมักมีใบหน้าขาดความมีชีวิตชีวา อ่อนเพลีย ไม่ค่อยอยากจะเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายเพราะเหนื่อยง่าย แขนขามักจะเย็น ชีพจรเล็ก ไม่มีกำลัง ร่างกายอ่อนแอ เมื่อพลังโดยรวมของร่างกายน้อยลง พลังเว่ยชี่(卫气) เกี่ยวข้องกับการตื่นตัวและการใช้ขับเคลื่อนกิจกรรมการดำเนินชีวิตในภาวะปกติก็น้อยลงด้วย  จึงทำให้เกิดอาการง่วงนอนตลอดเวลา  ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักเป็นคนที่มีโรครุนแรงมาก่อน แล้วไม่รับการดูแลฟื้นฟูที่ดีพอ …

อาหารสมุนไพรจีน สำหรับ ภาวะง่วงนอนและหลับมากผิดปกติ Read More »

อาหารสุขภาพสำหรับ ผู้ป่วยโรคไต

ไตในความหมายแพทย์จีน มีความหมายที่กว้างไม่ได้หมายถึงอวัยวะไต โรคเกี่ยวกับไตจึงไม่ได้หมายถึงไตอักเสบหรือไตวายเรื้อรัง  แต่ครอบคลุมถึงต่อมหมวกไต ระบบฮอร์โมน ระบบสืบพันธุ์ ระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะยินหยาง (ร้อนเย็นของระบบต่างๆของร่างกาย) ระบบประสาทอัตโนมัติ ฯลฯ อาหารสุขภาพที่จะแนะนำในบทความนี้จะมุ่งเน้นไปที่ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ในทัศนะแผนปัจจุบัน คือ ภาวะที่ไตสูญเสียหน้าที่อย่างเรื้อรัง ทำให้เกิดการคั่งของของเสียและน้ำ การทำงานของไตลดลงเหลือตั้งแต่ 25%-50%  ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากโรคประจำตัว  เช่น เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  กรวยไตอักเสบเรื้อรังและไขมันในเลือดสูง เป็นระยะเวลานานๆ  แม้ว่าผู้ป่วยบางรายจะอยู่ระหว่างการรักษาโดยการ ” ล้างไต ”  โดยเครื่องไตเทียม หรือ ใช้การล้างไตโดยผ่านทางช่องท้อง   การดูแลสุขภาพโดยการปรับเรื่องของอาหารปริมาณโปรตีน  แร่ธาตุ เช่น  โซเดียม  โพแทสเซียม  แมกนีเซียม , ฟอสฟอรัส  เพื่อลดผลที่ข้างเคียงจากการฟอกเลือดรวมถึงลดอาการต่างๆ จากภาวะเสียสมดุลของสารอาหารในร่างกาย เสริมบำรุงโปรตีนให้พอ   แต่ต้องควบคุมไม่ให้มากเกินไป  เพื่อเป็นการลดการทำงานของไต ป้องกันภาวะฟอสเฟตสูง  กรณีที่ไขมันในเลือดสูงให้หลีกเลี่ยงการรับประทานโปรตีนจากสัตว์ เลือกรับประทานโปรตีนจากปลา งดเว้นการรับประทานอาหารประเภทไขมัน หรือ อาหารรสหวานจัด  ควบคุมอาหารรสเค็ม ผงชูรส ซอส  น้ำปลา เกลือ กินอาหารรสธรรมชาติ  ไม่ปรุงแต่ง …

อาหารสุขภาพสำหรับ ผู้ป่วยโรคไต Read More »

