โรคระบบทางเดินหายใจ

ความสำคัญของหัวใจ ในทัศนะแพทย์แผนจีน

หัวใจเป็นหนึ่งในอวัยวะตัน มีเยื่อหุ้มหัวใจปกคลุมห่อหุ้มอยู่ภายนอก หัวใจเปรียบเสมือน จ้าวแห่งชีวิต (生命之主宰) เป็นแกนหลักของอวัยวะภายในทั้งหมด(五脏六腑之大主) 1. อวัยวะหัวใจ สัมพันธ์กับจิตใจ ความนึกคิด การรับรู้และการตอบสนอง จึงสามารถมองการทำงานของหัวใจจากแววตา สีหน้า ราษี ความมีชีวิตชีวา การรับรู้ตอบสนองต่อสื่งกระตุ้น อวัยวะรับความรู้สึก หู ตา จมูก ลิ้น – หัวใจที่เป็นเลือดเนื้อ(血肉之心) ความหมายใกล้เคียงกับอวัยวะหัวใจทางกายวิภาค อยู่ในช่องอกระหว่างปอดและตับ แนวระดับกระดูกสันหลังที่ 5 – หัวใจที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดหรือจิตใจ (神明之心) ทำหน้าที่ในการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นภายนอก ความรู้สึกตัว การรับรู้ การคิด อารมณ์ ฯลฯ 2. หัวใจกำกับหลอดเลือดชีพจร (心主血脉) การทำหน้าที่ที่สมบูรณ์ของหัวใจอาศัย 3 ปัจจัยที่สำคัญ คือ พลังหยางของหัวใจที่สมบูรณ์เต็มเปี่ยม เป็นตัวกำหนด แรงบีบตัว อัตราการเต้นและจังหวะการเต้นของหัวใจ เลือดที่เพียงพอและคุณภาพเลือดที่ดี กำหนดปริมาณเลือดที่ไหลเวียนในเส้นเลือด ทางเดินเลือดไม่ติดขัด กำหนดการไหลเวียนที่คล่องตัวเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย 3. หัวใจกำกับหลอดเลือดชีพจร ความอุดมสมบูรณ์แสดงออกบนใบหน้า เปิดทวารที่ลิ้น   …

ความสำคัญของหัวใจ ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ น้ำเหลืองเสีย

โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ เป็นโรคผิวหนังอักเสบที่เป็นๆ หายๆ  มักจะมีแนวโน้มทางพันธุกรรมอยู่เป็นพื้นฐาน เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน ระบบน้ำเหลือง  ระบบฮอร์โมนประสาทแปรปรวน โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้มักไม่ได้เกิดจากการแพ้อาหาร หรือสารเคมีอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เกิดจากผิวหนังของผู้ป่วยไวต่อสภาพแวดล้อมรอบตัว ทั้งความร้อน  ความเย็น  ความแห้ง ความชื้น เชื้อโรค และสารเคมีที่มาสัมผัสกับผิวหนัง  บางรายมีการอักเสบ ติดเชื้อ มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม หรือที่เรียกกันว่า “น้ำเหลืองเสีย” หรือ “น้ำเหลืองไม่ดี”โดยส่วนใหญ่จะเป็นอาการของเลือดเป็นพิษ “ระบบน้ำเหลือง” มีหน้าที่ช่วยรักษาความสมดุลของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย  ระบบน้ำเหลืองทำงานร่วมกับระบบภูมิคุ้มกันในการต่อต้านและทำลายเชื้อโรค รวมทั้งการขับของเสียต่างๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับระบบการไหลเวียนของเลือด เพื่อที่จะลำเลียงสารอาหาร ออกซิเจน และฮอร์โมนจากเซลล์เม็ดเลือดต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นไปยังเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย  รวมทั้งช่วยในการขับของเสีย ของเหลวส่วนเกิน เซลล์เม็ดเลือดที่ตายแล้ว เชื้อโรคต่างๆ เซลล์มะเร็ง และสารพิษให้ออกจากช่องว่างเนื้อเยื่อของร่างกาย โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้-น้ำเหลืองเสียในมุมมองแพทย์แผนจีน สาเหตุเกิดจากปัจจัย สองด้าน คือปัจจัยภายในซึ่งเป็นพื้นฐานของร่างกายที่มีภาวะเลือดพลังยินและหยางเสียสมดุลทำไวต่อการกระตุ้น และปัจจัยภายนอกที่มากระตุ้น ได้แก่ สิ่งที่กระตุ้นทางผิวหนัง  ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ทำให้เกิดพิษสะสมในร่างกาย หลักการรักษาคือการขับลม ขับพิษระบายร้อน สลายความชื้น  ควบคู่กับการปรับสมดุลร่างกาย ในด้านอาหารเน้นการรับประทานอาหารรสจืดและไม่เหนียวข้น(ใส) …

โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ น้ำเหลืองเสีย Read More »

7 อาการไอ ในมุมมองแพทย์แผนจีน

ปอดเหมือนหลังคาหรือสิ่งปกคลุมอวัยวะจั้งอื่นๆ (肺为华盖)  เปรียบเสมือนเครื่องกำบังสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงภายนอก เช่น ลม แดด ฝน หิมะของรถม้า(车盖)พระที่นั่งของกษัตริย์โบราณ  การเปลี่ยนแปลงภายนอกหรือปัจจัยก่อโรคภายนอกต้องมากระทบสิ่งกำบัง(อวัยวะปอด)ก่อนที่จะบุกรุกไปที่อวัยวะอื่นๆ  ปอดเป็นอวัยวะที่บริสุทธิ์และอ่อนแอ (清虚之体) การเปลี่ยนแปลงของอากาศมีผลกระทบโดยตรงกับการรับความรู้สึกของผิวหนังและอากาศที่เข้าสู่ถุงลม จึงเป็นด่านแรกของการถูกรุกรานจากภายนอกโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของอากาศภายนอก อากาศในปอดไม่บริสุทธิ์ ทำให้กลไกของปอดในการกำกับการแพร่กระจายของชี่  และการกำกับพลังลงล่าง(肺气不清,失于宣肃) หรือหายใจเข้าดูดซับเอาสิ่งดี หายใจออกเอาขับสิ่งที่เสีย(吸清呼浊) เสียหน้าที่ เกิดพลังย้อนขึ้นด้านบนและเกิดเสียงไอ บางครั้งร่วมกับการขากเสมหะ กลไกการเกิดโรค เนื่องจากเหตุแห่งโรคและการปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่างกันทำให้มีลักษณะการไอแตกต่างกันไป โดยทั่วไปแบ่งเป็น สาเหตุมาจากปัจจัยก่อโรคภายนอกเป็นด้านหลัก เช่น ลมเย็น ลมร้อน ความแห้ง การแสดงออกของโรคเป็นแบบเฉียบพลัน รวดเร็ว ระยะเวลาดำเนินของโรคสั้น มักมีอาการไข้ ปวดศีรษะ กลัวความเย็น และไอมีเสมหะ สาเหตุมาจากปัจจัยภายใน คือภาวะเสียสมดุลของการทำงานของอวัยวะภายใน การแสดงออกของโรคเป็นแบบช้าๆ เรื้อรัง ระยะเวลาดำเนินของโรคใช้เวลานาน 7 กลุ่มอาการไอ วินิจฉัยแบบแพทย์แผนจีน 1.ลมเย็นโจมตีปอด(风寒犯肺) อาการสำคัญ  เริ่มต้นไอคันคอ ไอเสียงดัง หายใจเร็ว ขากเสมหะใส เป็นฟอง มีอาการแน่นจมูก น้ำมูกใส ฝ้าบนลิ้นขาวบาง ชีพจรลอย …

7 อาการไอ ในมุมมองแพทย์แผนจีน Read More »

โรคแพ้อากาศ

เป็นโรคแพ้อากาศมา 40 ปี นานขนาดนี้จะมีวิธีรักษาให้หายขาดหรือไม่?ไปหาคำตอบกันครับ คนไข้ : ผมอายุ 65 ปี ผมออกกำลังกายด้วยการเดิน วิ่งเบาๆ ปั่นจักรยานวันละ 30 นาที ทุกวัน สภาพร่างกายแข็งแรงดี แต่มีปัญหาที่จะเรียนปรึกษาคุณหมอคือ ผมเป็นโรคแพ้อากาศตั้งแต่ตอนอายุ 23 ปี ครั้วแรกที่เป็นก็เหมือนเป็นหวัดธรรมดา คัดจมูก หายใจไม่สะดวก มีน้ำมูกหรือบางครั้งก็ข้นนิดๆเท่านั้น จะเป็นไม่เลือกเวลาเช้า กลางวัน เย็น กลางคืน ตี 1 ตี 2 บางครั้งก็นานเป็น 5-6 ชั่วโมง บางครั้งครึ่งวัน บางครั้งเป็นพักเดียวก็หาย ตอนใกล้หายจะมีอาการง่วงนิดหน่อยแล้วก็หาย น้ำมูกที่ออกมาเป็นน้ำใสๆ ทุกวันนี้รักษาด้วยยาจากโรงพยาบาล มันก็เพียงบรรเทาเท่านั้น ไม่หายขาด ไม่เคยปวดหัว ไม่เคยเจ็บที่ดั้งจมูก ไม่ทราบว่ามีวิธีการรักษาแบบแพทย์แผนจีนให้หายขาดหรือไม่ขอความกรุณาคุณหมอช่วยตอบด้วยนะครับ ตอบ : อาการที่เล่ามาเป็นโรคแพ้อากาศ ยาทางแพทย์ปัจจุบันส่วนมากที่ได้รับเข้าใจว่า เป็นยาแก้แพ้ บรรเทาอาการเท่านั้น ในเรื่องแพ้อากาศแพทย์แผนจีนมองว่า นอกจากสาเหตุจากปัจจัยภายนอก เช่น ความเย็น …

