แพทย์แผนจีน กับการป้องกันและรักษาอาการปวด (ปี้เจิ้ง)

แพทย์แผนจีน กับการป้องกันและรักษาอาการปวด (ปี้เจิ้ง)

อาการปวด (ปี้เจิ้ง) เกิดจากลมชื้นความเย็นหรือร้อน ทำให้เกิดการปิดกั้น ดังนั้นการใช้สมุนไพรที่มีสรรพคุณดังต่อไปนี้ จะสามารถช่วยขับลมชื้นที่อยู่ในกล้ามเนื้อ เส้นลมปราณ เอ็นกระดูกและข้อต่อกระดูก 

รสเผ็ด     :               ขับกระจายลม

รสขม      :               สลายชื้น ขับถ่ายระบาย

ฤทธิ์อุ่น :               ใช้ทะลวงกระจายความเย็น

ฤทธิ์เย็น :               ใช้ขับระบายร้อน ลดบวม

 

ประเภทยาขับลมชื้น

การประกอบตำรับยา ขึ้นอยู่กับชนิดของการปวด ระยะความยาวนานของการเกิดโรค (โรคใหม่หรือเรื้อรัง) ตำแหน่งของการเกิดโรค

— ยาขับลมชื้นกระจายความเย็น (祛风湿散寒药) ได้แก่ ตู๋หัว (独活), เว่ยหลิงเซียน (威灵仙), ชวนอู (川乌)

— ยาขับลมชื้นระบายความร้อน (祛风湿清热药) ได้แก่ ฉินเจียว (秦艽), ฝางจี่ (防己)

— ยาขับลมชื้นบำรุงเอ็นกระดูก (祛风湿强筋骨药) ได้แก่ อู่เจียผี (五加皮), ซางจี้เซิง (桑寄生), โก่วจี๋ (狗脊)

 

วิธีใช้ยาและข้อควรระวัง

ยาขับลมชื้น มีบทบาทสำคัญต่อการระงับความปวด สำหรับผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังเพื่อความสะดวกในการรับประทาน ให้ใช้ยาดองเหล้าหรือเป็นยาลูกกลอน บางกรณีอาจใช้เป็นยาภายนอก โดยใช้เป็นยาพอกตรงบริเวณที่ปวด

เนื่องจากยากลุ่มนี้ส่วนมากมีฤทธิ์แห้ง จึงง่ายต่อการทำลายสารยินและเลือดผู้ป่วย ดังนั้นคนที่ยินพร่องหรือเลือดพร่อง ต้องใช้อย่างระมัดระวัง

 

สรุป แผนปัจจุบันแบ่งอาการปวดกล้ามเนื้อ เอ็น และกระดูก เป็นประเภทตามพยาธิสภาพ ลักษณะอาการ ในการใช้ยาระงับปวดแก้อาการมักคล้ายคลึงกัน บางครั้งร่วมกับการทำกายภาพบำบัด การนวดประคบ ใช้คลื่นความร้อน ฯลฯ

แต่ทางด้านแผนจีน แบ่งประเภทปวดกล้ามเนื้อ เอ็น และกระดูก โดยพิจารณาจาก ลม ความชื้น ความร้อน และความเย็น ที่มากระทบ การป้องกันรักษาจึงเน้นการขับปัจจัยก่อโรค การปรับพลังและการทำงานของอวัยวะภายในควบคู่ไปด้วย

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *