โรคทางเดินอาหาร

เปรียบเทียบการรักษา แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน

ในมุมมองของแพทย์แผนจีน ปัจจัยของการเกิดโรคที่มีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน (จั้งฝู่) โดยตรงคือปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ แพทย์แผนจีนอธิบายว่าอารมณ์ทั้ง 7 (โมโห ดีใจ กังวล เศร้าโศก เสียใจ ตกใจ กลัว) มีผลโดยตรงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการทำงานของอวัยวะภายในที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของร่างกาย เปรียบเทียบการรักษาระหว่างแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน1. ปัญหาการนอนไม่หลับผู้ป่วยบางรายเมื่อได้ยานอนหลับแบบแพทย์แผนปัจจุบัน กลับไม่หลับ แต่ถ้าให้ยานอนหลับที่แรงมาก จะหลับและเพลียตลอดทั้งวัน มึนงงทั้งวัน แพทย์แผนปัจจุบันเน้นการคลายหรือกดประสาท แต่แพทย์แผนจีนมองว่าต้องบำรุงประสาท (บำรุงพลังและเลือดของหัวใจ) ให้มีกำลังพอเป็นหลัก เสริมฤทธิ์ด้วยยาสมุนไพรจีนช่วยนอนหลับเป็นด้านรอง มีแต่การบำรุง (เพราะพลังหัวใจพร่องมาก) เป็นหลักเท่านั้นจึงทำให้หลับ ถ้ายังไปใช้วิธีการกดประสาท พลังหัวใจจะยิ่งอ่อนแอมากขึ้น ไม่สามารถแก้ปัญหาระยะยาวได้2. ปัญหาระบบย่อยอาหารแพทย์แผนปัจจุบันเน้นที่การกระตุ้นความอยากอาหาร ใช้ยาช่วยย่อยอาหารและเสริมบำรุงวิตามิน ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก กรณีโลหิตจาง แพทย์แผนจีนเน้นบำรุงระบบม้าม เพื่อทำให้ความอยากอาหาร การย่อยและดูดซึมอาหารทำงานดีขึ้น ก่อน การบำรุงด้วยธาตุเหล็กหรือวิตามิน ในขณะที่ระบบย่อยอาหารไม่ดี จะทำให้ไม่สามารถดูดซึมได้ บางรายกลับท้องเสีย ปวดท้องเนื่องจากระคายเคืองจากธาตุเหล็กที่ได้ เมื่อพลังม้ามดีขึ้น การลำเลียงอาหารไปสมองดีขึ้น สมองได้อาหารหล่อเลี้ยง จะไม่มึนงง สมาธิดีขึ้น สมองได้รับการบำรุง 3. ภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติถ้าพบว่าเกล็ดเลือดต่ำโดยไม่พบสาเหตุ ทางแพทย์แผนปัจจุบันอาจพิจารณาใช้ยาสเตียรอยด์ …

เปรียบเทียบการรักษา แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน Read More »

ไขมันพอกตับ กับการรักษาด้วย แพทย์แผนจีน

“ไขมันพอกตับ” โรคที่เกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โรคอ้วน ยา สารพิษ การขาดสารอาหาร โรคเบาหวาน โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาของตับ ทำให้มีการสะสมของไขมันที่ตับมากเกินไป ปัจจุบันแม้ว่าระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่เกิดปัญหาด้านอาหารและมาตรการการป้องกัน ทำให้อัตราการเกิดไขมันในตับยังคงเพิ่มขึ้น และพบในกลุ่มคนที่มีอายุน้อยลง ซึ่งปัจจุบันไขมันสะสมในตับเป็นโรคที่พบบ่อยจนกลายเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้คน อัตราการเกิด ไขมันพอกตับ ในประเทศจีนสูงถึง 8.4 – 12.9 % ซึ่งพบบ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ มักพบมากในผู้สูงอายุ ที่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือ 40 – 50 ปี ไขมันพอกตับ จัดว่าเป็นโรคไม่ร้ายแรงเฉกเช่นมะเร็ง มักค่อยๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยา มีอัตราถึง 25% และ 1.5 – 8% ของผู้ป่วยอาจพัฒนาไปสู่โรคตับแข็ง ซึ่งในที่สุดการทำงานของตับจะล้มเหลวจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงไม่ควรละเลยที่จะให้ความสำคัญกับอันตรายของโรคนี้ ภาวะ ไขมันพอกตับ มักจะไม่มีอาการที่เห็นได้เด่นชัด ส่วนมากมีอาการอ่อนเพลีย มักตรวจพบตอนตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลว่ามีไขมันในเลือดสูงและจากผลอัลตราซาวน์มีไขมันพอกตับ สำหรับคนที่อ้วนขึ้นเรื่อยๆ หรือคนที่อดอาหารเพื่อลดความอ้วนแต่ไม่ได้ผลยิ่งมีความจำเป็นต้องตรวจภาวะ …

