ภาวะลมแดด ดูแล ป้องกัน และบำบัดด้วยแพทย์แผนจีน
โรคลมแดด (heat stroke) เป็นภาวะสูญเสียเหงื่อปริมาณมาก กลไกควบคุมความร้อนในร่างกายล้มเหลว เหงื่อจะออกน้อยหรือไม่ออกเลย เป็นเหตุให้อุณหภูมิใน ร่างกายสูงขึ้น (เพราะว่าร่างกาย ขาดน้ำอย่างมากจนไม่เพียงพอต่อการผลิตเหงื่อ) ผู้ป่วยจะตัวแดง ตัวร้อน เหงื่อจะออกมากในช่วงแรก ตอนหลังผิวจะแห้งเหงื่อออกน้อย เมื่อร่างกายไม่สามารถจะขับเหงื่อเพื่อระบายความร้อนได้ จะทำให้มีไข้สูง มึนงง สับสน กระสับกระส่าย หรืออาจจะไม่รู้สึกตัว สับสน และกระวนกระวาย หายใจเร็ว หายใจลำบาก ซึ่งอาจจะเกิดจากอวัยวะภายในเริ่มมีปัญหาชีพจรเร็ว เนื่องจากไข้และร่างกายขาดน้ำ ความดันโลหิตอาจจะสูงเล็กน้อยในระยะเริ่มต้น แต่เมื่อร่างกายขาดน้ำมากความดันโลหิตจะต่ำลง ลมแดด แพทย์แผนจีนเรียกว่าจ้งสู่ (中暑) ความร้อนจากอากาศร้อนจัดในฤดูร้อน เข้าสู่ร่างกาย ความร้อนที่มากเกินไป ทำให้การไหลเวียนของพลังติดขัดเกิดลมตับปั่นป่วนภายใน ทำให้มีไข้ ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้ อาเจียน กระสับกระส่าย ชักกระตุก หมดสติ ฤดูร้อนกับศาสตร์แพทย์แผนจีน ช่วงเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม เป็นช่วงเวลาของฤดู ร้อนอุณหภูมิภายนอกค่อยๆ ร้อนขึ้นจนถึงร้อนสุดๆ ตามด้วยการที่มีฝน ตกในช่วงปลายฤดูร้อน หากเราสังเกตมองดูต้นไม้ที่อยู่รอบตัวจะเห็นว่าเป็นช่วงเวลาของการเติบโตแผ่กิ่งก้านสาขาผลิดอกออกผลเช่นเดียวกับ ร่างกายของคนเราในฤดูกาลนี้เป็นช่วงที่พลังหยาง (ความร้อน) ภายในร่างกายมีการเพิ่มปริมาณสูงขึ้นตามสภาพอากาศภายนอก …