ผลไม้ ก็มีสรรพคุณทางยา

สรรพสิ่งในโลกนั้นในยินก็มีหยางแฝงอยู่และในหยางก็มียินแฝงเร้นอยู่เช่นกัน อาหารและสมุนไพรแต่ละชนิดทางการแพทย์แผนจีนถือว่ามีทั้งส่วนที่เป็นยินและหยางผสมกันอยู่ อาหารจึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมหรือปรับร่างกายให้สมดุล เพื่อป้องกันและรักษาโรค

 แตงโม” ราชาผลไม้ในฤดูร้อน

เนื้อแตงโม : คุณสมบัติเย็น รสหวาน จัดเป็นพวกยิน ช่วยดับร้อน แก้กระหายน้ำ แก้อาการเจ็บคอ แก้ร้อนกระวนกระวาย แก้พิษสุรา และขับปัสสาวะ

เมล็ด : คุณสมบัติเป็นกลาง (ไม่ร้อนไม่เย็น) มีรสจืด ตำผสม น้ำผึ้งตุ๋นกิน แก้ท้องผูก

เปลือก : ผิงไฟบดเป็นผงทาแก้แผลในปาก

“ส้มผู้อาวุโสของผลไม้

คุณสมบัติเย็นเล็กน้อย รสเปรี้ยวหวาน จัดเป็นยิน

เนื้อส้ม : ทำให้ชุ่มคอ แก้ไข แก้ไอเรื้อรัง ขับเสมหะ แก้กระหายน้ำแก้ฤทธิ์สุรา ขับปัสสาวะ แก้ท้องผูก

เปลือก : เคี้ยวเฉพาะเปลือกกินหรือบดเป็นผง กินแก้จุดแน่น บริเวณท้องและหน้าอก เนื่องจากอาหารไม่ย่อย ชง ดื่มต่างน้ำชาแก้เจ็บคอ เปลือกตากแห้งจุดไล่ยุง

เมล็ด : ทุบให้แหลกต้มน้ำเติมน้ำส้มสายชู กินบำรุงน้ำนม

ข้อควรระวัง : ผู้ที่มีอาการม้ามพร่อง (แน่นท้อง) อาหารไม่ย่อย มี แก๊สในกระเพาะมากไม่ควรกินมาก ถ้ากินแล้วมีเสลด มากขึ้น (ปกติไม่มีหรือมีน้อย) ไม่ควรกิน

“ฟักทอง” ยาขับพยาธิ

คุณสมบัติเย็น รสหวาน จัดเป็นหยาง บำรุงพลัง แก้อักเสบ ระงับปวด ขับพยาธิ

เนื้อ : ตำให้ละเอียด พอกแผลไฟไหม้

เมล็ด : คั่วบดเป็นผงกินขับพยาธิ คั่วแล้วบดเป็นผงผสมน้ำดื่ม ช่วยเรียกน้ำนม ต้มน้ำดื่มแก้เจ็บคอ

ขั้วกิ่ง : ต้มน้ำดื่มแก้อาเจียนในเด็ก

“ลิ้นจี่” รสอร่อย แต่ก็เป็นยา

เนื้อ : คุณสมบัติร้อน รสหวานปนเปรี้ยว จัดเป็นหยาง ช่วยแก้กระหายน้ำ เรอ อาเจียน ปวดกระเพาะอาหาร ปวดฟัน เป็นฝี แผลเลือดออก

เปลือก : แก้ผดผื่นคัน แก้อาการแพ้ที่เกิดจากการกินลิ้นจี่มาก เกินไป

เมล็ด : ตำให้แหลก ต้มกับขิงสด ดื่มน้ำลดแก้ปวดกระเพาะ อาหาร

ข้อควรระวัง : ผู้ที่เวียนศีรษะ ตาลาย มีเสียงในหู ปวดเมื่อยเอว ร้อนอุ้งมืออุ้งเท้า ปากคอแห้ง ลิ้นแดงมีผ้า ไม่ควรกิน

