การทำงานกับการพักผ่อน

แก่นแท้ของการดูแลสุขภาพ แบบแพทย์แผนจีน

ความสนใจในคุณค่าการดูแลสุขภาพ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย มีอายุยืนยาว มักจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดจากการเจ็บป่วย หรือเมื่ออยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิตถูกคุกคามด้วยโรคร้าย เรียกว่า ต้องเห็นโลงศพจึงหลั่งน้ำตา คนเราเมื่อยามสุขภาพไม่ดี ก็จะเห็นว่าสุขภาพมีความสำคัญ เมื่อยามที่จะต้องสูญเสียชีวิต ก็จะเห็นว่าชีวิตเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่ง การปล่อยปละละเลยต่อการดำเนินชีวิต ไม่เข้าใจกฎเกณฑ์ แห่งธรรมชาติ ละเมิดวิถีแห่งธรรมชาติ จะทำให้ร่างกายทรุดโทรมเสื่อมถอย โรคภัยไข้เจ็บคุกคามเมื่อย่างเข้าสู่ ภาวะเสื่อมถอย คัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง (黄帝内经) ได้กล่าวถึง แก่นแท้หรือหลักการดูแลสุขภาพไว้อย่างน่าสนใจ ควรแก่การศึกษา แก่นแท้หรือหลักการดูแลสุขภาพ เมื่อพลังเจิ้งชี่ยังดำรงอยู่ ปัจจัยก่อโรคก็มิอาจกระทำต่อร่างกายได้(正气存在,邪不可干)ธรรมชาติได้ให้เทียบเท่ากันของทุกชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส พืช สัตว์ รวมถึงมนุษย์ ทุกชีวิตดำรงอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ทำไมคนเราจึงไม่ติดเชื้อโรค หรือเป็นโรคทั้งๆที่มีเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา ฯลฯ อยู่ในสิ่งแวดล้อม รายล้อมร่างกายเล่า? แพทย์แผนจีนมองว่าในภาวะปกติ พลังเจิ่งชี่(正气)ของร่างกายยังอยู่ในภาวะที่ดำรงอยู่ร่วมกันได้กับแบคทีเรีย และไวรัสหรือสิ่งก่อโรคอื่นๆ แต่เมื่อใดตามร่างกายอ่อนแอลง พลังเจิ้งชี่ไม่อาจต้านทานการบุกรุกของเชื้อโรค ก็จะเกิดปัญหาโรคภัยไข้เจ็บตามมาทันที ร่างกายมนุษย์เปรียบเสมือนกับประเทศชาติ ภาวะสมดุลของร่างกาย คือ ภาวะการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ จะต้องมีการพัฒนาที่สมดุล มั่งคง …

แก่นแท้ของการดูแลสุขภาพ แบบแพทย์แผนจีน Read More »

รู้ได้อย่างไรว่า “ไต” เราแข็งแรง

พลังไตเป็นรากฐานของอวัยวะภายใน ทั้ง 5 (肾是五脏之根)  ไตเป็นที่เก็บของพลังสำรอง  เมื่ออวัยวะภายในอื่นๆขาดแคลนพลังจะเรียกใช้บริการของไต คนที่ไตแข็งแรง แสดงออกถึงอย่างไร? 1. ไตดี : การเจริญเติบโตดี (เกี่ยวข้องกับระบบฮอร์โมน) ผู้หญิงใช้เลข 7 มาแบ่งช่วงอายุ ผู้ชายใช้เลข 8 มาแบ่งช่วงอายุ ผู้หญิงอายุ 4×7 = 28ปี  เป็นช่วงที่พลังไต ถึงขีดสุด เอ็นกระดูกแข็งแรง                   5×7 = 35ปี เป็นช่วงที่พลังไตเริ่มเสื่อมถอยในผู้หญิง ผู้ชายอายุ   4×8 = 32ปี เป็นช่วงที่พลังสูงสุดของเพศชาย                    5×8 = 40 ปี เป็นช่วงที่พลังไตเริ่มเสื่อมถอยในผู้ชาย 2. ไตดี : ระบบสืบพันธุ์ดี จิงของไต (มีความหมายคล้ายกับระบบฮอร์โมน) เป็นตัวกระตุ้นระบบการสืบพันธุ์ กระตุ้นการเจริญเติบโต ทำให้ผู้ชายมีเชื้ออสุจิ ผู้หญิงมีประจำเดือน คนที่ไตอ่อนแอ ในผู้หญิงจะมีอาการประจำเดือนไม่ปกติ มดลูกเย็น …

รู้ได้อย่างไรว่า “ไต” เราแข็งแรง Read More »

