Month: September 2022

ผลไม้ ก็มีสรรพคุณทางยา

สรรพสิ่งในโลกนั้นในยินก็มีหยางแฝงอยู่และในหยางก็มียินแฝงเร้นอยู่เช่นกัน อาหารและสมุนไพรแต่ละชนิดทางการแพทย์แผนจีนถือว่ามีทั้งส่วนที่เป็นยินและหยางผสมกันอยู่ อาหารจึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมหรือปรับร่างกายให้สมดุล เพื่อป้องกันและรักษาโรค  “แตงโม” ราชาผลไม้ในฤดูร้อน เนื้อแตงโม : คุณสมบัติเย็น รสหวาน จัดเป็นพวกยิน ช่วยดับร้อน แก้กระหายน้ำ แก้อาการเจ็บคอ แก้ร้อนกระวนกระวาย แก้พิษสุรา และขับปัสสาวะ เมล็ด : คุณสมบัติเป็นกลาง (ไม่ร้อนไม่เย็น) มีรสจืด ตำผสม น้ำผึ้งตุ๋นกิน แก้ท้องผูก เปลือก : ผิงไฟบดเป็นผงทาแก้แผลในปาก “ส้ม” ผู้อาวุโสของผลไม้ คุณสมบัติเย็นเล็กน้อย รสเปรี้ยวหวาน จัดเป็นยิน เนื้อส้ม : ทำให้ชุ่มคอ แก้ไข แก้ไอเรื้อรัง ขับเสมหะ แก้กระหายน้ำแก้ฤทธิ์สุรา ขับปัสสาวะ แก้ท้องผูก เปลือก : เคี้ยวเฉพาะเปลือกกินหรือบดเป็นผง กินแก้จุดแน่น บริเวณท้องและหน้าอก เนื่องจากอาหารไม่ย่อย ชง ดื่มต่างน้ำชาแก้เจ็บคอ เปลือกตากแห้งจุดไล่ยุง เมล็ด : ทุบให้แหลกต้มน้ำเติมน้ำส้มสายชู กินบำรุงน้ำนม …

ผลไม้ ก็มีสรรพคุณทางยา Read More »

แก่นแท้ของการดูแลสุขภาพ แบบแพทย์แผนจีน

ความสนใจในคุณค่าการดูแลสุขภาพ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย มีอายุยืนยาว มักจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดจากการเจ็บป่วย หรือเมื่ออยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิตถูกคุกคามด้วยโรคร้าย เรียกว่า ต้องเห็นโลงศพจึงหลั่งน้ำตา คนเราเมื่อยามสุขภาพไม่ดี ก็จะเห็นว่าสุขภาพมีความสำคัญ เมื่อยามที่จะต้องสูญเสียชีวิต ก็จะเห็นว่าชีวิตเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่ง การปล่อยปละละเลยต่อการดำเนินชีวิต ไม่เข้าใจกฎเกณฑ์ แห่งธรรมชาติ ละเมิดวิถีแห่งธรรมชาติ จะทำให้ร่างกายทรุดโทรมเสื่อมถอย โรคภัยไข้เจ็บคุกคามเมื่อย่างเข้าสู่ ภาวะเสื่อมถอย คัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง (黄帝内经) ได้กล่าวถึง แก่นแท้หรือหลักการดูแลสุขภาพไว้อย่างน่าสนใจ ควรแก่การศึกษา แก่นแท้หรือหลักการดูแลสุขภาพ เมื่อพลังเจิ้งชี่ยังดำรงอยู่ ปัจจัยก่อโรคก็มิอาจกระทำต่อร่างกายได้(正气存在,邪不可干)ธรรมชาติได้ให้เทียบเท่ากันของทุกชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส พืช สัตว์ รวมถึงมนุษย์ ทุกชีวิตดำรงอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ทำไมคนเราจึงไม่ติดเชื้อโรค หรือเป็นโรคทั้งๆที่มีเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา ฯลฯ อยู่ในสิ่งแวดล้อม รายล้อมร่างกายเล่า? แพทย์แผนจีนมองว่าในภาวะปกติ พลังเจิ่งชี่(正气)ของร่างกายยังอยู่ในภาวะที่ดำรงอยู่ร่วมกันได้กับแบคทีเรีย และไวรัสหรือสิ่งก่อโรคอื่นๆ แต่เมื่อใดตามร่างกายอ่อนแอลง พลังเจิ้งชี่ไม่อาจต้านทานการบุกรุกของเชื้อโรค ก็จะเกิดปัญหาโรคภัยไข้เจ็บตามมาทันที ร่างกายมนุษย์เปรียบเสมือนกับประเทศชาติ ภาวะสมดุลของร่างกาย คือ ภาวะการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ จะต้องมีการพัฒนาที่สมดุล มั่งคง …

แก่นแท้ของการดูแลสุขภาพ แบบแพทย์แผนจีน Read More »

ซุนซือเหมี่ยว กับเคล็ดลับสุขภาพ

ซุนซือเหมี่ยว (คศ.541 – 682) แพทย์จีนนามอุโมษแห่งราชวงศ์ถัง  เป็นแพทย์จีนและนักพฤกษศาสตร์เกี่ยวกับสมุนไพรที่ยิ่งใหญ่ของจีนและระดับโลก  มีฉายาที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ราชาแห่งสมุนไพร”  (药王)  และ “หมอเทวดา” (神医) เป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคเรื้อน (麻风病), เป็นผู้กำหนดวิธีการหาจุดฝังเข็ม, การใช้รกของเด็กทารกบดเป็นผงรักษาโรค, การใช้ตับรักษาโรคตา, การใช้ต่อมไทรอยด์ของแพะรักษาโรคไทรอยด์โต (รากฐานความคิดใช้เซลล์รักษาเซลล์ในปัจจุบัน) ซุนซือเหมี่ยว (孙思邈) กับแนวคิดการ “ถนอมรักพลัง” (爱气)  ถ้าองค์รวมของมนุษย์เสมือนกับประเทศชาติแล้วไซร์ ความคิดและจิตวิญญาณ (神) ก็เปรียบเสมือนหนึ่งพระราชา  ประชาชนของประเทศจะเปรียบเสมือนชี่ (气พลัง) นั่นเอง การปกครองประเทศให้สงบสุข จะต้องถนอมรักประชาชน (爱民) การดูแลสุขภาพก็เช่นเดียวกัน ต้องถนอมรักชี่(พลัง爱气) เพราะพลัง คือ สิ่งขับเคลื่อนชีวิต พลังของร่างกายจะเสื่อมถอยลดน้อยลงตามกระบวนการวิถีธรรมชาติของชีวิต ดังนั้นการเสื่อมชราภาพเป็นผลจากการเสื่อมถอยของพลังของร่างกายนั่นเอง คัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง (黄帝内经) ได้บรรยายสภาพการเสื่อมถอยของร่างกายไว้ว่า                 “อายุ 40 ปี พลังชีวิตลดเหลือครึ่ง เริ่มต้นความเสื่อม…อายุ 50 ปี ตัวจะหนัก ร่างกายและสายตาจะไม่ค่อยฉับไว…อายุ 60 …

ซุนซือเหมี่ยว กับเคล็ดลับสุขภาพ Read More »

