แพทย์แผนจีนมองภาวะเวียนศีรษะ – บ้านหมุน ในภาพรวม เกี่ยวข้องกับสภาพร่างกายพื้นฐานของผู้ป่วยแต่ละรายและสิ่งก่อโรค โดยหลักการวินิจฉัยแยกแยะกลุ่มอาการ (เปี้ยนเจิ้ง 辨证) กล่าวคือ วิเคราะห์การไหลเวียนของเส้นลมปราณและสภาพร่างกาย รวมถึงปัจจัยก่อโรคที่มากระทำให้เกิดโรคเป็นสำคัญ
อาการเวียนศีรษะ-บ้านหมุน หรือเสวียน-ยวิน (眩晕) หมายถึง อาการตาลาย บ้านหมุน ถ้าอาการไม่รุนแรงปิดตาอาการจะดีขึ้น ถ้าอาการรุนแรง จะมีอาการหมุนโคลงเคลงเหมือนนั่งในรถในเรือ ไม่สามารถลุกยืนได้ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก หน้าขาวซีด ร่วมด้วย
แพทย์แผนจีนมีการกล่าวถึงอาการเวียนศีรษะจากปัจจัยและกลไกต่างๆ เช่น
– อาการเวียนศีรษะ คือ ลมที่อยู่ส่วนบน เกี่ยวข้องกับอวัยวะตับ
– อาการเวียนศีรษะ คือ ภาวะพร่องส่วนบน พลังขึ้นไปสมองไม่พอ
– อาการเวียนศีรษะ เพราะไตพร่องการสร้าง ไขสมองน้อยลง
– อาการเวียนศีรษะ เกิดจากเสมหะปิดกั้น ด้านบน
– ลิ่วหยิน (六淫) ปัจจัยก่อโรคจากภายนอก มากระทบ
– การแปรปรวนทางอารมณ์ทั้ง 7 ทำให้เกิด อาการเวียนศีรษะ
– เสมหะร่วมกับไฟ เสมหะชื้นปิดกั้นส่วนบน
– ไม่มีลมไม่เกิดเวียนศีรษะ (无风不作眩)
– ไม่มีเสมหะไม่เกิดเวียนศีรษะ (无痰不作眩)
– ไม่มีพร่องไม่เกิดเวียนศีรษะ (无虚不作眩)
สำหรับสาเหตุแห่งโรค มาจากสภาพร่างกายและสิ่งก่อโรค แบ่งเป็น ภาวะแกร่งและภาวะพร่อง
1. ภาวะพร่อง เกิดจากอวัยวะภายในพร่อง เป็นด้านหลักของการเกิดโรค ได้แก่
– อวัยวะตับ ไต ม้าม พร่องหรืออ่อนแอ
– ภาวะสมดุล ยิน หยาง เลือด และพลัง
2. ภาวะแกร่ง เกิดจากปัจจัยก่อโรคเป็นด้านหลัก
– “ลม” ได้แก่ ลมภายใน ลมที่อยู่ด้านบนทำให้เวียนศีรษะพลังตับมากเกินเกิดลม
– “เสมหะ” (เสมหะชื้น เสมหะร้อน) ภาวะไขมัน ในเลือดสูง
– “ความชื้น” ปัญหาระบบย่อยอาหารดูดซึม ไม่ดีมีของเหลวตกค้าง
– “เลือดอุดกั้น” จากพื้นฐานร่างกาย หรืออุบัติเหตุ
3. ภาวะพร่อง – แกร่งร่วมกัน
– ร่างกายอ่อนแอเรื้อรัง มีช่วงระยะที่อาการทุเลา บางรายมีเสียงดังในหูเหมือนเสียง จิ้งหรีด เป็นภาวะพร่อง
– ร่างกายแข็งแรง โรคเพิ่งเกิดช่วงระยะที่ อาการกำเริบ เสียงดังทุ้ม เป็นภาวะแกร่ง
– ร่างกายมีภาวะพร่องที่เป็นผลจากภาวะ แกร่ง หรือมีภาวะแกร่งที่มาจากร่างกาย พร่อง
4. การไหลเวียนของพลังลมปราณที่ไปบริเวณหูติดขัด คือเส้นลมปราณถุงน้ำดีและซานเจียว ลำไส้เล็ก รวมถึงจุดบริเวณต้นคอท้ายทอย เพื่อปรับการไหลเวียนของเส้นลมปราณเหล่านั้นให้ไหลเวียน คล่องตัว