Month: July 2022

5 วิธีดูแลตัวเองของผู้หญิง ในแบบแพทย์แผนจีน

ผู้หญิงกับผู้ชายมีความแตกต่างกันในทางสรีระและลักษณะธรรมชาติ ส่งผลให้แนวโน้มการเกิดโรคก็ต่างกัน  จุดอ่อนก็ต่างกัน  ทำให้การดูแลสุขภาพแตกต่างกันด้วย 1. ป้องกัน “มดลูกเย็น” 防子宫寒 มดลูก เป็นบริเวณที่พลังยิน (ความเย็น) มากที่สุดของร่างกาย บริเวณนี้เกลียดกลัวความเย็น  โดยเฉพาะช่วงที่มีประจำเดือน  ยิ่งต้องระมัดระวังป้องกันการกระทบความเย็นเป็นพิเศษ  ต้องรักษาความอบอุ่น   การดื่มน้ำเย็น  น้ำชา  น้ำมะพร้าว  จะทำให้พลังความเย็นลงสู่ด้านล่าง ทำให้ภาวะความเป็นยินมากขึ้น ทำให้มดลูกเย็น มีตกขาว  ปวดประจำเดือน  เกิดภาวะมีบุตรยาก  เกิดก้อนเนื้องอกได้ง่าย 2. ป้องกัน “กระเพาะอาหารและม้ามเย็น” 防脾胃寒 กระเพาะอาหารและม้าม เป็นเสมือนทุนที่ 2 เป็นเหมือนแหล่งเติมพลัง เช่นเดียวกับการชาร์ตไฟ เติมเต็มพลังหยวนชี่ (元气) ซึ่งเป็นพลังในการขับเคลื่อนการดำรงชีวิตของร่างกาย   เป็นแหล่งสร้างเลือดและพลังของร่างกาย    การถนอมกระเพาะและม้ามที่สำคัญคือการหลีกเลี่ยงอาหาร,  เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เย็น  รวมทั้งน้ำเย็น  น้ำแข็ง 3. ป้องกัน “การติดขัดของเส้นลมปราณต้าย” 防带脉不通 เส้นลมปราณต้าย (带脉) เป็นเส้นลมปราณพิเศษ ที่มีทิศทางตามแนวนอนที่เชื่อมเส้นลมปราณอื่นๆ  ซึ่งส่วนมากเป็นเส้นลมปราณแนวตั้ง  ถ้าเส้นลมปราณเส้นนี้ติดขัด  ก็จะทำให้เกิดการกดทับ การไหลเวียนเส้นลมปราณอื่นๆทั้งหมด …

5 วิธีดูแลตัวเองของผู้หญิง ในแบบแพทย์แผนจีน Read More »

อาหารลดความอ้วน ในทัศนะแพทย์แผนจีน

ความอ้วน  ในมุมของแพทย์แผนจีน  ส่วนใหญ่มาจากพื้นฐานร่างกาย เสียสมดุล  คือ ภาวะพลังพร่อง  หรือภาวะหยางพร่อง (ร่างกายเย็น พลังความร้อนที่ให้ความอบอุ่นและการเผาผลาญร่างกายน้อยลง)  ทำให้มีการตกค้างของน้ำและอาหาร เกิดการสะสมเป็นเสมหะน้ำและความชื้น  นานๆเข้าตามมาด้วยภาวะเลือดอุดกั้นและเกิดความร้อนไปรบกวนระบบการไหลเวียนของพลังลมปราณ กระทบถึงอวัยวะภายใน ทำให้เกิดโรคต่างๆตามมามากมาย การแบ่งประเภท ความอ้วนที่พบบ่อยแบบแพทย์แผนจีน คนอ้วนที่เกิดจากอวัยวะม้ามหรือระบบการย่อยดูดซึมมีปัญหา  สาเหตุมาจาก ความอ่อนแอของอวัยวะม้าม  หรือการกินอาหารที่มีฤทธิ์เย็น  ปริมาณอาหารที่มากเกินไป  กินอาหารไม่เหมาะสม  นานๆเข้าการย่อยดูดซึมอาหารไม่สมบูรณ์ จะมีภาวะอ้วนแบบ ท้องโต  ตัวหนัก  หัวตื้อ  แน่นหน้าอก  มีเสมหะ คนอ้วนที่เกิดจากอวัยวะไตอ่อนแอ  จะมีลักษณะ แขนขาเย็น  หนักหรือบวมช่วงล่าง  ปัสสาวะบ่อยกลางคืน  เมื่อยเข่า  ขาอ่อนแรง โรคมักพัฒนาต่อเนื่องจากอวัยวะม้ามอ่อนแอ คนอ้วนบางคน  กินเก่ง  หิวง่าย  ตัวแน่น  ขี้ร้อน  หงุดหงิด  แสบท้องเวลาหิว  ปากแห้งคอขม  คนอ้วนกลุ่มนี้  กระเพาะอาหารผลิตน้ำย่อยมากผิดปกติ  เนื่องจากไฟของกระเพาะอาหารมากเกินไป หลักการรักษาหรือเลือกอาหารสมุนไพร  ต้องแยกแยะ  ว่าเป็นโรคอ้วนประเภทไหน  ทุกรายไม่ใช่เน้นหนักที่การใช้ยาขับน้ำ  หรือยาระบาย  ต้องพิจารณาการเสริมบำรุงม้ามหรือไต  ร่วมกับวิธีการขับน้ำ  …

อาหารลดความอ้วน ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

อาหารสมุนไพรจีน กับภาวะ ไขมันในเลือดสูง

ภาวะไขมันเลือดสูง คือ ภาวะที่ตรวจเลือดพบว่ามีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ซึ่งไขมันในร่างกายแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ  2 ประเภท 1. ไขมันชนิดอันตราย ได้แก่ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ชนิดที่เป็นไขมันเลว คือ  แอลดีแอล (Low density lipoprotein-LDL)   ถ้ามีไขมันชนิดนี้ในเลือดสูง ก็จะไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดพอกหนาขึ้น จนความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเสียไป หลอดเลือดจะตีบแคบลง ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่สะดวก เสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดตีบตันได้มาก (ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัม /ต่อเดซิลิตร ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันชนิดหนึ่งเกิดจากการสร้างขึ้นเองในร่างกายจากน้ำตาล และแป้งหรือ จากอาหารที่รับประทานเข้าไป  มีความสำคัญทางด้านโภชนาการหลายประการ  การมีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงหรือพบว่าสูงในคนที่มี โคเลสเตอรอลสูงอยู่แล้ว เชื่อว่ามีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบมากขึ้น ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 150  มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (ค่าปกติ 50 – 150 mg/dl) 2. คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ไขมันชนิดดี คือ เอชดีแอล ((High density lipoprotein-HDL)   ยิ่งมีระดับสูงเท่าจะยิ่งเป็นผลดี  …

อาหารสมุนไพรจีน กับภาวะ ไขมันในเลือดสูง Read More »

5 วิธี ดูแลควบคุมสารจิงของผู้ชาย

1. ควบคุมความต้องการทางกามารมณ์ (寡欲) เมื่ออารมณ์ถูกกระตุ้น  ไตจะถูกกระตุ้น สารจิงก็ถูกกระตุ้น การควบคุมถนอมสารจิง เพื่อรักษาสารจิงให้เพียงพอ  จึงต้องควบคุมที่อารมณ์ 2. ควบคุมความอ่อนล้า (节劳) การทำงานของร่างกายไม่ควรหักโหมมากเกินไป  สารจิงในร่างกายจะแปรเปลี่ยนเป็นเลือด  การใช้พลังงานต่างๆ ต้องใช้เลือดไปหล่อเลี้ยง  และกระทบอวัยวะภายในที่แน่นอน ตัวอย่างเช่น ใช้ตามากเกินไปกระทบเลือดที่ไปเลี้ยงตับ, ใช้หูมากเกินไปกระทบเลือดที่ไปเลี้ยงไต, ใช้ความคิดมากเกินไปกระทบเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ…การพักผ่อนและการควบคุมการใช้งานไม่ให้มากเกินไป เป็นการถนอมสารจิงอีกทางหนึ่ง 3. ควบคุมอารมณ์โกรธ (息怒) โกรธทำลายตับ  ตับเก็บกักเลือด  คนที่โมโหเลือดจะเคลื่อนไหวออกจากตับ เกิดการเคลื่อนไหว เลือดออกจากอวัยวะภายใน เป็นการทำลายเลือด  ทำลายสารจิง  การควบคุมอารมณ์จึงมีความสำคัญในการควบคุมสารจิง 4. ละเว้นการดื่มเหล้า (戒酒) เหล้ากระตุ้นการไหลเวียนเลือดและพลัง การดื่มเหล้าในปริมาณเล็กน้อยในบางกรณีจะมีประโยชน์ แต่การดื่มเหล้าปริมาณมากจะทำให้การไหลเวียนเลือดแปรปรวน ทำลายเลือด ทำลายสารจิง 5. ควบคุมการกิน (慎味) – ไม่ควรดื่มกินอาหารอย่างไร้การควบคุม ตามความอยากหรือตามปาก – ควรเน้นการรับประทานธัญพืช เพราะธัญพืช  คือ เมล็ดพันธุ์ที่เก็บสะสมพลังของการเติบโตเป็นต้นอ่อนของพืช     เช่นเดียวกับสารจิง  (精) – …

5 วิธี ดูแลควบคุมสารจิงของผู้ชาย Read More »

ความแตกต่างของหญิงและชาย ในมุมมองแพทย์แผนจีน

“ธรรมชาติของเพศชายเป็นหยาง มีลักษณะเคลื่อนไหว กระจายตัวออกนอก ขึ้นสู่บน ธรรมชาติของเพศหญิงเป็นยิน มีลักษณะหยุดนิ่ง สงบ เก็บเข้าด้านใน ลงสู่ด้านล่าง” สรีระพื้นฐานได้กำหนดลักษณะภายนอก บุคคลิก อารมณ์ จุดอ่อนของร่างกาย  รวมทั้งวิถีการดูแลสุขภาพของทั้งสองเพศให้แตกต่างกัน ผู้ชายต้องเข้มแข็งไม่หยุดนิ่ง (男子要自强不息) : ผู้หญิงต้องเปี่ยมล้นด้วยคุณธรรม อดทน แบกรับอุปสรรค (女子要厚德载物 )   ผู้ชายเปรียบเสมือนม้า ต้องเข้มแข็ง แข็งแรง ทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ไม่เกียจคร้าน เช่นเดียวกับม้าที่วิ่งไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ผู้หญิง ต้องมีลักษณะอ่อนนุ่ม สงบ เฝ้าดูแล คอยถ่วงดุล จิตใจต้องเมตตา ค่อยดูดซับอุปสรรค เสมือนกับพื้นดินที่แผ่กว้างไพศาล รองรับสรรพสิ่ง ผู้ชายมีอวัยวะเพศที่พุ่งออกสู่ภายนอก มีลักษณะระบายออกไป ในขณะที่อวัยวะเพศหญิงมีลักษณะเก็บลับ เข้าสู่ด้านใน เพศชายผลิตเชื้ออสุจิจำนวนมากเป็นล้านๆ ตัวอสุจิของเพศชาย มีลักษณะเคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง มุ่งไปด้านหน้า แต่จะมีตัวที่แข็งแรงที่สุดที่สามารถคว้าชัยชนะไปรวมตัวกับไข่ของเพศหญิงได้ ผู้ชายที่เข้มแข็งและขยันเท่านั้นที่จะอยู่รอดได้ในสังคม เพศหญิงผลิตไข่ได้เดือนละ 1 ฟอง แต่ในบางช่วงเช่นระยะตั้งครรภ์ก็ไม่มีการตกไข่ การฟูมฟักลูกน้อยตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนคลอด …

ความแตกต่างของหญิงและชาย ในมุมมองแพทย์แผนจีน Read More »

ยาจีน ทำไมจึงมีคำกล่าวว่า “ถ้าเป็นยา มีพิษ 3 ส่วน”

ความเชื่อว่า  ยิ่งบำรุงมาก  ยิ่งมีสุขภาพดี  เป็นแนวคิดสุดโต่งด้านเดียว  ตามทัศนะแพทย์แผนจีน การดูแลสุขภาพที่แท้จริง  ตามศาสตร์แพทย์แผนจีน  คือ  การเน้นเรื่องอาหารและการดำเนินชีวิต การนอน การพักผ่อน   อารมณ์ความนึกคิด (การมองโลกและการเข้าใจชีวิต) การมีเพศสัมพันธ์ที่พอเหมาะ การปฏิบัติตัวตามวิถีธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงยินหยาง (กลางวัน  กลางคืน  และฤดูกาล) การใช้ยาสมุนไพร อาหารสมุนไพร ถือเป็นตัวประกอบเสริมสำหรับคนทั่วไปที่สุขภาพดีหรือมีความเจ็บป่วยเล็กน้อย ส่วนคนที่สุขภาพไม่ดี หรือมีความเสื่อมของร่างกายมาก ซึ่งปัจจุบันมีผลจากหลายปัจจัย เช่น ภาวะมลพิษสิ่งแวดล้อม อาหาร ปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ทำให้ร่างกายทรุดโทรม จิตใจแปรปรวน เกิดภาวะที่เสียสมดุลและเป็นรากฐานของการเกิดโรคในเวลาต่อมา หรือบางรายเริ่มมีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ตรวจพบว่าเป็นโรค คนประเภทนี้จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต การกิน การนอน ภาวะทางจิตใจที่เหมาะสม และการบำรุงดูแลด้วยอาหารสมุนไพร หรือยาสมุนไพร แต่เนื่องจากยาสมุนไพร ใช้ฤทธิ์ที่มีความโน้มเอียงไปทางการปรับสมดุลที่รุนแรงมากกว่าอาหาร การใช้ยาสมุนไพรปรับสมดุลที่ผิดจะนำมาซึ่งการเสียสมดุลมากขึ้น หรือถ้าใช้ไปนานๆ โดยไม่เข้าใจสภาพร่างกายและตัวยาสมุนไพรที่ใช้ จะทำให้สุขภาพเสียหายมากยิ่งขึ้น ตัวอย่าง เช่น  ถั่งเช่า (冬虫夏草) เป็นสมุนไพรรสหวาน ฤทธิ์อุ่น มีสรรพคุณค่อนไปทางบำรุงหยาง (ทำให้ร่างกายอุ่นร้อนขึ้น) …

ยาจีน ทำไมจึงมีคำกล่าวว่า “ถ้าเป็นยา มีพิษ 3 ส่วน” Read More »

9 ข้อ 1 นาที สุขภาพดีก่อนลุกตื่นจากที่นอน

ช่วงเวลานอนหลับสมองใหญ่ของคนเราอยู่ระหว่างผ่อนคลาย การไหลเวียนของเลือดทั้งร่างกายน้อย ปริมาณเลือดก็น้อย (เนื่องจากตอนหลับ 6 – 8 ชั่วโมง ไม่ได้มีการรับประทานอาหารและน้ำเข้าสู่ร่างกาย มีแต่การเสียน้ำเสียเหงื่อ รวมทั้งกรองเป็นปัสสาวะ) ถ้าร่างกายเปลี่ยนสภาพจากนอนหลับเป็นตื่นทันที จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันสูงขึ้นทันที ความต้องการเลือดของสมองและหัวใจมีมากขึ้น แต่ระบบประสาทอัตโนมัติของคนสูงอายุจะปรับตัวไม่ดีเหมือนตอนหนุ่มสาว(โดยเฉพาะถ้ามีโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง หรือร่างกายมีโรคเรื้อรังอยู่แล้ว) จึงเกิดอุบัติเหตุ เช่น เวียนศีรษะ เป็นลม หกล้ม จนกระทั่งการเกิดภาวะเส้นเลือดสมองตีบแตก หรือหัวใจขาดเลือดได้ง่าย เทคนิคปฏิบัติ 9 ข้อ 1 นาที จะเป็นการเตรียมตัว ก่อนลุกจากที่นอนโดยเฉพาะคนสูงอายุ ใช้นิ้วมือหวีผม1 นาที (手指梳头一分钟) จากหน้าผากถึงท้ายทอย เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดบริเวณสมอง ป้องกันโรคหลอดเลือดในสมอง และทำให้ผมดกเงางาม นวดหูเบาๆ 1 นาที (轻揉耳轮一分钟) นวดขอบหูเบาๆซ้ายขวาทั้งสองข้าง จากขอบหูบนสู่ขอบหูล่างจนเกิดความรู้สึกร้อนผ่าว แล้วนวดในแอ่งหูทุกแอ่งรวมทั้งใช้นิ้วแหย่เข้าในรูหูและกระตุ้นเบาๆ เนื่องจากใบหูมีจุดสะท้อนร่างกายทั่วร่างกาย การกระตุ้นใบหูจึงเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทั้งร่างกาย เคลื่อนไหวดวงตา 1 นาที (转动眼睛一分钟) ปิดเปลือกตา แล้วกลอกตาตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกาสลับกัน เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อตา …

9 ข้อ 1 นาที สุขภาพดีก่อนลุกตื่นจากที่นอน Read More »

“ไต” ต้องดูแลแบบองค์รวม

คนจำนวนมากพอเรียนรู้ว่าอวัยวะไต (ในความหมายแพทย์แผนจีน) ได้ชื่อว่า เป็นอวัยวะรากฐานของชีวิต จึงคิดแต่จะบำรุงไตอย่างเดียว คิดเพียงง่ายๆว่าถ้าไตดีทุกอย่างก็ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วต้องเรียนรู้เพิ่มเติมอีกว่าไตยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอวัยวะอื่นๆ ด้วย อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับไต เช่น หัวใจ, ตับ, ม้าม, ปอด ซึ่งถ้าอวัยวะเหล่านั้นมีปัญหา เช่น เสื่อมหรือทำงานผิดปกติ ก็มีผลกระทบต่ออวัยวะไตด้วย การดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์แผนจีน จึงต้องเข้าใจความเชื่อมสัมพันธ์ของอวัยวะภายในต่างๆ ต้องดูแลอวัยวะอื่นปรับสมดุลควบคู่กับการดูแลไตไปด้วยกัน จึงจะทำให้ต้นไม้แห่งชีวิตเติบใหญ่มีพลังอย่างแท้จริง ความสัมพันธ์ระหว่าง อวัยวะตับ กับ ไต ตับกับไต เป็นอวัยวะที่มีแหล่งกำเนิดเดียวกัน (肝肾同源) หน้าที่ของตับ คือ การเก็บเลือด, ทำให้เลือดไหลเวียนคล่องตัวไม่ติดขัด ส่วนหน้าที่ของไต คือ การเก็บสารจิง ไตสร้างไขกระดูก, ไขกระดูกสร้างตับ สร้างเลือด แม้ว่าหน้าที่ของตับและไตจะต่างกัน แต่จะเห็นว่ารากฐานของมันเกี่ยวข้องกัน  เป็นแหล่งของสารจิงและเลือด สารจิงมาจากไตซึ่งมีมาตั้งแต่เกิด สารจิงสร้างไขกระดูกและไขกระดูกสร้างเลือด “สารจิงกับเลือดมีแหล่งกำเนิดเดียวกัน”(精血同源)ร่างกายทุกอวัยวะล้วนได้รับเลือดไปบำรุงหล่อเลี้ยง ต้องอาศัยการทำงานของตับและสารจิงของไตที่ดีในการสร้างเลือด  เก็บเลือด  ขับเคลื่อนเลือด ดังนั้นการบำรุงไตจึงต้องดูแลการทำงานของตับควบคู่กันไปด้วย คนที่มียินของตับและไตพร่อง นอกจากจะมีอาการปวดเมื่อยเอว แก้มแดง ไข้หลังเที่ยง ร้อนฝ่ามือฝ่าเท้ากลางอก มีเหงื่อลักออก …