5 วิธีเสริมสร้างพลังหยาง ที่ง่ายและประหยัด

พลังหยาง (阳气) คือพลังของชีวิต ในวัยเด็ก พลังหยางค่อยๆ สะสมตัว จนพลังหยางสูงสุดในวัยหนุ่มสาว และเข้าสู่วัยกลางคน พลังหยางก็เริ่มถดถอยลดน้อยลง ร่างกายก็ไม่กระฉับกระเฉง ความคิดอ่าน ความจำ ความว่องไวทางประสาท สมอง ก็ลดลงเรื่อยๆ ถึงวัยชราภาพ พลังหยางน้อยลงไปอีกและหมดไปในที่สุดพร้อมกับการดับลงของชีวิต เป็นวัฏจักรของการเกิด พัฒนา เสื่อมถอย และการตาย การบำรุงพลังหยางจึงมีความสำคัญต่อชีวิต เพราะเป็นตัวกำหนดการเกิด พัฒนาและการเสื่อมถอยของร่างกาย รวมถึงโอกาสการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ของร่างกายและจิตใจด้วย ไปดูกันครับ ว่าเราสามารถเสริมสร้างพลังหยางได้อย่างไรบ้าง 1. เตรียมตัวนอนก่อน 23.00 น. คนที่หลับยากหน่อยอาจเข้านอน 22.30 น. คนที่หลับง่ายอาจนอนเวลา 22.50 น. พยายามให้หลับในช่วงประมาณ 23.00 น. และหลับสนิทในช่วง 01.00-03.00 น. 2. ไม่ควรกินอาหารหลัง 23.00 น. เพราะถุงน้ำดีจะไม่ทำงาน ในการขับน้ำดีโดยเฉพาะหลัง 23.00 น.ไปแล้ว และมักจะเกิดอาการหิว (หยางเริ่มเกิด) และคนมักจะตาสว่างไม่ค่อยง่วงนอน …

5 วิธีเสริมสร้างพลังหยาง ที่ง่ายและประหยัด Read More »

7 อาหารป้องกัน โรคหลอดเลือดสมอง

คนสูงอายุ มักจะมีปัญหาเรื่องของหลอดเลือดแข็งตัว จากสาเหตุความเสื่อมตามอายุขัยหรือจากโรคความดันโลหิตสูง  โรคไขมันในเลือดสูง  เบาหวานที่เป็นมาหลายปีแม้ว่าจะได้รับการดูแลรักษาอย่างดีด้วยยามาอย่างต่อเนื่องก็ตาม หลอดเลือดแข็งตัว  ทำให้อวัยวะสำคัญๆ เกิดปัญหาได้ง่าย  เช่น สมอง หัวใจ และไต ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองแข็งตัว  มีโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก เกิดอัมพฤกษ์ – อัมพาต อีกทั้งทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ง่าย, ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจแข็งตัว ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน จะทำให้หัวใจขาดเลือด, ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสื่อมแข็งตัว ทำให้ไตฝ่อ ไตทำหน้าที่น้อยลงเกิดภาวะไตวาย ปรมาจารย์แพทย์จีน หลี่สือเจิน ( 李时珍)  กับเคล็ดลับ 7 อาหาร ป้องกันรักษาโรคหลอดเลือดสมอง 1. เก๋อเกิน  (葛根) หรือโสมภูเขา  ( 山人参 ) สรรพคุณ เสริมธาตุน้ำ  ขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเลือดต้านมะเร็ง ป้องกันการตายของเซลล์ประสาทสมอง  สูตรการทำอาหารง่ายๆ โดยใช้ เก๋อเกิน 30 กรัม, ข้าวสาร 50 กรัม เอามาทำข้าวต้ม …

7 อาหารป้องกัน โรคหลอดเลือดสมอง Read More »

การประยุกต์ใช้ “แสงสี” ในชีวิตประจำวัน

การประยุกต์เรื่องของแสงสีในชีวิตประจำวัน อาศัยอิทธิพลของแสงสีต่างๆที่มีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกและผลกระทบต่ออวัยวะภายในมาจัดการ กับสภาพแวดล้อม เช่น ที่อยู่อาศัย ห้องนอน ห้องทำงาน อุปกรณ์ใช้สอย การตกแต่ง ผนังกำแพง ม่านหน้าต่าง แสงไฟ ชุดทำงานของพนักงานบริษัท หรืออาชีพต่างๆ รวมทั้งการจัดห้องสำหรับผู้ป่วย ฯลฯ ตัวอย่างเช่น1. การใช้แสงสีที่มีลักษณะอุ่นเพื่อการกระตุ้นแสงสีที่ใช้คือ สีแดง สีชมพู หรือสีส้ม เช่น หากนำไปใช้ในห้อง อาบน้ำจะทำให้มีการกระตุ้น มีความเบิกบาน เหมาะสำหรับผู้มี อารมณ์เศร้าโศก อึดอัดใจ ง่วงนอน สมองเฉื่อยชา มีคุณสมบัติในการ ขจัดความพร่อง ความเย็นชา 2. การใช้แสงสีที่มีลักษณะเย็นเพื่อการยับยั้งแสงสีที่ใช้ได้แก่ สีเขียว สีน้ำเงิน สีเขียวอ่อน สีฟ้า เช่น หากนำไปใช้ในห้องอาบน้ำจะทำให้รู้สึก เย็นชื่นใจ อารมณ์สงบ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอารมณ์หงุดหงิดง่ายๆ นอนไม่หลับ มีความกลัว ตกใจง่าย คิดมาก3. ใช้แสงสีเพื่อถนอมสายตาแสงสีที่ใช้ได้แก่ สีเขียว และสีดำ เหมาะสำหรับคนที่สายตาสั้น สายตายาว และตาบอดสี 4. …

