หยางแท้ – ยินเทียม ร้อนแท้ – เย็นเทียม
“ดิฉันเป็นคนขี้หนาว แขนขาเย็น แต่ตัวร้อน ท้องผูก เป็นแผลร้อนในบ่อย ดิฉันเป็นโรคอะไรค่ะ”“คนใกล้ชิดมักจะบอกว่า ผมมีกลิ่นปาก ผมไปหาหมอฟันแล้วหาสาเหตุไม่ได้ หมอจีนบอกว่าผมร้อนภายใน เพราะเป็นคนกระหายน้ำ ดื่มน้ำมาก หงุดหงิด ลิ้นและชีพจรก็บ่งบอก และให้ยาผมมากิน ปรากฏว่าดีขึ้นมาก” อาการหลายๆ อาการที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์แผนจีน มักจะถูกรวบรวมเป็นกลุ่มอาการ ประสานกับการตรวจวินิจฉัยด้วยการมอง (ดู), ถาม, ดม-ฟัง และจับชีพจร-สัมผัส สรุปเป็นการวินิจฉัยแยกแยะภาวะของโรค เพื่อวางแผนการรักษา อาการต่างๆ ของผู้ป่วยข้างต้น 2 รายอาจจะมีรายละเอียดบางอย่างเหมือนกัน บางอย่างต่างกันบ้าง แต่บางครั้งสรุปว่า มีพื้นฐานของการเสียสมดุลคล้ายกัน การวางแนวการรักษาก็จะเป็นแนวเดียวกัน แต่มีรายละเอียดที่ต้องปรับวิธีการ หรือการใช้ยาจำเพาะแตกต่างกัน เรียกว่า การปรับลดตำรับยา1. ร้อนแท้ – เย็นเทียม มีอาการแสดงออกทางคลินิกที่สำคัญอย่างไร?– อาการ ที่ผู้ป่วยมาหาบ่อยๆ ได้แก่อาการแขนขาเย็น ตัวร้อน (ส่วนอกและท้อง)– อาการร่วมอื่นๆ ได้แก่ ไข้สูง กลัวความเย็น ใบหน้าไม่ค่อยมีชีวิตชีวา (บางรายหมดสติ) สีดำคล้ำในผู้ป่วยที่ไม่มีไข้สูง มักมีกลิ่นเหม็น ปากเหม็น กระหายน้ำ ดื่มน้ำมาก ท้องผูก อุจจาระแห้งเป็นก้อน …