“มะพร้าว” กลูโคสธรรมชาติ

เปลือก : คุณสมบัติเป็นกลาง รสขม แก้ปวด ช่วยห้ามเลือด ต้มดื่มน้ำแก้เลือดกำเดาออก

น้ำ : รสขมหวาน แก้ร้อนใน กระหายน้ำ

เนื้อ : คุณสมบัติเป็นกลาง รสหวาน ช่วยขับพยาธิ

น้ำมัน : เคี่ยวให้ร้อน ทิ้งไว้ให้พออุ่นทาแก้กลากเกลื้อน

“อ้อย” ดับร้อน ผ่อนกระหาย

คุณสมบัติเย็น รสหวาน จัดเป็นยิน แก้ร้อนใน กระหายน้ำแก้ไอ ขับเสมหะ แก้อาเจียน ช่วยระบาย ขับปัสสาวะ แก้พิษสุรา เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการคอแห้ง ไข้สูง ปัสสาวะน้อยและเหลือง อุจจาระแข็ง อาเจียน

ลำต้น : ทั้งเปลือกตัดส่วนข้อทิ้ง ต้มกับหัวแห้วดื่มต่างน้ำชา แก้ไอขณะออกหัด

น้ำอ้อย : ผสมน้ำขิง ดื่มแก้คอแห้งกระหายน้ำแก้อาเจียน ผสม น้ำผึ้งในปริมาณเท่ากันดื่มก่อนนอนแก้ท้องผูก

“องุ่น” สำหรับคนที่ร่างกายอ่อนแอ

เนื้อองุ่น : คุณสมบัติเป็นกลาง รสหวานและเปรี้ยว ช่วยบำรุง เลือดและพลัง แก้ไอ แก้อาการปวดข้อ แก้อาการเหงื่อ ออกมากผิดปกติ แก้คอแห้งกระหายน้ำขับปัสสาวะ

ราก : คุณสมบัติเป็นกลาง รสหวานฝาด แก้อาการปวดข้อ ขับปัสสาวะ

เถาและใบ : คุณสมบัติเป็นกลาง รสหวานฝาด ช่วยขับปัสสาวะ

 

“ลำไย” ยาบำรุงธรรมชาติ

ใบ : คุณสมบัติเป็นกลาง รสหวาน จืดเล็กน้อย ต้มกินต่างน้ำชาแก้หวัด

เนื้อ : คุณสมบัติร้อน รสหวาน แก้ผอมแห้งแรงน้อย ท้องเสีย นอนไม่หลับ บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด

เปลือก : คุณสมบัติร้อน รสหวาน แก้มึนหัว

เมล็ด : รสฝาด ช่วยห้ามเลือด แก้ปวด แกะเปลือกสีดำออกทุบ ให้แตก ต้มดื่มแก้ปัสสาวะไม่ออก ฝนกับน้ำส้มสายชู ทารักษาเกลื้อน บดเป็นผลผสมกับพริกไทยทารักแร้ แก้กลิ่น

ข้อควรระวัง : ผู้ที่มีอาการท้องเสีย อาหารไม่ย่อย ท้องอืดแน่น ฝ้าบนลิ้นสีขาวหนา หรือเป็นหวัด เจ็บคอ ไม่ควรกิน

สิ่งควรจำ ย้ำให้แม่น

ไม่ว่าอาหารที่ท่านกินจะถูกจะแพงอย่างไร ทุกคนควรกินให้พอเหมาะ ไม่ใช้อ่านหรือฟังว่าดีเลยกินมากไป

บางครั้งเมื่อกินอาหารบางอย่างแล้วเรารู้สึกปกติ พออีกวันกินอย่างเดียวกันกลับรู้สึกอึดอัด ท้องอืดแน่น หรือบางวันกินอาหารชนิด เดียวกันนั้นกลับมีอาการคอแห้ง กระหายน้ำท้องผูก ท่านอาจคิดว่าไม่ถูกปาก แต่ในทางการแพทย์จีนถือว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความไม่ปกติ ในร่างกาย หรืออาจกล่าวได้ว่า ร่างกายของท่านกำลังเสียสมดุล