การประยุกต์ใช้ “แสงสี” ในชีวิตประจำวัน Read More »

อาหารสมุนไพรจีน สำหรับ ภาวะง่วงนอนและหลับมากผิดปกติ

เรื่องของความผิดปกติของการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นการนอนไม่หลับ ฝันบ่อย การหลับมากผิดปกติ แพทย์แผนจีนมองว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอวัยวะภายในของร่างกายทั้งสิ้น การรักษาภาวะดังกล่าวจึงต้องใช้หลักการปรับสมดุลตามสภาพปัญหาของแต่ละบุคคล แพทย์แผนจีนอธิบายว่า “พลังเว่ยชี่เคลื่อนออกสู่ภายนอก(เส้นลมปราณหยาง)ก็ทำให้ตื่น  พลังเว่ยชี่เคลื่อนเข้าสู่อวัยวะภายใน ก็ทำให้นอนหลับ” (卫气行于阳则寤,卫气行于阴则寐  ) ช่วงกลางวัน ธรรมชาติของพลังแสงอาทิตย์จะส่งเสริมการขับเคลื่อนพลังเว่ยชี่ (卫气)ของร่างกายออกสู่ภายนอก  ช่วงกลางวันคนส่วนใหญ่จึงมีการตื่นนอนและความกระปรี่กระเปร่า ช่วงเวลากลางคืนพลังเว่ยชี่(卫气)จะเคลื่อนไหวกลับเข้าสู่ภายใน  ทำให้ร่างกายภายนอกขาดความตื่นตัวเข้าสู่ภาวะง่วงเหงาหาวนอนอยากจะหลับ กล่าวสำหรับคนที่มีภาวะง่วงนอนและหลับมากผิดปกติ มักพบในคนอ้วนคนอ้วนซึ่งจำแนกตามศาสตร์แพทย์แผนจีนที่พบบ่อยมีอยู่ 2 ประเภท 1. คนอ้วนประเภทเสมหะความชื้นภายในตกค้างสะสม (痰湿内盛) เนื่องจากระบบม้ามอ่อนแอ ทำหน้าที่ในการย่อยและลำเลียงอาหารได้ไม่ดี หรือเรียกว่าพลังส่วนกลางพร่อง  ทำให้การลำเลียงสารอาหารที่ย่อยสลายไปสู่ส่วนบนไม่ดีพอ โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ พลังเว่ยชี่(卫气)ที่อยู่ภายนอกจะถูกดึงจากภายนอกเพื่อไปช่วยในการย่อยดูดซึมและลำเลียงอาหารทำให้พลังที่ผิวภายนอกลดลงอย่างมาก   ผลที่ตามมาคือเกิดการง่วงนอน ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการอื่น ๆ ร่วมเช่น สีหน้าไม่ค่อยมีชีวิตชีวา ศีรษะและหนังตาจะหนักๆ  หน้าอกหน้าท้องมักจะแน่นอึดอัด เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย  2. คนอ้วนประเภทหยางหัวใจและไตพร่อง (心肾阳虚) ขาดพลังความร้อน-ทำให้เกิดความอบอุ่นกับร่างกายผู้ป่วยมักมีใบหน้าขาดความมีชีวิตชีวา อ่อนเพลีย ไม่ค่อยอยากจะเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายเพราะเหนื่อยง่าย แขนขามักจะเย็น ชีพจรเล็ก ไม่มีกำลัง ร่างกายอ่อนแอ เมื่อพลังโดยรวมของร่างกายน้อยลง พลังเว่ยชี่(卫气) เกี่ยวข้องกับการตื่นตัวและการใช้ขับเคลื่อนกิจกรรมการดำเนินชีวิตในภาวะปกติก็น้อยลงด้วย  จึงทำให้เกิดอาการง่วงนอนตลอดเวลา  ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักเป็นคนที่มีโรครุนแรงมาก่อน แล้วไม่รับการดูแลฟื้นฟูที่ดีพอ …