ไขมันพอกตับ กับการรักษาด้วย แพทย์แผนจีน Read More »

ิวิธีบำรุงม้ามและกระเพาะอาหาร

ระบบการทำงานที่สมดุลของอวัยวะภายใน ถือเป็นปัจจัยหลักของการมีสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่งทางการแพทย์แผนจีนได้ให้ความสำคัญต่อม้ามและกระเพาะอาหารเป็นอย่างมาก โดยเชื่อว่า หลังการกำเนิดของมนุษย์ ร่างกายจำเป็นต้องได้รับสารอาหารมาหล่อเลี้ยงเพื่อให้เจริญเติบโตและดำรงชีวิต กระเพาะอาหารจะทำหน้าที่รับและย่อยอาหารจนได้สารจำเป็นในการหล่อเลี้ยงร่างกาย และม้ามจะทำหน้าที่ลำเลียงสารเหล่านี้ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ม้ามจึงถูกจัดเป็นแหล่งสร้างสารจำเป็นและต้นกำเนิดของแรงขับเคลื่อนชีวิต ดังโบราณกล่าว “ม้ามและกระเพาะอาหารเป็นรากฐานของชีวิตหลังกำเนิด” ด้วยเหตุนี้การดูแลม้ามและกระเพาะอาหารจึงจัดเป็นวิธีการดูแลสุขภาพที่สำคัญวิธีหนึ่ง ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยวิธีการ ดังต่อไปนี้ 1. การบริโภคอย่างถูกสุขลักษณะ กล่าวคือการรับประทานอาหารเป็นเวลาและในปริมาณที่เหมาะสม โดยปริมาณที่รับประทานควรอยู่ในระดับ 8 ใน 10 ส่วนจากปริมาณที่รู้สึกอิ่ม (อิ่ม 8 ใน10 ส่วน) การทำเช่นนี้จะกระตุ้นให้มีความหิวหรืออยากอาหารในมื้อต่อไป ซึ่งส่งผลต่อการกระตุ้นระบบการย่อยและดูดซึม สำหรับผู้สูงอายุควรทานอาหารในปริมาณที่น้อย แบ่งทานอาหารเป็นหลายมื้อ เพื่อลดภาระการทำงานของกระเพาะอาหารในการย่อย และทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ อีกทั้งไม่ควรรับประทานอาหารรสจัด ควรรับประทานผักและผลไม้เพื่อให้ได้รับกากใยอาหารที่เพียงพอ โดยกากใยเหล่านี้จะส่งผลให้การขับถ่ายดีขึ้น ป้องกันการท้องผูก สำหรับผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหวาน ของมัน ของทอด รสเค็ม ควรทานอาหารที่ย่อยง่าย ปรุงสุก และร้อน (อุ่น) เป็นต้น สูตรอาหารที่แนะนำในการบำรุงกระเพาะอาหาร คือข้าวฟ่าง 100 กรัม, ฟักทอง 100 กรัม, พุทราจีน 10 …

ิวิธีบำรุงม้ามและกระเพาะอาหาร Read More »

