1. ควบคุมความต้องการทางกามารมณ์ (寡欲)
เมื่ออารมณ์ถูกกระตุ้น ไตจะถูกกระตุ้น สารจิงก็ถูกกระตุ้น การควบคุมถนอมสารจิง เพื่อรักษาสารจิงให้เพียงพอ จึงต้องควบคุมที่อารมณ์
2. ควบคุมความอ่อนล้า (节劳)
การทำงานของร่างกายไม่ควรหักโหมมากเกินไป สารจิงในร่างกายจะแปรเปลี่ยนเป็นเลือด การใช้พลังงานต่างๆ ต้องใช้เลือดไปหล่อเลี้ยง และกระทบอวัยวะภายในที่แน่นอน ตัวอย่างเช่น ใช้ตามากเกินไปกระทบเลือดที่ไปเลี้ยงตับ, ใช้หูมากเกินไปกระทบเลือดที่ไปเลี้ยงไต, ใช้ความคิดมากเกินไปกระทบเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ…การพักผ่อนและการควบคุมการใช้งานไม่ให้มากเกินไป เป็นการถนอมสารจิงอีกทางหนึ่ง
3. ควบคุมอารมณ์โกรธ (息怒)
โกรธทำลายตับ ตับเก็บกักเลือด คนที่โมโหเลือดจะเคลื่อนไหวออกจากตับ เกิดการเคลื่อนไหว เลือดออกจากอวัยวะภายใน เป็นการทำลายเลือด ทำลายสารจิง การควบคุมอารมณ์จึงมีความสำคัญในการควบคุมสารจิง
4. ละเว้นการดื่มเหล้า (戒酒)
เหล้ากระตุ้นการไหลเวียนเลือดและพลัง การดื่มเหล้าในปริมาณเล็กน้อยในบางกรณีจะมีประโยชน์ แต่การดื่มเหล้าปริมาณมากจะทำให้การไหลเวียนเลือดแปรปรวน ทำลายเลือด ทำลายสารจิง
5. ควบคุมการกิน (慎味)
– ไม่ควรดื่มกินอาหารอย่างไร้การควบคุม ตามความอยากหรือตามปาก
– ควรเน้นการรับประทานธัญพืช เพราะธัญพืช คือ เมล็ดพันธุ์ที่เก็บสะสมพลังของการเติบโตเป็นต้นอ่อนของพืช เช่นเดียวกับสารจิง (精)
– การเสริมสารจิง จึงต้องเน้นที่ธัญพืชไม่ใช่เนื้อสัตว์ หรืออาหารประเภทผัก