เป็นที่ฮือฮากันมากเมื่อหลายปีก่อน ผู้คนจำนวนมากแห่กันเข้าคิวไปรอการฝังเข็มลดน้ำหนัก เพราะเชื่อว่า จะได้ผลดีเยี่ยม และทำให้สุขภาพดีด้วย (ไม่ทราบเป็นเพราะแรงโฆษณาเกินจริงหรือเปล่า)
แต่แล้วก็หยุดฮิตไปพักหนึ่ง เพราะไม่ง่ายอย่างที่คิด แต่ก็ยังมีผู้ที่นิยมไปฝังเข็มลดความอ้วน ด้วยความเชื่อว่า อย่างไรเสียยังปลอดภัยกว่าการใช้ยา เพราะเคยใช้ยาลดน้ำหนักมาแล้ว มีผลข้างเคียงคือ กินแล้วไม่สบายตัว เมื่อหยุดยาน้ำหนักกลับเพิ่มมากขึ้นกว่า เดิมอีกภายใน 1 ปี
หลายคนหันไปหาอาหารสุขภาพ ลดน้ำหนัก ขับไขมัน กินสมุนไพร กินอาหารเส้นใย บ้างก็ประสบผลสำเร็จบ้างไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ที่แน่ๆบริษัทที่ผลิตผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ร่ำรวยไปไม่น้อย
หลายคนพบสัจธรรมว่า อยู่ที่การควบคุมพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง วิถีการดำเนินชีวิตใหม่ ออกกำลังกายน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่หลายคนยากจะเปลี่ยนวิถีชีวิต เพราะเกี่ยวข้องกับอาชีพการทำงาน ซึ่งแสนจะหลีกเลี่ยงยาก สรุป โรคอ้วนจึงคงต้องเป็นปัญหาที่ไม่มีทางจบสิ้น ในสังคมปัจจุบันที่เกิดความเสียสมดุล ของการบริโภคอาหารและการใช้พลังงานในการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย
ยังเป็นข้อสงสัยของคนจำนวน มากว่า การฝังเข็มจะไปช่วยอะไรกับ การลดน้ำหนัก เพียงฝังเข็มไม่กี่จุดแล้วกระตุ้นด้วยไฟฟ้า ไขมันจะสลาย ไปได้อย่างรวดเร็วปานนั้นหรือ บางราย แค่ไปติดเข็มเล็กๆ หรือเมล็ดพืชที่หู 3 – 4 จุด แล้วไขมันจะหายไปได้อย่างไร น่าเป็นผลทางจิตวิทยามากกว่าสำหรับคนปกติจะให้ไขมันในร่างกาย หายไป 1 กิโลกรัม ต้องใช้พลังงานใน ร่างกายถึง 7,700 แคลอรี่ ในคนปกติขณะพักหรืออยู่เฉยๆ ก็จะมีการใช้พลังงานความร้อนของร่างกาย เพื่อการดำรงชีวิตการทำงานของเครื่องยนต์กลไกในร่างกายประมาณ 1,200 แคลอรี (ค่าน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม) เมื่อรวมกับการเคลื่อนไหว การทำงาน เดินไปเดินมา ใช้สมองกินข้าว แต่งตัว เหมือนคนทำงานสำนักงานทั่วไป ซึ่งต้องใช้พลังงานเฉลี่ย 1,500 แคลอรี/วัน รวมแล้วต่อวันใช้พลังงาน 2,500 แคลอรี ดังนั้น การจะลดน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ออกจากตัว (7,700 แคลอรี) สำหรับคนที่นั่งๆ นอนๆ และกินเก่งจึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย
เมื่อไรเรียกว่า “อ้วน”
ความหมายคือ น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน เกินร้อยละ 10 เรียกว่า น้ำหนักเกิน ถ้าเกินร้อยละ 20 เรียกว่า โรคอ้วน หรือยังแบ่งเป็นอ้วนน้อย อ้วนปานกลาง หรืออ้วนมาก ตามขนาดน้ำหนักส่วนเกิน
โรคอ้วน โดยทั่วไปหมายถึง ภาวะทุพโภชนาการ คือ มีการกินมากไปโดยเฉพาะอาหารพวกแป้งไขมัน ของหวาน แต่มีการใช้พลัง งานของร่างกาย หรือการออกกำลังกายน้อยไป ทำให้ร่างกายมีการสะสม พลังงานส่วนเกินในรูปของไขมันตาม ส่วนต่างๆ ของร่างกาย แต่ภาวะอ้วน ยังมีสาเหตุอื่นๆ เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน และความผิดปกติ ของสมอง ซึ่งมีผลกระทบต่อส่วนไฮโปทาลามัสโดยตรงหรือโดยอ้อม
การลดน้ำหนักตามการแพทย์แผนปัจจุบัน
1. ควบคุมการกินอาหาร เป็นวิธีการหลักและมีความปลอดภัย ประหยัดที่สุด แต่ก็ทำยากที่สุด (มักแพ้ ใจตัวเอง ขาดความเข้มงวด ลืมตัวตอนกิน เสียใจเมื่อกินอิ่มแล้ว) ลดอาหารที่มีแคลอรีสูง เช่น อาหารไขมัน แป้ง อาหารหวาน อาหารทอด ทุเรียน ข้าวเหนียวมะม่วง เค้ก ขนุน ฯลฯ
