Month: April 2022

เหงื่อออกกลางคืน แก้อย่างไร

หนึ่งในคำถามที่เจอบ่อยๆคือ เหงื่อออกในเวลากลางคืน ทั้งๆที่นอนในห้องปรับอากาศ เหงื่อมักจะออกตามแนวกระดูกสันหลัง ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร และจะแก้ไขอย่างไร ตัวอย่างคนไข้ ดิฉันอายุ 48 ปี ผ่าตัดมดลูกและรังไข่ 2 ข้าง ตั้งแต่ปี 2535 กินฮอร์โมนวันละ 1 เม็ด ปีแรกๆๆๆไม่ค่อยกิน แต่ต่อมากินเกือบทุกวัน2 ปีที่ผ่านมา กินแคลเซียมเสริมมแบบใส่น้ำฟู่ ขนาด 500 มิลลิกรัม วันละ 2 – 3 เม็ด 2 เดือนที่แล้วเปลี่ยนมากินโยเกิร์ตแบบครีม มื้อละ 1 กระป๋อง วันละ 3 กระป๋อง และก่อนนอนบางคืนเพิ่มแคลเซียมเสริม 1 เม็ด พร้อมยาเคลือบกระเพาะ 2 เม็ด เพราะกินแล้วจะระคายกระเพาะ แต่ถ้ากินแคลเซียมเสริมวันละ3 เม็ด เล็บกลับไม่มีปัญหาค่ะ แต่ถ้าไม่กินแคลเซียมเสริมหรือโยเกิร์ต เล็บจะเปราะแตกมาก ภายใน 2 วัน สีเล็บปกติ ดิฉันอยากจะเรียนถามคุณหมอดังนี้ค่ะ1. …

เหงื่อออกกลางคืน แก้อย่างไร Read More »

ลิ้น หน้าต่างของร่างกาย

การเกิดและดำเนินของโรคนั้นเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน การดูลิ้นเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใจการดำเนินและการเปลี่ยนแปลงของโรคได้ หลักการสำคัญในการดูลิ้นนั้น กล่าวโดยรวมๆแล้วก็คือ การดูตัวลิ้นและฝ้าบนลิ้น โดยทั่วไปแล้วการดูลักษณะของลิ้นจะทำให้เราเข้าใจสภาพร่างกายของผู้ป่วย และความรุนแรงของโรค ซึ่งจะทำให้เราใช้ยาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมการดูลิ้นถือเป็นเนื้อหาสำคัญส่วนหนึ่งในหลักการวินิจฉัยโรคของทฤษฎีแพทย์จีนคือการมอง (หลักในการวินิจฉัยโรคของทฤษฎีแพทย์จีนคือ ใช้การมอง ดม ฟัง ถาม จับชีพจร และคลำ) การดูลิ้นเพื่อวินิจฉัยโรคนั้นมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ซึ่งมีบันทึกไว้ในคัมภีร์แพทย์จีนคือหวงตี้เน่ยจิง ซางหางจ๋าปิ้งลุ่น ฯลฯ ว่าในช่วงเวลากว่า 2 พันปีมานี้ การดูลิ้นเพื่อวินิจฉัยโรคได้เจริญเติบโตและพัฒนาไปตามการพัฒนาของการแพทย์จีน จนมีเนื้อหาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 14 หนังสือเกี่ยวกับการดูลิ้นวินิจฉัยโรคชื่อ “อ๋าวซื่อซางหางจินจิ้งลู่” ได้เกิดขึ้นครั้งแรก จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ภายใต้การชี้นำของทฤษฎีแพทย์จีน การดูลิ้นเพื่อวินิจฉัยโรคก็ยังคงเป็นวิธีการวินิจฉัยโรคอีกวิธีหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ ที่สามารถนำไปใช้อย่างได้ผลในทางคลินิกของแพทย์จีน การดูลิ้นเพื่อวินิจฉัยโรคจะถูกต้องและแม่นยำได้นั้นจะต้องร่วมกับการปฏิบัติทางด้านคลินิก จากการปฏิบัติที่เป็นจริงสามารถยืนยันได้ว่า การดูลิ้นนั้นมีความหมายยิ่งคือ ทำให้เราเข้าใจความเป็นไปของร่างกาย อาการหนักเบาของโรค แนวโน้มที่จะเกิดความรุนแรงหรือทุเลาของโรค การใช้ยาในการรักษาโรคตลอดจนการพยากรณ์อาการของโรค ทั้งนี้เพราะในกระบวนการเกิดพัฒนา เปลี่ยนแปลงของโรคนั้น จะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและชัดเจนเกิดขึ้นบนลิ้น ด้วยเหตุนี้ลิ้นจึงเป็นอวัยวะที่สามารถสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและโรคได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถดูและสังเกตได้ง่าย จึงสรุปได้ว่า ลิ้นเปรียบเสมือนหน้าต่างที่จะทำให้เราสังเกตและมองทะลุอวัยวะภายในของร่างกาย ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีรวิทยาและพยาธิวิทยา เป็นเสมือนภาพสะท้อนที่บ่งบอกถึงการเคลื่อนไหวของชีวิตภายในร่างกาย แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของลิ้นในทางคลินิกนั้นค่อนข้างสลับซับซ้อน แต่ถ้าเราสามารถยึดหลักการในการดูลิ้นได้ เราก็จะยึดวิธีการในการวินิจฉัยโรคได้แม่นยำ

