Month: December 2021

จิงของไต ไม่พอ

“ลูกของดิฉันมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กอื่น ให้คุณหมอเด็กที่โรงพยาบาลตรวจรักษา หมอบอกว่าเป็นความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมนการเจริญเติบโตตอนนี้ได้ฮอร์โมนรักษาดีขึ้นมาก คุณหมอนัดดูแลให้เป็นระยะๆ อยู่”Ž“ผมกับภรรยาไปปรึกษาแพทย์เรื่องมีบุตรยาก แต่งงานกันมาเกือบ 5 ปี ยังไม่มีบุตรเลย ทั้งที่ไม่ได้ คุมกำเนิด หมอตรวจน้ำเชื้อผมแล้วบอกว่า เชื้ออ่อน ปริมาณน้อย ไม่แข็งแรง ส่วนประจำเดือนของภรรยาผมก็ไม่แน่นอน หมอนัดไปปรึกษาวางแผนการรักษา ที่โรงพยาบาล แต่บางคนก็แนะนำให้ไปหาหมอจีน เพราะได้ข่าวจากเพื่อนคนหนึ่งว่า ยาจีนสามารถรักษาภาวะมีบุตรยากได้ ผมก็ยังไม่เข้าใจอะไร กำลังตัดสินใจอยู่”Ž“ไม่ได้พบเขาตั้งนาน เขาเปลี่ยนไปมาก หน้าตาแก่ไปเยอะ ความจำเสื่อม ขาก็ไม่มีแรง ผมร่วง ผมขาว เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ทั้งๆ ที่อายุ 50 เศษๆ เอง ผมแนะนำให้เขาไปซื้อยาบำรุงชะลอความแก่ ตำรับยาจีนมากิน เพราะว่าเขาเป็นโรคไตเสื่อม”Žปัญหาเรื่องการเติบโตช้า วัยเจริญพันธุ์ (ช่วงที่สามารถสืบพันธุ์) ไม่สามารถผลิตเชื้อหรือระบบประจำเดือนผิดปกติ รวมทั้งความเสื่อมชราเร็วกว่ากำหนด มักมีปัจจัยเรื่องของฮอร์โมนภายในร่างกายเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่มาก ภาษาแพทย์จีนเรียกว่า “ภาวะจิงของไตไม่พอ” หรือ “ภาวะจิงของไตพร่อง” 1. ความหมายและสิ่งตรวจพบของ “จิงของไตไม่พอ”Žอาการจิง เป็นสารสุดยอดของร่างกาย เก็บสะสมที่ไต (เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนต่างๆ ของร่างกาย) จิงของไตมีมาแต่กำเนิด (จากพันธุกรรม) …

จิงของไต ไม่พอ Read More »

ดูแลสุขภาพด้วยการ ถูฝ่ามือกับฝ่าเท้า

แพทย์จีนนามอุโฆษฉายา “ ราชาสมุนไพร 药王” อายุยืนยาว 141 ปีแห่งราชวงศ์ถังซุนซือเหมี่ยว孙思邈 ( ปีคศ. 541-คศ.682)เคล็ดลับคือท่านใช้เทคนิคการดูแลสุขภาพ 13 วิธี“ 养生十三法”ในการดูแลตัวเองทุกวันหนึ่งในวิธีนั้นคือเทคนิคการถูฝ่ามือกับฝ่าเท้า(手心搓脚心) เทคนิคการถูฝ่ามือกับฝ่าเท้า การใช้ใจกลางฝ่ามือถูกับใจกลางฝ่าเท้า(手心搓脚心) กลางฝ่ามือของคนเรามีจุดฝังเข็มคือ จุดเหลากง(劳宫穴)เป็นจุดของเส้นลมปราณเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นตัวแทนของหัวใจปลายนิ้วกลางเป็นจุดปลายของเส้นลมปราณนี้ เรียกว่าจุด จงชง(中冲穴) เอาเท้าขวาพาดบนหน้าตักซ้าย หงายฝ่าเท้าขวาขึ้น ให้เอามือ 2 ข้างมาถูกัน ให้ปลายนิ้วกลางถูกันผ่านจุดเหลากง(劳宫穴)จนเกิดความร้อน ใช้ฝ่ามือซ้ายถูกลางฝ่าเท้าขวา แล้วเอาไปถูใจกลางฝ่าเท้า ซึ่งมีจุดหย่งเฉวียน(涌泉穴)ซึ่งเป็นจุดของเส้นลมปราณไต ถูขึ้นลง 100 ครั้งจนเกิดความร้อน จากนั้นสลับเอาเท้าซ้ายพาดบนหน้าตักขวา หงายฝ่าเท้าซ้าย ใช้ฝ่ามือขวาถูกลางฝ่าเท้าซ้าย ขึ้นลง 100 ครั้งจนเกิดความร้อนเช่นกัน ทำให้พลังส่วนบนและส่วนล่างถ่ายเทถึงกัน  เวลาที่เหมาะสมคือ ช่วงเช้าตื่นนอน และก่อนนอน หลังจากถูฝ่ามือกับฝ่าเท้าเสร็จ 30 นาที ให้ดื่มน้ำอุ่นๆ 1 แก้ว โดยทั่วไปใช้เวลาทำครั้งละประมาณ 10 นาที ติดต่อกันทุกวัน      หมายเหตุ: –  …

ดูแลสุขภาพด้วยการ ถูฝ่ามือกับฝ่าเท้า Read More »