อาหารสมุนไพรจีน สำหรับ ภาวะง่วงนอนและหลับมากผิดปกติ Read More »

โรคนับร้อยมีที่มาจากอารมณ์

“คุณหมอคะ เวลาใกล้มีประจำเดือน หนูจะปวดแน่นเต้านมและชายโครง บางทีคลำได้ก้อน แต่พอหมดประจำเดือน ก้อนที่เต้านมก็หายไปค่ะ หนูจะเป็นมะเร็งหรือเปล่าคะ” “เวลาใกล้มีประจำเดือน หนูมักปวดหัวข้างเดียว แต่บางครั้งเวลาเครียดก็เป็นค่ะ หนูเป็นโรคไมเกรนหรือเปล่าคะ” “เวลามีประจำเดือน รู้สึกอยากกินของเปรี้ยว กินแล้วหายหงุดหงิดค่ะ” หลายๆคำถามที่ยกตัวอย่างมา ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันเราพออธิบายอาการและอารมณ์ความรู้สึกได้ว่า เป็นผลมาจากภาวะการณ์เปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงใกล้มีประจำเดือน ซึ่งส่งผลต่อร่างกายและความแปรปรวนทางจิตใจ ทำให้การแสดงออกของอาการต่างๆ ในผู้หญิงแต่ละคนไม่เหมือนกัน ในทัศนะแพทย์แผนจีนได้เชื่อมโยงผลกระทบของร่างกายทั้งอวัยวะตันภายในทั้ง 5 (หัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต) อวัยวะกลวงภายในทั้ง 6 (กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ซานเจียว) เส้นลดปราณที่สัมพันธ์กับอารมณ์และสิ่งกระตุ้นทั้งมวลอย่างแนบแน่น ตัวอย่างที่จะกล่าวถึงคือเรื่องของอารมณ์ทั้ง 7 กับการเกิดโรค อารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ปุถุชนทั้งหลาย ประกอบด้วยอารมณ์ 7 อย่างด้วยกัน คือ ดีใจ โกรธ วิตก กังวล เศร้า กลัว ตกใจ (เนื่องจากอารมณ์วิตกกับอารมณ์กังวลมีลักษณะใกล้เคียงกัน และอารมณ์กลัวกับอารมณ์ตกใจก็มีลักษณะใกล้เคียงกัน จึงจัดไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เหลือเป็นอารมณ์ทั้ง …

โรคนับร้อยมีที่มาจากอารมณ์ Read More »

12 คาบเวลา ปรับสมดุลตาม นาฬิกาชีวิต

หลักการดูแลสุขภาพให้สอดคล้อง ตามวันเวลา ใน 24 ชั่วโมง สามารถแบ่งได้เป็น 12 คาบ โดยแต่ละคาบเท่ากับ 2 ชั่วโมง พลังลมปราณในร่างกายจะเคลื่อนที่ในพลังลมปราณหลัก 12 เส้นๆ ละ 2 ชั่วโมง เวลาในแต่ละคาบจะมีอวัยวะที่แน่นอนคอยกำกับควบคุมพลังลมปราณ ทำให้เกิดการไหลเวียนของพลังสูงสุดในเส้นลมปราณของอวัยวะนั้นๆที่มีกฎเกณฑ์แน่นอน “วิธีปฏิบัติตัวไร้โรค  12  คาบเวลา” 十二时无病法 1.  子时 (จื่อสือ) ช่วงเวลา 23.00 – 1.00  น. พลังวิ่งในเส้นลมปราณถุงน้ำดีสูงสุด : นอนหลับให้ดี 好好睡觉 เวลานี้เป็นช่วงกำเนิดพลังหยาง คนเราจะง่วงนอนมากก่อนถึงเวลา  23.00 น. พอเลยเวลา  23.00  น. เมื่อพลังหยางเริ่มเกิดมักจะหายง่วงนอนการนอนดึกๆ นานๆ จะทำให้เกิดผลเสียตามมา คือ เกิดโรคนอนไม่หลับ การกินอาหารในช่วงเวลานี้ถือเป็นข้อห้าม เพราะจะทำลายพลังการทำงานของถุงน้ำดีในการขับสารพิษของเสียออกจากร่างกาย 2.  丑时 (โฉ่วสือ) ช่วงเวลา 1.00 – …

12 คาบเวลา ปรับสมดุลตาม นาฬิกาชีวิต Read More »