“ไต” ต้องดูแลแบบองค์รวม Read More »

น้ำปัสสาวะ นํ้ามหัศจรรย์รักษาโรค

เรื่องของน้ำปัสสาวะสามารถรักษาโรคได้สารพัด ถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณะอย่างครึกโครมเป็นระยะๆ จำได้ว่า ขึ้นเป็นข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2535 โดยบรรยายสรรพคุณว่าสามารถรักษาโรคได้ ตั้งแต่โรคง่ายๆ เช่น หวัดไปจนถึงโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง โดย การศึกษาวิจัยของสถาบัน MCL (miracle cup of liquid แปลว่า น้ำในถ้วยมหัศจรรย์) ของญี่ปุ่น ขณะเดียวกันก็พบว่า มีการตื่นตัวแปลหนังสือเผยแพร่เป็นภาษาต่างประเทศทั่วโลกในขณะที่แพทย์สมัยใหม่หลายคนออกมาคัดค้านว่า ความเชื่อในเรื่องน้ำปัสสาวะเป็นน้ำมหัศจรรย์ ไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน ความวิเศษตามที่กล่าวอ้างในชีวิตจริง ผู้เขียนเคยพบเห็นผู้ที่ใช้น้ำปัสสาวะเพื่อรักษาโรคเรื้อรัง ของตนเองตามความเชื่อ เนื่องจากผู้ป่วยพบว่าไม่สามารถหาทางออกได้จากการรักษาโดยการแพทย์แผนปัจจุบัน จึงตัดสินใจลองรักษาตัวเองโดยวิธีนี้ บทความที่จะเขียนต่อไปนี้ คงไม่สามารถให้คำตอบที่เบ็ดเสร็จว่า น้ำปัสสาวะจะสามารถแก้ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บบางอย่าง ตามที่มีผู้กล่าวอ้างจริงหรือไม่ ในขณะเดียวกัน ก็ไม่อาจจะสรุปลงไปเลยว่า น้ำปัสสาวะ ไม่มีคุณค่าใดๆเลยต่อการรักษาโรค บทความนี้ทำหน้าที่เสนอ เล่าสู่กันฟังถึงความเชื่อ และการใช้ น้ำปัสสาวะมารักษาโรคที่การแพทย์แผนจีนได้มีการบันทึกกล่าวไว้เพื่อเป็นข้อมูลในการเข้าใจถึงประสบการณ์ของคนจีน คงจะเป็นประโยชน์ แก่ผู้สนใจไม่มากก็น้อย การรักษาโรคด้วยน้ำปัสสาวะ หมายถึง การนำน้ำปัสสาวะของคนหรือสัตว์ (ส่วนที่เป็นน้ำใสและองค์ประกอบในน้ำปัสสาวะ) มา ใช้ดื่มเพื่อเข้าสู่ภายในร่างกาย หรือใช้ภายนอกในการรักษาโรคที่ได้มีการสืบทอดกันมา ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยน้ำปัสสาวะบันทึกไว้ว่า …

น้ำปัสสาวะ นํ้ามหัศจรรย์รักษาโรค Read More »