เทคนิคการ ถูฝ่ามือกับฝ่าเท้า

ช่วงโควิด-19 ระบาดตั้งแต่ ปลายปี 2562 จนถึงขณะนี้ปลายปี 2564  กินเวลาร่วม 2 ปี  ก็ยังมีความไม่แน่นอนของความรุนแรงที่อาจจะเกิดการระบาดของเชื้อโควิดกลายพันธุ์จากแอฟริกาตัวใหม่ชื่อโอไมครอน  ซึ่งการได้รับวัคซีนชนิดต่างๆที่ผ่านมาอาจไม่ครอบคลุมทำให้เราต้องย้อนกลับมาทบทวนถึงหลักการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันที่มาแต่กำเนิด( Innate immunity ) เพราะได้ประจักษ์ชัดแล้วว่าเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านมาทุกสายพันธุ์มักจะคร่าชีวิตคนสูงอายุซึ่งเป็นวัยที่สุขภาพเสื่อมโทรมและผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่นความดันโลหิตสูงหลอดเลือดหัวใจตีบหัวใจเต้นผิดจังหวะเบาหวานไตเรื้อรังผู้ป่วยฟอกไตและปลูกถ่ายไตหอบหืดปอดอักเสบเรื้อรังตับแข็งตับอักเสบเรื้อรังภูมิคุ้มกันบกพร่องโรคอ้วนเป็นต้นสำหรับคนที่มีพื้นฐานสุขภาพที่ดีมีการสร้างเสริมความสมดุลของร่างกายอย่างสม่ำเสมอมีภูมิคุ้มกันที่ดี  เมื่อมีการติดเชื้อมักมีอาการไม่รุนแรงเป็นแล้วรักษาก็หายไวไม่มีภาวะลองโควิดเวลาฉีดวัคซีนก็มักไม่มีภาวะผลข้างเคียง ความสนใจในการสร้างเสริมสมดุลอย่างง่ายๆจึงมีความจำเป็นในภาวะปกติและภาวะที่มีการระบาดของโรคเพราะเป็นสิ่งที่เราสามารถสร้างได้ด้วยตัวเราเองเป็นการกระตุ้นกลไกป้องกันตนเองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่ต้องเฝ้ารอหวังพึ่งวัคซีนหรือยารักษาอย่างเดียวเพราะวัคซีนและยาต้องตามหลังการระบาดของเชื้อเสมอและก็ไม่รู้ว่าจะมีผลต่อร่างกายตามมาระยะยาวมากน้อยเพียงใด แนวคิดการดูแลสุขภาพมีโรคทุกด้านต้องปรับส่วนกลาง“四边有病中间平” ชีวิตจริงเมื่อเผชิญกับภาวะวิกฤติเกิดปัญหาทุกองคาพยพทุกภาคส่วนขององค์กรหน่วยงานเป็นการบ่งบอกถึงผลกระทบที่เป็นองค์รวมหรือเป็นปัญหาร่วมการแก้ไขปัญหาต้องมุ่งเน้นไปที่ศูนย์กลางศูนย์รวมศูนย์บัญชาการแพทย์แผนจีนก็ใช้หลักคิดนี้ในการดูแลรักษาสุขภาพเช่น ม้ามควบคุมแขนขา (脾主四肢) ม้ามเป็นอวัยวะที่เป็นแกนกลางของอวัยวะภายในของร่างกายเป็นแหล่งกำเนิดสร้างเสริมพลังเลือดและกล้ามเนื้อของร่างกายทางคลินิกผู้ป่วยที่อ่อนเพลียไม่มีพลังแขนขาอ่อนแรงไม่ว่าจากสาเหตุใดๆรวมถึงคนไข้มะเร็งหลังผ่าตัดให้เคมีบำบัดทำให้เบื่ออาหารร่างกายทุกส่วนได้รับผลกระทบโดยรวม  การแก้ไขเร่งด่วนต้องหันกลับมาแก้ไขส่วนกลางคือระบบม้ามกระเพาะอาหาร (ระบบย่อยดูดซึมอาหาร) แหล่งกำเนิดทุนที่ 2  (ทุนแรกมาแต่กำเนิดคือไต) เพราะถ้าไม่สามารถได้อาหารมาแปรเปลี่ยนเป็นเลือดและพลังในการฟื้นฟูร่างกายและต่อสู้กับโรคแล้วนั้นคือสัญญานของการดำรงอยู่ของชีวิตและการพ่ายแพ้ต่อโรคภัยไข้เจ็บที่คุกคามอยู่     จุดศูนย์กลางรวมของเส้นลมปราณและจุดเชื่อมกับพลังแวดล้อมภายนอก 3 จุด จุดไป่ฮุ้ย百会 เป็นจุดกลางกระหม่อม จุดหย่งเฉวียน涌泉คือจุดกลางฝ่าเท้า จุดหลาวกง劳宫คือจุดกลางฝ่ามือ จุดไป่ฮุ้ย (百会) อยู่ศีรษะสังกัดส่วนบนคือจุดเชื่อมฟ้าหัวใจแห่งฟ้า(天心百会) ศีรษะอยู่ส่วนบนสุดของร่างกายคือส่วนที่เป็นหยางเป็นที่บรรจบรวมของเส้นลมปราณหยางทั้ง 12 เส้น  ชื่อจุดไป่ฮุ้ย (百会) จึงมีความหมายว่าเป็นที่บรรจบของเส้นลมปราณหยางหรือบ่งบอกว่าโรคทั้งมวลก็สามารถรักษาได้ (此穴百病都会治) จุดหย่งเฉวียน (涌泉) อยู่ที่ฝ่าเท้าสังกัดส่วนล่างคือจุดเชื่อมดินหัวใจแห่งดิน(地心涌泉) ฝ่าเท้าอยู่ส่วนล่างสุดของร่างกายคือส่วนที่เป็นอินเป็นจุดตั้งต้นของเส้นลมปราณไตเกี่ยวข้องกับการควบคุมเมทาบอลิซั่มของน้ำและเกลือแร่การขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายรวมถึงระบบต่อมไร้ท่อฮอร์โมนของร่างกายอวัยวะไตยังเกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินปัสสาวะการปวดเข่าเมื่อยเอวขาอ่อนแรงแพทย์จีนมองว่าคนเสื่อมชราเริ่มต้นจากเสื่อมที่ขาไตเป็นเสมือนรากของต้นไม้ถ้ารากไม่แข็งแรงต้นไม้ก็จะเริ่มเสื่อมทรุดการรักษาต้องเริ่มที่ขา (人老脚先老,治病先治脚) จุดหย่งเฉวียนเป็นจุดกลางฝ่าเท้าเป็นจุดศูนย์กลางของเท้า จุดหลาวกง(劳宫) อยู่ส่วนแขนสังกัดส่วนกลางของคือจุดเชื่อมคนหัวใจแห่งคน(人心劳宫) …