แพทย์แผนจีนแนะ อาหารสมุนไพรสำหรับโรคซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้า มักมีการแสดงออกหลายอาการหรือเป็นกลุ่มอาการ เช่น มีความภูมิใจในตัวเองลดลง  ขาดความสนใจในกิจวัตรประจำวัน   มักครุ่นคิดหรือรู้สึกถึงความไม่มีคุณค่า  ความเสียใจ หรือรู้สึกผิดอย่างไม่มีเหตุผล หมดหวัง สมาธิแย่ลง นอนไม่หลับ  ความจำสั้น  แยกตัวออกจากสังคม  ความต้องการทางเพศลดลง  บางรายมีความคิดเกี่ยวกับความตายหรือการฆ่าตัวตาย แพทย์แผนจีนให้ความสำคัญของภาวะทางอารมณ์ที่มากระทบอย่างรุนแรงหรือยาวนาน จะมีผลต่อกลไกการเคลื่อนไหวของพลัง ทำให้เป็นผลร้าย กระทบต่ออวัยวะภายในที่แน่นอน  เช่น อารมณ์โกรธทำลายตับ, อารมณ์วิตกกังวลทำลายม้าม,   อารมณ์ดีใจทำลายหัวใจ อารมณ์เศร้าโศกเสียใจทำลายปอด อารมณ์กลัวทำลายไต ภาวะทางอารมณ์  โดยเฉพาะอารมณ์เก็บกดหงุดหงิด   จากการคิดกังวลมากเกินปกติ  จะเกิดการติดขัดของการไหลเวียนพลังของอวัยวะตับ   นานเข้าเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นความร้อน   และนำไปสู่ภาวะทางจิตเป็นลักษณะของความซึมเศร้าที่มีแนวโน้มไปทางเก็บกด ไม่แสดงออก  หดหู่ซึ่งเป็นด้านยิน  หรือแนวโน้มไปทางคลุ้มคลั่ง  โวยวายซึ่งจัดเป็นด้านหยาง  ภาวะทางอารมณ์มีผลต่ออวัยวะภายในหลายอวัยวะ  มีอาการแสดงออกหลายอาการหรือเป็นกลุ่มอาการ   แพทย์แผนจีน  เรียก ภาวะซึมเศร้าว่า อื่อวี่เจิ้ง (抑郁症 ) เป็นผลจากอารมณ์ที่ไม่ได้รับการระบาย  ตับเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ในการเก็บเลือดและระบายพลังและเลือด    ในกรณีที่ร่างกายต้องการใช้พลังและเลือดเพิ่มเติม    เพื่อการปรับเปลี่ยนอารมณ์ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้า   พลังตับที่ไม่ถูกระบายหรือกลไกพลังติดขัด เรียกว่า พลังตับอุดกั้น  การแก้ไขคือต้องให้มีการระบายพลังตับ  ขณะเดียวเดียวกันยังต้องเสริมบำรุงพลังของม้าม (ช่วยการย่อยและดูดซึม) รวมทั้งการบำรุงหัวใจ  ทำให้จิตใจสงบ กลุ่มอาหารที่มีฤทธิ์ช่วยการย่อยเสริมม้ามช่วยนอนหลับ  คือ  …

แพทย์แผนจีนแนะ อาหารสมุนไพรสำหรับโรคซึมเศร้า Read More »