โรคแพ้อากาศ Read More »

หงจิ่งเทียน สุดยอดสมุนไพรทิเบต ปรับใช้ในสถานการณ์โควิด-19

ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19  ผู้คนใฝ่หาสารพัดวิธีในการบำรุงปอดเพื่อป้องกันและรักษาโควิด-19 กันมาก ในบรรดายาสมุนไพรจีนที่กล่าวถึงกันมากตัวหนึ่ง  นอกจากยาขับพิษร้อนสลายชื้นเป็นยาหลักเพื่อการขับระบายเสียชื่ (邪气) แล้ว ยังมีสมุนไพรหงจิ่งเทียน (红景天) ที่มาช่วยบำรุงเจิ้งชี่ (正气) ของปอดอีกด้วย หงจิ่งเทียน (红景天) สมุนไพรของคนที่จะเดินทางไปทิเบต คนที่คิดจะไปเที่ยวทิเบต “ดินแดนแห่งกงล้อและมนตรา” หรือ หลังคาโลก (世界屋脊) ต้องมีการตระเตรียมตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศและความสูง เนื่องด้วยอากาศที่หนาวเย็น และมีความกดอากาศต่ำมีปริมาณออกซิเจนในอากาศต่ำมาก อาการป่วยบนที่สูงหรืออาการแพ้ที่สูง(high altitude sickness) เกิดจากการที่ร่างกายไม่คุ้นเคย และปรับตัวไม่ทัน เนื่องจากขึ้นไปอยู่ในพื้นที่สูงมีออกซิเจนในบรรยากาศต่ำ ซึ่งกลไกอย่างหนึ่งของร่างกายในการช่วยเพิ่มออกซิเจนคือ การหายใจให้เร็วขึ้น ทำให้ได้ออกซิเจนมากขึ้น บางคนเลือกการกินยา Diamox (มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด  ขับปัสสาวะ สามารถลดความดันตา ใช้รักษาโรคต้อหิน) เพื่อรักษาอาการดังกล่าว แต่เนื่องจากยาเหล่านี้เป็นกลุ่มยา ซัลฟา(บางคนจะแพ้ยา)และมีผลข้างเคียงมากรวมทั้งอาการแพ้ยาเช่น  ผื่นขึ้น ลมพิษ แน่นหน้าอก ปลายนิ้วมือและนิ้วเท้าชา ริมฝีปากชา หงจิ่งเทียน(红景天) เป็นสมุนไพรที่ทรงคุณค่าในเขตทิเบต หงจิ่งเทียนยังถูกขนานนามว่าเป็นสิ่งมีค่าของการแพทย์ทิเบต (藏医之宝) เป็นสมุนไพรที่ชาวพื้นเมืองนำมาใช้แก้อาการ ที่เกิดจากการป่วยบนที่สูง เนื่องจากปริมาณออกซิเจนต่ำ รวมถึงใช้ในการเสริมเพิ่มพลังและป้องกันโรคต่างๆ  มีการร่ำลือกันว่ากษัตริย์คางซี(康熙帝ค.ศ. 1654-1722)และกษัตริย์เฉียนหลง …

หงจิ่งเทียน สุดยอดสมุนไพรทิเบต ปรับใช้ในสถานการณ์โควิด-19 Read More »

เรื่องของ หัวใจ ในทัศนะแพทย์จีน

ในความหมายของแพทย์จีนมีศัพท์และความเข้าใจที่ไม่ตรงกันหลายเรื่องเวลาหมอจีนอธิบายโรคให้กับคนไข้ฟัง รู้สึกแปลกๆ ยิ่งถ้าคนไข้หรือแพทย์แผนปัจจุบันที่ไม่เข้าใจความหมายอาจตีความหมายผิดๆ ตัวอย่างเช่น – เลือดของหัวใจไม่พอ ทำให้ใจสั่น นอนไม่หลับ ฝันมาก ลืมง่าย ความคิดเชื่องช้า ไม่มีชีวิตชีวา– ไฟหัวใจร้อนสู่เบื้องบน ทำให้ปลายลิ้นแดงอักเสบ มีแผลที่ลิ้น– พลังหัวใจอ่อนแอ ทำให้เลือดอุดกั้น– เหงื่อออกมาก เพราะหัวใจมีปัญหา เป็นต้น ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า ” หัวใจ ” หรืออวัยวะภายใน เช่น ตับ ปอด ม้าม ไต ในความหมายแพทย์จีนไม่ได้มีความหมาย ถึงตัวอวัยวะภายในตามวิชากายวิภาคเพียงอย่างเดียว แต่ครอบคลุมถึงหน้าที่การงานหรือคุณสมบัติทางสรีรวิทยาเป็นสำคัญและไม่ได้หมายถึงเฉพาะตัวอวัยวะนั้นๆ แต่บางครั้งไป คาบเกี่ยวกับระบบหรืออวัยวะอื่นๆ ด้วยต่อไปจะกล่าวถึงอวัยวะภาย ใน ” หัวใจ ” ในความหมายของแพทย์จีน 1. หัวใจควบคุมหลอดเลือด หรือกำหนดชีพจรหมายถึงระบบไหลเวียนเลือดในความหมายแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งครอบคลุมถึงตัวหัวใจ หลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำและหลอดเลือดฝอย เมื่อหัวใจบีบตัว เลือดที่อยู่ในหัวใจจะถูกผลัก ดันไปตามหลอดเลือดแดง เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย แขน ขา ศีรษะ ลำตัว อวัยวะภายใน (จั้งฝู่ = ตันและกลวง) รวมทั้งตัวหัวใจด้วย …

