ความสัมพันธ์ระหว่างม้ามกับตับ และม้ามกับไต
ความสัมพันธ์ระหว่างม้ามกับตับ ตับมีหน้าที่เก็บเลือด(肝藏血) กับ หน้าที่ในการขับระบาย (肝主疏泄)เป็นหน้าที่ของตับที่ตรงข้ามขัดแย้งกันและควบคุมซึ่งกันและกัน ม้ามมีหน้าที่ควบคุมการขับเคลื่อนลำเลียง(脾主运化) ควบคุมการสร้างเลือดและให้เลือดไหลเวียนอยู่ภายในหลอดเลือด(脾生血统血) อาหารที่ย่อยแล้ว ทางสรีระแผนปัจจุบันจะดูดซึมลำเลียงจากผนังลำไส้เล็กเข้าสู่หลอดเลือดดำ ไปที่ตับ ตับทำหน้าที่สะสมสารอาหารต่าง ๆ เอาไว้ใช้เมื่อร่างกายต้องการ ตับเป็นโรงงานผลิตพลังงานให้ร่างกาย โดยสลายสารอาหารให้ร่างกาย การย่อยดูดซึมลำเลียงสารอาหารที่ดี(อวัยวะม้ามทำงานดี) จะทำให้ตับสะสมวัตถุดิบหรือพลังงานสำรองไว้ใช้ได้มากพอ มีพลังขับเคลื่อนการทำงานของม้ามกระเพาะอาหาร รวมทั้งสามารถสร้างน้ำดีเพื่อใช้ช่วยการย่อยอาหารไขมัน ถ้าการระบายและการเก็บเลือดของตับ(การสะสมสารอาหารพลังงานสำรอง)ไม่ดี จะส่งผลให้การทำงานของม้ามไม่ดีด้วย การเก็บกักเลือดที่มากพอจะทำให้เกิดการระบายเลือดเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า(รวมถึงการขับน้ำดี)ได้ดี การย่อยดูดซึมก็ดีด้วย การเก็บกักเลือดน้อยทำให้การขับระบายเลือดเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า(รวมถึงการขับน้ำดี)ก็น้อย การย่อยดูดซึมก็ไม่ดี การระบายพลังตับที่น้อย(ตับอุดกั้น)ทำให้เลือดไม่ไหลเวียน การนำเลือดใหม่เข้าสู่ตับก็ลดน้อยลง การระบายเลือดเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากเกินจะทำให้การเก็บกักเลือดน้อยลงเช่นกัน ม้ามสร้างเลือด ตับเก็บเลือด ตับช่วยการย่อยดูดซึมลำเลียงของม้าม การทำงานของตับผิดปกติ จะมีอาการของทางเดินอาหารโดยเฉพาะกระเพาะอาหารและม้าม ความสัมพันธ์ระหว่าง ม้ามกับไต ม้าม เปรียบเสมือนมารดาของอวัยวะภายในทั้ง 5 (脾为五脏之母) เปรียบเสมือนเป็นทุนที่มาหลังกำเนิด (后天之本)ในขณะที่ไต เปรียบเสมือนรากฐานของร่างกาย เปรียบเสมือนเป็นทุนที่มาแต่กำเนิด(先天之本) คนโบราณใช้จุดฝังเข็ม 4 จุด ในการเพิ่มพลังม้ามและเสริมพลังไต คือ จุด จงหว่าน(中脘穴) จุดกวนหยวน(关元穴)จุดมิ่งเหมิน(命门穴)จุดจู๋ซานหลี่ (足三里) จะเห็นว่าจุดเหล่านี้อยู่บริเวณส่วนท้อง , ส่วนเท้า …