รักษาอาการปวด แบบแพทย์แผนจีน
แพทย์แผนจีนอธิบายสาเหตุของอาการปวดเกิดจากการไหลเวียนของเลือดและพลังลมปราณในเส้นลมปราณ (Meridian) ติดขัด ไม่คล่อง : ความคล่อง-ไม่ติดขัด (ของเลือดและพลัง) ทำให้ไม่เจ็บปวดการปวดก็เพราะการติดขัด-ไม่คล่อง (ของเลือดและพลัง) ตัวอย่างการรักษาอาการปวด– ปวดชายโครงผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากการกระทบกระเทือนชายโครง แม้ว่าจะมีกระดูกซี่โครงหักหรือไม่ก็ตาม เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อบริเวณชายโครงย่อมได้รับบาดเจ็บ ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการปวดแน่นๆ หายใจไม่สะดวก (ทั้งนี้รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัด) ตามแนวชายโครง แพทย์แผนปัจจุบัน : มักให้การรักษาด้วยยาระงับปวด ยากล่อมประสาท หรือฉีดยาชาเฉพาะที่ที่มีการกดเจ็บแพทย์แผนจีน : มองว่าเส้นลมปราณ ถุงน้ำดี และตับ ซึ่งเป็นเส้นลมปราณบริเวณด้านข้างลำตัวถูกกระทบกระเทือนทำให้เลือดและพลังติดขัด การรักษาจึงต้องทะลวงการอุดกั้นของเส้นลมปราณให้คล่องตัว อาการปวดจึงจะทุเลา ในทางคลินิกจะพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีภาวะทางอารมณ์หงุดหงิดร่วมด้วย (เพราะการไหลเวียนติดขัดของถุงน้ำดี จะสัมพันธ์กับพลังของตับ)– ผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบแพทย์แผนปัจจุบัน : มักให้การรักษาด้วยการผ่าตัดไส้ติ่งหรือถุงน้ำดีทิ้งแพทย์แผนจีน : มองว่าการอักเสบเป็นผลจาก อุดกั้นของของเสียในลำไส้ใหญ่ จนเกิดความร้อน ความชื้นตกค้าง การระบายความร้อนความชื้นของอวัยวะกลวง ลำไส้ใหญ่ และถุงน้ำดี จะทำให้ลดอาการอักเสบ การปวดได้ บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้การผ่าตัดตามความเชื่อของการแพทย์แผนปัจจุบันทั้งหมด– คออักเสบแพทย์แผนปัจจุบัน : มักให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อกับยาแก้ปวดลดไข้แพทย์แผนจีน : นอกจากจะใช้ยาสมุนไพรขับพิษขับร้อนแล้ว คออักเสบมีความเกี่ยวกับเส้นลมปราณปอด การขับความร้อนบนเส้นลมปราณลำไส้ใหญ่ (สัมพันธ์กับปอด)ออกโดยการถ่ายอุจจาระหรือระบายความร้อนบนจุดฝังเข็มปลายทางของเส้นลมปราณปอด (จุดซ่าวซาง) ทำให้อาการเจ็บคอและการอักเสบจะทุเลาได้เร็วขึ้น– ปวดประจำเดือนผู้หญิงที่ปวดประจำเดือนที่ไม่ได้เป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกหรือรังไข่ หรือที่อาจถือว่าเป็นธรรมดาของผู้หญิงส่วนใหญ่ แผนปัจจุบันเชื่อว่ามีสาเหตุมาจากการแปรปรวนของฮอร์โมนระหว่างที่มีประจำเดือนและมีการหลั่งสารพรอสตาแกลนดิน (prostaglandins) มากผิดปกติ ทำให้มดลูกหดเกร็งตัว เกิดอาการปวดที่บริเวณท้องน้อย แพทย์แผนปัจจุบัน …