เรื่องของ หัวใจ ในทัศนะแพทย์จีน Read More »

ยาบำรุงเซ็กซ์ ส่วนหนึ่งของยาบำรุงหยาง

ยังคงมีการกล่าวถึงกันอยู่เสมอ สำหรับเรื่องของ ยาชะลอความแก่ ยาบำรุงสมรรถภาพทางเพศ โดยการกล่าวถึงเขากวางอ่อน ซึ่งมีฤทธิ์ กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนทางเพศ และทำให้ร่างกายแก่ตัวช้าลง กระปรี้กระเปร่า ในทัศนะแพทย์จีนเรื่องเหล่านี้ เกี่ยวข้องกับระบบไตยิน ไตหยางที่ควบคุมระบบการสืบพันธุ์ การเจริญเติบโต การเสื่อมถอยของร่างกาย ซึ่งครอบคลุมถึงระบบฮอร์โมนต่างๆ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมเพศ ต่อมหมวกไต รวมถึงระบบประสาทอัตโนมัติ (autonome nervous system) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปรับตัว ของร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะภายใน ยาบำรุงสมรรถภาพทางเพศหรือที่มักเรียกว่ายาบำรุงเซ็กซ์ จึงเป็นส่วนหนึ่งของยาบำรุงไต (ตามทัศนะแพทย์จีน) โดยเฉพาะความเสื่อมถอย ทรุดโทรม มักเกิดความพร่องตามมา ไตหยาง มีการเก็บสะสมของพลังหยาง ซึ่งเป็นพื้นฐานของกลไกระบบต่างๆ ที่ได้มาแต่กำเนิด (ทางกรรมพันธุ์) ขณะที่ไตยินจะได้รับการเสริมเติมบำรุงจากอาหารการกินและการดำเนินชีวิต ซึ่งจะช่วยการปรับสมดุลกับไตหยาง และทำให้เกิดพลังหยางในระบบต่างๆของร่างกาย พลังหยางพร่อง นอกจากสาเหตุทางกรรมพันธุ์แล้ว การเจ็บป่วยเรื้อรังยาวนาน การได้รับอาหารที่มีคุณสมบัติเย็นมากหรือนานเกิน การมีเพศสัมพันธ์ที่มากเกิน (สูญเสียสารจิงทำให้สูญเสียพลังไต) ก็นับว่ามีส่วนสำคัญ ต่อไปนี้จะเสนอภาพกว้างของพลังหยางพร่อง ซึ่งจะมีอาการต่างๆหลายอย่าง การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศเป็นเพียงอาการหนึ่งของพลังหยางพร่อง หยางพร่องหมายถึงพลังหยางไม่พอ กลไกการทำงานของร่างกายเสื่อมถอย ทำให้ระบบต่างๆในร่างกาย เกิดอาการหนาวเย็นผิดปกติ ทั้งนี้เป็นผลจากระบบกลไกการให้พลังความร้อน …

ยาบำรุงเซ็กซ์ ส่วนหนึ่งของยาบำรุงหยาง Read More »