ความสัมพันธ์ระหว่างม้ามกับตับ และม้ามกับไต

ความสัมพันธ์ระหว่างม้ามกับตับ ตับมีหน้าที่เก็บเลือด(肝藏血) กับ หน้าที่ในการขับระบาย (肝主疏泄)เป็นหน้าที่ของตับที่ตรงข้ามขัดแย้งกันและควบคุมซึ่งกันและกัน ม้ามมีหน้าที่ควบคุมการขับเคลื่อนลำเลียง(脾主运化) ควบคุมการสร้างเลือดและให้เลือดไหลเวียนอยู่ภายในหลอดเลือด(脾生血统血) อาหารที่ย่อยแล้ว ทางสรีระแผนปัจจุบันจะดูดซึมลำเลียงจากผนังลำไส้เล็กเข้าสู่หลอดเลือดดำ ไปที่ตับ ตับทำหน้าที่สะสมสารอาหารต่าง ๆ เอาไว้ใช้เมื่อร่างกายต้องการ ตับเป็นโรงงานผลิตพลังงานให้ร่างกาย โดยสลายสารอาหารให้ร่างกาย การย่อยดูดซึมลำเลียงสารอาหารที่ดี(อวัยวะม้ามทำงานดี) จะทำให้ตับสะสมวัตถุดิบหรือพลังงานสำรองไว้ใช้ได้มากพอ มีพลังขับเคลื่อนการทำงานของม้ามกระเพาะอาหาร รวมทั้งสามารถสร้างน้ำดีเพื่อใช้ช่วยการย่อยอาหารไขมัน ถ้าการระบายและการเก็บเลือดของตับ(การสะสมสารอาหารพลังงานสำรอง)ไม่ดี จะส่งผลให้การทำงานของม้ามไม่ดีด้วย การเก็บกักเลือดที่มากพอจะทำให้เกิดการระบายเลือดเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า(รวมถึงการขับน้ำดี)ได้ดี การย่อยดูดซึมก็ดีด้วย การเก็บกักเลือดน้อยทำให้การขับระบายเลือดเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า(รวมถึงการขับน้ำดี)ก็น้อย การย่อยดูดซึมก็ไม่ดี การระบายพลังตับที่น้อย(ตับอุดกั้น)ทำให้เลือดไม่ไหลเวียน การนำเลือดใหม่เข้าสู่ตับก็ลดน้อยลง การระบายเลือดเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากเกินจะทำให้การเก็บกักเลือดน้อยลงเช่นกัน ม้ามสร้างเลือด ตับเก็บเลือด ตับช่วยการย่อยดูดซึมลำเลียงของม้าม การทำงานของตับผิดปกติ จะมีอาการของทางเดินอาหารโดยเฉพาะกระเพาะอาหารและม้าม ความสัมพันธ์ระหว่าง ม้ามกับไต ม้าม  เปรียบเสมือนมารดาของอวัยวะภายในทั้ง 5 (脾为五脏之母) เปรียบเสมือนเป็นทุนที่มาหลังกำเนิด (后天之本)ในขณะที่ไต เปรียบเสมือนรากฐานของร่างกาย  เปรียบเสมือนเป็นทุนที่มาแต่กำเนิด(先天之本) คนโบราณใช้จุดฝังเข็ม  4  จุด   ในการเพิ่มพลังม้ามและเสริมพลังไต   คือ จุด จงหว่าน(中脘穴)  จุดกวนหยวน(关元穴)จุดมิ่งเหมิน(命门穴)จุดจู๋ซานหลี่ (足三里) จะเห็นว่าจุดเหล่านี้อยู่บริเวณส่วนท้อง , ส่วนเท้า …

ความสัมพันธ์ระหว่างม้ามกับตับ และม้ามกับไต Read More »

