“น้ำ ยินหยาง” กับแพทย์แผนจีน

น้ำ เป็นยินแต่ซ่อนเร้นความเป็นหยางอยู่ภายใน” มีคำกล่าวว่าน้ำนิ่งไหลลึก แม้ว่าน้ำเป็นภาวะยิน ดูภายนอกหยุดนิ่ง แต่น้ำก็มีการเคลื่อนไหวไหลเวียนอยู่ภายใน  คือ การซ่อนเร้นของพลังหยางที่ขับเคลื่อนอยู่ภายใน 

การไหลของน้ำ การระเหยของไอน้ำ การเกิดฟ้าผ่าท่ามกลางฝนที่ตกลงมา คือสิ่งแสดงออกของพลังหยางในปริมาณต่างๆ ที่อยู่ในยิน เช่นเดียวกับเหล้า, น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นของเหลวที่มีพลังหยางสะสมอยู่ภายใน ในเงื่อนไขหนึ่ง  มันสามารถปลดปล่อยพลังออกมาให้เห็นในรูปแบบต่างๆ

น้ำ แม้จะอ่อนนุ่ม สงบจากภายนอกแต่ก็มีพลังที่เคลื่อนไหวภายใน  เช่นเดียวกับคนที่อ่อนน้อม ลุ่มลึก สุขุม แต่ครุ่นคิด  จึงเป็นคนที่รอบคอบ และน่าเกรงขามกว่าคนที่ดูภายนอกเป็นหยาง  บุ่มบ่าม มุทะลุ เพราะแสดงอย่างตรงไปตรงมา เข้าใจความรู้สึกง่าย

“น้ำ “มีความสำคัญต่อชีวิต เป็นแหล่งแปรเปลี่ยนของสรรพสิ่ง 为万物之

ปรมจารย์แพทย์จีน  หลี่สือเจิน ได้กล่าวไว้ใน คัมภีร์ “เปิ่นเฉ่ากังมู่” 本草纲目ถึงบทบาทของน้ำต่อชีวิต ไว้ว่า “น้ำเป็นแหล่งแปรเปลี่ยนของสรรพสิ่ง ดินเป็นแม่ผู้ให้กำเนิดสรรพสิ่ง”  水为万物之源,土为万物之母 หมายความว่า  การเคลื่อนไหว ลำเลียงอาหาร เลือด ต้องอาศัยน้ำเป็นตัวนำพา  ส่วนการเจริญเติบโตของร่างกายก็ต้องอาศัย แร่ธาตุและอาหารจากดินเป็นส่วนที่มาบำรุงเลี้ยง

แพทย์แผนจีนเชื่อว่า สุขภาพและอุปนิสัยของคน มีส่วนสำคัญจากสภาพแหล่งน้ำที่บริโภคและอาหารในแต่ละท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีการแบ่งรายละเอียดของน้ำออกเป็น 43 ชนิด  ซึ่งโดยหลักใหญ่ๆ คือการแยกภาวะของยินหยางของน้ำแต่ละชนิด เช่น น้ำที่ละลายจากหิมะ, น้ำจากต้นไม้ใบไม้ที่อยู่ในโพรงไม้, น้ำที่อยู่ในที่สูง  กับน้ำที่ไหลมาสู่พื้นราบ ล้วนมีคุณสมบัติ ยินหยางต่างกัน ซึ่งคนโบราณจะใช้น้ำที่ไหลสู่พื้นดิน มีภาวะเป็นยินมาทำการต้มให้ร้อน ทำให้มีภาวะหยางใช้ดื่มหรือต้มยารับประทาน

แม้น้ำจะมีคุณประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ แต่ก็มีข้อควรระวังในการใช้นะครับ