ไซนัสอักเสบ กับการรับมือในแบบแพทย์แผนจีน

แพทย์แผนจีนมีรายละเอียดการรักษาไซนัสอักเสบ ดังต่อไปนี้ ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน แบ่งเป็น 3 แบบ1. เส้นลมปราณปอดร้อนแกร่ง : น้ำมูกไหลมาก ลักษณะเหนียว สีเหลืองหรือขาว แน่นจมูกมาก การรับกลิ่นลดลง ปีกจมูกบวมแดง มีอาการปวดศีรษะ มีไข้ กลัวลม กลัวหนาวเล็กน้อย ไอมีเสมหะมาก คอแห้งกระหายน้ำ ตัวลิ้นแดง ฝ้าขาวบางหรือเหลืองเล็กน้อย ชีพจรลอยเร็วหรือลอยลื่นเร็ว หลักการรักษา ขับพิษขับร้อนของปอด ทำให้ทวารปอดโล่งตำรับยา หยิงเชี่ยวซ่าน ปรับตามอาการ 2. กระเพาะอาหารม้ามร้อนชื้น : น้ำมูกเหลืองข้น แน่นจมูกรุนแรง การรับกลิ่นลดลง เยื่อบุโพรงจมูกบวมแดง ร่วมกับมีอาการเวียนศีรษะ หนักศีรษะ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ท้องอืดแน่น เบื่ออาหาร ปัสสาวะเหลือง ลิ้นแดง ฝ้าเหลืองเหนียว ชีพจรลื่นเร็ว หลักการรักษา ขับพิษร้อน ขับไฟ ขับชื้นทำให้โล่ง (ทะลวงทวาร จมูก)ตำรับยา กานลู่ เซียว ตู๋ ตาน ปรับตามอาการ 3. ถุงน้ำดีร้อนอุดกั้น : น้ำมูกเหลืองข้นเหมือนหนองปริมาณมาก มีกลิ่นเหม็น การดมกลิ่นลดลง เยื่อบุโพรงจมูกบวมแดง ปวดศีรษะรุนแรง เคาะระหว่างคิ้วและ …

ไซนัสอักเสบ กับการรับมือในแบบแพทย์แผนจีน Read More »

ว่าด้วยเรื่อง ไซนัสอักเสบ

หลายคนมักเป็นไซนัสอักเสบบ่อยๆ ภายหลังอากาศเปลี่ยนแปลงโดยมีอาการโรคหวัดนำมาก่อน ในขณะที่หลายคนเป็นหวัดไม่กี่วันก็หาย หลายคนที่มีไซนัสอักเสบเรื้อรัง กินยาปฏิชีวนะมาหลายขนานอาการก็ไม่ดีขึ้น ถึงกับต้องเจาะดูดหนองและล้างโพรงจมูก บางรายที่มีการติดเชื้อลุกลาม รุนแรงเข้ากระบอกตาหรือเข้าสมองเกิดฝีในสมอง คนที่เป็นไซนัสเรื้อรังจำนวนมาก มักจะแสวงหาแพทย์ทางเลือก ตั้งแต่การพ่นยาเข้าในจมูก ใช้น้ำยากระตุ้นให้มีการไหลของหนองหรือเมือกออกมามากๆ ต้มสมุนไพรกินเองบ้าง หาหมอจีนบ้าง กินอาหารเสริมสุขภาพ กินวิตามินซีปริมาณมากบ้าง ตามแต่จะเชื่อหรือมีผู้แนะนำกันมา แพทย์แผนจีน มีแนวคิดเรื่องไซนัสอักเสบอย่างไร ต่างกับแผนปัจจุบันอย่างไร แพทย์แผนปัจจุบันมองว่า ไซนัสอักเสบ (sinusitis) เป็นภาวะโพรงอากาศรอบจมูกมีการอักเสบ แบ่งเป็น 2 ระยะ1. ระยะเฉียบพลัน คือ ระยะ 2-4 สัปดาห์แรก2. ระยะเรื้อรัง คือ เป็นนานกว่า 4 สัปดาห์ สาเหตุของไซนัสอักเสบ1. เกิดจากจุลชีพ ส่วนใหญ่เป็น แบคทีเรียประมาณร้อยละ 80 จากไวรัสประมาณร้อยละ 20 2. การทำงานของขนกวัด (cilia) ในโพรงจมูกเสียหน้าที่ หรือมีการอุดกั้นของทางเดินติดต่อระหว่างโพรงอากาศกับช่องจมูก ทำให้สารเมือกหรือหนองในโพรงอากาศระบายออกไปไม่ดี แพทย์แผนจีน : มองว่าไซนัสอักเสบเฉียบพลันเกิดจาก 2 สาเหตุ 1. สภาพร่างกายของผู้ป่วยมักอ่อนแอเป็นพื้นฐานประกอบกับการดำเนินชีวิตไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่ระมัดระวังการปรับตัวของอุณหภูมิร่างกาย (ปล่อยให้เย็น-ร้อนเกินไป) หรือมีการอ่อนล้าของร่างกาย …

ว่าด้วยเรื่อง ไซนัสอักเสบ Read More »