ระบบย่อยและดูดซึมอาหาร ในมุมแพทย์แผนจีน

สำหรับระบบย่อยและดูดซึมอาหาร แพทย์แผนจีนให้ความสำคัญของการทำหน้าที่ร่วมกันของอวัยวะม้ามและกระเพาะอาหาร โดยกระเพาะอาหารทำหน้าที่รับและย่อยอาหารและส่งไปลำไส้เล็กเพื่อย่อยจนได้สารจำเป็น และแยกแยะอาหารที่ถูกย่อยแล้วในสิ่งที่ดี (ใช้ได้) กับสิ่งที่ข้น (ใช้ไม่ได้) ส่วนดีจะถูกส่งไปที่ม้าม ม้ามทำหน้าที่ลำเลียงสารจำเป็นนี้ไปใช้ทั่วร่างกาย ส่วนลำไส้ใหญ่ทำหน้าขับอุจจาระและควบคุมการดูดซึมกลับของน้ำ กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะที่ไม่ชอบความแห้งชอบความชื้น(恶燥喜润) ไม่ชอบร้อนชอบความเย็น(恶热喜凉) ไม่ชอบการสะสมแต่ชอบการระบายลงล่าง(恶积喜降) ตรงข้ามกับการทำหน้าที่ของม้าม หน้าที่สำคัญของกระเพาะอาหารมี 3 อย่างคือ รองรับอาหารและน้ำ (主受纳) เสมือนขุนนางที่ทำหน้าที่ดูแลเก็บกักอาหารเสบียงกัง (仓廪之官,主纳水谷) เป็นที่เก็บอาหารที่ผ่านการเคี้ยวในปาก และเดินทางผ่านหลอดอาหาร กระเพาะอาหารจึงเป็นเสมือนทะเลของน้ำและอาหารที่รับประทานเข้าไป 胃为“水谷之海”ถ้าลมปราณกระเพาะอาหารจะทำให้เก็บกักอาหารเพื่อทำการย่อยเบื้องต้นได้ดี มีความอยากอาหาร ทานอาหารได้มาก การย่อยอาหาร กระเพาะอาหารทำหน้าที่ย่อยอาหารในระดับต้นๆ (腐熟水谷) เพื่อให้มีขนาดเล็กลงแล้วส่งไปย่อยต่อที่ลำไส้เล็ก ควบคุมการไหลลงของพลังสู่ด้านล่างในการขับเคลื่อนอาหารและการขับถ่ายอุจจาระ เพื่อการย่อยที่ลำไส้เล็กและการขับถ่ายที่ลำไส้ใหญ่ เป็นการสร้างสมดุลของพลังแกนกลางของร่างกาย โดยทำงานคู่กับพลังของม้ามที่มีทิศทางขึ้นบนเพื่อส่งลำเลียงสารจำเป็นไปอวัยวะปอด ม้าม ม้ามถือเป็นต้นกำเนิดของแรงขับเคลื่อนชีวิต โบราณกล่าวว่า “ม้ามและกระเพาะอาหารเป็นรากฐานของชีวิตหลังกำเนิด” 故称脾胃为“后天之本” ทำหน้าที่ควบคุมเลือด พลังลมปราณ ม้ามเป็นธาตุดินมีความเชื่อมโยงกับกระเพาะอาหาร กล้ามเนื้อ ริมฝีปากและปาก ตำราแพทย์จีนโบราณได้บันทึกรูปร่างของม้าม มีลักษณะโค้งแบนเหมือนเคียว คล้ายกายวิภาคของตับอ่อนในแผนปัจจุบัน ม้ามในความหมายแพทย์แผนจีนมีหน้าที่ในการควบคุมเลือด สร้างน้ำย่อยในการย่อยอาหาร การดูดซึม ลำเลียงอาหาร อวัยวะม้ามจึงมีหมายถึงครอบคลุมถึงม้ามและตับอ่อน รวมถึงลำไส้เล็กด้วย …

ระบบย่อยและดูดซึมอาหาร ในมุมแพทย์แผนจีน Read More »

3 โรคที่เกี่ยวข้องกับ ทางเดินอาหาร

1. โรคกรดไหลย้อน GERD หมายถึงภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนมาในหลอดอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก บางครั้งอาจจะรู้สึกรสเปรี้ยว มีการวิจัยบางชิ้นพบว่า โรคกรดไหลย้อน ที่เกิดจากภาวะตับและกระเพาะอาหารไม่สมดุล(肝胃不和型)(ภาวะแกร่ง实证)มี 71.4 % โรคกรดไหลย้อน ที่เกิดจากภาวะพลังตับอุดกั้นม้ามพร่อง(肝郁脾虚型)(虚实夹杂证)มี 28.6% บ่งบอกว่า โรคกรดไหลย้อนทางแพทย์แผนจีน ไม่ได้มองไปที่การทำงานของกระเพาะอาหาร หรือหูรูดกระเพาะอาหารอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องกับอวัยวะตับ ถุงน้ำดีและม้ามหรือบางครั้งเกี่ยวข้องกับอวัยวะไตอีกด้วย จึงต้องปรับรักษาสมดุลไปด้วยกัน 2. เรื่องของสิว(痘痘) จมูกและบริเวณรอบๆจมูก คือ อวัยวะม้าม กระเพาะอาหาร ความร้อนชื้น (脾胃湿热证)ภายในอวัยวะดังกล่าว มักทำให้เป็นสิวบริเวณปลายจมูก สิวเป็นๆ หายๆ แห่งหนึ่งยุบอีกแห่งก็โผล่ตลอดเวลา หัวสิวสีเหลืองอักเสบเป็นหนอง หน้ามัน ปากเหม็น ขมในคอ ความอยากอาหารไม่แน่นอน อุจจาระเหนียวถ่ายไม่สุด ลิ้นแดง ฝ้าบนลิ้นเหลือง เหนียว ชีพจรตึงเร็ว สิวบริเวณรอบปาก บ่งบอกถึงกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ สิวบริเวณแก้มข้างซ้าย บ่งบอกถึงอวัยวะตับร้อน เกี่ยว ข้องกับอารมณ์ ความเครียด การสร้างเลือดและการขับพิษของร่างกาย สิวบริเวณแก้มข้างขวา บ่งบอกถึงอวัยวะปอด เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ …

3 โรคที่เกี่ยวข้องกับ ทางเดินอาหาร Read More »

“ขิง” ในทัศนะแพทย์แผนจีน

“ขิง” ในทัศนะแพทย์แผนจีน เป็นทั้งยาสมุนไพรที่ใช้บ่อยและเป็นทั้งอาหาร เครื่องปรุงรส ที่ต้องมีไว้ประจำครัวเรือนขงจื๊อ ปราชญ์จีนสมัยชุนชิว (ค.ศ.๔๗๙-ค.ศ.๕๐๐) ได้เสนอว่า “อาหารทุกมื้อไม่ควรละเลยขิง” ท่านเชื่อว่าบรรดาผักต่างๆ ขิงมีคุณค่ามากที่สุด สามารถทำให้มีชีวิตชีวา ขจัดของเสียในร่างกาย ขงจื๊อเป็นคน มณฑลซานตุง ปัจจุบันที่เมืองไหลอู๋ของซานตุง มีโรงงานผลิตเหล้าขิง ที่มีชื่อ ซึ่งแสดงถึงความเชื่อของขงจื๊อได้รับการสืบทอดต่อกันมา ซูตงปอ กวีเอกสมัยราชวงศ์ซ่ง ได้เขียนบทกวี “ตงปอจ๋อจี้” พูดถึงพระที่วัดเฉียนถางจิ้ง แห่งเมืองหางเจ่า ซึ่งมีอายุกว่า ๘๐ ปี มีใบหน้า อันอิ่มเอิบ สุขภาพแข็งแรง ได้คำตอบจากพระท่านนั้นว่า” ท่านฉันขิงมากว่า ๔๐ ปี ท่านจึงไม่แก่” ซูตงปอจึงมีความเชื่อว่าขิงคือยาอายุวัฒนะดีๆ นี่เอง ความเชื่อของคนจีนต่อขิงมีมากมาย เช่น“ เดือนสิบมีขิงคือโสมน้อยๆ นั้นเอง”” ชา ๑ แก้ว ขิง ๑ แว่น ขับลมบำรุงกระเพาะดีนักแล”” ตื่นนอน ขิง ๓ แว่น ไม่แพ้ซุปใส่โสม”” ทุกวันกินขิง ๓ แว่น ไม่ต้องรบกวนหมอสั่งยา”ความเชื่อเหล่านี้ถูกถ่ายทอดไปในหมู่ประชาชน เป็นภูมิปัญญาที่ยึดถือเป็นหลักการดูแลสุขภาพ …

“ขิง” ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

รับมือกับภาวะ “ท้องผูกเรื้อรัง”