เทคนิคการ ถูฝ่ามือกับฝ่าเท้า Read More »

รังนก สุดยอดอาหารบำรุงสุขภาพ

คนจีนได้จัดอาหารที่มีรสชาติสุดยอดไว้ 4 อย่าง ได้แก่ หูฉลาม รังนก อุ้งตีนหมี และเป๋าฮื้อ (鱼翅燕窝、熊掌、鲍鱼)   นอกจากนี้ รังนก ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นอาหารบำรุงสุขภาพชั้นดีที่ใช้ในผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรัง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร บำรุงปอด บำรุงพลัง เสริมภูมิคุ้มกัน ฯลฯ ความเชื่อนี้ทำให้รังนกเป็นที่นิยมในหมู่คนที่มีฐานะ รวมถึงเวลาไปเยี่ยมเยือนผู้ป่วย มักจะซื้อรังนกไปฝาก เพราะเชื่อว่าเป็นของดี มีคุณค่า คุ้มค่าต่อการลงทุนเพื่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของแพทย์แผนปัจจุบัน ก็มีความเห็นที่แตกต่างจากความเชื่อดังกล่าว เช่น จากการศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับคุณค่าของรังนก 1 ขวด ที่มีวางจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด พบว่า มีปริมาณโปรตีนน้อยมาก เมื่อเทียบกับไข่ไก่ 1 ฟอง (มีโปรตีน 6.5 กรัม) หรือนมหนึ่งกล่อง (8.5 กรัม) จะพบว่าการกินรังนก 1 ขวดจะได้ปริมาณโปรตีนเท่ากับการดื่มนม 1/64 กล่องเท่านั้น ซึ่งไม่คุ้มค่าทั้งในแง่คุณภาพและราคาต่อการบำรุงสุขภาพ ข้อถกเถียงดังกล่าวมาจากสาเหตุที่รังนกมีราคาแพงมาก มีการทุ่มการโฆษณาสูง ดังนั้น ผู้บริโภคมีความคาดหวังสูง และต้องกินต่อเนื่องระยะหนึ่งจึงจะเห็นผล จึงต้องลงทุนสูง …

รังนก สุดยอดอาหารบำรุงสุขภาพ Read More »

ฝังเข็มลดความอ้วน ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์

มีการศึกษาิจัยมากมายจากหลากหลายสถาบัน ที่เกี่ยวข้องกับการฝังเข็มลดความอ้วน ไปดูกันเลย 1. การวิจัยของคณะแพทย์แผนจีนแห่งมหาวิทยาลัยนานกิงเกี่ยวกับ ผลของการฝังเข็มที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง กับการสลายไขมันและการเก็บไขมันของร่างกายพบว่า คนอ้วนโดยส่วนใหญ่จะมีระดับน้ำตาลในเลือดค่อนข้างสูงกว่าคน ปกติ ซึ่งเป็นการสะท้อนว่า ร่างกายจะกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) จากตับอ่อนสู่ระบบเลือดมากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีการเก็บสะสม ไขมันของร่างกายมากในขณะเดียวกัน คนอ้วนจะมีระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการสลายไขมันเป็นพลังงานในเลือด คือ อะดรีนาลิน และคอร์ติโซนต่ำกว่าปกติ ทำให้ไขมันสะสมในตัวมากผลจากการฝังเข็มในคนอ้วน 44 ราย อายุระหว่าง 17-48 ปี พบความเปลี่ยนแปลงที่นัยสำคัญ คือ ระดับน้ำตาลในเลือดลดน้อยลง (ไขมันสะสมตัวน้อยลง) และระดับอะดรีนาลิน คอร์ติโซนเพิ่ม สูงขึ้น (ไขมันถูกสลายเป็นพลังงาน มากขึ้น) ซึ่งสอดคล้องกับการลดลงของน้ำหนักตัวของผู้ป่วยสรุปว่า การฝังเข็มมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกลไกของฮอร์โมน ต่อการสะสมและสลายไขมันของร่างกาย 2. การศึกษาของแผนกฝัง เข็ม มหาวิทยาลัยแพทย์จีนกวางสี กับคนอ้วน 50 ราย พบว่าการฝังเข็ม สามารถลดระดับโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ (TG) ระดับน้ำตาล ในเลือด (CH) ไขมันที่มีความหนา แน่นต่ำ (LDL-C) อย่างมีนัยสำคัญ 3. การศึกษาทั้งสองเชื่อว่า ฝังเข็มมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนและการกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ เพื่อการปรับสมดุลการลดลงของน้ำตาลและไขมัน …