พลังไตย้อนกลับขึ้นบน คืออะไร

ในผู้ป่วยหอบหืดเรื้อรัง หรือหลอดลมอักเสบเรื้อรังตามทัศนะแพทย์แผนจีน มีสาเหตุหลายอย่าง สาเหตุที่สำคัญ สาเหตุหนึ่งคือ ภาวะพลังไตย้อนกลับขึ้นบน (พลังไตไม่กลับที่แหล่งกำเนิดเพราะพลังไตพร่อง อ่อนแอ) ภาวะพลังไตย้อนกลับขึ้นบน”  หมายถึง ภาวะพลังไตอ่อนแอ พลังไม่สามารถกลับสู่ตำแหน่ง ดั้งเดิมของไต คือบริเวณตานเถียน ซึ่งเป็นแหล่งเก็บพลังพื้นฐานของไต ทำให้การหายใจสั้น หายใจไม่ลึก มีอาการหอบหืด มักพบว่ามีความผิดปกติร่วมกันของพลังปอดพร่องกับพลังไตพร่องควบคู่กัน อาการสำคัญคือ หอบหืดหายใจสั้น หายใจเข้าได้น้อย หายใจออกมาก ถ้าเคลื่อนไหวหรือใช้กำลังกายอาการจะรุนแรงขึ้นอาการร่วม เป็นโรคไอ หอบหืดเรื้อรัง เหงื่อออกมากผิดปกติ ใบหน้าขาดความมีชีวิตชีวา เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยอยากจะพูด เสียงพูดไม่มีพลัง เอวและเข่าเมื่อยล้าอ่อนแรง ในรายที่เป็นมากจะมีอาการหอบหืดรุนแรง มีเหงื่อเย็นออกมาก แขนขาเย็น หน้าซีดเขียวลักษณะลิ้น : ลิ้นซีด ฝ้าขาวชีพจร : ลึกและอ่อนแอสาเหตุสำคัญของ “ภาวะพลังไตย้อนกลับขึ้นบน”มาจาก1. ไอ หอบหืดเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ทำให้โรคจากพลังปอดพร่อง พัฒนาไปทำให้พลังไตพร่องด้วย2. คนสูงอายุ มักมีพลังไตอ่อนแออยู่แล้ว เป็นเงื่อนไขที่ทำให้การรับหรือดึงพลังไตกลับตานเถียนได้น้อยกว่าปกติ3. โรคเรื้อรังที่กระทบกระเทือนต่อไต เพศสัมพันธ์ที่มากเกินไป, การทำงานเหนื่อยล้านานเกินไปอย่างต่อเนื่อง กลไกการเกิด …

พลังไตย้อนกลับขึ้นบน คืออะไร Read More »

ภาวะลองโควิด ในมุมมองแพทย์แผนจีน

โรคโควิด-19 ในทางแพทย์แผนจีนตามทฤษฎี《温疫论》เรียกว่า อี้ปิ้ง “疫病” สิ่งก่อโรคคือ พิษร้อน และพิษชื้น เป็นหลัก (热毒和湿毒为主) พยาธิสภาพเกี่ยวข้องกับ ความชื้น ความร้อน พิษ เลือดคั่ง ความแห้ง เสมหะ ภาวะพร่อง เมื่อสิ่งก่อโรคพิษร้อนชื้น(ไวรัสโควิด-19) โจมตีจากภายนอกระดับเว่ย 卫 (ผิวภายนอก) เข้าสู่ระดับชี่ 气 (มีไข้ ปวดเมื่อยตัว) และสู่ระดับลึกอิ๋งเซวี่ย 营血 (เข้าสู่ปอดและอวัยวะภายใน) ที่ทำให้มีอาการปอดบวม(ปอดร้อนชื้น) เกิดลิ่มเลือดอุดตัน(เลือดคั่ง) เกิดอาการช็อค หมดสติ (พิษร้อนเข้าเยื่อหุ้มหัวใจ-หัวใจ) ผู้ป่วยระยะรุนแรงและภาวะวิกฤติ อาการของ Long COVID มาจากพื้นฐานภาวะร่างกายและความรุนแรงของโรค เมื่อได้รับเชื้อโควิด-19 บางคนอาจไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย บางคนอาจมีอาการหนักปานกลาง บางคนอาจมีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต แพทย์แผนจีนมองว่ามาจากพื้นฐานภาวะร่างกายและเจิ้งชี่ (正气 พลังพื้นฐานของร่างกาย)ในการต่อสู้กับเสียชี่ (邪气 สิ่งก่อโรค)  ทำให้ผู้ป่วยมีหลายอาการและหลายอาการแสดงในลักษณะที่แตกต่างกัน ทำให้การรักษาผู้ป่วยมีการใช้แนวทาง หลักการ วิธีการ และตำรับยาที่ใช้รักษาแตกต่างกัน 1.  ลักษณะเบาหรือทั่วไป (轻型及普通型) …

ภาวะลองโควิด ในมุมมองแพทย์แผนจีน Read More »