ภาวะท้องผูก เป็นอาการที่พบบ่อยในชีวิตประจำวัน มีหลายสาเหตุ การใช้ยาระบายหรือยาถ่าย ต้องระมัดระวังในผู้ป่วยที่ท้องผูกจากภาวะการอักเสบในช่องท้อง หรือกระเพาะ หรือลำไส้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ไทฟอยด์ ลำไส้อักเสบ รวมทั้งกรณีที่มีการอุดตันของลำไส้ ลำไส้ทะลุ หรือมีเลือดออก หรือผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องรุนแรงหรืออาเจียน ซึ่งต้องหาสาเหตุที่แน่นอน การใช้ยาในผู้สูงอายุหรือคนที่มีร่างกายอ่อนแอต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ภาวะท้องผูกที่จะกล่าวต่อไป เป็นภาวะท้องผูกเรื้อรังที่ไม่ได้มีโรคเฉียบพลันเป็นต้นเหตุโดยตรง ในทัศนะแพทย์แผนปัจจุบัน จะใช้ยาที่มีฤทธิ์หลักๆ ๓ อย่างด้วยกัน คือ 1. ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ 2. ยาเพิ่มปริมาณน้ำในลำไส้ 3. ยาที่ช่วยหล่อลื่นลำไส้ แต่ในทัศนะแพทย์จีนมักจะวิเคราะห์แยกโรคดังภาวะสมดุลของร่างกายเป็นหลัก และให้การรักษาอาการท้องผูก ร่วมกับสร้างสมดุลภายในของร่างกาย โดยสาเหตุใหญ่ๆ แบ่งได้ 2 ลักษณะ ซึ่งประกอบไปด้วย 1. ลักษณะแกร่ง ได้แก่ แบบร้อน และแบบพลังอุดกั้น 2. ลักษณะพร่อง ได้แก่ แบบเย็น (หยางพร่อง)  แบบพลังพร่อง และแบบเลือดพร่อง ท้องผูกเป็นภาวะการทำงานผิดปกติของลำไส้ใหญ่ ทำให้การถ่ายอุจจาระไม่คล่อง โดยทั่วไป 3-5 วัน บางครั้ง 7-8 วัน ถึงจะถ่ายอุจจาระสักครั้ง (บางรายนานถึงครึ่งเดือน) …

รับมือกับภาวะ “ท้องผูกเรื้อรัง” Read More »

กรณีศึกษา : ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย

ผู้ป่วยที่มาหาหมอด้วยปัญหาปวดท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย มีให้พบเห็นเสมอ เวลาท้องอืด ท้องเฟ้อ บางคนคิดถึง ยาหม่อง ยาลม ยาธาตุน้ำขาว ยาธาตุน้ำแดง ขมิ้นชัน ขิง หรือน้ำร้อนใส่กระเป๋าน้ำร้อน ฯลฯ ตามแต่จะมีคนแนะนำ หรือตามแต่ประสบการณ์ที่เคยทดลองกับตนเองมาแล้วได้ผล ความจริงท้องอืด ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย เป็นเพียงอาการที่แสดงออกเท่านั้น แต่สาเหตุมีด้วยกันหลายแบบ ถ้าสังเกตสักนิด จะทำให้เราเลือกวิธีการรักษาและป้องกันได้ไม่ยาก ตัวอย่างเช่น นาย ก. ปกติเป็นคนแข็งแรงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องท้องอืดท้องเฟ้อ อยู่มาคืนหนึ่งขณะเข้าโครงการลดน้ำหนักกินแต่ผัก ผลไม้ ก่อนนอนกินแตงโม แช่เย็น น้ำมะพร้าวแช่เย็น ส้มโอปริมาณมาก พร้อมดื่มชาเขียวใส่น้ำแข็งอีก 2 แก้ว แล้วเข้านอน เนื่องจากอากาศค่อนข้างร้อน ที่บ้านไม่มีแอร์ เลยเปิดพัดลมจ่อเข้าลำตัว แถมยังนอนบนพื้นปูนอีกต่างหาก นอนไปค่อนคืนตกใจตื่น เพราะคืนนั้นฝันทั้งคืน แถมยังปวดท้อง ท้องอืด เย็นๆ ในท้อง ลุกขึ้นเข้าห้องน้ำ มีการถ่ายเหลวเป็นอาหารที่ไม่ย่อย  แพทย์แผนจีนวินิจฉัยภาวะโรคของนาย ก. ว่าเป็นเพราะความเย็นกระทบทำให้พลังหยางของน้ำอุดกั้นเลือด และพลังสะดุด เกิดอาการปวดแน่นและอาหารไม่ย่อย นาย ก. กินอาหารที่มีคุณสมบัติเย็น …

กรณีศึกษา : ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย Read More »