ลิ้น กับการวินิจฉัยโรคของแพทย์จีน

การดูลิ้นเป็นวิธีการในการวินิจฉัยโรควิธีหนึ่งของแพทย์จีน การดูลิ้นนั้นจะต้องดูที่ตัวลิ้น (สีของลิ้น รูปร่างลักษณะของตัวลิ้น) และฝ้าบนลิ้น (สีของฝ้าบนลิ้น) ทฤษฎีการแพทย์จีนนั้นเชื่อว่า อวัยวะต่างๆของร่างกายเป็นองค์รวมที่ตรงกันข้าม และเป็นเอกภาพกัน ขณะเดียวกันร่างกายมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมก็เป็นองค์รวมที่ตรงกันข้ามและเป็นเอกภาพกันด้วยการเปลี่ยนแปลงของร่างกายแต่ละส่วนนั้นย่อมส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นๆของร่างกาย ดังคัมภีร์การแพทย์จีนกล่าวไว้ว่า “มีความผิดปกติภายในย่อมปรากฏให้เห็นภายนอก” ด้วยเหตุนี้เราจึงสามารถเข้าใจธาตุแท้ของความขัดแย้งภายในร่างกายโดยการมองจากสิ่งที่ปรากฏออกมาภายนอกร่างกาย แล้วมองลึกเข้าไปหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในร่างกายได้ ในการศึกษาร่างกายของมนุษย์นั้น แพทย์จีนจะไม่ใช้วิธีการแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ หรือที่เรียกว่า “วิเคราะห์” แต่จะใช้วิธีการมองร่างกายเป็นแบบองค์รวม บนพื้นฐานของการมองร่างกายที่เป็นองค์รวมและไม่สามารถแยกเป็นส่วนๆนี้ แพทย์จีนจะทำการเปรียบเทียบ วิเคราะห์ และสังเคราะห์ผลสะท้อนของร่างกายมนุษย์เมื่อถูกกระตุ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบข้าง แล้วสรุปออกมาเป็นกฎเกณฑ์ การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีรวิทยาของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย ไม่เพียงแต่จะสะท้อนออกมาให้เห็นภายนอกร่างกายตรงจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นในแต่ละส่วนบนภาพจำลองย่อยๆของร่างกายอีกด้วยแพทย์จีนมองความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวมนุษย์กับสภาวะที่ร่างกายมีปฏิกิริยาโต้ตอบต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยสังเกตจากสิ่งที่ปรากฏมาภายนอกของร่างกาย และลิ้นก็เป็นอวัยวะๆหนึ่งที่สามารถสะท้อนความผิดปกติที่เกิดขึ้น ดังนั้นการดูลิ้นจะทำให้เราเข้าใจสภาวะที่ร่างกายสะท้อนความผิดปกติออกมาอย่างชัดเจน ความหมายของการดูลิ้นในทางคลินิก การดูลิ้นบอกโรคนั้น จะสามารถสะท้อนให้เราเห็นถึงสภาพของร่างกายและโรคได้ดังนี้1. การบ่งบอกถึงความแข็งแรงหรืออ่อนแอของร่างกาย ถ้าตัวลิ้นแดงเรื่อๆ ชุ่ม แสดงว่าร่างกายแข็งแรง แต่ถ้าลิ้นขาวซีดแสดงว่าร่างกายอ่อนแอ 2. การบ่อบอกถึงความหนักเบาของโรค ในกรณีที่เป็นโรคซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก (เช่น เป็นหวัด) ความหนาของฝ้าบนลิ้นจะบ่งบอกถึงความหนักเบาของโรค ถ้าฝ้าบนลิ้นบางแสดงว่าโรคเพิ่งเกิด แต่ถ้าฝ้าบนลิ้นหนาแสดงว่าโรคเป็นมานานและค่อนข้างหนักหากลิ้นแดงสดและแห้ง แสดงว่าอาการของโรครุนแรงมาก 3. การบ่งบอกถึงคุณสมบัติของโรค เช่น ถ้าฝ้าบนลิ้นสีเหลือง (ต้องระวังสังเกตและถามผู้ป่วยว่ากินอะไรที่มีสีเหลืองมาก่อน) แสดงว่าเป็นโรคร้อน ต้องให้ยาที่มีคุณสมบัติเย็น (รสขม) แต่ถ้าฝ้าบนลิ้นขาว มักเป็นโรคเย็น …

