เรื่องของ หัวใจ ในทัศนะแพทย์จีน

ในความหมายของแพทย์จีนมีศัพท์และความเข้าใจที่ไม่ตรงกันหลายเรื่องเวลาหมอจีนอธิบายโรคให้กับคนไข้ฟัง รู้สึกแปลกๆ ยิ่งถ้าคนไข้หรือแพทย์แผนปัจจุบันที่ไม่เข้าใจความหมายอาจตีความหมายผิดๆ ตัวอย่างเช่น

– เลือดของหัวใจไม่พอ ทำให้ใจสั่น นอนไม่หลับ ฝันมาก ลืมง่าย ความคิดเชื่องช้า ไม่มีชีวิตชีวา
– ไฟหัวใจร้อนสู่เบื้องบน ทำให้ปลายลิ้นแดงอักเสบ มีแผลที่ลิ้น
– พลังหัวใจอ่อนแอ ทำให้เลือดอุดกั้น
– เหงื่อออกมาก เพราะหัวใจมีปัญหา เป็นต้น

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า ” หัวใจ ” หรืออวัยวะภายใน เช่น ตับ ปอด ม้าม ไต ในความหมายแพทย์จีนไม่ได้มีความหมาย ถึงตัวอวัยวะภายในตามวิชากายวิภาคเพียงอย่างเดียว แต่ครอบคลุมถึงหน้าที่การงานหรือคุณสมบัติทางสรีรวิทยาเป็นสำคัญและไม่ได้หมายถึงเฉพาะตัวอวัยวะนั้นๆ แต่บางครั้งไป คาบเกี่ยวกับระบบหรืออวัยวะอื่นๆ ด้วย
ต่อไปจะกล่าวถึงอวัยวะภาย ใน ” หัวใจ ” ในความหมายของแพทย์จีน


1. หัวใจควบคุมหลอดเลือด หรือกำหนดชีพจร
หมายถึงระบบไหลเวียนเลือดในความหมายแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งครอบคลุมถึงตัวหัวใจ หลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำและหลอดเลือดฝอย เมื่อหัวใจบีบตัว เลือดที่อยู่ในหัวใจจะถูกผลัก ดันไปตามหลอดเลือดแดง เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย แขน ขา ศีรษะ ลำตัว อวัยวะภายใน (จั้งฝู่ = ตันและกลวง) รวมทั้งตัวหัวใจด้วย โดยผ่านส่วนปลายเล็กสุดของหลอดเลือด คือหลอดเลือด ฝอยแล้วย้อนกลับผ่านมาทางหลอดเลือดดำ เพื่อกลับสู่หัวใจเป็นระบบวงจรปิดของการไหลเวียนของเลือด
หัวใจจึงเปรียบเสมือนเครื่องสูบและปั๊มน้ำที่คอยรับน้ำเลือดเข้าและส่งเลือดออกไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย


2.ความมีชีวิตชีวาของหัวใจ ปรากฏให้เห็นบนใบหน้า 
ถ้าพลังการหดตัวของหัวใจดี การไหลเวียนของเลือดไปยังส่วนต่างๆ เพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายก็ดีด้วย ใบหน้าเป็นบริเวณที่เลือด ไปหล่อเลี้ยงมาก และเป็นส่วนที่เห็นได้ชัดเจน ความมีน้ำมีนวล ความมีชีวิตชีวาจึงปรากฏให้เห็นได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น
ถ้าพลังการหดตัวของหัวใจไม่ดี (แพทย์จีน=พลังหัวใจพร่อง) จะเกิดภาวะช็อก กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การเต้นของชีพจรก็จะมีขนาดเล็กลึก อ่อนแรง ใบหน้าจะขาวซีด ไม่มีชีวิตชีวา หรือถ้าเป็นเพราะหลอดเลือดอุดกั้นติดขัด เนื่องจากเลือดไหลไม่คล่องจะเกิดภาวะช็อก หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ใบหน้าจะปรากฏสีม่วงคล้ำ ม่วงเขียว ชีพจรจะขาดหายเป็นช่วงๆ 


3. หัวใจกำหนดลักษณะการเต้น บริเวณยอดหัวใจตำแหน่งยอดหัวใจอยู่ใต้ราวนมด้านซ้าย บริเวณหน้าอก ถ้าดูตำแหน่งยอดหัวใจ และการสัมผัสด้วยปลายนิ้วบริเวณยอดหัวใจบ่งบอกภาวะของหัวใจได้
– ชีพจรยอดหัวใจต้องไม่แน่น นุ่มนวลแต่ไม่รีบเร่ง (หมายถึงต้องไม่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ ความ ถี่ ๖๐-๘๐ ครั้ง/นาที ยามปกติมีจังหวะ ที่แน่นอน)
 ชีพจรยอดหัวใจเบาคลำไม่ชัดเจน แสดงว่า พลังจงชี่พร่อง (พลังที่เกิดจากอาหารที่กินรวมกับพลังจากอากาศออกซิเจนที่

ปอดแล้วส่งไปยังหัวใจ) หมายถึง พลังบีบตัวของหัวใจลดลง แรงบีบตัวอ่อน
ถ้าการเต้นของยอดหัวใจหยุดหรือนิ่งแสดงว่าจงชี่สิ้นสุด หมายถึงความตาย