อาหารแสลง อาหารต้องห้าม

เรามักได้ยินคนเฒ่าคนแก่พูดถึงข้อห้ามมากมายเกี่ยวกับการกินและข้อควรปฏิบัติ เช่น คนที่ร้อนในง่ายห้ามกินของร้อน (คุณสมบัติหยาง) ของทอดๆ มันๆ ของเผ็ด เช่น – กินทุเรียนแล้วห้ามกินเหล้า – กินทุเรียนแล้วควรกินมังคุดหรือกินน้ำเกลือตาม – กินลำไยมากระวังตาจะแฉะ – เวลาเริ่มเป็นหวัด เจ็บคอ ควรกินพวกยาขม – เวลาร้อนใน ให้กินน้ำจับเลี้ยง หรือกินน้ำเก๊กฮวย – หญิงปวดประจำเดือนห้ามกินของเย็น (ลักษณะยิน) เช่น แตงโม น้ำมะพร้าว – คนที่กินยาบำรุงจีน ห้ามกินผักกาดขาว หัวไชเท่า ฯลฯ เพราะจะล้างยา (ทำไมฤทธิ์ของยาน้อยลง) ฯลฯ คำกล่าวเหล่านี้ก็มีในทัศนะทางการแพทย์แผนจีนมาจากพื้นฐานที่ว่า “อาหารคือยา อาหารและยามีแหล่งที่มาเดียวกัน” การเลือกกินอาหารให้เหมาะสมเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องประยุกต์เปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับภาวะที่เป็นจริงของบุคคล เงื่อนไขของเวลา และสภาพภูมิประเทศ (สิ่งแวดล้อม) จึงจะเกิดผลที่ดีต่อสุขภาพ ในแง่ของคนไข้ การเลือกกินอาหารให้เหมาะสม จะทำให้โรคร้ายทุเลาลง ช่วยเสริมการรักษาและฟื้นฟูร่างกาย ในทางกลับกันการเลือกอาหารไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ย่อมทำให้โรคร้ายรุนแรง กำเริบและบั่นทอนสุขภาพมากขึ้น อาหารแสลงหรืออาการต้องห้าม ในความหมายที่กว้าง หมายถึง 1. การกินอาหารที่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป …

อาหารแสลง อาหารต้องห้าม Read More »

“ไขมันในเลือดสูง” ในมุมมองแพทย์แผนจีน

คำว่า “โรคโคเลสเตอรอลในเลือดสูง” ไม่มีในตำราแพทย์จีนโบราณ ดังนั้นถ้ามาตรวจกับแพทย์แผนจีนแล้วบอกว่ามีไขมันในเลือดสูงซึ่งเป็นการวินิจฉัยจากการตรวจเลือดแบบแพทย์แผนปัจจุบัน การรักษาโรคนี้แพทย์จีนจะเน้นไปที่การรักษาสมดุลของการทำงานของอวัยวะภายในและปรับเรื่องการไหลเวียนเลือด พลังและของเหลวในร่างกาย ไม่ให้มีการติดขัด บางครั้งจะกล่าวถึงเสมหะ ความชื้น การทำงานของตับและม้ามไม่สมดุล ต้องขับเสมหะชื้น กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ไม่ให้อาหารตกค้าง รวมทั้งการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการรับประทานอาหาร สาเหตุไขมันในเลือดสูงในมุมมองแพทย์แผนจีน 1. การรับประทานอาหารและการดำเนินชีวิต : อุปนิสัยการกิน ทำงานหักโหม ขาดการพักผ่อน ความเครียดทางอารมณ์ ทำให้การทำงานของอวัยวะภายในแปรปรวน เกิดเสมหะความชื้นและเลือดอุดกั้น 2. การทำงานของอวัยวะภายในเสียสมดุล โดยอวัยวะหลักที่เกี่ยวข้อง คือ ตับ ม้าม ไต พลังตับติดขัดอุดกั้นทำให้การไหลเวียนเลือดไม่คล่อง กลไกพลังในช่องกลางตัว (ซานเจียว) ที่ทำหน้าที่เป็นเส้นทางลำเลียงน้ำและของเหลวทั่วร่างกายก็ติดขัดไปด้วย ระบบย่อยและลำเลียงอาหาร (ม้าม) มีประสิทธิภาพลดลง กลายเป็นความชื้นตกค้าง ไตกำกับน้ำ ถ้าพลังไตอ่อนแอ การขับระบายน้ำไม่ดี พลังความร้อนในร่างกายน้อย เกิดความชื้นตกค้างในร่างกาย อีกด้านหนึ่งกรณีไตยินพร่อง (ทำให้เกิดความร้อนและแห้งในเซลล์ต่างๆของร่างกาย) ก็จะทำให้ของเหลวเหนียวข้นเป็นเสมหะและเลือดอุดกั้นเช่นกัน ดังนั้น ไขมันในเลือดสูงในความหมายแพทย์แผนจีน คือ เสมหะความชื้น เลือดอุดกั้น ม้ามพร่องเกิดความชื้นเสมหะ มีเลือดอุดกั้นจากพลังตับติดขัด ยินพร่องเกิดเสมหะเลือดอุดกั้น …