ลิ้น กับการวินิจฉัยโรคของแพทย์จีน Read More »

ภาวะลมแดด ดูแล ป้องกัน และบำบัดด้วยแพทย์แผนจีน

โรคลมแดด (heat stroke) เป็นภาวะสูญเสียเหงื่อปริมาณมาก กลไกควบคุมความร้อนในร่างกายล้มเหลว เหงื่อจะออกน้อยหรือไม่ออกเลย เป็นเหตุให้อุณหภูมิใน ร่างกายสูงขึ้น (เพราะว่าร่างกาย ขาดน้ำอย่างมากจนไม่เพียงพอต่อการผลิตเหงื่อ) ผู้ป่วยจะตัวแดง ตัวร้อน เหงื่อจะออกมากในช่วงแรก ตอนหลังผิวจะแห้งเหงื่อออกน้อย เมื่อร่างกายไม่สามารถจะขับเหงื่อเพื่อระบายความร้อนได้ จะทำให้มีไข้สูง มึนงง สับสน กระสับกระส่าย หรืออาจจะไม่รู้สึกตัว สับสน และกระวนกระวาย หายใจเร็ว หายใจลำบาก ซึ่งอาจจะเกิดจากอวัยวะภายในเริ่มมีปัญหาชีพจรเร็ว เนื่องจากไข้และร่างกายขาดน้ำ ความดันโลหิตอาจจะสูงเล็กน้อยในระยะเริ่มต้น แต่เมื่อร่างกายขาดน้ำมากความดันโลหิตจะต่ำลง ลมแดด แพทย์แผนจีนเรียกว่าจ้งสู่ (中暑) ความร้อนจากอากาศร้อนจัดในฤดูร้อน เข้าสู่ร่างกาย ความร้อนที่มากเกินไป ทำให้การไหลเวียนของพลังติดขัดเกิดลมตับปั่นป่วนภายใน ทำให้มีไข้ ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้ อาเจียน กระสับกระส่าย ชักกระตุก หมดสติ ฤดูร้อนกับศาสตร์แพทย์แผนจีน ช่วงเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม เป็นช่วงเวลาของฤดู ร้อนอุณหภูมิภายนอกค่อยๆ ร้อนขึ้นจนถึงร้อนสุดๆ ตามด้วยการที่มีฝน ตกในช่วงปลายฤดูร้อน หากเราสังเกตมองดูต้นไม้ที่อยู่รอบตัวจะเห็นว่าเป็นช่วงเวลาของการเติบโตแผ่กิ่งก้านสาขาผลิดอกออกผลเช่นเดียวกับ ร่างกายของคนเราในฤดูกาลนี้เป็นช่วงที่พลังหยาง (ความร้อน) ภายในร่างกายมีการเพิ่มปริมาณสูงขึ้นตามสภาพอากาศภายนอก …

ภาวะลมแดด ดูแล ป้องกัน และบำบัดด้วยแพทย์แผนจีน Read More »

การขับพิษทาง “ปัสสาวะ”