4. หัวใจกำหนดความมีสติ- ความรู้สึกตัว-จิตอารมณ์- ความคิด
หมายถึงระบบสมองและประสาท (แพทย์แผนปัจจุบัน) เนื่องจากการทำ งานของสมองและประสาทแยกไม่ออกจากการหล่อเลี้ยงของเลือด ถ้าเลือดไม่เพียงพอสมอง ไขสันหลังก็จะขาดออกซิเจนทำให้ทำงานผิดปกติ ถ้าการขาดออกซิเจนปริมาณน้อย เรียกว่า เลือดหัวใจไม่พอ จะมีอาการใจสั่น นอนไม่หลับ ฝันบ่อย ความจำเสื่อม ลืมง่าย ความคิดอ่านเชื่องช้า ไม่มีชีวิตชีวา คืออาการโรคประสาทอ่อนล้า ถ้าเลือดหัวใจพร่องมากหรือมีการอุดกั้น จะทำให้ขาดออกซิเจนรุนแรงของสมอง ทำให้ช็อก หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย ทำให้หมดสติ ไม่รู้สึกตัว


5. หัวใจเปิดทวารที่ลิ้น ลิ้นเป็นภาพภายนอกของหัวใจ โรคของหัวใจสามารถดูได้จากการเคลื่อนไหวของลิ้น สีของลิ้น

– เลือดพร่อง (โรคเลือดจางชนิดต่างๆ) จะทำให้ตัวลิ้นสีขาวซีด

– เลือดร้อน (โรคต่างๆ ที่เกิดจากความร้อน ทั้งจากภายนอก และภายใน) ลิ้นจะมีสีแดงจัด

– ไฟหัวใจร้อนสู่เบื้องบน จะพบมีปลายลิ้นแดง หรือตัวลิ้นมีแผลเน่าเปื่อย)
– เลือดอุดกั้นภายใน (พลังหัวใจอ่อน ภาวะมีเลือดออกภายใน) หรือการไหลเวียนเลือดไม่คล่อง ลิ้นจะมีสีม่วงคล้ำ มีจ้ำเลือดหรือจุดเลือดบนลิ้น)
– ความร้อนเข้าเยื่อหุ้มหัวใจ หรือ เสมหะอุดกั้นทวารหัวใจ (หลอดเลือดสมองอุดกั้น ลมแดด ไข้สูงชัก) จะพบอาการลิ้นแข็ง พูดไม่คล่อง หมดสติ ชัก

6. หัวใจกำหนดเหงื่อเนื่องจากเหงื่อมีหน้าที่ปรับอุณหภูมิของร่างกาย เพราะร่างกายจะทำ งานได้ดีต้องอยู่ที่ ๓๗ องศาเซลเซียส (สัตว์เลือดอุ่น)ถ้าร่างกายร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไป ร่างกาย จะอาศัยการขับเหงื่อเป็นกลไกหนึ่ง ในการปรับอุณหภูมิ กลไกการขับ เหงื่อขึ้นกับระบบประสาทอัตโนมัติ และสมองส่วนไฮโปทาลามัส ซึ่งมีผลต่อการหดและขยายตัวของหลอดเลือด และการขับเหงื่อ ผิวหนังคนมีต่อมเหงื่อประมาณ ๒๐๕ ล้านต่อม ควบคุมโดยระบบ ประสาทอัตโนมัติ ถ้าปริมาณเลือด และอุณหภูมิผิวหนังเพิ่มขึ้น ระบบ ประสาทจะส่งสัญญาณไปที่สมองส่วนไฮโปทาลามัสทำให้กระตุ้นการหลั่งเหงื่อมากขึ้น เพื่อระบายความร้อนของร่างกาย
ความสัมพันธ์ของระบบประสาทกับเหงื่อ แพทย์จีนเรียกว่า “ เหงื่อเป็นสารน้ำของหัวใจ”  ในขณะเดียวกันการ เสียเหงื่อปริมาณมากจะกระทบปริมาณเลือดของร่างกายด้วย เพราะทำให้น้ำจากหลอดเลือดหัวใจลดลง เพื่อเข้าไปชดเชยน้ำในเนื้อเยื่อที่สูญเสียไป แพทย์จีนเรียกว่า “ เลือดและเหงื่อมีแหล่งกำเนิดเดียวกัน” 
ด้วยเหตุนี้ คนที่มีเลือดพร่อง จึงไม่ควรใช้วิธีขับเหงื่อ และคนที่เหงื่อออกมากไม่เหมาะที่จะใช้ยาที่สลาย หรือทำลายเลือด

สรุปอวัยวะ ” หัวใจ “ ในความหมายของแพทย์แผนจีนได้ครอบคลุมหน้าที่หัวใจ ระบบไหลเวียนเลือด (หลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ หลอดเลือดฝอย) ระบบประสาทสมองและไขสันหลัง (สติ ความรู้สึกตัว ความคิดอ่าน อารมณ์ ความจำ) ระบบประสาทอัตโนมัติ การควบคุมเหงื่อสามารถบ่งบอก ความแข็งแรงของหัวใจ จากเลือดที่สูบฉีดไปเลี้ยงบริเวณใบหน้า การเต้นของยอดหัวใจ ชีพจรที่สัมผัสได้ หรือบ่งบอกพยาธิสภาพของหัวใจที่แสดงออกที่ลิ้น (หัวใจเปิด ทวารที่ลิ้น) หัวใจในความหมาย แพทย์จีนจึงมีความหมายในเชิงสรีระ การทำงานมากกว่าเรื่องของอวัยวะหัวใจล้วนๆ ในความหมาย แพทย์สมัยใหม่ด้วยประการฉะนี้แล