โรคลมแดด (heat stroke) เป็นภาวะสูญเสียเหงื่อปริมาณมาก กลไกควบคุมความร้อนในร่างกายล้มเหลว เหงื่อจะออกน้อยหรือไม่ออกเลย เป็นเหตุให้อุณหภูมิใน ร่างกายสูงขึ้น (เพราะว่าร่างกาย ขาดน้ำอย่างมากจนไม่เพียงพอต่อการผลิตเหงื่อ)
ผู้ป่วยจะตัวแดง ตัวร้อน เหงื่อจะออกมากในช่วงแรก ตอนหลังผิวจะแห้งเหงื่อออกน้อย เมื่อร่างกายไม่สามารถจะขับเหงื่อเพื่อระบายความร้อนได้ จะทำให้มีไข้สูง มึนงง สับสน กระสับกระส่าย หรืออาจจะไม่รู้สึกตัว สับสน และกระวนกระวาย หายใจเร็ว หายใจลำบาก ซึ่งอาจจะเกิดจากอวัยวะภายในเริ่มมีปัญหาชีพจรเร็ว เนื่องจากไข้และร่างกายขาดน้ำ ความดันโลหิตอาจจะสูงเล็กน้อยในระยะเริ่มต้น แต่เมื่อร่างกายขาดน้ำมากความดันโลหิตจะต่ำลง
ลมแดด แพทย์แผนจีนเรียกว่าจ้งสู่ (中暑) ความร้อนจากอากาศร้อนจัดในฤดูร้อน เข้าสู่ร่างกาย ความร้อนที่มากเกินไป ทำให้การไหลเวียนของพลังติดขัดเกิดลมตับปั่นป่วนภายใน ทำให้มีไข้ ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้ อาเจียน กระสับกระส่าย ชักกระตุก หมดสติ
ฤดูร้อนกับศาสตร์แพทย์แผนจีน
ช่วงเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม เป็นช่วงเวลาของฤดู ร้อนอุณหภูมิภายนอกค่อยๆ ร้อนขึ้นจนถึงร้อนสุดๆ ตามด้วยการที่มีฝน ตกในช่วงปลายฤดูร้อน หากเราสังเกตมองดูต้นไม้ที่อยู่รอบตัวจะเห็นว่าเป็นช่วงเวลาของการเติบโตแผ่กิ่งก้านสาขาผลิดอกออกผลเช่นเดียวกับ ร่างกายของคนเราในฤดูกาลนี้เป็นช่วงที่พลังหยาง (ความร้อน) ภายในร่างกายมีการเพิ่มปริมาณสูงขึ้นตามสภาพอากาศภายนอก การดูแล สุขภาพและการกินอาหารที่สอดรับกับลักษณะของพลังธรรมชาติของ ฤดูร้อนจึงจะทำให้สุขภาพแข็งแรงต้อนรับกับฤดูกาลใหม่ที่จะมาถึง
ความร้อนจากแดดในฤดูร้อนเป็นปัจจัยก่อโรคประเภทหนึ่งของ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ 6 ประเภท (ลิ่วหยิน 六淫) แม้ว่าร่างกาย แต่ละปัจเจกบุคคลจะได้รับการกระทบความร้อนของแดดในฤดูร้อน เหมือนกัน แต่การตอบสนองของร่างกายจะต่างกันขึ้นกับสภาพพื้นฐาน ของร่างกายและความรุนแรงของการกระทบ
ปัจจัยสำคัญคือความร้อนจากภายนอกที่มากขึ้นจะทำให้
- เกิดไฟหัวใจ (จิตอารมณ์หงุดหงิดง่าย) ต้องระวังในผู้ป่วยที่มี โรคหัวใจ
- พลังร้อนภายนอกทำให้พลังหยางของร่างกายออกมาอยู่ที่ ด้านนอกมาที่เนื้อเยื่อเกี่ยวพันและผิวหนัง พลังความร้อนของอวัยวะ ภายในร่างกายจะลดลง
- มีการเสียเหงื่อทำให้ขาดน้ำ ร่างกายอ่อนล้าเพลียง่าย
- อาหารมีโอกาสปนเปื้อนสูง (เชื้อโรคแบ่งตัวได้เร็ว) อาหารเน่าบูดได้ง่าย
- ในภาวะที่มีความร้อนมากเมื่อเกิดมีฝนตกจะเกิดความชื้นอากาศอบอ้าว (ความร้อนเจอน้ำ จะเกิดความชื้น) สภาวะอากาศที่ ร้อนร่างกายไม่สามารถระบาย ความร้อนออกจากร่างกายด้วย วิธีการขับเหงื่อ ความร้อนในร่างกายจะเพิ่มมากขึ้นและมีอาการ หงุดหงิดอึดอัด ทำให้รู้สึกตัวหนัก เหมือนการถูกบีบรัด ระบบย่อย อาหารจะทำงานหนัก จะทำให้ เกิดการเบื่ออาหาร
ร้อนแดด (สู่ 暑) เป็นปัจจัย ก่อโรคเกี่ยวกับความร้อนจาก ฤดูกาลกระทบโดยตรงต่ออวัยวะหัวใจ เป็นหลักการดูแลป้องกัน รักษาจึงต้องให้ความสำคัญด้วย การระบายความร้อนออกจาก หัวใจ
แนวทางการป้องกันรักษา
- ต้องหลีกเลี่ยงความร้อน อย่าอยู่กลางแดดนานเกินไปหรือ ห้องที่อบอ้าว ควรอยู่ในที่ร่ม ในอาคารที่มีความเย็น การระบาย อากาศที่ดี
- อาบน้ำช่วยระบายความ ร้อน ไม่ควรอาบน้ำเย็นทันทีขณะร่างกายยังร้อนและเหงื่อออก
- ต้องใช้สมุนไพรยาขับพิษ ขับร้อน สมุนไพรที่ใช้ต้องมีรสจืด ฤทธิ์เย็น ทำให้ร่างกายสามารถขับความร้อนออกทางปัสสาวะและอุจจาระ
- ต้องคำนึงถึงการบำรุง ม้ามกับชื้นควบคู่ไปด้วย
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ ไม่ควรดื่มน้ำเย็นจัด เพราะความเย็นจัด ปะทะความร้อนในร่างกายอย่าง เฉียบพลันทันทีจะทำให้ภูมิคุ้มกันตก ร่างกายจะเจ็บป่วยได้ง่าย “盛夏食冰,与气候相反,冷热相激,变生诸疾”
- อาจจะดื่มน้ำเกลือแร่เสริม กรณีเสียเหงื่อและอ่อนเพลีย หรือเสริมด้วยสมุนไพรที่บำรุงพลังและสารยินให้กับร่างกาย เช่น โสมอเมริกา(西洋参) ม่ายตง (麦冬)