เนื่องจากน้ำเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของร่างกาย คิดเป็น ร้อยละ 60-70 ของน้ำหนักตัว ในเลือดจำนวน 100 ซีซี เป็นส่วนของน้ำมากถึง 80 ซีซี โดยหน้าที่สำคัญของน้ำคือ 1. เป็นตัวทำละลายสารต่างๆ ในร่างกาย เช่น เลือด 1 ลิตร สามารถทำละลายโปรตีน 70-80 กรัม ซึ่งรวมถึงสารฮอร์โมน เอนไซม์ แอนติบอดี (สารภูมิคุ้มกัน) สารเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดมากกว่า 80ชนิด และกลูโคส กรดไขมัน กรดอะมิโน อิเล็กโทรไลต์ แร่ธาตุต่างๆ อีกด้วย 2.เป็นตัวส่งลำเลียงอาหาร ออกซิเจนไปยังเซลล์ 3.เป็นตัวนำของเสียจากเซลล์ขับออกจากร่างกาย 4.ช่วยปรับอุณหภูมิของร่างกาย 5.ป้องกันและปกป้องอวัยวะภายใน ไม่ให้โดนกระทบกระแทกโดยตรง เช่น สมองที่ปกคลุมด้วยกะโหลก และน้ำไขสันหลังสมอง จะช่วยลดแรงกระแทกต่อสมอง 6.ทำให้เกิดความชุ่มชื้น หล่อลื่น บำรุงผิวหนัง เช่น น้ำในข้อกระดูก สารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำตา น้ำลาย ซึ่งป้องกันการเสียดสี 7.ป้องกันโรคและรักษาโรค ขณะเป็นไข้ตัวร้อน ร่างกายกระหายน้ำ และดื่มน้ำมาก เพื่อช่วยการขับเหงื่อ ลดไข้ เจือจางความเข้มข้นของสารพิษจากเชื้อโรค …

การขับพิษทาง “ปัสสาวะ” Read More »

ปัสสาวะบอกโรค

น้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย คิดเป็นน้ำหนักถึงร้อยละ 65 เลือดของเรามีส่วนประกอบของน้ำถึงร้อยละ 80 การเคลื่อนไหวไหลเวียนของน้ำในร่างกายทำให้สารอาหาร ไม่ว่าจะเป็นกรดอะมิโน กลูโคส ไขมัน วิตามิน เอนไซม์ ฮอร์โมน เป็นต้น สามารถเข้าหล่อเลี้ยงเซลล์ หรือทำให้เกิดกระบวนการดำรงอยู่ของชีวิต ในทางกลับกันก็เป็นตัวลำเลียงของเสียจาก เซลล์ ไม่ว่าจะเป็นคาร์บอไดออกไซด์ ยูเรีย ครีอะตินิน เป็นต้น เพื่อขับทิ้งออกจากร่างกาย ทางศาสตร์แพทย์จีน อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายปัสสาวะอย่างมาก คือ ปอด ม้าม ไต กระเพาะปัสสาวะ หัวใจ ปัสสาวะของคนปกติ ผู้ใหญ่ที่แข็งแรงจำนวนครั้งของการปัสสาวะ ตอนกลางวัน   ประมาณ 4-6 ครั้ง ปัสสาวะกลางคืน หลังนอนหลับ 0-1 ครั้ง  สีของปัสสาวะ เหลืองอ่อนใส ปัสสาวะคล่องไม่ติดขัด  ทั้งนี้ปัสสาวะที่ปกติสามารถ สะท้อนภาวะของสารน้ำและระบบการทำงานของอวัยวะภายในที่สำคัญของร่างกาย อย่างไรก็ตาม ปริมาณปัสสาวะจำนวนครั้งของการปัสสาวะ ยังแปรเปลี่ยนตามจำนวนน้ำที่ดื่ม อุณหภูมิ ของอากาศภายนอก ปริมาณ เหงื่อที่ออก และอายุ ความผิดปกติของปัสสาวะในความหมายของแพทย์แผนจีน แพทย์แผนปัจจุบัน บอกความผิดปกติของปัสสาวะมักเน้นหนักไปที่การดูส่วนประกอบในรายละเอียดทางเคมี และการตรวจพบสิ่งตรวจพบจากกล้องจุลทรรศน์ เช่น บอกภาวะของความต่างจำเพาะ …

ปัสสาวะบอกโรค Read More »

