Day: June 29, 2022

อาหารสมุนไพรจีน ลดไขมันในเลือด

ถ้าเปรียบหลอดเลือดของร่างกายเหมือนกับแม่น้ำสายหนึ่ง มีโคลนตมหรือขยะตกค้างเมื่อมีการสะสมมากขึ้นมากขึ้น  การไหลเวียนของน้ำในแม่น้ำจะช้าลงช้าลง  หรือในที่สุดก็จะเอ่อล้นท่วมออกนอกแม่น้ำ  เช่นเดียวกับหลอดเลือดของคนที่มีภาวะไขมันในเลือดมาก จะทำให้การไหลเวียนเลือดติดขัด ช้าลง  ซึ่งจะตามมาด้วยปัญหาหัวใจขาดเลือด  หลอดเลือดสมองตีบหรือแตก ภาวะไขมันในเลือดสูง ในทัศนะแพทย์จีนเกี่ยวข้องกับการสะสมของตัวเสมหะความชื้น (痰湿 ) และภาวะเลือดคั่งค้างไหลเวียนไม่คล่อง (血瘀 ) เสมหะและความชื้นที่สะสมตัว มีพื้นฐานจากการทำงานของระบบย่อย (กระเพาะอาหารและม้าม)  ไม่สามารถย่อยหรือดูดซึมอาหารได้หมด   เนื่องจากการบริโภคอาหารที่ก่อให้เกิดภาวะร้อนชื้นมากเกินไป หรือเกิดจากระบบย่อยอาหารอ่อนแอ ไม่มีพลังในการย่อยสลายอาหารได้อย่างเต็มที่ ภาวะเลือดคั่งค้างไม่ไหวเวียน  มักเกิดจากพลังหยาง (阳气) ของร่างกายอ่อนแอ   ไม่มีพลังในการขับเคลื่อนการไหลเวียนของเลือด  ทำให้เลือดคั่งค้างไหลเวียนช้า  ทั้งสองภาวะก่อตัวให้เลือดหนืด เคลื่อนตัวช้า  ยิ่งทำให้มีการสะสมของขยะ (เสมหะความชื้นและเลือด)  มากยิ่งขึ้น จนเกิดการตีบตันหรือแตกในที่สุด แนวทางในการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง ต้องคำนึงถึง อย่างน้อย 2 ด้าน เน้นที่การขับเสมหะความชื้นและกระจายเลือดคั่งค้าง   เป็นการรักษาอาการหรือปรากฏการณ์ เน้นการเสริมสร้างที่การปรับการทำงานของระบบกระเพาะอาหารและม้าม  รวมทั้งพลังหยาง (阳气) ตำรับที่ 1  อาหารสมุนไพรสำหรับลดไขมันในเลือด เต้าหู้  เห็ดหูหนูดำ  สาหร่ายทะเล (จี๋ฉ่าย) เนื้อหมูแดง ขิงสด สรรพคุณ                     เต้าหู้   ทำมาจากถั่วเหลือง  …

อาหารสมุนไพรจีน ลดไขมันในเลือด Read More »

อาหารเช้าเพื่อสุขภาพ แบบแพทย์แผนจีน

มีคำกล่าวของนักโภชนาบำบัดเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของแพทย์จีน กล่าวไว้ว่า “อาหารมื้อเช้าให้รับประทานเหมือนพระราชา”  (早餐吃得要像皇帝 ) “อาหารมื้อกลางวันให้รับประทานเหมือนสามัญชน” (午餐吃得要像平民) “อาหารมื้อค่ำให้รับประทานเหมือนยาจก” (晚餐吃得要像乞丐 ) รับประทานเหมือนพระราชา  บ่งบอกว่า อาหารต้องมีคุณค่าสูง ต้องรับประทานให้อิ่ม มื้อเช้าต้องมีความสำคัญมาก ยังมีการกล่าวเสริมเติมอีกว่า อาหารต้องมีลักษณะฤทธิ์ร้อนด้วย แพทย์แผนจีนให้ความสำคัญกับกระเพาะอาหาร  ซึ่งมีหน้าที่ในการเก็บรับอาหารมาเพื่อทำการย่อยให้ละเอียดเป็นเบื้องต้น    ก่อนจะส่งไปย่อยให้ละเอียดและดูดซึมต่อไป     การย่อยอาหารของกระเพาะอาหารต้องการ ความร้อนในการบีบตัวหรือกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย    กระเพาะอาหารชอบความอุ่นเกลียดกลัวความเย็น (胃喜温恶寒 ) อันตรายจากการไม่รับประทานอาหารเช้า เพิ่มอัตราภาวะท้องผูก  เพราะกระเพาะอาหารลำไส้ไม่ถูกกระตุ้นให้บีบตัว โอกาสเกิดโลหิตจาง ขาดอาหารมื้อสำคัญที่จะไปสร้างเลือด โอกาสอ้วนง่าย (มื้อเช้าอาหารเผาผลาญดี) ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จะใช้งานตลอดวัน  ต้องใช้พลังงานสำรอง   ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ , แก่เร็ว , ระบบย่อยอาหารอ่อนแอในระยะยาว โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี   ถุงน้ำดีเก็บสะสมน้ำดีไว้ช่วงกลางคืน  ถ้าช่วงเช้าไม่ได้รับการกระตุ้น จะทำให้มีการตกตะกอนสะสมตัวเป็นนิ่วได้ เกิดแผลของกระเพาะอาหารและลำไส้ นอนมาตลอดคืน ท้องว่าง มีกรดออกมาแต่ไม่มีอาหาร กระทบการเรียนและการทำงาน เนื่องจากขาดอาหารไปเลี้ยงสมอง ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ขาดพลัง  จะทำให้เกิดโรคได้ง่าย   ถ้าเป็นคนที่พื้นฐานไม่แข็งแรง  มีโรคเรื้อรัง อาการจะรุนแรงขึ้น …

อาหารเช้าเพื่อสุขภาพ แบบแพทย์แผนจีน Read More »