มะเร็งรังไข่ กับอาหารสมุนไพรจีน

มะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer) เป็นมะเร็งพบบ่อยทั่วโลกรวมทั้งในผู้หญิงไทย (เป็น 1 ใน 10 โรคมะเร็งพบบ่อย) โดยทั่วไปพบได้ทั้งในเด็กโตและในผู้ใหญ่

ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง

ความผิดปกติทางพันธุกรรม โอกาสพบโรคได้สูงขึ้นในคนมีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งรังไข่  โรคมะเร็งเต้านม และ/หรือโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่  มักพบโรคในอายุ 50 ปีขึ้นไป พบโรคในคนอ้วนสูงกว่าในคนผอม  โอกาสพบโรคนี้ได้สูงในคนมีประจำเดือนเร็วคือ อายุต่ำกว่า 12 ปี หรือหมดประจำเดือนช้าคือช้ากว่าอายุ 55 ปี หรือมีประวัติจากใช้ยากระตุ้นการตกไข่ ในการรักษาภาวะมีบุตรยากหรือจากใช้ยาฮอร์โมนเพศชดเชยในช่วงวัยหมดประจำเดือน

จากสถิติพบว่าส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งรังไข่มักเป็นระยะที่ 3มากที่สุด นั่นหมายถึง การตรวจพบหรือจะได้รับการรักษามักอยู่ในระยะลุกลาม  เพราะเริ่มต้นจะ มีอาการอาจมีแค่ท้องอืดเสียด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องโตขึ้น ซึ่งอาการเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่คิดว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ทำให้รักษาผิดทางมาตลอด

การวินิจฉัยโรคมะเร็งรังไข่ ต้องทำการตรวจภายในและตรวจร่างกายอย่างละเอียด ซึ่งมักคลำพบก้อนที่ปีกมดลูกส่วนใหญ่  ตรวจเพิ่มเติมด้วยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง(Ultrasound )  บางกรณีที่ต้องการประเมินมีการลุกลามไปอวัยวะส่วนอื่นในช่องท้องว่ามากน้อยเพียงใด อาจมีการส่งตรวจที่ละเอียดยิ่งขึ้น เช่น การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ CT หรือ MRI  รวมถึงการเจาะเลือดหาค่าบ่งมะเร็ง ( tumor marker)เพื่อช่วยในการวินิจฉัยและตรวจติดตามผลการรักษา การรักษาเน้นการผ่าตัด ฉายแสงและเคมีบำบัดตามระยะของโรคและสภาพความเป็นจริงของผู้ป่วย

โรคมะเร็งรังไข่ในทัศนะแพทย์แผนจีน

เกิดจากความเสียสมดุลของภาวะร้อนเย็น และพลังของอวัยวะภายในพร่อง การย่อยสลายดูดซึมอาหารและน้ำไม่สมบูรณ์ เกิดสะสมตัวเป็นก้อน“症者寒温失节,致脏腑之气虚弱,而食饮不消,聚结在内”การป้องกันรักษาจึงเน้นไปที่การขับความชื้น ความร้อน พิษ เสมหะ(การเกาะแน่นของความชื้น) เลือดติดขัด ร่วมกับการปรับสมดุลเลือด พลัง ยิน หยางในร่างกาย คือมีทั้งด้านการขจัดปัจจัยก่อโรค ที่ทำให้เกิดก้อนและการปรับการทำงานของอวัยวะภายในควบคู่กัน  ปัจจุบันมักใช้รักษาควบคู่กันกับการรักษาแบบแผนปัจจุบัน

อาหารป้องกัน มะเร็งรังไข่

เนื่องจากสาเหตุโรคมะเร็งรังไข่ไม่แน่ชัด นอกจากปัญหาทางกรรมพันธุ์แล้ว ยังเกี่ยวข้องกับวัยใกล้หมดประจำเดือนและการกระตุ้นจากฮอร์โมน นอกจากนั้น อาหารที่รับประทานจะต้อง ย่อยและ ดูดซึมง่ายไม่เหนียวเหนอะ อาหารมันที่มีนมเนย อาหารที่มีสรรพคุณในการขับพิษ ขับชื้น  ลดการตกค้างสะสมตัวเป็นก้อน  และต้องเน้นอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน เสริมบำรุงม้ามและไต  ได้แก่ พวกผักสด  ผลไม้  เห็ดหอม เห็นหูหนูขาว สาหร่ายทะเล  สาหร่ายสีม่วง(จี๋ฉ่าย-ใส่แกงจืด) มะเขือยาว ถั่วดำ ฯลฯ

ตัวอย่างอาหารป้องกันมะเร็งรังไข่

1.สาหร่ายทะเล  สาหร่ายสีม่วง (海带紫菜)

ผู้ป่วยมะเร็งมักมีภาวะเลือดเป็นกรด  อาหารประเภทสาหร่าย มีส่วนประกอบ ไอโอดีน  แคลเซียม สามารถไปปรับสมดุลความเป็นกรดด่างของเลือด และการปรับสมดุลของฮอร์โมนเอสตเจน

2.มะเขือยาว (茄子)

มีฤทธิ์เย็น รสหวาน เข้าส้นลมปราณม้าม กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ มีสรรพคุณขับร้อน ขับพิษ หยุดเลือด แก้ปวด  อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย  โดยเฉพาะ มะเขือยาวสีม่วงมีวิตามินพี (P)หรือ  ไบโอฟลาโวนอยด์(Bioflavonoids) ปริมาณมาก ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือดป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว  และช่วยยับยั้งการดูดซึมของคอเลสเตอรอลผ่านผนังลำไส้

**มะเขือยาว มีความสามารถในการดูดซับน้ำมัน  การทอดก็จะทำให้มะเขือยาวดูดซับน้ำมันเอาไว้ จึงควรใช้วิธีอบหรือนึ่งแทน

3.ถั่วดำ(黑豆)

มีฤทธิ์กลาง รสหวาน เข้าส้นลมปราณม้าม ไต สรรพคุณ ใช้ขับปัสสาวะ ลดบวม ขับพิษ เสริมยิน บำรุงไต มีสรรพคุณปรับฮอร์โมนเพศ เป็นอาหารชั้นดีในการใช้บำรุงรักษามดลูก  เต้านมเ ส้นผมของสตรี     นอกจากนี้ถั่วดำมีสารที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โปรติเอส ซึ่งช่วยป้องกันและลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งได้

ตัอย่างตำรับอาหารสมุนไพรป้องกันมะเร็งรังไข่

ซุปถั่วดำ(黑豆汤)

ใช้ถั่วดำ(黑豆) 250 กรัม เติมน้ำพอประมาณ ใช้ไฟอ่อนต้มนานๆจนน้ำข้น  ดื่มน้ำซุปบ่อยๆ สรรพคุณ บำรุงม้ามขัความชื้น บำรุงพลังส่วนกลาง  ลดบวม (本方取黑豆补脾利湿、调中下气之功, 用于脚气水肿) ขับพิษ บำรุงไต ปรับฮอร์โมน