อาหารสมุนไพรจีน บำรุงเส้นผมให้ดกดำ

ด้วยความรู้แผนปัจจุบัน เส้นผมที่มีสีดำ เกิดจากการที่เซลล์ที่ชื่อว่า เมลาโนไซต์(Melanocyte) ที่คอยผลิตเม็ดสีที่โคนรากผมสร้างเม็ดสีผม หรือ เมลานิน (melanin) ได้อย่างเพียงพอ  ผมหงอกเกิดจากเม็ดสีเมลานิน  ลดลงเมื่อสูงวัยขึ้น  จึงทำให้ผมเป็นสีขาว หยาบ และแลดูไม่เป็นประกาย  ผมหงอกที่มักพบในคนสูงอายุเมื่อเกิดแล้วจะอยู่ถาวร  ถ้าผมหงอกทั้งหัว ก็แสดงว่า Melanocyte Stem Cells ที่คอยผลิต เมลาโนไซต์(Melanocyte) ได้ตายหมดแล้ว ส่วนผมหงอกที่กลับดำได้นั้นเป็นผมหงอกที่เกิดจากโรคภายในร่างกาย ถ้ารักษาโรคหายผมจึงกลับดำได้  เช่น โรคโลหิตจาง ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ อารมณ์เครียดมาก หรือ หวาดกลัวเฉียบพลัน  รวมถึงจากการขาดสารอาหาร เช่น การขาดวิตามิน บี12   ธาตุทองแดง การขาดไบโอตินซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตเม็ดสีเมลานิน (ไบโอตินจะช่วยในคนที่ผมเป็นสีเทาๆดำไม่สม่ำเสมอทั้งเส้น) ผมหงอกก่อนวัยมักไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ  กินอาหารและยาบางชนิด มีความเครียดก็มีผลต่อการมีผมหงอก  โดยเฉพาะกรรมพันธุ์เป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งพบได้บ่อยในครอบครัวที่มีประวัติผมหงอกก่อนวัย การป้องกันผมงอกหรือทำให้ผมดกดำ จึงเน้นที่การดูแลสุขภาพ การพักผ่อน ออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร วิตามินเสริม การผ่อนคลายจิตใจ ลดความเครียด  การควบคุมโรคประจำตัว ในทัศนะแพทย์แผนจีน “ผมคือส่วนเกินของเลือด …

อาหารสมุนไพรจีน บำรุงเส้นผมให้ดกดำ Read More »

มือ บอกโรค

ทางแพทย์จีนถือว่าลักษณะของมือ สีของฝ่ามือ ความชุ่มแห้งของมือ และหลอดเลือดของฝ่ามือก็มีความสามารถบอกความสมบูรณ์ของร่างกายได้ ความอวบของมือถ้าเป็นผู้ที่มีมืออวบ แสดงว่าเป็นผู้ที่มีพลังเต็มเปี่ยมในการทำงาน ถ้ามือเล็กเรียวและอ่อน แสดงว่าร่างกายไม่แข็งแรง เป็นโรคได้ง่าย บางครั้งแม้มือจะอวบ แต่ถ้าอ่อนไม่มีแรง แสดงว่าร่างกายไม่แข็งแรง เช่นกันถ้ากล้ามเนื้อบนฝ่ามือแน่น แต่ขาดความยืดหยุ่น แสดงว่าเป็นผู้ที่มีนิสัยค่อนข้างแข็งกระด้าง ไม่ค่อยมีความยืดหยุ่น ดังนั้นเนื้อบริเวณฝ่ามือควรแน่น แต่จะต้องมีความอ่อนในระดับพอเหมาะ ตลอดจนมีความยืดหยุ่น ร่างกายจึงจะแข็งแรงและมีพลังอย่างเต็มเปี่ยมในการทำกิจการงานถ้ามือไม่ค่อยมีเนื้อและกล้ามเนื้อค่อนข้างแน่น แสดงว่าระบบย่อยอาหารไม่ดีถ้ากล้ามเนื้อใต้หัวแม่มือ หรือบริเวณสันมือใต้นิ้วก้อยลีบ สีผิวหมองไม่สดใส แสดงว่าเจ้าของมือ มักเป็นโรคบิดหรือท้องเสียเรื้อรัง สีของฝ่ามือคนที่มีร่างกายปกติฝ่ามือจะมีสีแดงเรื่อ ๆ และสดใส กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่น เวลาจับสิ่งของจะมั่นคงหากสีผิวของฝ่ามือเปลี่ยน ย่อมบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพ แต่จะต้องระมัดระวังปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อฝ่ามืออื่น ๆ เช่น ภูมิอากาศ สารที่ติดหรือเปื้อนมือถ้าฝ่ามือขาวซีด แสดงว่าเป็นโรคเกี่ยวกับปอดถ้าฝ่ามือสีคล้ำ แสดงว่าเป็นโรคเกี่ยวกับไตถ้าฝ่ามือสีม่วง แสดงว่าระบบไหลเวียนของเลือดไม่ดีถ้าฝ่ามือสีน้ำเงิน แสดงว่าเป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้ถ้าฝ่ามือสีเขียว แสดงว่าเป็นโรคโลหิตจางหรือระบบย่อยลำเลียง ดูดซึมไม่ดีถ้าฝ่ามือสีเหลองทอง แสดงว่าเป็นโรคเกี่ยวกับตับถ้าฝ่ามือสีแดงเข้ม แสดงว่าเป็นโรคร้อน (ติดเชื้อมีไข้) ถ้าฝ่ามือขาวซีดหรือเขียวคล้ำ แสดงว่าเป็นโรคโลหิตจาง มีอาการห้อเลือด ความดันเลือดสูงหรืออาจต่ำก็ได้ เป็นโรคหัวใจ เกาต์ เป็นต้น ถ้าเส้นหลักบนฝ่ามือทั้งสามคือ …