ฝังเข็มลดความอ้วน ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ Read More »

อากาศแปรปรวนกับสุขภาพ ในมุมมองแพทย์แผนจีน

ในช่วงนี้ มีความแปรปรวนของพลังชี่ของอากาศอย่างมาก เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว เดี๋ยวฝนตก โอกาสที่คนจะเกิดโรคจากพลังชี่ของอากาศมากเกินไป หรือที่เรียกว่าเสียชี่ (邪气) หรือหยินชี่ (淫气) ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยของตัวอากาศเอง และการปรับสมดุลของร่างกาย บางครั้งพลังชี่ที่แปรปรวนอาจจะไม่ใช่เสียชี่ (邪气) สำหรับคนหนึ่ง แต่คนที่ร่างกายปรับตัวไม่ได้ ทำให้เกิดโรค ก็ถือว่าเป็นเสียชี่ (邪气) สำหรับคนนั้น ซึ่งแพทย์จีนมีมุมมองแตกต่างกันกับแพทย์แผนปัจจุบัน โดยเฉพาะสาเหตุการเกิดโรค ในขณะที่ แพทย์แผนปัจจุบัน เนื่องจากลงไปในรายละเอียดเป็นรูปธรรมจึงแยกแยะสาเหตุของการเกิดโรคได้มาก แล้วแต่จะมองมุมไหน ตั้งแต่ตัวเชื้อโรค ดีเอ็นเอ ยีน หรือการผิดปกติของสารชีวเคมี เอนไซม์ ฮอร์โมน เซลล์ ฯลฯ แผนจีนแบ่งสาเหตุของโรคเพียง 4 ประเภทเท่านั้น คือ 1.    เหตุจากภายนอก คือ พลังชี่ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงพลังชี่ของธรรมชาติ ภูมิอากาศ ฤดูกาล ภูมิประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อพลังชี่ของร่างกายตลอดเวลา โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของชี่ที่รวดเร็ว รุนแรง หรือมากเกินไปจนเกิดการปรับตัวไม่ทันของร่างกาย 2.    เหตุจากภายใน คือ ภาวะของอารมณ์ทั้ง ๗ ของร่างกายที่แปรปรวนรุนแรง รวดเร็ว และยาวนาน รวมทั้งการกินอาหาร …

อากาศแปรปรวนกับสุขภาพ ในมุมมองแพทย์แผนจีน Read More »

โรคอ้วน ในทัศนะแพทย์แผนจีน

โรคอ้วน แพทย์จีนเรียก เฝ่ย-พ่างคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง ส่วนของ “ซู่เวิ่น” เขียนไว้ว่า”คนอ้วนเป็นโรคที่เกิดจากการกินอาหารที่ชั้นเลิศและสมบูรณ์”แพทย์ในราชวงศ์หมิงชิง เน้นว่า”คนอ้วนอายุไม่ยืนยาว” “คนอ้วนมีความชื้น-เสมหะ สะสมมาก” เหตุแห่งโรคและการเกิดโรคอ้วนสาเหตุพื้นฐาน : เกิดจากความ ผิดปกติของการทำงานของกระเพาะ อาหารและม้ามเป็นหลัก (ซึ่งอาจมีผลจากตับและไตมากระทบ) ทำให้มี การสะสมของความชื้น เสมหะขึ้นใน ร่างกาย ซึ่งของเสียเหล่านี้จะไม่ถูก ดูดซึมและไม่ถูกขับถ่าย จะกระจายไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายซึ่งภาวะที่ทำให้กระเพาะอาหาร และม้ามมีปัญหาสามารถแยกใหญ่ๆ ได้เป็น 2 อย่าง คือ แบบแกร่งและแบบพร่อง (สามารถแยกละเอียดลงไปได้ประมาณ 7 ประเภท) ภาวะแกร่ง มีสาเหตุจากกระเพาะอาหารมีความร้อนสะสมมากไป คือมีไฟในกระเพาะอาหารมากอาการสำคัญ คือ อ้วน กินเก่ง  หิวเร็ว ท้องอืดแน่น ท้องผูก หน้าแดง ขี้ร้อน เหงื่อมาก คอแห้งกระหายน้ำ ชอบดื่มน้ำเย็นๆ ปัสสาวะเหลืองเข้ม ลิ้นแดง มีฝ้าบนลิ้นเหลือง ชีพจรเต้น เร็วและแรงแพทย์แผนจีนอธิบายว่า ความร้อนสะสมในกระเพาะอาหาร มักมีผลจากการกินอาหารที่มีคุณสมบัติหยาง เช่น อาหารมัน อาหารทอดๆ อาหารรสหวานจัด อาหารเผ็ด เหล้า ปริมาณมากหรือยาวนาน ในขณะที่ …

โรคอ้วน ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

ฝังเข็ม ลดความอ้วนได้จริงหรือ?