ทำไม? เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

ถ้าพูดถึงสาเหตุของความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แพทย์แผนจีน มีความเชื่อว่า สารจิงของไต เป็นส่วนสำคัญในการเก็บพลังชีวิต ซึ่งมีความหมายถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรม การควบคุม การให้พลังงานของระบบต่างๆ ของร่างกายให้ทำงานได้อย่างปกติ สารจิง (มีความหมายรวมถึงอสุจิด้วย) จึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและเป็นสิ่งที่ไม่ควรถูกใช้ไปอย่างพร่ำเพรื่อ ความเชื่ออันนี้นำไปสู่ความคิดในเรื่องการดูแลสุขภาพไม่ให้ไตเสื่อมเร็ว จะต้องถนอมไม่ให้มีการหลั่งอสุจิ ยิ่งเก็บไว้นานยิ่งดี โดยที่แพทย์แผนปัจจุบันถือว่าไม่มีความจำเป็นต้องเก็บสามารถระบายขับออกตามที่ต้องการ เพราะจะระบายความเครียดในจิตใจได้ ร่างกายก็สร้างทดแทนได้อีก ในขณะที่การแพทย์แผนจีนถือว่าในคนหนุ่มแน่น อาจจะระบาย หลั่งสารจิงได้ เพราะมีภาวะที่ไตยังดี และเป็นการลดภาวะที่แกร่งเกินไป แต่ถ้าเสียสารจิงไปบ่อยๆมากเกินไปจะกลายเป็นผลเสีย โดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้นหรือยิ่งสูงอายุ จึงต้องพยายามหลีกเลี่ยง (แต่ไม่ได้ห้ามการมีเพศสัมพันธ์ เพียงแต่ต้องถนอม) การหลั่งสารจิง ความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศมีสาเหตุสำคัญ คือ 1. การลดลงของไฟมิ่งเหมินการมีเพศสัมพันธ์ที่มีการหลั่งสารจิง (น้ำอสุจิ) รวมถึงการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองบ่อยครั้งเกินไปเป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดการสูญเสียไฟของมิ่งเหมิน การทำงานของระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ การขับถ่าย การสืบพันธุ์ ล้วนอาศัย ไฟจากมิ่งเหมิน ถ้าสูญเสียไฟของมิ่งเหมิน ระบบการทำงานของร่างกายทั้งหมดจะลดลง ร่างกายจะเสื่อมถอยเร็วขึ้น และพลังของไตจะหมดไป 2. การเสื่อมถอยของหัวใจและระบบม้ามความเครียดกังวลและภาวะทางจิตใจมีผลต่ออวัยวะภายในหัวใจ ซึ่งในทัศนะของแพทย์แผนจีนจะหมายถึง ระบบประสาทส่วนกลางและสมองที่ควบคุมจิตอารมณ์ด้วย ความวิตกกังวลยังมีผลต่อระบบม้าม ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึม ทำให้พลังงานที่ได้รับจากอาหารลดลง ผลคือ พร่องทั้งเลือดและพลัง 3. ความตกใจเกินไปทำลายพลังของไตบางคนเคยมีภาวะการตกใจจากประสบการณ์ในอดีตที่รุนแรง …

ทำไม? เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ Read More »

ไวรัสตับอักเสบ ในทัศนะแพทย์จีน

ตำราแพทย์จีนโบราณ ไม่มีเรื่องของตับอักเสบจากเชื้อไวรัส เพราะไม่สามารถแยกแยะสาเหตุว่าการอักเสบของตับมาจากเชื้อไวรัสชนิดใด นอกจากนี้ การเกิดปัญหาเกี่ยวกับโรคตับ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับตัวตับโดยตรงหรือโดยอ้อม เช่น การปวดแน่นชายโครง ภาวะตับอุดกั้น ตับร้อนทำให้หงุดหงิด ถุงน้ำดี ตับร้อนชื้น ก็จะถูกเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันไปหมด โรคที่เกี่ยวกับตับจึงมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอาการ “ปวดชายโครง” “อารมณ์อุดกั้น”  “ภาวะร้อนชื้น”  “ภาวะก้อนของตับ” “ภาวะดีซ่าน” หน้าที่ของตับตามทรรศนะแพทย์แผนจีน1. ตับเก็บเลือด และควบคุมปริมาณเลือด2. ตับทำหน้าที่ระบายและปรับการไหลเวียนและพลัง3. ตับควบคุมอารมณ์และจิตใจ4. ตับขับเคลื่อนการไหลเวียนเลือด และพลัง และการลำเลียงน้ำในร่างกาย5. ตับเปิดทวารที่ตา หน้าที่ของตับที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคตับอักเสบ คือ ภาวะการอุดกั้นของตับ ทำให้การไหลเวียนเลือดและพลังติดขัด ทำให้มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์และจิตใจ รวมถึงการทำงานของระบบม้ามและกระเพาะอาหาร (ไม้ข่มดิน-ตับแกร่งข่มม้าม) หรือในทางกลับกัน การหงุดหงิด จิตใจหดหู่ เครียด โมโห จะมีผลต่อการทำงานของตับโดยตรง เกิดพลังและเลือดอุดกั้น (สารพิษในร่างกายมาก ตับทำหน้าที่ขับพิษได้น้อยลง ตับทำหน้าที่มากขึ้น) ระบบการย่อยอาหารที่สะสมความร้อนชื้นมากจะมีผลต่อความร้อนชื้นของระบบตับ-ถุงน้ำดีได้ การที่เกิดความร้อนชื้น หรือพลังอุดกั้นจากอารมณ์นานๆ จะทำให้เกิดก้อนหรือการอักเสบภายในตับได้ เพราะเกิดความร้อนและการไหลเวียนติดขัดเกิดเลือดคั่งค้าง การแบ่งไวรัสตับอักเสบตามทัศนะแพทย์แผนจีน1. ชนิดเฉียบพลัน – แบบมีภาวะดีซ่าน คือมีตัวเหลือง ตาเหลือง …

