เรื่องของ หัวใจ ในทัศนะแพทย์จีน
ในความหมายของแพทย์จีนมีศัพท์และความเข้าใจที่ไม่ตรงกันหลายเรื่องเวลาหมอจีนอธิบายโรคให้กับคนไข้ฟัง รู้สึกแปลกๆ ยิ่งถ้าคนไข้หรือแพทย์แผนปัจจุบันที่ไม่เข้าใจความหมายอาจตีความหมายผิดๆ ตัวอย่างเช่น – เลือดของหัวใจไม่พอ ทำให้ใจสั่น นอนไม่หลับ ฝันมาก ลืมง่าย ความคิดเชื่องช้า ไม่มีชีวิตชีวา– ไฟหัวใจร้อนสู่เบื้องบน ทำให้ปลายลิ้นแดงอักเสบ มีแผลที่ลิ้น– พลังหัวใจอ่อนแอ ทำให้เลือดอุดกั้น– เหงื่อออกมาก เพราะหัวใจมีปัญหา เป็นต้น ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า ” หัวใจ ” หรืออวัยวะภายใน เช่น ตับ ปอด ม้าม ไต ในความหมายแพทย์จีนไม่ได้มีความหมาย ถึงตัวอวัยวะภายในตามวิชากายวิภาคเพียงอย่างเดียว แต่ครอบคลุมถึงหน้าที่การงานหรือคุณสมบัติทางสรีรวิทยาเป็นสำคัญและไม่ได้หมายถึงเฉพาะตัวอวัยวะนั้นๆ แต่บางครั้งไป คาบเกี่ยวกับระบบหรืออวัยวะอื่นๆ ด้วยต่อไปจะกล่าวถึงอวัยวะภาย ใน ” หัวใจ ” ในความหมายของแพทย์จีน 1. หัวใจควบคุมหลอดเลือด หรือกำหนดชีพจรหมายถึงระบบไหลเวียนเลือดในความหมายแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งครอบคลุมถึงตัวหัวใจ หลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำและหลอดเลือดฝอย เมื่อหัวใจบีบตัว เลือดที่อยู่ในหัวใจจะถูกผลัก ดันไปตามหลอดเลือดแดง เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย แขน ขา ศีรษะ ลำตัว อวัยวะภายใน (จั้งฝู่ = ตันและกลวง) รวมทั้งตัวหัวใจด้วย …