มือ บอกโรค Read More »

สมุนไพรจีน กับสารสกัดจากสมุนไพร

กระบวนการของการเกิดโรค บางโรคกว่าจะแสดงอาการใช้เวลานานค่อยๆ สะสมทางปริมาณจนถึงจุดเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ แต่บางโรคเกิดขึ้นทันที  ส่วนยาที่ใช้รักษาก็มีทั้งยาตำรับใหญ่  ตำรับเล็ก  มีพิษและไม่มีพิษ จึงต้องวิเคราะห์ให้ถ่องแท้ ยาที่มีพิษมากใช้รักษาโรค 10 ส่วน สามารถขจัดโรคได้แค่ 6ยาที่มีพิษธรรมดาใช้รักษาโรค 10 ส่วน สามารถขจัดโรคได้แค่ 7ยาที่มีพิษน้อยใช้รักษาโรค 10 ส่วน สามารถขจัดโรคได้แค่ 8ยาที่ไม่มีพิษใช้รักษาโรค 10 ส่วน สามารถขจัดโรคได้แค่ 9แต่การกินอาหารบางประเภท เช่น ธัญพืช เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ เพื่อดูแลสุขภาพสามารถขจัดโรคได้ทั้งหมด ข้อสรุปก็คือ ขึ้นชื่อว่ายาแล้ว ล้วนมีพิษ การกินอาหารตามใจตัวเองก็อาจจะกลายเป็นพิษได้เช่นกัน  ควรใช้อาหารเพื่อช่วยในการรักษาโรค แต่เมื่อไม่ได้ผลจึงค่อยคิดถึงการใช้ยายาที่มีพิษด้านหนึ่งรักษาโรค แต่ก็มีผลกระทบต่อร่างกาย จึงไม่สามารถกำจัดโรคได้อย่างสิ้นเชิง ต้องกินอาหารที่เหมาะสมเสริมเข้าไปเพื่อสร้างสมดุลภายในร่างกาย ศาสตร์ของแพทย์แผนจีนให้ความสำคัญต่ออาหารเป็นอย่างมาก เพราะอาหารบางอย่างในบางเงื่อนไขก็คือยาพิษ ที่สามารถทำลายร่างกายหรือทำให้โรครุนแรงขึ้นได้เช่นกัน อาหารอย่างดีก็เป็นพิษ มีเรื่องเล่ากันว่า ในสมัยราชวงศ์หมิง กษัตริย์จูหยวนจางได้ทำการหาเหตุฆ่าขุนนางชั้นผู้ใหญ่ และครอบครัว ๙ ชั่วโคตร มีแต่ซวีต๋า เท่านั้นที่ยังหาเหตุผลในการฆ่าไม่ได้ เนื่องจากเป็นเพื่อนในช่วงวัยเยาว์ที่ดีต่อกัน อีกทั้งมีผลงานในการสู้รบที่ดีเยี่ยม และอำนาจของแม่ทัพก็ถูกถ่ายโอนแล้ว ซวีต๋าอยู่ในช่วงระหว่างพักผ่อนในบั้นปลายชีวิต …

สมุนไพรจีน กับสารสกัดจากสมุนไพร Read More »