ไวรัสตับอักเสบ ในทัศนะแพทย์จีน Read More »

พลังไตย้อนกลับขึ้นบน คืออะไร

ในผู้ป่วยหอบหืดเรื้อรัง หรือหลอดลมอักเสบเรื้อรังตามทัศนะแพทย์แผนจีน มีสาเหตุหลายอย่าง สาเหตุที่สำคัญ สาเหตุหนึ่งคือ ภาวะพลังไตย้อนกลับขึ้นบน (พลังไตไม่กลับที่แหล่งกำเนิดเพราะพลังไตพร่อง อ่อนแอ) ภาวะพลังไตย้อนกลับขึ้นบน”  หมายถึง ภาวะพลังไตอ่อนแอ พลังไม่สามารถกลับสู่ตำแหน่ง ดั้งเดิมของไต คือบริเวณตานเถียน ซึ่งเป็นแหล่งเก็บพลังพื้นฐานของไต ทำให้การหายใจสั้น หายใจไม่ลึก มีอาการหอบหืด มักพบว่ามีความผิดปกติร่วมกันของพลังปอดพร่องกับพลังไตพร่องควบคู่กัน อาการสำคัญคือ หอบหืดหายใจสั้น หายใจเข้าได้น้อย หายใจออกมาก ถ้าเคลื่อนไหวหรือใช้กำลังกายอาการจะรุนแรงขึ้นอาการร่วม เป็นโรคไอ หอบหืดเรื้อรัง เหงื่อออกมากผิดปกติ ใบหน้าขาดความมีชีวิตชีวา เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยอยากจะพูด เสียงพูดไม่มีพลัง เอวและเข่าเมื่อยล้าอ่อนแรง ในรายที่เป็นมากจะมีอาการหอบหืดรุนแรง มีเหงื่อเย็นออกมาก แขนขาเย็น หน้าซีดเขียวลักษณะลิ้น : ลิ้นซีด ฝ้าขาวชีพจร : ลึกและอ่อนแอสาเหตุสำคัญของ “ภาวะพลังไตย้อนกลับขึ้นบน”มาจาก1. ไอ หอบหืดเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ทำให้โรคจากพลังปอดพร่อง พัฒนาไปทำให้พลังไตพร่องด้วย2. คนสูงอายุ มักมีพลังไตอ่อนแออยู่แล้ว เป็นเงื่อนไขที่ทำให้การรับหรือดึงพลังไตกลับตานเถียนได้น้อยกว่าปกติ3. โรคเรื้อรังที่กระทบกระเทือนต่อไต เพศสัมพันธ์ที่มากเกินไป, การทำงานเหนื่อยล้านานเกินไปอย่างต่อเนื่อง กลไกการเกิด …

พลังไตย้อนกลับขึ้นบน คืออะไร Read More »