รู้จัก ภาวะลองโควิด

หลายคนที่ติดเชื้อโควิด-19 และหายแล้ว แต่กลับพบว่า ร่างกายและจิตใจของตนเองไม่เหมือนเดิม บางคนอาจใช้ระยะเวลาหนึ่งฟื้นกลับมาได้ บางคนก็ฟื้นกลับมาไม่หมด แสดงให้เห็นว่า หลังจากหายจากโควิด-19 ผู้ป่วยยังต้องมีปัญหาที่ต้องติดตามแก้ไขและฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจที่บอบช้ำจากการเจ็บป่วยให้ฟื้นกลับมาเร็วที่สุด Long COVID คืออะไร     ลองโควิด (Long COVID) หรือ Post Covid-19 Syndrome คือ ภาวะของคนที่หายจากโควิด-19 แล้วแต่ยังต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่ แม้ว่าเชื้อโควิดหายจากร่างกายไปแล้ว แต่บางอาการกลับไม่หายไปด้วย หรืออาจจะเกิดมีอาการใหม่ ที่ไม่เคยเป็นระหว่างติดเชื้อ อาการของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่จะดีขึ้นภายในไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ และมักจะหายขาดภายใน 12 สัปดาห์ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค สหรัฐอเมริกา เรียกอาการที่ยังพบหลังจากติดเชื้อไปแล้ว 4 สัปดาห์ว่าภาวะ ‘โพสต์โควิด’ (Post-COVID Conditions) หรือ Long COVID กล่าวโดยรวม ลองโควิด (Long COVID) เป็นภาวะหรืออาการที่เกิดขึ้นตามมากับผู้ป่วยโควิด-19 หลังจากได้รับเชื้อนาน 4 สัปดาห์ไปจนถึง 12 สัปดาห์ขึ้นไป   อาการลองโควิดจะมีอาการแตกต่างกันไปในแต่ละคน เป็นอาการที่ไม่มีลักษณะตายตัว สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย ตั้งแต่ระบบหายใจ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร หัวใจและหลอดเลือด ทำให้ผู้ที่หายป่วยบางรายยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนเดิม อาการลองโควิดLong COVID มีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30-50% จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 …

รู้จัก ภาวะลองโควิด Read More »

รู้จักและเข้าใจ ก่อนไวรัสร้าย “ทำลายปอด”

ขณะนี้ ทั่วโลกต่างรู้ถึงความร้ายกาจของไวรัสโคโรนา หรือโรคโควิด-19 กันเป็นอย่างดี ซึ่งจากการระบาดครั้งใหญ่นี้ ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกจำนวนมาก โรคโควิด-19 ผู้ติดเชื้อบางคน อาจมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่บางคนก็ถึงกับเสียชีวิต โดยไวรัสชนิดนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายเมื่อคุณหายใจเอาเชื้อเข้าไป หากมีคนติดเชื้อไอหรือจามใกล้ๆ หรือเมื่อคุณไปจับบริเวณที่มีเชื้อติดอยู่…..ขั้นแรก เชื้อจะแพร่ไปตามเซลล์ที่เยื่อบุคอ ท่อทางเดินหายใจและไปที่ “ปอด” จากนั้นจะเปลี่ยนอวัยวะเหล่านี้ให้กลายเป็น “โรงงานผลิตเชื้อไวรัส” แพร่กระจายไปยังเซลล์ต่างๆในร่างกายเพิ่มอีก จะเห็นได้ว่า เป้าหมายของเชื้อไวรัสคือเข้าไปยังอวัยวะสำคัญของร่างกายอย่าง “ปอด” ซึ่งในมุมมองของแพทย์แผนจีน ปอดมีหน้าที่ควบคุมกำกับบริหารจัดการ ทั้งเลือด พลัง สารน้ำของเหลว และการหายใจ อีกทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นลูกพี่ที่คอยปกป้องอวัยวะภายใจทั้งหวงอีกด้วย จมูก เป็นช่องทางการโจมตีจากสิ่งก่อโรคภายนอกเข้าสู่ปอดโดยตรง ปอดที่ปกติจมูกจะโล่ง การรับกลิ่นจะดี แต่ถ้ามีความผิดปกติของปอด จมูกจะแน่น น้ำมูกไหล การรับกลิ่นไม่ดี จมูกบานเวลาหายใจ (หายใจลำบาก หอบหืด) การกระจายพลังของปอด ช่วยในการขับถ่ายอุจจาระ คนที่ปอดร้อนหรือแห้ง การกระจายของเหลวไปยังส่วนต่างๆ ไม่พอหรือติดขัด น้ำในลำไส้ใหญ่จะถูกดูดซึมกลับสู่ร่างกายมากขึ้น ทำให้ท้องผูก คนที่เจ็บคอ คอแห้ง คออักเสบ บางครั้งอาจจะมีอาการท้องผูกร่วมด้วย การที่พลังปอดอ่อนแอจะทำให้เหงื่อออกง่าย เป็นหวัดง่าย เนื่องจากต่อมเหงื่อเปิด พลังเว่ยชี่อ่อนแอ …

รู้จักและเข้าใจ ก่อนไวรัสร้าย “ทำลายปอด” Read More »

“พลังพร่อง” คืออะไร?