การกินเจ กับผักต้องห้ามทั้ง 5

ประเพณีการกินเจ ได้กำหนดนับเอาวันจันทรคติ คือเริ่มตั้งแต่ วันขึ้น 1 ค่ำถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน รวม 9 วัน 9 คืน เรื่องระหว่างการกินเจ ถ้าจะเคร่งครัดจริงๆ ต้องถือศีล8 (อุโบสถศีล)ควบคู่กันไปด้วย เพื่อดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา และใจ  การกินเจ คือการไม่กินอาหารคาว ซึ่งรวมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และพืชผักที่มีกลิ่นฉุน การไม่กินเนื้อสัตว์ เพื่องดการทำอันตรายต่อสัตว์ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ทั้งปวงที่ทำมาจากสัตว์ พระในนิกายมหายาน(พระจีน)มักเคร่งครัดการห้ามกินเนื้อสัตว์มากกว่าพระในนิกายหินยาน อย่างไรก็ตาม “อาหารคาวทั้ง 5”五荤 ไม่ว่าจะเป็นทางพุทธและทางเต๋า ไม่ได้มีความหมายถึงอาหารประเภทเนื้อ แต่มีความหมายถึงพืชผักที่มีกลิ่นฉุนทั้ง 5 การงดอาหารดังกล่าว แม้จะทำให้ภาวะจิตใจสงบลง แต่บางคนอาจเกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ เพราะสภาพร่างกายพร่องหรึอเย็นเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว จะทำให้ร่างกายถูกยั้บยั้งหรือเป็นยินมากขึ้น จะทำให้ไม่ค่อยสบายตัว อ่อนเพลีย บางคนอาจมองว่าร่างกายกำลังขับสารพิษแต่เพียงด้านเดียว การเรียนรู้ฤทธิ์และรสรวมถึงสรรพคุณของอาหารและนำมาประยุกต์ให้สอดคล้องกับสภาพร่างกายที่เป็นจริง “อาหารคาวทั้ง 5”五荤 กระเทียมโทน(薤 )มีฤทธิ์อุ่น รสเผ็ดขม …

การกินเจ กับผักต้องห้ามทั้ง 5 Read More »

ความสำคัญของหัวใจ ในทัศนะแพทย์แผนจีน

หัวใจเป็นหนึ่งในอวัยวะตัน มีเยื่อหุ้มหัวใจปกคลุมห่อหุ้มอยู่ภายนอก หัวใจเปรียบเสมือน จ้าวแห่งชีวิต (生命之主宰) เป็นแกนหลักของอวัยวะภายในทั้งหมด(五脏六腑之大主) 1. อวัยวะหัวใจ สัมพันธ์กับจิตใจ ความนึกคิด การรับรู้และการตอบสนอง จึงสามารถมองการทำงานของหัวใจจากแววตา สีหน้า ราษี ความมีชีวิตชีวา การรับรู้ตอบสนองต่อสื่งกระตุ้น อวัยวะรับความรู้สึก หู ตา จมูก ลิ้น – หัวใจที่เป็นเลือดเนื้อ(血肉之心) ความหมายใกล้เคียงกับอวัยวะหัวใจทางกายวิภาค อยู่ในช่องอกระหว่างปอดและตับ แนวระดับกระดูกสันหลังที่ 5 – หัวใจที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดหรือจิตใจ (神明之心) ทำหน้าที่ในการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นภายนอก ความรู้สึกตัว การรับรู้ การคิด อารมณ์ ฯลฯ 2. หัวใจกำกับหลอดเลือดชีพจร (心主血脉) การทำหน้าที่ที่สมบูรณ์ของหัวใจอาศัย 3 ปัจจัยที่สำคัญ คือ พลังหยางของหัวใจที่สมบูรณ์เต็มเปี่ยม เป็นตัวกำหนด แรงบีบตัว อัตราการเต้นและจังหวะการเต้นของหัวใจ เลือดที่เพียงพอและคุณภาพเลือดที่ดี กำหนดปริมาณเลือดที่ไหลเวียนในเส้นเลือด ทางเดินเลือดไม่ติดขัด กำหนดการไหลเวียนที่คล่องตัวเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย 3. หัวใจกำกับหลอดเลือดชีพจร ความอุดมสมบูรณ์แสดงออกบนใบหน้า เปิดทวารที่ลิ้น   …