ร่องจมูก บอกสุขภาพ

ตำแหน่งร่องจมูก (บริเวณร่องระหว่างจมูกกับริมฝีปากด้านบน) ตามตำราการดูโหวงเฮ้ง เป็นตำแหน่งของอายุในวงโคจร 51 ปี เรียกว่า เหยินจง (ภาษาแต้จิ๋วเรียก หยิ่งตง) ตำแน่งนี้เป็นที่รวมของแม่น้ำทั้ง 4 สาย ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งพลังธาตุน้ำ เป็นตัวรวมพลังทั้งหลายลงสู่ทะเล คือ ปาก บ่งบอกถึง ทายาท บุตร ผลงานจากการกระทำ การสืบทอดทั้งในแง่เจตนารมณ์ ผลงาน ความสำเร็จ การปฏิบัติภารกิจ อุปนิสัยใจคอ ลักษณะร่องจมูกที่ดี ต้องเป็นร่องยาวลึกสม่ำเสมอ ปลายจมูกไม่ปิดบังร่อง ฟังดูแล้วบางท่านเชื่อ บางท่านไม่เชื่อเพราะยากแก่การพิสูจน์ที่น่าเชื่อ เพราะหมอดูราศีบนหน้าอาจทำนายทายทักได้แม่นยำ และตนเองเคยมีประสบการณ์ด้วยตนเอง บางคนก็คิดว่าเป็นเรื่องสถิติหรือเรื่องหมอดูคู่หมอเดา ถูกบ้างผิดบ้าง พอถูกก็เอามาพูดต่อกันไป พอผิดก็เงียบ และที่สำคัญจะเอาหลักอะไรมาอธิบายว่ามันเป็นเช่นนั้นอย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าศาสตร์เหล่านี้ยังมีผู้ยึดถือ และนำมาใช้ในชีวิตประจำวันมากมาย แม้กระทั่งการรับสมัครเจ้าหน้าที่ หรือผู้บริหารของบริษัทใหญ่ ๆ ซึ่งต้องจ้างนักดูโหวงเฮ้งมาคัดเลือกบุคลากร ซึ่งดูคล้ายกับว่าให้ความสำคัญไม่น้อยกว่าวุฒิภาวะ คุณวุฒิ การศึกษา และความสามารถทีเดียว จากทฤษฎีที่กล่าวมา มีการศึกษาว่าการเปลี่ยนแปลงลักษณะต่างๆ ของใบหน้าหรือส่วนต่างๆ ของร่างการบ่งบอกถึงความผิดปกติของอวัยวะภายในหรือการเกิดโรคอะไร ซึ่งถ้าพิจารณาบริเวณร่องจมูกจะสัมพันธ์กับมดลูกและกระเพาะปัสสวะ ซึ่งเกี่ยวกับระบบไต การสืบพันธ์นั่นเอง ลักษณะของร่องจมูก และความเกี่ยวข้องกับโรค 1. …

ร่องจมูก บอกสุขภาพ Read More »

มือ บอกโรค

ทางแพทย์จีนถือว่าลักษณะของมือ สีของฝ่ามือ ความชุ่มแห้งของมือ และหลอดเลือดของฝ่ามือก็มีความสามารถบอกความสมบูรณ์ของร่างกายได้ ความอวบของมือถ้าเป็นผู้ที่มีมืออวบ แสดงว่าเป็นผู้ที่มีพลังเต็มเปี่ยมในการทำงาน ถ้ามือเล็กเรียวและอ่อน แสดงว่าร่างกายไม่แข็งแรง เป็นโรคได้ง่าย บางครั้งแม้มือจะอวบ แต่ถ้าอ่อนไม่มีแรง แสดงว่าร่างกายไม่แข็งแรง เช่นกันถ้ากล้ามเนื้อบนฝ่ามือแน่น แต่ขาดความยืดหยุ่น แสดงว่าเป็นผู้ที่มีนิสัยค่อนข้างแข็งกระด้าง ไม่ค่อยมีความยืดหยุ่น ดังนั้นเนื้อบริเวณฝ่ามือควรแน่น แต่จะต้องมีความอ่อนในระดับพอเหมาะ ตลอดจนมีความยืดหยุ่น ร่างกายจึงจะแข็งแรงและมีพลังอย่างเต็มเปี่ยมในการทำกิจการงานถ้ามือไม่ค่อยมีเนื้อและกล้ามเนื้อค่อนข้างแน่น แสดงว่าระบบย่อยอาหารไม่ดีถ้ากล้ามเนื้อใต้หัวแม่มือ หรือบริเวณสันมือใต้นิ้วก้อยลีบ สีผิวหมองไม่สดใส แสดงว่าเจ้าของมือ มักเป็นโรคบิดหรือท้องเสียเรื้อรัง สีของฝ่ามือคนที่มีร่างกายปกติฝ่ามือจะมีสีแดงเรื่อ ๆ และสดใส กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่น เวลาจับสิ่งของจะมั่นคงหากสีผิวของฝ่ามือเปลี่ยน ย่อมบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพ แต่จะต้องระมัดระวังปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อฝ่ามืออื่น ๆ เช่น ภูมิอากาศ สารที่ติดหรือเปื้อนมือถ้าฝ่ามือขาวซีด แสดงว่าเป็นโรคเกี่ยวกับปอดถ้าฝ่ามือสีคล้ำ แสดงว่าเป็นโรคเกี่ยวกับไตถ้าฝ่ามือสีม่วง แสดงว่าระบบไหลเวียนของเลือดไม่ดีถ้าฝ่ามือสีน้ำเงิน แสดงว่าเป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้ถ้าฝ่ามือสีเขียว แสดงว่าเป็นโรคโลหิตจางหรือระบบย่อยลำเลียง ดูดซึมไม่ดีถ้าฝ่ามือสีเหลองทอง แสดงว่าเป็นโรคเกี่ยวกับตับถ้าฝ่ามือสีแดงเข้ม แสดงว่าเป็นโรคร้อน (ติดเชื้อมีไข้) ถ้าฝ่ามือขาวซีดหรือเขียวคล้ำ แสดงว่าเป็นโรคโลหิตจาง มีอาการห้อเลือด ความดันเลือดสูงหรืออาจต่ำก็ได้ เป็นโรคหัวใจ เกาต์ เป็นต้น ถ้าเส้นหลักบนฝ่ามือทั้งสามคือ …

มือ บอกโรค Read More »

ปวดหัวไหล่ สกัดจุดที่หน้าแข้ง

เรื่องพลังบนเส้นลมปราณ การฝังเข็มหรือกดจุด (ซึ่งต้องกดให้ลึกพอ) นอกจากจะสามารถทะลวงให้พลังไหลเวียนคล่องเพื่อรักษาโรคต่างๆ ตามแนวทางเดินของเส้นแล้วยังมีปรากฏการณ์แปลกๆ คือการรักษาพลังลมปราณข้ามเส้น ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยปวดเอว สามารถใช้การฝังเข็มหรือกดจุดที่บริเวณเหนือข้อมือทำให้อาการปวดเคล็ดเอวทุเลาลงได้ผู้ป่วยปวดต้นคอ สามารถฝังเข็มหรือสกัดจุดที่บริเวณมือ ทำให้หายคอเคล็ดได้ผู้ป่วยปวดหัวไหล่ ฝังเข็มสกัดจุดบนหน้าแข้ง ทำให้หายปวดหัวไหล่ได้ผู้ป่วยหญิงมีอาการปวดหัวไหล่ซ้าย ยกแขนไม่ถนัด มีอาการปวดตึง มือไขว้หลังไม่ได้ เป็นมาประมาณ 2-3 วัน กินยาแก้ปวดแล้วอาการไม่ค่อยทุเลา แพทย์ให้การวินิจฉัยว่า เนื้อเยื่อรอบหัวไหล่อักเสบ ไปหาหมอฝังเข็ม หมอฝังเข็มตรวจคลำจุดบริเวณหน้าแข้งซ้ายและขวา พบว่ามีจุดกดเจ็บบริเวณหน้า แข้งขวามากกว่าซ้าย กดแล้วผู้ป่วยจะเจ็บมาก หมอฝังเข็มใช้ เข็มยาวประมาณ 3 นิ้ว แทงลงบนจุดนั้นลึกประมาณ 1.5 นิ้ว กระตุ้นเข็มขึ้นลงและหมุนอย่างแรง จนผู้ป่วยเกิดความรู้สึกหนักๆ หน่วงๆ เสียวๆ (ความรู้สึกว่าพลังลมปราณเคลื่อน) กระตุ้น 3 นาที คาเข็มไว้ 20 นาที ระหว่าง 20 นาทีกระตุ้นเป็นระยะ 2-3 ครั้ง ระหว่างกระตุ้นให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวแขนไปด้วย หลังจากการฝังเข็ม จะพบว่ามีผู้ป่วยหายปวดและเคลื่อน ไหวหัวไหล่ได้คล่องทันที (บางรายที่เป็นมากอาจต้องใช้การฝังเข็มแบบนี้หลายครั้ง หรือต้องเสริมการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เพิ่ม)ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น การปวดหัวไหล่สามารถทุเลาหรือ …

ปวดหัวไหล่ สกัดจุดที่หน้าแข้ง Read More »