เคยกล่าวมาตลอดว่า การดูแลสุขภาพต้องให้การดูแลแบบองค์รวม ไม่เน้นดูแลอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง จนลืมดูแลส่วนอื่นๆในร่างกายไป วันนี้เราจะมาเรียนรู้การดูแลอวัยวะตับ ไต หัวใจ ม้าม และปอด โดยเฉพาะเรื่องอาหาร ไปดูกันว่าอาหารและการดูแลอวัยวะแต่ละส่วนนั้น มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
อาหารและการดูแลอวัยวะตับ
- การนอนหลับกลางคืนต้องหลับสนิท โดยเฉพาะช่วง 1.00-3.00 น.
- กินผักผลไม้สีเขียว สีเขียวเข้าอวัยวะตับ ขับพิษขับร้อนในตับ เช่น มะนาว ส้มโอ
- กินผักผลไม้สีเขียว สีเขียวเข้าอวัยวะตับ ขับพิษขับร้อนในตับ เช่น มะนาว ส้มโอ
- เคี้ยวเก่ากี้หรือชงน้ำเก่ากี้ ดื่มเป็นประจำ ช่วยบำรุงตับและขับสารพิษ
- กดจุดไท่ชง(太冲穴) บ่อยๆ ครั้งละ 3-5 นาที
- การร้องไห้ ระบายพิษของตับ(ตับเปิดทวารที่ตา) เป็นการไห้ช่วยระบายความเครียดทางอารมณ์
อาหารและการดูแลอวัยวะหัวใจ
- ดีบัว-ขับพิษร้อนหัวใจ
ใช้ดีบัว 10 กรัม ใบไผ่ 1 กำมือ ใส่ชะเอมเทศ 5-6 แผ่น ต้มดื่ม
- ช่วงเวลา 11.00-13.00 น.พลังวิ่งในเส้นลมปราณหัวใจสูงสุด หลับงีบสั้นๆ ไม่เกิน ครึ่งชั่วโมงหรือสงบอารมณ์ ทำสมาธิ ปล่อยวางจิตใจ
- กดจุดซ่าวฝู่ (少府穴) ระบายความร้อนของหัวใจ
อาหารและการดูแลอวัยวะม้าม
- น้ำส้มสายชูจีนหมักนานๆ (老陈醋) เป็นอาหารต้านพิษ “抗毒食品”
กระตุ้นน้ำลายและน้ำย่อย ช่วยการย่อยและดูดซึมของอาหาร ฆ่าเชื้อและพิษในทางเดินอาหาร ทำให้หลอดเลือดนุ่มยืดหยุ่น ลดไขมันในเลือด 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอุ่น 1 แก้ว ดื่มหลังมื้อเที่ยงและมื้อเย็น
- นวดท้อง腹部按摩
นวดท้องวนรอบสะดือตามเข็มนาฬิกา 50 ครั้ง ทวนเข็มนาฬิกา 50 ครั้งช่วงเช้าและก่อนนอน
- ช่วงเวลา 07.00-09.00 น.พลังวิ่งในเส้นลมปราณกระเพาะอาหารสูงสุด
ต้องรับประทานอาหารเช้า
- ใบชา ขับพิษขับร้อน ช่วยขจัดอาหารตกค้าง ลดไขมันในเลือด ถนอมผิวพรรณ ลดการอักเสบ บำรุงสายตา ฯลฯ
- สมุนไพรจีน ฝูหลิง(茯苓) ซานเย่า (山药) ลูกเดือย(薏苡仁) ใช้ขับชื้น บำรุงม้าม
- กระตุ้นจุดซางชิว (商丘穴)กระตุ้นการขับพิษ
- จู๋ซานหลี่ (足三里) กระตุ้นการการทำงานระบบย่อยอาหาร
อาหารและการดูแลอวัยวะปอด
- ช่วงเวลา ๓.๐๐-๕.๐๐ น.พลังวิ่งในเส้นลมปราณปอดสูงสุด
- ควรนอนหลับให้สนิทต่อเนื่องไม่ลุกขึ้นมาออกกำลังกายในช่วงเวลานี้
- ถ้าลุกขึ้นปัสสาวะต้องค่อยลุกขึ้นช้าๆ เพราะเป็นช่วงพลังลมปราณเริ่มส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจ
- อาหารบำรุงปอด- เห็ดหูหนูขาว สมุนไพรไป่เหอ(百合)หรือหัวหน่อลิลลี่ ช่วยทำให้ปอดไม่แห้ง เพิ่มความชุ่มชื้นให้ปอด
- หัวไช่เท้า รสเผ็ดเข้าปอด ช่วยการขับถ่ายของลำไส้
- จุดเหอกู่(合谷穴) เป็นจุดระบายความร้อนของลำไส้ใหญ่ สามารถส่งผลต่อการขับความร้อนของปอด
อาหารและการดูแลอวัยวะไต
- ฝักเขียว (冬瓜) ช่วยระบายความร้อนออกทางปัสสาวะ สมุนไพรซานเย่า (山药) มีฤทธิ์กลางๆ ช่วยบำรุงตับ ม้าม ไต
- การดื่มน้ำให้เพียงพอ
- ตื่นนอน ดื่มน้ำอุ่น 1 แก้ว 240 ซีซี (5-7 น. ผ่านเส้นลมปราณ ลำไส้ใหญ่)
- เที่ยง ดื่มน้ำให้พอ ลดความหนืดเลือด (11-13 น. ผ่านเส้นลมปราณ หัวใจ)
- ดื่มน้ำช่วยการทำงานของไตในการขับปัสสาวะ(17-19 น. ผ่านเส้นลมปราณ ไต)
- ช่วงเวลา 17.00-19.00 น ห้ามมีเพศสัมพันธ์หรือหลั่งน้ำกามในช่วงนี้ เวลานี้เพราะช่วงสำคัญการเก็บสะสมสารจิงพลังไต จะทำให้ร่างกายทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว
- นวดจุดหย่งเฉวียน(涌泉穴) บริเวณฝ่าเท้า เป็นจุดเริ่มต้นของเส้นลมปราณไต การนวดกดร่วมกับแช่เท้าด้วยน้ำร้อนที่จุดดังกล่าวบ่อยๆ จะช่วยทำให้ไตทำงานดีขึ้น