ความสำคัญของหัวใจ ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

5 เรื่องเพศ ในทัศนะแพทย์จีน

ความต้องการทางเพศและการสืบพันธุ์เป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ สมรรถภาพทางเพศและความสามารถในการสืบพันธุ์ขึ้นอยู่กับอวัยวะภายใน คือ ไตเป็นสำคัญ ถ้ามีการดูแลและเข้าใจกฎเกณฑ์ของการทำงานของไต (ในทรรศนะการแพทย์แผนจีน) และจัดการกับปัญหาทางเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง ก็จะทำให้พลังไตเสื่อมช้า มีสมรรถภาพทางเพศที่ดีอยู่ได้นาน ถ้าจัดการไม่ถูกต้องก็จะมีการเสื่อมสมรรถภาพเร็วก็โรคมะเขือเผาทั้งๆ ที่ไม่ถึงเวลาอันควร 5 ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ในทรรศนะแพทย์จีน 1. เพศสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการมีสุขภาพที่ดีและการมีชีวิตที่ยืนยาว ตามหลักทฤษฎียิน-หยาง ชายเป็นหยาง หญิงเป็นยิน  การมีเพศสัมพันธ์คือการปรับสมดุลยิน-หยาง การเสริมยิน บำรุงหยาง ทำให้อายุยืน นาน “หญิงบำรุงชาย ชายบำรุงหญิง” 2. “เพศสัมพันธ์” เป็นสิ่งที่ขาดมิได้ แต่มากเกินก็ไม่ได้ “อาหาร และความต้องการทางเพศ เป็นสิ่งพื้นฐานของชีวิต เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้” แพทย์จีนชื่อ เก๋อหง สมัยจิ้น ประมาณ ๑,๕๐๐ ปีก่อน กล่าวไว้ว่า “คนเรามีชีวิตอยู่ไม่ได้ ถ้าปราศจากการแลก- เปลี่ยนยิน-หยาง จะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า เก็บกด จะทำให้เกิดโรค ชีวิตจะสั้น”  การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการควบคุม เหมือนใบมีดที่จะเฉือนถึงกระดูก จะทำลายชีวิต เป็นข้อความบันทึกไว้ในตำราพิชัยสงคราม “ยิน-ฝู่จิง” เมื่อ ๒,๐๐๐ กว่าปี …

5 เรื่องเพศ ในทัศนะแพทย์จีน Read More »

สมุนไพร “ใบบัว”

ใบบัว (荷叶) เป็นสมุนไพรที่น่าสนใจ หาง่าย ประหยัด และเหมาะสำหรับคนในยุคปัจจุบันที่ต้องการความงามและมีสุขภาพดี ข้อควรรู้เกี่ยวกับใบบัว ใบบัวที่ดีต้องใบใหญ่ สีเขียวหมดจด ไม่มีรอยตำหนิ หรือไม่เป็นใบที่เหลือง ขนาดเล็ก เหี่ยวแห้ง ต้องกินก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง ช่วยลดความอยากอาหารพวกเนื้อสัตว์ ใบบัวสด ฤทธิ์การลดน้ำหนัก ด้อยกว่าใบแห้งหรือใบเกรียม แต่ฤทธิ์ในการขับความร้อนออกจากร่างกายดีกว่า ปริมาณที่ใช้ แบบสด 30-60 กรัมต่อวัน แบบแห้ง ต้มเป็นชาดื่ม 15-30 กรัมต่อวัน แบบเผาเกรียม 10-20 กรัมต่อวัน ควรงดกินก่อนมีประจำเดือน เพราะจะทำให้เลือดประจำเดือนมีน้อยลง คนที่บวมน้ำ กินแล้วปัสสาวะจะมากขึ้น สามารถขับน้ำลดบวมได้ เป็นสมุนไพรสุขภาพ สำหรับคนอ้วน ไขมันในเลือดสูงมาก หลอดเลือดแข็งตัว ไขมันพอกตับ รวมทั้งผู้สูงอายุ สรรพคุณของใบบัว (荷叶) ลดน้ำหนักทำให้ผอม ปรับลดไขมันในเลือด ช่วยเสริมการลดภาวะความดันโลหิตสูง ป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ป้องกันรักษาภาวะไขมันพอกตับ ขับความร้อนจากร่างกาย ทำให้สดชื่น ขับน้ำลดบวม, หยุดเลือด ทำไมใบบัวจึงลดน้ำหนักได้? คนอ้วนหรือคนที่มีไขมันสะสม แพทย์แผนจีนมองว่า …