“ไขมันในเลือดสูง” ในมุมมองแพทย์แผนจีน Read More »

เหตุแห่งโรค และหลักการรักษาโรคกรดไหลย้อน (胃食管反流病)

หากจะกล่าวถึงเหตุแห่งโรคกรดไหลย้อนในมุมมองของแพทย์แผนจีน สามารถจำแนกได้ดังนี้ 1. การรับประทานอาหารไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีมื้ออาหาร อยากกินเมื่อไรก็กินตอนนั้น เช้าไม่กิน ดึกกินมาก (饮食不当) ทำให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารแปรปรวน ทำงานไม่ปกติ 2. ปล่อยให้หิวเกินไปหรือกินอิ่มเกินไป (饥饱失常) เพิ่มภาระและสร้างความสับสนกับการทำงานของระบบทางเดินอาหาร และการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย 3. อารมณ์เครียด – กังวล จะทำร้ายกระเพาะอาหารและม้าม (忧愁思虑伤及脾胃) การครุ่นคิดมากเกินไป ทำให้พลังรวมศูนย์ไม่กระจาย การระบายพลังของตับเกิดการติดขัด ส่งผลต่อการทำงานของกระเพาะอาหารและม้าม ทำให้อาหารไม่ย่อย ไม่ดูดซึม 4. การชอบรับประทานอาหารไม่สุก ฤทธิ์เย็น จะทำให้หยางของม้ามพร่อง เนื่องจากม้ามชอบความแห้งไม่ชอบความชื้น (喜燥恶湿) ชอบความอุ่น ไม่ชอบความเย็น (恶凉喜温) 5. การที่ช่องว่างส่วนกลางร่างกาย (จงเจียว中焦) ได้รับความเย็นจากอาหารหรืออากาศ จนเกิดภาวะเย็นพร่อง (虚寒) ทำให้อาหารไม่ย่อย ไม่ดูดซึม เกิดการตกค้างเกิดเป็นความชื้นและเสมหะ และย้อนกลับขึ้นด้านบนไปทางหลอดอาหาร 6. คนที่ไตหยางอ่อนแอ 肾阳虚亏 (ไตหยางเป็นการทำหน้าที่ของไตในการให้พลังอุ่นร้อนเพื่อการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย) จะทำให้การทำงานทุกอวัยวะลดน้อย รวมถึงการทำงานของกระเพาะอาหารและม้าม การวินิจฉัยแยกแยะภาวะของโรค ในการวินิจฉัยแยกแยะภาวะของโรค …

เหตุแห่งโรค และหลักการรักษาโรคกรดไหลย้อน (胃食管反流病) Read More »

5 วิธีการดูแลกระเพาะอาหารและม้าม

5 วิธีการดูแลกระเพาะอาหารและม้าม

“ม้ามและกระเพาะอาหารเป็นรากฐานของชีวิตหลังกำเนิด”

การดูแลม้ามและกระเพาะอาหารจัดเป็นวิธีการดูแลสุขภาพที่สำคัญวิธีหนึ่ง ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยวิธีการ ดังต่อไปนี้

โรคกรดไหลย้อน (胃食管反流病) มุมมองแพทย์แผนจีนและแผนปัจจุบัน (2)

การตรวจวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อนโดยทั่วไปได้จากการชักประวัติและอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก แต่ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยพิเศษเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การเอกซเรย์กลืนสารทึบแสง หรือการตรวจวัดความเป็นกรด – ด่างในหลอดอาหาร ซึ่งให้ผลในการวินิจฉัยโรคได้รวดเร็ว

โรคกรดไหลย้อน (胃食管反流病) มุมมองแพทย์แผนจีนและแผนปัจจุบัน (1)

โรคกรดไหลย้อน คือภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนมาในหลอดอาหาร ทำให้หลอดอาหารเกิดการอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก ปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่ที่เรียกว่า heart burn บางครั้งอาจจะร้าวไปที่คอได้ และบางครั้งอาจจะรู้สึกรสเปรี้ยว