กินอาหารที่ให้แคลอรีน้อย ผัก ผลไม้ ส้ม อาหารเส้นใย
2. เพิ่มการใช้พลังงาน ด้วยการออกกำลังกาย เต้นแอโรบิก วิ่ง เดิน เล่นกีฬา ฟิตเนส อบไอน้ำ (สามารถ ขับน้ำออกด้วย) ไม่เอาแต่นั่งๆ นอนๆ หรือกินอิ่มแล้วนอน เป็นต้น
3. การควบคุมด้วยยา
ก. ยาทำให้ไม่อยากอาหาร โดยออกฤทธิ์กดที่สมองส่วนไฮโป-ทาลามัส ทำให้เบื่ออาหาร อิ่มเร็ว กิน น้อย ทำให้อาหารเข้าสู่ร่างกายน้อย ลง เรียกว่า ตัดแหล่งที่ป้อนพลังงาน หรือสะสมไขมัน
ข้อเสียของยาประเภทนี้
คือ ใช้ไปนานๆ ต้องเพิ่มขนาดยาจึงจะได้ผลการรักษาเท่าเดิม
– ทำให้ปากแห้ง กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ท้องผูก
– เสี่ยงต่อภาวะเบาหวาน และ ความดันเลือดสูง
– เมื่อหยุดยาผู้ป่วยมักหันกลับมากินอาหารเหมือนเดิม บางรายอาจกินมาก กว่าเดิม (เพราะถูกกดสมอง มานาน พอไม่กดสมองเลย กลับมาอีกด้าน ที่เรียกว่าYo Yo effect) ข. ยาขับปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก น้ำหนักจะลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ไม่ได้ลดไขมันอย่างแท้จริง ผลเสียคือทำให้ คอแห้ง กระหายน้ำ หน้ามืด อ่อนเพลีย ความดันเลือดต่ำ เป็นลม หรือช็อกหมดสติได้
ค. ยาฮอร์โมน มักเป็นฮอร์โมน กระตุ้นการเผาผลาญพลังงานในร่าง กายให้มากขึ้น ทำให้ไขมันที่สะสมอยู่ถูกนำมาใช้ แต่ถ้าใช้นานและมาก เกินจะทำให้มีอาการคล้ายโรคไทรอยด์เป็นพิษ ทำให้ใจสั่น เหงื่อออก คอแห้ง ตกใจง่าย นอนไม่หลับ ความ ดันเลือดสูงได้
ง. ยาระบาย ช่วยทำให้ลำไส้บีบตัว ขับถ่ายกากอาหารหรืออุจจาระ ในลำไส้ใหญ่ได้มากขึ้น และช่วยลด ผลข้างเคียงจากยาลดน้ำหนักที่ทำ ให้ท้องผูกได้
4. การผ่าตัด ผ่าตัดกระเพาะอาหารออกบางส่วน เพื่อลดขนาดกระเพาะอาหารทำให้อิ่มเร็ว
ผ่าตัดลำไส้เล็กบางส่วน เพื่อลดการดูดซึมอาหารเข้าสู่ร่างกาย คือ กินแล้วไม่ต้องดูดซึม แล้วรีบถ่ายออกโดยเร็ว นับเป็นวิธีที่สุดๆ จริงๆ สำหรับคนอ้วนที่ไม่รู้จะทำอย่างไรดี แต่ก็เรียกว่าทางปฏิบัติแล้วไม่ค่อยมี ใครอยากจะทำวิธีนี้ ไม่ว่าคนไข้หรือ แพทย์ผู้ให้การรักษา
5. การผ่าตัดไขมันส่วนเกิน ดูดไขมันเฉพาะที่ หรือสลายไขมันด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ หรือฝังเข็ม
การผ่าตัดเอาส่วนเกินออกได้ ผลรวดเร็ว แต่มีความเสี่ยง ต้องดมยาสลบ เตรียมตัวเหมือนการผ่าตัดทั่วไปนอนโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายสูง อาจมีรอยแผลเป็น ภาวะแทรกซ้อน เหมือนที่เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ บ่อยๆ และที่สำคัญ ถ้าไม่ดูแลตัวเองให้ดี ไขมันจะสะสมใหม่ได้อีก บางคนผ่าตัดมาแล้วเกือบทุกส่วน หน้าท้อง แขน ขา ใบหน้า ปัจจุบันก็ยังอ้วนเหมือนเดิม แต่ที่สำคัญการผ่าตัดแต่ ละครั้งคือ การสูญเสียพลังชีวิต ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพองค์รวมได้บางคนเลี่ยงการผ่าตัดไขมันเป็นการดูดไขมัน โดยใช้เหล็กยาวที่ปลาย มีรูเปิดหลายๆ รู ใช้แรงดูดสุญญากาศ เก็บเข้าในขวด มีรอยแผลเป็นน้อยกว่า แต่ผิวหนังบริเวณนั้นมักมีรอย
การกระตุ้นด้วยเครื่องมือสลายไขมัน โดยใช้แผ่นขั้วไฟฟ้าเป็นคู่ๆติดตามส่วนต่างๆ เพื่อกระตุ้นกล้าม เนื้อให้มีการหดตัวคลายตัวนานประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้ไขมันที่สะสมบริเวณต่างๆ ถูกสลายจากการทำงานของกล้ามเนื้อคล้ายกับการออก กำลังกายของกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ซึ่งถ้าใช้การฝังเข็มเฉพาะส่วนก็มีหลักการคล้ายกับการใช้แผ่นขั้วไฟฟ้า
วิธีนี้เห็นผลช้า ต้องทำต่อเนื่องสม่ำเสมอหลายครั้ง (4-5 ครั้งขึ้นไป) จึงจะเห็นผลชัดเจน