ความแตกต่างระหว่าง “การรักษาคน กับ การรักษาโรค”

ความแตกต่างระหว่าง “การรักษาคน กับ การรักษาโรค”

การรักษาโรคแบบแผนปัจจุบัน  ให้น้ำหนักที่การรักษาโรค

โดยทั่วไปให้ความสำคัญกับการรักษาโรคเมื่อมีอาการหรือตรวจพบโรคแล้ว จัดเป็นแพทย์ชั้นล่าง เน้นรักษาโรคเป็นหลัก

— การค้นหาความผิดปกติทางพยาธิสภาพ ต้องมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ตรวจวัดได้ มองเห็นได้ ถ้าตรวจไม่พบก็ไม่เป็นโรค เยียวยาตามอาการ เช่น คนที่ตรวจพบก้อนที่เต้านม มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม แต่ทำการตรวจ Mammogram แล้วยังไม่มีหลักฐานว่าจะเป็นมะเร็งก็ให้ติดตามตรวจซ้ำทุก  6 เดือน

— การศึกษาค้นคว้า การเปลี่ยนแปลงของสารชีวเคมี ในโรคต่างๆ ที่มีอาการแสดงออกหลายๆ อย่าง มักควบคุมด้วยยาเคมีเพื่อยับยั้งสารชีวเคมีที่ผิดปกติของร่างกาย ทำให้อาการของโรคทุเลาลงได้ ยาเคมีมุ่งเน้นผลในการแก้ไขอาการมากกว่ารักษาที่ต้นเหตุ

— การวินิจฉัยโรค มักเน้นความผิดปกติเฉพาะที่ ตามพยาธิสภาพหรือการทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ขาดการเชื่อมโยงของอาการต่างๆว่ามีความสัมพันธ์กัน

— การรักษา เมื่อวินิจฉัยโรคได้แล้ว ก็จะมีมาตรฐานการรักษาที่แน่นอน ถ้ามีหลายโรค มักจะแยกส่วนให้หมอผู้เชี่ยวชาญแต่ละโรครักษาร่วมกันไป เกิดแนวโน้มของการแยกส่วนการรักษา และการใช้ยาปริมาณมาก หลายหมอหลายยา ซึ่งมักจะเกิดผลข้างเคียงและปฏิกิริยาต่อกันของยา และเพิ่มการทำงานของตับและไตในการขับยาออกจากร่างกาย บางรายทำให้ตับไตวายตามมาในระยะยาว

— แพทย์แผนปัจจุบันมองสาเหตุของการเกิดโรคมาจากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก (หรือถ้าเป็นปัจจัยภายในก็มักมาจากพื้นฐานทางกรรมพันธุ์มีส่วน)  เช่น ภูมิแพ้อากาศ ทดสอบว่าแพ้จากสิ่งกระตุ้นอะไร แล้วสร้างภูมิโดยการกระตุ้นสิ่งที่แพ้ขนาดต่ำๆเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา หรือ โรคไมเกรน มองว่ามีหลายปัจจัยในแต่ละคนไม่เหมือนกัน สุดท้ายพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเหล่านั้น ไม่มีมาตรการปรับสมดุลซึ่งเป็นสาเหตุภายในของร่างกายเอง

ความจริง ความพยายามรักษาโรคเมื่อค้นพบโรคแล้ว มีความจำเป็น แต่จะเพิ่มความยากลำบากแก่แพทย์ในการรักษา รวมถึงมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ผู้ป่วยที่พบว่าเป็นมะเร็งแล้ว การเริ่มทำการรักษาโดยทั่วไปยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร แม้ว่าปัจจุบันจะพยายามทำให้อัตราการมีชีวิตใน 5  ปีสูงขึ้น แต่ในที่สุดมะเร็งจะฟื้นกลับมาและกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ นี่ยังไม่รวมถึงคุณภาพชีวิตที่แย่ลงและผลกระทบต่างๆทางร่างกายจิตใจและสังคมที่ตามมา

 

การรักษาแบบแพทย์แผนจีน  ให้น้ำหนักที่การรักษาคน

โดยให้ความสำคัญกับการวินิจฉัยสภาพร่างกายและปัจจัยก่อโรค เพื่อมุ่งเน้นการปรับสภาพร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถทำงานเหมือนปกติ ให้ปรับสมดุลร่างกายในการรักษาตัวเอง คือการรักษาคน จัดเป็น แพทย์ระดับกลางรักษาคน

— การซักประวัติ ตรวจร่างกาย ด้วยเทคนิคการมอง ถาม (ดม) ฟัง สัมผัสจับชีพจร เพื่อหาข้อสรุปถึงสภาพร่างกาย และปัจจัยก่อโรค

— การวินิจฉัยสภาพร่างกายและปัจจัยก่อโรคที่ดำรงอยู่ เรียกว่า การเปี้ยนเจิ้ง (辨证) บ่งบอกถึงภาวะความพร่องแกร่งของร่างกาย อวัยวะต่างๆ และสิ่งก่อโรค ภาวะร้อน-เย็น ตำแหน่งความลึกของการเกิดโรค

— ให้ความสำคัญกับสาเหตุที่เกิดโรคจากภายในเป็นหลัก สาเหตุที่เกิดโรคจากภายนอกเป็นรอง ให้ความสำคัญของร่างกายภายในและภาวะจิตใจควบคู่กันไป

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *