การกินเจ กับผักต้องห้ามทั้ง 5

ประเพณีการกินเจ ได้กำหนดนับเอาวันจันทรคติ คือเริ่มตั้งแต่ วันขึ้น 1 ค่ำถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน รวม 9 วัน 9 คืน เรื่องระหว่างการกินเจ ถ้าจะเคร่งครัดจริงๆ ต้องถือศีล8 (อุโบสถศีล)ควบคู่กันไปด้วย เพื่อดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา และใจ 

การกินเจ คือการไม่กินอาหารคาว ซึ่งรวมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และพืชผักที่มีกลิ่นฉุน การไม่กินเนื้อสัตว์ เพื่องดการทำอันตรายต่อสัตว์ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ทั้งปวงที่ทำมาจากสัตว์

พระในนิกายมหายาน(พระจีน)มักเคร่งครัดการห้ามกินเนื้อสัตว์มากกว่าพระในนิกายหินยาน

อย่างไรก็ตาม “อาหารคาวทั้ง 5”五荤 ไม่ว่าจะเป็นทางพุทธและทางเต๋า ไม่ได้มีความหมายถึงอาหารประเภทเนื้อ แต่มีความหมายถึงพืชผักที่มีกลิ่นฉุนทั้ง 5 การงดอาหารดังกล่าว แม้จะทำให้ภาวะจิตใจสงบลง แต่บางคนอาจเกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ เพราะสภาพร่างกายพร่องหรึอเย็นเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว จะทำให้ร่างกายถูกยั้บยั้งหรือเป็นยินมากขึ้น จะทำให้ไม่ค่อยสบายตัว อ่อนเพลีย บางคนอาจมองว่าร่างกายกำลังขับสารพิษแต่เพียงด้านเดียว การเรียนรู้ฤทธิ์และรสรวมถึงสรรพคุณของอาหารและนำมาประยุกต์ให้สอดคล้องกับสภาพร่างกายที่เป็นจริง

“อาหารคาวทั้ง 5”五荤

กระเทียมโทน(薤 )มีฤทธิ์อุ่น รสเผ็ดขม กระตุ้นการไหลเวียนของพลัง, ระงับปวด, ช่วยอุ่นกระเพาะอาหาร, ขับลม, รักษาอาการท้องเสีย, ขับเสมหะ, รักษาอาการเจ็บหน้าอก เนื่องจากหัวใจขาดเลือด

ทางคลินิก – มักใส่กระเทียมโทนในการรักษาภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ

กระเทียมหัวเล็ก (小蒜)รักษาอหิวาต์, ช่วยย่อยอาหาร, อุ่นกระเพาะอาหาร, แก้ปวด, ขับพิษ, ขับพยาธิ

หัวหอมใหญ่ (洋葱 )  อุ่นกระเพาะ, ดึงพลังลงล่าง, ช่วยย่อยอาหาร, ฆ่าพยาธิ

หัวหอม(小葱 ) ฤทธิ์อุ่น, รสเผ็ด, กระจายความเย็น, ขับพิษ, ขับเหงื่อ,  แก้ปวด, แก้หวัด, แก้ท้องอืด, ขับน้ำนม, กระจายหนอง, รวมถึงอาการบวมเนื่องจากแผลหรือมีหนอง

กุยไช่-เม็ดกุยไช่ (韭)บำรุงตับไต, ช่วยอุ่นเข่าและเอว, เสริมสมรรถภาพทางเพศ,ดึงรั้งสารจิง.,รักษาปัสสาวะรดที่นอน, ปัสสาวะบ่อยๆ และตกขาวในสตรี

ฤทธิ์กระตุ้นร่างกาย ทำให้โมโหง่าย ทำให้จิตใจไม่สงบ กระตุ้นความต้องการทางเพศ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการถือศีล และปฏิบัติธรรม

“อู่ฮุน”五荤 ผักอาหารคาวทั้ง 5 หรือ “อู่ซิน”五辛 ผักที่มีฤทธิ์เผ็ดฉุนทั้ง5

ทางพวกลัทธิเต๋าได้แก่ กุยไช่ 韭, กระเทียม 蒜, ยวิ่นไถ 芸薹, ผักชี 胡荽, กระเทียมโทน薤

ทางพุทธ ได้แก่ กระเทียมหัวใหญ่ 大蒜, กระเทียมหัวเล็ก 小蒜, หอมหัวใหญ่ 兴渠 , หัวหอมป่า 茖葱, หัวหอม慈葱

ความจริงพืชผักเหล่านี้ ไม่ใช่อาหารที่ไม่ดี ตามหลักทฤษฎีแพทย์จีน สภาพร่างกายของคนบางคน การได้รับอาหารที่มีสภาพยินหรืออาหารที่มีฤทธิ์ เย็นซึ่งลดภาวะกระตุ้นของร่างกาย

 จะเห็นว่าการกินเจ ไม่กินอาหารคาว เนื้อสัตว์ และพืชผักที่มีฤทธิ์กระตุ้น แม้จะมีข้อดี ในทางปฏิบัติธรรมทั้งร่างกายและจิตใจ

สำหรับคนบางคน ถ้าถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และต่อเนื่องยาวนาน โดยไม่คำนึงถึงสภาพร่างกายที่เป็นจริง อาจมีผลเสียต่อสุขภาพในทางกลับกัน

การกินเจ ถือศีล ถือเป็นการเสริมภาวะยิน แก่ร่างกายและจิตใจ แต่ต้องคำนึงถึงหยางของร่างกายด้วย การกินเจ จึงไม่ได้มีความหมายว่าจะมีสุขภาพกายที่ดีเสมอไป

ร่างกายต้องเคลื่อนไหว จิตใจต้องสงบ養身要動 – 養心要靜สมดุลของยินหยาง เป็นรากฐานสำคัญของร่างกาย และจิตใจ รวมถึงชีวิต จึงควรปรับเปลี่ยนเลือกรับอย่างเหมาะสม ไม่สุดขั้วด้านใดด้านหนึ่งจนเกินไป