เป็นที่ฮือฮากันมากเมื่อหลายปีก่อน ผู้คนจำนวนมากแห่กันเข้าคิวไปรอการฝังเข็มลดน้ำหนัก เพราะเชื่อว่า จะได้ผลดีเยี่ยม และทำให้สุขภาพดีด้วย (ไม่ทราบเป็นเพราะแรงโฆษณาเกินจริงหรือเปล่า) แต่แล้วก็หยุดฮิตไปพักหนึ่ง เพราะไม่ง่ายอย่างที่คิด แต่ก็ยังมีผู้ที่นิยมไปฝังเข็มลดความอ้วน ด้วยความเชื่อว่า อย่างไรเสียยังปลอดภัยกว่าการใช้ยา เพราะเคยใช้ยาลดน้ำหนักมาแล้ว มีผลข้างเคียงคือ กินแล้วไม่สบายตัว เมื่อหยุดยาน้ำหนักกลับเพิ่มมากขึ้นกว่า เดิมอีกภายใน 1 ปีหลายคนหันไปหาอาหารสุขภาพ ลดน้ำหนัก ขับไขมัน กินสมุนไพร กินอาหารเส้นใย บ้างก็ประสบผลสำเร็จบ้างไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ที่แน่ๆบริษัทที่ผลิตผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ร่ำรวยไปไม่น้อย หลายคนพบสัจธรรมว่า อยู่ที่การควบคุมพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง วิถีการดำเนินชีวิตใหม่ ออกกำลังกายน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่หลายคนยากจะเปลี่ยนวิถีชีวิต เพราะเกี่ยวข้องกับอาชีพการทำงาน ซึ่งแสนจะหลีกเลี่ยงยาก สรุป โรคอ้วนจึงคงต้องเป็นปัญหาที่ไม่มีทางจบสิ้น ในสังคมปัจจุบันที่เกิดความเสียสมดุล ของการบริโภคอาหารและการใช้พลังงานในการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ยังเป็นข้อสงสัยของคนจำนวน มากว่า การฝังเข็มจะไปช่วยอะไรกับ การลดน้ำหนัก เพียงฝังเข็มไม่กี่จุดแล้วกระตุ้นด้วยไฟฟ้า ไขมันจะสลาย ไปได้อย่างรวดเร็วปานนั้นหรือ บางราย แค่ไปติดเข็มเล็กๆ หรือเมล็ดพืชที่หู 3 – 4 จุด แล้วไขมันจะหายไปได้อย่างไร น่าเป็นผลทางจิตวิทยามากกว่าสำหรับคนปกติจะให้ไขมันในร่างกาย หายไป 1 กิโลกรัม …

ฝังเข็ม ลดความอ้วนได้จริงหรือ? Read More »

อาหารบำรุง สมรรถภาพทางเพศ

ความต้องการทางเพศและการสืบพันธุ์เป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ สมรรถภาพทางเพศและความสามารถในการสืบพันธุ์ขึ้นอยู่กับอวัยวะภายใน คือ ไตเป็นสำคัญ (ไตในทรรศนะแพทย์แผนจีนมีเกี่ยวข้องกับระบบฮอร์โมน ) พลังไตเริ่มจากอ่อนแอในตอนเด็ก ค่อยๆ พัฒนาเติบโต แข็งแรงจนถึงวัยหนุ่มสาว วัยฉกรรจ์ และกลับอ่อนแออีกครั้งเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ความสมบูรณ์ของพลังไตในผู้หญิงเมื่อถึงจุดหนึ่งประมาณอายุ 14 ปี ก็ทำให้เกิดประจำเดือน การสมบูรณ์ของพลังไตในผู้ชายเมื่อถึงจุดหนึ่งก็แสดงออกด้วยการมีการหลั่งน้ำอสุจิประมาณอายุ 16 ปี เมื่อถึงวัย 40 ของเพศชายและวัย 35 เพศหญิงพลังไตเริ่มต้นอ่อนแอ ความต้องการทางเพศจะเริ่มลดลง  จนถึงช่วงวัยทอง และลดลงเด่นชัดของผู้หญิงคือภาวะหมดประจำเดือนประมาณช่วงอายุ 49 ปี ในขณะที่ผู้ชายมีการลดลงของเชื้ออสุจิประมาณช่วงอายุ 64 ปี เมื่อพลังของไตลดถอยลง จนเกือบหมดสิ้น ความสามารถในการเจริญพันธุ์ก็หมดไปด้วย ความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อาจถือเป็นธรรมชาติก็ได้ หรือาจถือเป็นโรคได้ กล่าวคือ ถ้ามีการดูแลและเข้าใจกฎเกณฑ์ของการทำงานของไต (ในทรรศนะการแพทย์แผนจีน) และจัดการกับปัญหาทางเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง ก็จะทำให้พลังไตเสื่อมช้า มีสมรรถภาพทางเพศที่ดีอยู่ได้นาน ถ้าจัดการไม่ถูกต้องก็จะมีการเสื่อมสมรรถภาพเร็ว ทั้งๆ ที่ไม่ถึงเวลาอันควร อาหารและสมุนไพรที่มีสรรพคุณบำรุงไต คัมภีร์ “เสิ่นหนงเปิ่นเฉ่าจิง” (神农本草经)ได้บรรยายสรรพคุณของยาบำรุงไตว่า  “จะช่วยบำรุงให้ไตแข็งแรง เพิ่มสารจิง เสริมการทำงานของหยาง ช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ” …

อาหารบำรุง สมรรถภาพทางเพศ Read More »