นาฬิกาชีวิต กับวิถีแห่งธรรมชาติ

แนวคิดใหม่เกี่ยวกับนาฬิกาชีวิต เชื่อว่าภายในร่างกายมนุษย์ถูกควบคุมโดยตารางเวลาที่มีกฎเกณฑ์แน่นอน ทำให้การเคลื่อนไหวระบบการทำงาน สรีระของร่างกายก็มีจังหวะกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างคงที่ เช่น ความดันเลือด อุณหภูมิ การเต้นของหัวใจ การหายใจ ช่วงสูงสุดต่ำสุดของการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ เป็นต้น เรียกว่า “กฏเกณฑ์แห่งชีวิต” การดูแลสุขภาพกับนาฬิกาชีวิตเกี่ยวข้องกันอย่างไร? ถ้าปราศจากลักษณะมีกฎเกณฑ์ ก็ปราศจากการมีชีวิต หรืออีกนัยหนึ่ง ถ้าดำเนินชีวิตโดยไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ตามนาฬิกาชีวิต ก็เป็นการทำลายสุขภาพ (ชีวิต) การเคารพวิถีแห่งการดำเนินไปของธรรมชาติ เป็นหนทางที่ดีที่สุดในการดูแลสุขภาพ ซึ่งตรงกับแนวคิดของเล่าจื๊อ”เป็นธรรมชาติแห่งวิถีเต๋า” นั่นเอง มีการศึกษาวิจัยพบว่านาฬิกาชีวิตของร่างกายมนุษย์มีมากกว่า 100 อย่างหรือฎเกณฑ์ตารางการทำงานของระบบต่างๆ สามารถกำหนดได้เป็นช่วงเวลา สั้นบ้าง ยาวบ้าง เป็นหลายแบบ เช่น– กฎเกณฑ์การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงที่เป็นรอบวัน เรียกว่า นาฬิกาประจำวัน– กฎเกณฑ์การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในรอบเดือน เรียกว่า นาฬิกาประจำเดือนนอกจากนี้ยังพบว่ามี นาฬิกาประจำปีและนาฬิกาของอายุขัยซึ่งเป็นนาฬิกาที่ใหญ่ที่สุด ที่กำหนดวัฏจักรแห่งการเกิด-เติบโต-สูงสุด-แก่-ตาย ซึ่งในทางธรรมชาติแล้ว ถ้ามนุษย์ ปฏิบัติตัวตามกฎเกณฑ์แห่งนาฬิกาชีวิต จะสามารถมีอายุขัยถึง 120 ปี เคล็ดลับการมีสุขภาพดีและอายุยืนยาวตามกฎเกณฑ์ ของนาฬิกาชีวิต คืออะไร ข้อกำหนดระดับสากลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพล่าสุดกล่าวไว้ 2เงื่อนไข 1. การวางแผนการดำเนินชีวิตต้องมีความรู้ มีจุดมุ่งหมายในการกำหนดการเคลื่อนไหวในกิจกรรมของชีวิต โดยสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติ 2. …

นาฬิกาชีวิต กับวิถีแห่งธรรมชาติ Read More »

ทำไมต้องมี? อาหารเสริมสุขภาพ

ร่างกายคนเราต้องการสารอาหารที่ได้สมดุล เพื่อสุขภาพที่ดี เพราะภาวะปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ (โดยเฉพาะคนเมือง) ได้รับอาหารประเภทไขมัน แป้ง เกลือ เนื้อสัตว์ทำให้ขาดเส้นใย ผัก ผลไม้ วิตามิน แร่ธาตุ ทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคอ้วน เบาหวาน โรคความเสื่อม นอกจากนี้อุปนิสัยและความเคยชินหลายอย่างก็มีผลต่อการขาดสารอาหาร คนที่ดื่มเหล้า เหล้า 1 กรัมทำให้ร่างกายเสียพลังงาน 7 แคลอรี โดยไม่ได้ให้คุณค่าของสารอาหารเลย  เหล้าทำให้ร่างกายสูญเสียวิตามินบี ซี สังกะสี แมกนีเซียม โพแทสเซียม เหล้าทำลายตับ ทำให้พิษสะสมในร่างกายมากขึ้น ทำให้เป็นโรคตับแข็งหรือโรคมะเร็งง่ายขึ้น คนสูบบุหรี่บุหรี่มีผลระคายเคืองต่อปอด เพิ่มความเสี่ยงของ โรคมะเร็งโดยตรงและทางอ้อม การสูบบุหรี่ทำให้ความต้องการสารอาหารพวกวิตามินบี12 กรดโฟลิก วิตามินซี และอี ซึ่งเป็นสารต้าน อนุมูลอิสระมากขึ้น เพราะต้องไปต่อสู้กับความเสื่อมของ เนื้อเยื่อ และการเพิ่มขึ้นของอนุมูลอิสระที่ทำลายเนื้อเยื่อ ต่างๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังพบว่าบีตาแคโรทีนในคนสูบบุหรี่จะต่ำกว่าคนทั่วไปอีกด้วย คนดื่มกาแฟ  ชาการดื่มกาแฟและชา โดยเฉพาะก่อนหรือหลังอาหาร ๑ ชั่วโมงจะมีผลลดการดูดซึมธาตุเหล็กถึงร้อยละ 80 การดื่มกาแฟปริมาณมากจะทำให้แคลเซียมถูกขับออกจากร่างกายมากขึ้น  ทำให้กระดูกพรุน การเตรียมอาหารการล้าง การปรุง การเก็บเกี่ยว …

ทำไมต้องมี? อาหารเสริมสุขภาพ Read More »