สมุนไพร “ใบบัว” Read More »

รู้ได้อย่างไรว่า “ไต” เราแข็งแรง

พลังไตเป็นรากฐานของอวัยวะภายใน ทั้ง 5 (肾是五脏之根)  ไตเป็นที่เก็บของพลังสำรอง  เมื่ออวัยวะภายในอื่นๆขาดแคลนพลังจะเรียกใช้บริการของไต คนที่ไตแข็งแรง แสดงออกถึงอย่างไร? 1. ไตดี : การเจริญเติบโตดี (เกี่ยวข้องกับระบบฮอร์โมน) ผู้หญิงใช้เลข 7 มาแบ่งช่วงอายุ ผู้ชายใช้เลข 8 มาแบ่งช่วงอายุ ผู้หญิงอายุ 4×7 = 28ปี  เป็นช่วงที่พลังไต ถึงขีดสุด เอ็นกระดูกแข็งแรง                   5×7 = 35ปี เป็นช่วงที่พลังไตเริ่มเสื่อมถอยในผู้หญิง ผู้ชายอายุ   4×8 = 32ปี เป็นช่วงที่พลังสูงสุดของเพศชาย                    5×8 = 40 ปี เป็นช่วงที่พลังไตเริ่มเสื่อมถอยในผู้ชาย 2. ไตดี : ระบบสืบพันธุ์ดี จิงของไต (มีความหมายคล้ายกับระบบฮอร์โมน) เป็นตัวกระตุ้นระบบการสืบพันธุ์ กระตุ้นการเจริญเติบโต ทำให้ผู้ชายมีเชื้ออสุจิ ผู้หญิงมีประจำเดือน คนที่ไตอ่อนแอ ในผู้หญิงจะมีอาการประจำเดือนไม่ปกติ มดลูกเย็น …

รู้ได้อย่างไรว่า “ไต” เราแข็งแรง Read More »

5 วิธีเสริมสร้างพลังหยาง ที่ง่ายและประหยัด

พลังหยาง (阳气) คือพลังของชีวิต ในวัยเด็ก พลังหยางค่อยๆ สะสมตัว จนพลังหยางสูงสุดในวัยหนุ่มสาว และเข้าสู่วัยกลางคน พลังหยางก็เริ่มถดถอยลดน้อยลง ร่างกายก็ไม่กระฉับกระเฉง ความคิดอ่าน ความจำ ความว่องไวทางประสาท สมอง ก็ลดลงเรื่อยๆ ถึงวัยชราภาพ พลังหยางน้อยลงไปอีกและหมดไปในที่สุดพร้อมกับการดับลงของชีวิต เป็นวัฏจักรของการเกิด พัฒนา เสื่อมถอย และการตาย การบำรุงพลังหยางจึงมีความสำคัญต่อชีวิต เพราะเป็นตัวกำหนดการเกิด พัฒนาและการเสื่อมถอยของร่างกาย รวมถึงโอกาสการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ของร่างกายและจิตใจด้วย ไปดูกันครับ ว่าเราสามารถเสริมสร้างพลังหยางได้อย่างไรบ้าง 1. เตรียมตัวนอนก่อน 23.00 น. คนที่หลับยากหน่อยอาจเข้านอน 22.30 น. คนที่หลับง่ายอาจนอนเวลา 22.50 น. พยายามให้หลับในช่วงประมาณ 23.00 น. และหลับสนิทในช่วง 01.00-03.00 น. 2. ไม่ควรกินอาหารหลัง 23.00 น. เพราะถุงน้ำดีจะไม่ทำงาน ในการขับน้ำดีโดยเฉพาะหลัง 23.00 น.ไปแล้ว และมักจะเกิดอาการหิว (หยางเริ่มเกิด) และคนมักจะตาสว่างไม่ค่อยง่วงนอน …

5 วิธีเสริมสร้างพลังหยาง ที่ง่ายและประหยัด Read More »