“ภาวะหยางพร่อง” คุณก็อาจเป็นได้

“เวลาอยู่ในห้องปรับอากาศ ต้องใส่เสื้อหนาๆ ทั้งที่คนอื่นไม่เป็น เวลาเพื่อนๆ มาจับมือจะบอกว่ามือเย็น”“รู้สึกว่าอ้วนขึ้นมาก ทั้งๆที่กินแต่ละมื้อก็ไม่มาก กินชาเขียวลดน้ำหนัก ก็ไม่เห็นจะลดลง แต่กลับดูจะหนักขึ้นอีก กางเกงก็ต้องไปขยายเอวอีกแล้ว”“เป็นอะไรก็ไม่รู้ รู้สึกขี้เกียจ เบื่อๆ อยากแต่จะนอน”อาการต่างๆ ที่กล่าวมานี้ เป็นส่วนหนึ่งของภาวะความเสียสมดุลของร่างกาย ซึ่งมีหลายสาเหตุ มีความสลับซับซ้อน ยากง่ายต่างๆ กัน แต่ภาวะหนึ่งที่พบบ่อยและมักมีอาการดังกล่าวข้างต้น คือ “ภาวะหยางพร่อง” 1. ถ้ายิน-หยางของร่างกายเสียสมดุล ทำให้เกิดโรคได้อย่างไร?ยิน  เป็นภาวะ สงบ เย็น หยุดนิ่ง ยับยั้งหยาง  เป็นภาวะ กระตุ้น ร้อน เคลื่อนไหว เร่งเร้าถ้าภาวะยินพร่อง ร่างกายขาดสารน้ำหล่อเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย เกิดความร้อนภายในขึ้น เพราะยินไม่สามารถควบคุมหยางถ้าภาวะหยางพร่อง ร่างกายขาดพลังความร้อน การทำงานของเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะต่างๆ ก็ถดถอย เกิดความเฉื่อยเนือย เกิดความเย็นภายในร่างกาย การไหลเวียนเลือดและพลังก็เนิบช้าลงยิน เป็นลักษณะของระบบประสาทอัตโนมัติ   พาราซิมพาเทติก และฮอร์โมนที่ให้ความชุ่มชื้นเกิดการเก็บสะสม ยับยั้งภาวะกระตุ้นหยาง เป็นลักษณะของระบบประสาทอัตโนมัติ ซิมพาเทติกและฮอร์โมนที่ทำให้เกิดการกระตุ้นเร่งเร้าการทำงาน 2. ภาวะ “หยางพร่อง” มีอาการสำคัญและการตรวจพบอย่างไร?ภาวะหยางพร่อง มีอาการหลักๆ คือ กลัวหนาว …

“ภาวะหยางพร่อง” คุณก็อาจเป็นได้ Read More »

ทำไม? เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

ถ้าพูดถึงสาเหตุของความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แพทย์แผนจีน มีความเชื่อว่า สารจิงของไต เป็นส่วนสำคัญในการเก็บพลังชีวิต ซึ่งมีความหมายถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรม การควบคุม การให้พลังงานของระบบต่างๆ ของร่างกายให้ทำงานได้อย่างปกติ สารจิง (มีความหมายรวมถึงอสุจิด้วย) จึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและเป็นสิ่งที่ไม่ควรถูกใช้ไปอย่างพร่ำเพรื่อ ความเชื่ออันนี้นำไปสู่ความคิดในเรื่องการดูแลสุขภาพไม่ให้ไตเสื่อมเร็ว จะต้องถนอมไม่ให้มีการหลั่งอสุจิ ยิ่งเก็บไว้นานยิ่งดี โดยที่แพทย์แผนปัจจุบันถือว่าไม่มีความจำเป็นต้องเก็บสามารถระบายขับออกตามที่ต้องการ เพราะจะระบายความเครียดในจิตใจได้ ร่างกายก็สร้างทดแทนได้อีก ในขณะที่การแพทย์แผนจีนถือว่าในคนหนุ่มแน่น อาจจะระบาย หลั่งสารจิงได้ เพราะมีภาวะที่ไตยังดี และเป็นการลดภาวะที่แกร่งเกินไป แต่ถ้าเสียสารจิงไปบ่อยๆมากเกินไปจะกลายเป็นผลเสีย โดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้นหรือยิ่งสูงอายุ จึงต้องพยายามหลีกเลี่ยง (แต่ไม่ได้ห้ามการมีเพศสัมพันธ์ เพียงแต่ต้องถนอม) การหลั่งสารจิง ความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศมีสาเหตุสำคัญ คือ 1. การลดลงของไฟมิ่งเหมินการมีเพศสัมพันธ์ที่มีการหลั่งสารจิง (น้ำอสุจิ) รวมถึงการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองบ่อยครั้งเกินไปเป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดการสูญเสียไฟของมิ่งเหมิน การทำงานของระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ การขับถ่าย การสืบพันธุ์ ล้วนอาศัย ไฟจากมิ่งเหมิน ถ้าสูญเสียไฟของมิ่งเหมิน ระบบการทำงานของร่างกายทั้งหมดจะลดลง ร่างกายจะเสื่อมถอยเร็วขึ้น และพลังของไตจะหมดไป 2. การเสื่อมถอยของหัวใจและระบบม้ามความเครียดกังวลและภาวะทางจิตใจมีผลต่ออวัยวะภายในหัวใจ ซึ่งในทัศนะของแพทย์แผนจีนจะหมายถึง ระบบประสาทส่วนกลางและสมองที่ควบคุมจิตอารมณ์ด้วย ความวิตกกังวลยังมีผลต่อระบบม้าม ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึม ทำให้พลังงานที่ได้รับจากอาหารลดลง ผลคือ พร่องทั้งเลือดและพลัง 3. ความตกใจเกินไปทำลายพลังของไตบางคนเคยมีภาวะการตกใจจากประสบการณ์ในอดีตที่รุนแรง …

ทำไม? เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ Read More »

สมรรถภาพเพศชายในทัศนะจีน

เป็นข่าวเกรียวกราวกันทั่วโลก เมื่อมีการค้นพบยาที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้น สมรรถภาพทางเพศ ทำให้ผู้ชายทั้งหลายที่มีปัญหาหรือคิดว่าอยากจะเสริมสร้างสมรรถภาพของตนเองให้แกร่ง ต่างพยายามขวนขวายซื้อยา แม้ว่าจะมีราคาแพงลิบลิ่ว แต่ก็คิดว่ามันคุ้มค่า ขณะเดียวกัน สมุนไพรไทย เช่น กวาวเครือก็มีผู้คาดหวังไว้มากว่า นอกจากจะช่วยให้ผู้หญิงมีน้ำมีนวล มีหน้าอกที่เต่งตึง กวาวเครือบางชนิดจะสามารถเสริมสมรรถภาพทางเพศแก่เพศชาย จึงมีการพยายามโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการบริโภค เพื่อผลทางการค้า โดยไม่ค่อยได้คำนึงที่โทษหรือผลเสียที่จะเกิดจากการบริโภคยาเหล่านั้น จริงอยู่ อาจมีการศึกษาวิจัยบางอย่างที่บ่งบอกถึงข้อดีที่เกิดจากการใช้ยา(ไม่ว่าจะเป็นยาสังเคราะห์หรือยาสมุนไพร) แต่วิธีพิจารณาผลของยาเฉพาะที่ เฉพาะผลบางอย่าง โดยไม่พิจารณาผลอันเกิดจากองค์รวมของยาที่มีต่อร่างกายทั้งระบบ นับว่าอันตรายอย่างมาก ดังที่จะได้ทราบรายงานจากผู้ใช้ยาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศที่ลือชื่อบางตัว อาจทำให้ผู้ป่วยบางรายถึงแก่ความตายได้ ในทัศนะของแพทย์แผนจีนได้อธิบายปัญหาเกี่ยวกับความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศทั้งด้านสาเหตุและการดูแลรักษาไว้ ดังนี้ สมรรถภาพทางเพศ เกี่ยวข้องกับไต (ในความหมายของแพทย์แผนจีน)ไตในทัศนะแพทย์แผนจีนมีหน้าที่เก็บสารจิง (น้ำอสุจิ+ตัวอสุจิ) และเกี่ยวกับการเจริญเติบโต การควบคุมการทำงานของระบบต่างๆของร่างกายให้ประสานสอดคล้องกัน เป็นแหล่งให้พลังงานแก่ระบบต่างๆ เช่น ระบบย่อย ระบบการหายใจระบบขับถ่าย ฯลฯ ให้ทำงานได้ตามปกติ เสมือนกับเป็นพลังงานทุน  ดั้งเดิมที่ได้มาแต่กำเนิด(เรียกว่าไฟมิ่งเหมิน*) มีหน้าที่ควบคุมความเสื่อมถอยของร่างกาย สารจิงที่สะสมไว้ที่มิ่งเหมิน มีหน้าที่สำหรับการสืบพันธุ์ (มีสารกรรมพันธุ์บรรจุอยู่) * มิ่งเหมิน หมายถึงประตูชีวิต ซึ่งอยู่ระหว่างบริเวณไตสองข้าง เป็นที่พักของสารจิงในผู้ชาย หรือที่พักของสิ่งกำเนิดตัวอ่อนในผู้หญิงหรือไข่ กระบวนการเกิดการเจริญเติบโต ความเสื่อมถอยของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการสืบพันธุ์ การเติบโตของกระดูก การงอกของฟัน …

สมรรถภาพเพศชายในทัศนะจีน Read More »

หงจิ่งเทียน สุดยอดสมุนไพรทิเบต ปรับใช้ในสถานการณ์โควิด-19

ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19  ผู้คนใฝ่หาสารพัดวิธีในการบำรุงปอดเพื่อป้องกันและรักษาโควิด-19 กันมาก ในบรรดายาสมุนไพรจีนที่กล่าวถึงกันมากตัวหนึ่ง  นอกจากยาขับพิษร้อนสลายชื้นเป็นยาหลักเพื่อการขับระบายเสียชื่ (邪气) แล้ว ยังมีสมุนไพรหงจิ่งเทียน (红景天) ที่มาช่วยบำรุงเจิ้งชี่ (正气) ของปอดอีกด้วย หงจิ่งเทียน (红景天) สมุนไพรของคนที่จะเดินทางไปทิเบต คนที่คิดจะไปเที่ยวทิเบต “ดินแดนแห่งกงล้อและมนตรา” หรือ หลังคาโลก (世界屋脊) ต้องมีการตระเตรียมตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศและความสูง เนื่องด้วยอากาศที่หนาวเย็น และมีความกดอากาศต่ำมีปริมาณออกซิเจนในอากาศต่ำมาก อาการป่วยบนที่สูงหรืออาการแพ้ที่สูง(high altitude sickness) เกิดจากการที่ร่างกายไม่คุ้นเคย และปรับตัวไม่ทัน เนื่องจากขึ้นไปอยู่ในพื้นที่สูงมีออกซิเจนในบรรยากาศต่ำ ซึ่งกลไกอย่างหนึ่งของร่างกายในการช่วยเพิ่มออกซิเจนคือ การหายใจให้เร็วขึ้น ทำให้ได้ออกซิเจนมากขึ้น บางคนเลือกการกินยา Diamox (มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด  ขับปัสสาวะ สามารถลดความดันตา ใช้รักษาโรคต้อหิน) เพื่อรักษาอาการดังกล่าว แต่เนื่องจากยาเหล่านี้เป็นกลุ่มยา ซัลฟา(บางคนจะแพ้ยา)และมีผลข้างเคียงมากรวมทั้งอาการแพ้ยาเช่น  ผื่นขึ้น ลมพิษ แน่นหน้าอก ปลายนิ้วมือและนิ้วเท้าชา ริมฝีปากชา หงจิ่งเทียน(红景天) เป็นสมุนไพรที่ทรงคุณค่าในเขตทิเบต หงจิ่งเทียนยังถูกขนานนามว่าเป็นสิ่งมีค่าของการแพทย์ทิเบต (藏医之宝) เป็นสมุนไพรที่ชาวพื้นเมืองนำมาใช้แก้อาการ ที่เกิดจากการป่วยบนที่สูง เนื่องจากปริมาณออกซิเจนต่ำ รวมถึงใช้ในการเสริมเพิ่มพลังและป้องกันโรคต่างๆ  มีการร่ำลือกันว่ากษัตริย์คางซี(康熙帝ค.ศ. 1654-1722)และกษัตริย์เฉียนหลง …