บ่อยๆ ที่เรารู้สึกอ่อนเพลีย อ่อนแรง เมื่อยล้า ภายหลังการตรากตรำทำงานมาทั้งวัน อยากจะนอนหลับพักผ่อน พอหลับไปสักงีบ รู้สึกว่ากลับมากระชุ่มกระชวยอีกครั้งแต่มีผู้ป่วยหรือคนบางคน (บางครั้งอาจรู้สึกว่าไม่ใช่ผู้ป่วย) จะมีความรู้สึกเมื่อยล้า อ่อนแรง ไม่ค่อยอยากพูด พูดแล้วไม่มีกำลัง ไปเดินเหินมากหน่อย หรือไปวิ่งออกกำลังกายอาการจะเหนื่อยรุนแรงขึ้น บางครั้งมีอาการตาลาย เวียนศีรษะ ซึ่งมีอาการเป็นประจำทุกวันผู้ป่วยเหล่านี้บางครั้งมาพบแพทย์ด้วยอาการต่างๆ บางครั้งตรวจพบความผิดปกติบ้าง ไม่พบความผิดปกติบ้าง ขึ้นกับความรุนแรงของโรค แพทย์จีนจัดคนกลุ่มนี้เป็นพวกพลังพร่องพลังพร่องคืออะไรพลัง เป็นหยาง เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของการทำให้มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางสรีระของอวัยวะภายใน (จั้งฝู่) ของร่างกายเป็นตัวกระตุ้น ขับเคลื่อน ให้ความอบอุ่น ปกป้องอันตรายจากภายนอก ดึงรั้งสารต่างๆ และสารน้ำให้อยู่ในร่างกาย ช่วยการเปลี่ยนแปลงย่อยอาหาร บำรุงเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย การขาดพลังหรือพลังพร่อง จึงทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเสื่อมถอย อวัยวะภายในอ่อนแอ จึงเกิดอาการได้หลายระบบ อาการพลังพร่อง และการตรวจพบความผิดปกติอะไร– คนที่พลังพร่อง จะมีใบหน้าไม่สดใส ไร้ชีวิตชีวา เหนื่อยง่าย พูดไม่มีกำลัง เสียงเบา ไม่ค่อยอยากจะพูด เวลาเดินหรือออกกำลังกายมักจะเหนื่อยมากขึ้น– อาการร่วมอื่นๆ เช่น เวียนศีรษะ ตามัว เหงื่อออกง่าย ตรวจร่างกาย : ตัวลิ้นซีด …

“พลังพร่อง” คืออะไร? Read More »

10 เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพในฤดูหนาว

ฤดูหนาว เป็นอีกหนึ่งฤดูที่มักส่งผลกระทบถึงปัญหาสุขภาพหลายประการ ทั้งไอ จาม เป็นไข้ เป็นหวัด รวมถึงภูมิแพ้ เป็นต้น ซึ่งการดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ถือเป็นเกราะป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้อีกทางหนึ่ง 1. ดื่มน้ำเพิ่มมากขึ้น (多点水) การดื่มน้ำอุ่นมากพอจะช่วยทำให้อุ่นภายในร่างกาย และทำให้ร่างกายไม่ขาดน้ำหล่อเลี้ยง ป้องกันความแห้งจากอากาศ ปริมาณน้ำต่อวันควรอยู่ที่ 2 – 3 ลิตร 2. ให้เหงื่อออกเล็กน้อย (出点汗) การเคลื่อนไหวควรให้อยู่ในระดับที่เรียกเหงื่อก็พอ หากออกกำลังกายหักโหมเกินไป จะเสียเหงื่อเสียพลังที่สะสมอยู่ ทำให้ขัดหลักการถนอมพลังหยางและทำให้รูขุมขนเปิด เสียชี่ (ปัจจัยก่อโรค) เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย 3. สนใจป้องกันโรค (防点病) ควรป้องกันและรักษาความอบอุ่นแก่ร่างกายให้เพียงพอ ระวังหลีกเลี่ยงลมแรง และการแปรปรวนของอุณหภูมิที่รวดเร็ว ในช่วงนี้ปัจจัยก่อโรคได้แก่ ลม ความเย็น และความแห้ง ต้องป้องกันเสียชี่เหล่านี้ให้ดี (ทางแผนปัจจุบันจะพูดถึงเชื้อไวรัส ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัด หัด หัดเยอรมัน ฯลฯ ) ควรเตรียมยาฉุกเฉินประจำตัว โดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจไว้ให้พร้อม 4. ปรับอารมณ์และจิตใจ (调点神) ฤดูกาลนี้คนมักจะเฉื่อยชา เพราะพลังธรรมชาติหดตัวเก็บสะสมตัว กระบวนการเผาผลาญอาหารของร่างกายก็น้อยลง สภาพทางจิตใจก็จะหดหู่ เก็บกด …

10 เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพในฤดูหนาว Read More »