10 เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพในฤดูหนาว

ฤดูหนาว เป็นอีกหนึ่งฤดูที่มักส่งผลกระทบถึงปัญหาสุขภาพหลายประการ ทั้งไอ จาม เป็นไข้ เป็นหวัด รวมถึงภูมิแพ้ เป็นต้น ซึ่งการดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ถือเป็นเกราะป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้อีกทางหนึ่ง 1. ดื่มน้ำเพิ่มมากขึ้น (多点水) การดื่มน้ำอุ่นมากพอจะช่วยทำให้อุ่นภายในร่างกาย และทำให้ร่างกายไม่ขาดน้ำหล่อเลี้ยง ป้องกันความแห้งจากอากาศ ปริมาณน้ำต่อวันควรอยู่ที่ 2 – 3 ลิตร 2. ให้เหงื่อออกเล็กน้อย (出点汗) การเคลื่อนไหวควรให้อยู่ในระดับที่เรียกเหงื่อก็พอ หากออกกำลังกายหักโหมเกินไป จะเสียเหงื่อเสียพลังที่สะสมอยู่ ทำให้ขัดหลักการถนอมพลังหยางและทำให้รูขุมขนเปิด เสียชี่ (ปัจจัยก่อโรค) เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย 3. สนใจป้องกันโรค (防点病) ควรป้องกันและรักษาความอบอุ่นแก่ร่างกายให้เพียงพอ ระวังหลีกเลี่ยงลมแรง และการแปรปรวนของอุณหภูมิที่รวดเร็ว ในช่วงนี้ปัจจัยก่อโรคได้แก่ ลม ความเย็น และความแห้ง ต้องป้องกันเสียชี่เหล่านี้ให้ดี (ทางแผนปัจจุบันจะพูดถึงเชื้อไวรัส ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัด หัด หัดเยอรมัน ฯลฯ ) ควรเตรียมยาฉุกเฉินประจำตัว โดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจไว้ให้พร้อม 4. ปรับอารมณ์และจิตใจ (调点神) ฤดูกาลนี้คนมักจะเฉื่อยชา เพราะพลังธรรมชาติหดตัวเก็บสะสมตัว กระบวนการเผาผลาญอาหารของร่างกายก็น้อยลง สภาพทางจิตใจก็จะหดหู่ เก็บกด …

10 เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพในฤดูหนาว Read More »

ทัศนะแพทย์แผนจีน ต่อการนอนหลับ

เวลากลางวัน เป็นหยาง ระบบประสาทส่วนกลาง จะถูกกระตุ้นให้มีความตื่นตัว หลังเที่ยงวัน พลังหยางของธรรมชาติจะค่อยๆ ลดลงจนถึงเที่ยงคืน ภาวะความตื่นตัวของระบบประสาทส่วนกลางค่อยๆ อ่อนล้าหรือลดลง การทำงานของคนเราควรจะต้องให้สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติ และสภาพของ “นาฬิกาชีวิต” ของร่างกาย เวลากลางคืน เป็นยิน ระบบประสาทส่วนกลางควรอยู่ในสภาพสงบและพัก เพื่อขจัดความเมื่อยล้าจากการทำงาน การเคลื่อนไหวของร่างกาย จิตใจ ตลอดวันที่ผ่านมา การนอนหลับจึงเป็นวิธีการพักผ่อนตามธรรมชาติที่ดีที่สุด ถ้าการนอนหลับเพียงพอ หลับสนิท และเป็นการหลับตอนกลางคืนในช่วงเวลาที่เหมาะสมก็จะทำให้ร่างกายมีการฟื้นตัวได้ดีที่สุด เมื่อตื่นนอนตอนเช้าก็จะมีความสดชื่น มีสภาพร่างกาย สภาพของสมองที่พร้อมจะทำงานให้เกิดประสิทธิภาพดีที่สุด ปัญหาจะเกิดขึ้นมากมาย เมื่อร่างกายและสมอง ไม่สามารถพักผ่อน และฟื้นฟูสภาพได้จากภาวะการนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หรือหลับไม่พอ ร่างกายคนเรามีระบบการทำงานของร่างกายที่มีกฎเกณฑ์ เพื่อดำรงไว้ซึ่งระบบสมดุล กฎเกณฑ์เหล่านี้เปรียบเสมือน “นาฬิกาชีวิต” การเคลื่อนไหวของมันเป็นไปตามวิถีการหมุนรอบตัวเองของโลก การเข้าใจกฎเกณฑ์ของ “นาฬิกาชีวิต” เป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติรอบตัว นำมาซึ่งสุขภาพที่ดี อายุยืนยาว การปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ตัวอย่างกฎเกณฑ์ทางสรีระของร่างกาย เช่น ความดันของหัวใจ ประมาณ 72 ครั้ง/นาที การหายใจ ประมาณ 16 ครั้ง/นาที อุณหภูมิของร่างกาย ช่วงเช้าต่ำกว่าช่วงค่ำ …

ทัศนะแพทย์แผนจีน ต่อการนอนหลับ Read More »