หงจิ่งเทียน สุดยอดสมุนไพรทิเบต ปรับใช้ในสถานการณ์โควิด-19 Read More »

เรื่องของ หัวใจ ในทัศนะแพทย์จีน

ในความหมายของแพทย์จีนมีศัพท์และความเข้าใจที่ไม่ตรงกันหลายเรื่องเวลาหมอจีนอธิบายโรคให้กับคนไข้ฟัง รู้สึกแปลกๆ ยิ่งถ้าคนไข้หรือแพทย์แผนปัจจุบันที่ไม่เข้าใจความหมายอาจตีความหมายผิดๆ ตัวอย่างเช่น – เลือดของหัวใจไม่พอ ทำให้ใจสั่น นอนไม่หลับ ฝันมาก ลืมง่าย ความคิดเชื่องช้า ไม่มีชีวิตชีวา– ไฟหัวใจร้อนสู่เบื้องบน ทำให้ปลายลิ้นแดงอักเสบ มีแผลที่ลิ้น– พลังหัวใจอ่อนแอ ทำให้เลือดอุดกั้น– เหงื่อออกมาก เพราะหัวใจมีปัญหา เป็นต้น ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า ” หัวใจ ” หรืออวัยวะภายใน เช่น ตับ ปอด ม้าม ไต ในความหมายแพทย์จีนไม่ได้มีความหมาย ถึงตัวอวัยวะภายในตามวิชากายวิภาคเพียงอย่างเดียว แต่ครอบคลุมถึงหน้าที่การงานหรือคุณสมบัติทางสรีรวิทยาเป็นสำคัญและไม่ได้หมายถึงเฉพาะตัวอวัยวะนั้นๆ แต่บางครั้งไป คาบเกี่ยวกับระบบหรืออวัยวะอื่นๆ ด้วยต่อไปจะกล่าวถึงอวัยวะภาย ใน ” หัวใจ ” ในความหมายของแพทย์จีน 1. หัวใจควบคุมหลอดเลือด หรือกำหนดชีพจรหมายถึงระบบไหลเวียนเลือดในความหมายแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งครอบคลุมถึงตัวหัวใจ หลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำและหลอดเลือดฝอย เมื่อหัวใจบีบตัว เลือดที่อยู่ในหัวใจจะถูกผลัก ดันไปตามหลอดเลือดแดง เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย แขน ขา ศีรษะ ลำตัว อวัยวะภายใน (จั้งฝู่ = ตันและกลวง) รวมทั้งตัวหัวใจด้วย …

เรื่องของ หัวใจ ในทัศนะแพทย์จีน Read More »

“สมุนไพรจีน” กับการลดไขมันในเลือด

เป็นที่ทราบกันว่า “สมุนไพรจีน” มีมากมายหลากหลายชนิด วันนี้จะขอกล่าวถึงสมุนไพรจีน 3 ชนิด ที่มีสรรพคุณเกี่ยวกับการลดไขมันในเลือด ข้าวยีสต์แดง (Red yeast rice ) เป็นข้าวที่ผ่านการหมักโดยใช้เชื้อรา Monascus purpureus เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านในการหมักข้าวเพื่อใช้สีในการปรุงแต่งอาหาร โดยมีการบันทึกในตำรับยาสมุนไพรจีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ.800) เป็นสมุนไพรฤทธิ์อุ่นเล็กน้อย รสหวาน ไม่มีพิษ (味甘,性微温, 无毒) วิ่งเส้นลมปราณ  ม้าม ลำไส้ใหญ่ ตับ (归脾、大肠、肝经) ซึ่งวิธีการหมักข้าวยีตส์แดงต้องมีสารไซตรินิน (Citrinin) ที่ก่อพิษต่อตับในปริมาณต่ำ สรรพคุณ : กระตุ้นการไหลเวียนเลือด สลายเลือดอุดกั้น เสริมม้ามช่วยย่อยอาหาร แก้บิดถ่ายเป็นเลือด หลังคลอดน้ำคาวปลาไม่หยุด รักษาอาการบาดเจ็บจากการถูกทุบตี (活血化瘀;健脾消食;赤白下痢;产后恶露不尽;跌打损伤) ข้อควรระวัง : ผู้ป่วยยินพร่อง หญิงตั้งครรภ์ หญิงระยะให้นมบุตร คนที่ไม่มีภาวะเลือดอุดกั้น การวิจัยสมัยใหม่ : ข้าวยีสต์แดง มีสาร Monacolin K ซึ่งเป็นสารลดคอเลสเตอรอลจากธรรมชาติ สามารถลดได้ทั้ง …

“สมุนไพรจีน” กับการลดไขมันในเลือด Read More »