Day: August 5, 2021

ฉีดยาเข้าจุดฝังเข็ม รักษาโรคได้จริงหรือ?

พูดถึงการฉีดยา เรามักคุ้นเคยกับการฉีดยาที่ต้นแขน สะโพก การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำที่หลังมือ หรือแขน ยาที่ฉีดก็คิดถึงยาแผนปัจจุบัน ถ้ามีหมอเกิดเอายาฉีดที่เป็นสมุนไพร หรือยาแผนปัจจุบัน หรือบางครั้งเอาเลือดที่ดูดจากคนไข้คนเดียวกันฉีดเข้าไปในตัวคนไข้เอง ฉีดเข้าไปตำแหน่งอื่น เช่น ที่หน้าแข้ง หรือจุดต่างๆ ตัว แขน ขา ลำตัว ต้นคอ คงทำให้หลายคนแปลกใจ หรือสงสัยว่าได้มาตรฐานหรือเปล่า หรือมีเหตุผลอะไรรองรับ การฉีดยาเข้ากล้ามสะโพก ที่ต้นแขน หรือสะโพก ในทรรศนะแพทย์แผนปัจจุบัน ต้องการให้ยาดูดซึมผ่านหลอดเลือดบริเวณที่มีกล้ามเนื้ออุดมสมบูรณ์ เพื่อยาจะดูดซึมได้ดี และหลีกเลี่ยงการทำลายถูกเส้นประสาท ทั้งเป็นตำแหน่งที่สะดวกในการฉีดด้วย การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังสามารถฉีดได้หลายแห่ง แต่ส่วนใหญ่ก็นิยมฉีดตามแขน หัวไหล่ ฉีดยาเข้าจุดฝังเข็มมีประวัติยาวนานแค่ไหน?ในตำราศาสตร์แผนจีนสมัยโบราณ มีแต่การแทงเข็มหรือฝังเข็ม โดยใช้เข็มที่ทำจากหินในระยะแรก ภายหลังพัฒนาเป็นการใช้โลหะ ปัจจุบันใช้เป็นสเตนเลสแทงเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ถึงจุดฝังเข็มจนกระทั่งได้ความรู้สึกที่เรียกว่า “ได้ลมปราณ”  เพื่อให้มีการกระตุ้นการไหลเวียนของพลังลมปราณที่ตำแหน่งนั้น และสามารถส่งผ่านไปตามเส้นลมปราณไปยังส่วนอื่นๆ รวมถึงอวัยวะภายใน การฉีดยาเข้าจุดฝังเข็ม เขาเรียกว่า สุ่ยเจิน เป็นวิธีที่เริ่มต้นมาประมาณ 60 ปีเศษ เป็นผลของการพัฒนาศาสตร์แพทย์แผนจีนที่ได้ประยุกต์ และบูรณาการการแพทย์แผนปัจจุบันเข้าด้วยกันเช่นเดียวกับการฝังเข็มหู การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าแทนการกระตุ้นด้วยการใช้มือหมุนเข็ม การฝังเข็มศีรษะ ทำไมต้องฉีดยาเข้าจุดฝังเข็ม วิธีนี้มีข้อเด่นอย่างไร?การฉีดยาเข้าจุดฝังเข็ม ใช้หลักทฤษฎีพื้นฐานแพทย์แผนจีนชี้นำ คือ การกระตุ้นจุดฝังเข็มกระตุ้นการไหลเวียนของเส้นลมปราณโดยผ่านจุดฝังเข็ม …

ฉีดยาเข้าจุดฝังเข็ม รักษาโรคได้จริงหรือ? Read More »

หลอดลมอักเสบเรื้อรัง

ปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่เป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ซึ่งจะเป็นมากในฤดูฝนและฤดูหนาวสาเหตุที่เกิดยังไม่ชัดเจน แต่คนที่สูบบุหรี่จัดจะเป็นมาก เมื่อเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง จะทำให้ผิวหลอดลมและหลอดลมฝอย มีการบวมหนามีการหลั่งเมือกหรือเสมหะออกมามากกว่าปกติ มีผลให้หลอดลม มีลักษณะตีบแคบลงทำให้ลมหายใจเข้า-ออกได้ยากลำบาก ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการไอและมีเสลดติดต่อกันนานกว่า ๖ เดือนขึ้นไป หรือเป็นอย่างน้อย ปีละ ๓ เดือนติดต่อกัน ๒ ปีขึ้นไป ถ้าเป็นมากๆ จะไอถี่ เสลดจะเป็นสีขาว เหลือง เขียว บางครั้งมีไข้ หรือเลือดปน ถ้าเป็นนานๆ ก็จะเป็นหอบ เหนื่อย ร่วมด้วย หรือร่วมกับถุงลมพอง โรคหัวใจ การแพทย์แผนปัจจุบัน การรักษามักจะใช้ยาละลายเสมหะ ยาแก้ไอ ยาขยายหลอดลม ให้กินระยะ ยาวๆ ถ้าเป็นมากๆ ใช้ยาปฏิชีวนะยาภูมิแพ้ บางครั้งอาจใช้พวกกลุ่ม ยาสตีรอยด์ (steroid) ซึ่งการใช้ยาประเภทนี้นานๆ ก็มักจะมีผลข้างเคียง ที่เราไม่ต้องการเกิดขึ้นมากกว่าผล ที่ได้รับ เนื่องจากผู้ป่วยประเภทนี้เป็น โรคเรื้อรังเป็นแล้วเป็นอีกซ้ำๆ ซากๆ เวลาไปพบแพทย์ได้ยามากินก็หายหยุดก็เป็นอีก บางคนเป็นมาก ได้รับ ยาแล้วก็ทนผลข้างเคียงของยาไม่ไหว พอนานๆ เข้าก็เกิดความท้อแท้ เบื่อหน่าย …

หลอดลมอักเสบเรื้อรัง Read More »