เทคนิคการ ถูฝ่ามือกับฝ่าเท้า
ช่วงโควิด-19 ระบาดตั้งแต่ ปลายปี 2562 จนถึงขณะนี้ปลายปี 2564 กินเวลาร่วม 2 ปี ก็ยังมีความไม่แน่นอนของความรุนแรงที่อาจจะเกิดการระบาดของเชื้อโควิดกลายพันธุ์จากแอฟริกาตัวใหม่ชื่อโอไมครอน ซึ่งการได้รับวัคซีนชนิดต่างๆที่ผ่านมาอาจไม่ครอบคลุมทำให้เราต้องย้อนกลับมาทบทวนถึงหลักการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันที่มาแต่กำเนิด( Innate immunity ) เพราะได้ประจักษ์ชัดแล้วว่าเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านมาทุกสายพันธุ์มักจะคร่าชีวิตคนสูงอายุซึ่งเป็นวัยที่สุขภาพเสื่อมโทรมและผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่นความดันโลหิตสูงหลอดเลือดหัวใจตีบหัวใจเต้นผิดจังหวะเบาหวานไตเรื้อรังผู้ป่วยฟอกไตและปลูกถ่ายไตหอบหืดปอดอักเสบเรื้อรังตับแข็งตับอักเสบเรื้อรังภูมิคุ้มกันบกพร่องโรคอ้วนเป็นต้นสำหรับคนที่มีพื้นฐานสุขภาพที่ดีมีการสร้างเสริมความสมดุลของร่างกายอย่างสม่ำเสมอมีภูมิคุ้มกันที่ดี เมื่อมีการติดเชื้อมักมีอาการไม่รุนแรงเป็นแล้วรักษาก็หายไวไม่มีภาวะลองโควิดเวลาฉีดวัคซีนก็มักไม่มีภาวะผลข้างเคียง ความสนใจในการสร้างเสริมสมดุลอย่างง่ายๆจึงมีความจำเป็นในภาวะปกติและภาวะที่มีการระบาดของโรคเพราะเป็นสิ่งที่เราสามารถสร้างได้ด้วยตัวเราเองเป็นการกระตุ้นกลไกป้องกันตนเองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่ต้องเฝ้ารอหวังพึ่งวัคซีนหรือยารักษาอย่างเดียวเพราะวัคซีนและยาต้องตามหลังการระบาดของเชื้อเสมอและก็ไม่รู้ว่าจะมีผลต่อร่างกายตามมาระยะยาวมากน้อยเพียงใด แนวคิดการดูแลสุขภาพมีโรคทุกด้านต้องปรับส่วนกลาง“四边有病中间平” ชีวิตจริงเมื่อเผชิญกับภาวะวิกฤติเกิดปัญหาทุกองคาพยพทุกภาคส่วนขององค์กรหน่วยงานเป็นการบ่งบอกถึงผลกระทบที่เป็นองค์รวมหรือเป็นปัญหาร่วมการแก้ไขปัญหาต้องมุ่งเน้นไปที่ศูนย์กลางศูนย์รวมศูนย์บัญชาการแพทย์แผนจีนก็ใช้หลักคิดนี้ในการดูแลรักษาสุขภาพเช่น ม้ามควบคุมแขนขา (脾主四肢) ม้ามเป็นอวัยวะที่เป็นแกนกลางของอวัยวะภายในของร่างกายเป็นแหล่งกำเนิดสร้างเสริมพลังเลือดและกล้ามเนื้อของร่างกายทางคลินิกผู้ป่วยที่อ่อนเพลียไม่มีพลังแขนขาอ่อนแรงไม่ว่าจากสาเหตุใดๆรวมถึงคนไข้มะเร็งหลังผ่าตัดให้เคมีบำบัดทำให้เบื่ออาหารร่างกายทุกส่วนได้รับผลกระทบโดยรวม การแก้ไขเร่งด่วนต้องหันกลับมาแก้ไขส่วนกลางคือระบบม้ามกระเพาะอาหาร (ระบบย่อยดูดซึมอาหาร) แหล่งกำเนิดทุนที่ 2 (ทุนแรกมาแต่กำเนิดคือไต) เพราะถ้าไม่สามารถได้อาหารมาแปรเปลี่ยนเป็นเลือดและพลังในการฟื้นฟูร่างกายและต่อสู้กับโรคแล้วนั้นคือสัญญานของการดำรงอยู่ของชีวิตและการพ่ายแพ้ต่อโรคภัยไข้เจ็บที่คุกคามอยู่ จุดศูนย์กลางรวมของเส้นลมปราณและจุดเชื่อมกับพลังแวดล้อมภายนอก 3 จุด จุดไป่ฮุ้ย百会 เป็นจุดกลางกระหม่อม จุดหย่งเฉวียน涌泉คือจุดกลางฝ่าเท้า จุดหลาวกง劳宫คือจุดกลางฝ่ามือ จุดไป่ฮุ้ย (百会) อยู่ศีรษะสังกัดส่วนบนคือจุดเชื่อมฟ้าหัวใจแห่งฟ้า(天心百会) ศีรษะอยู่ส่วนบนสุดของร่างกายคือส่วนที่เป็นหยางเป็นที่บรรจบรวมของเส้นลมปราณหยางทั้ง 12 เส้น ชื่อจุดไป่ฮุ้ย (百会) จึงมีความหมายว่าเป็นที่บรรจบของเส้นลมปราณหยางหรือบ่งบอกว่าโรคทั้งมวลก็สามารถรักษาได้ (此穴百病都会治) จุดหย่งเฉวียน (涌泉) อยู่ที่ฝ่าเท้าสังกัดส่วนล่างคือจุดเชื่อมดินหัวใจแห่งดิน(地心涌泉) ฝ่าเท้าอยู่ส่วนล่างสุดของร่างกายคือส่วนที่เป็นอินเป็นจุดตั้งต้นของเส้นลมปราณไตเกี่ยวข้องกับการควบคุมเมทาบอลิซั่มของน้ำและเกลือแร่การขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายรวมถึงระบบต่อมไร้ท่อฮอร์โมนของร่างกายอวัยวะไตยังเกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินปัสสาวะการปวดเข่าเมื่อยเอวขาอ่อนแรงแพทย์จีนมองว่าคนเสื่อมชราเริ่มต้นจากเสื่อมที่ขาไตเป็นเสมือนรากของต้นไม้ถ้ารากไม่แข็งแรงต้นไม้ก็จะเริ่มเสื่อมทรุดการรักษาต้องเริ่มที่ขา (人老脚先老,治病先治脚) จุดหย่งเฉวียนเป็นจุดกลางฝ่าเท้าเป็นจุดศูนย์กลางของเท้า จุดหลาวกง(劳宫) อยู่ส่วนแขนสังกัดส่วนกลางของคือจุดเชื่อมคนหัวใจแห่งคน(人心劳宫) …