ยินหยาง

3 เคล็ดลับ ปรับสมดุลยินหยาง

เคล็ดลับเหล่านี้ เป็นภาพรวมของการปรับสมดุลยินหยาง ที่เน้นหลักการสงบมีความสำคัญกว่าการเคลื่อนไหว เพราะความสงบทางจิตจะควบคุมการเคลื่อนไหวได้อย่างมีสติ การเคลื่อนไหวเน้นทางร่างกายมากกว่าทางจิต อย่างไรก็ตามสำหรับบางคนแล้วอาจต้องเสริมความเคลื่อนไหวทางกาย และอาศัยในที่อุ่นร้อนมากสักหน่อย เพราะร่างกายสู้ความหนาวไม่ได้ น้นคือการปรับสมดุลให้สอดคล้องกับสภาพของปัจเจกบุคคล 1. ใช้ความสงบรักษาสุขภาพ (静养) คนที่ไม่สงบจะมีการเสียพลังงานตลอดเวลา และไม่สามารถเก็บพลังได้ การนั่งสมาธิ, การนอนหลับที่เพียงพอตามเวลาที่เหมาะสม จะประหยัดการใช้พลังงานชีวิต ทำให้มีพลังไว้ใช้นานๆ 2. ใช้ความเนิบช้า รักษาสุขภาพ (缓慢养生) ถ้าเราสามารถควบคุมการหายใจ, การเต้นของหัวใจ, การปรับสมดุลของระบบประสาท, การหลั่งฮอร์โมนให้ละมุนละม่อม ไม่รวดเร็วรุนแรง จะเป็นการประหยัดพลังงานชีวิตที่สำคัญ การศึกษาสมัยใหม่พบว่า คนที่หายใจช้า, หัวใจเต้นช้า มักจะมีอายุยืน ไม่ค่อยเจ็บป่วย หรือเมื่อเจ็บป่วยก็หายเร็วกว่าเมื่อเทียบกับคนที่หายใจเร็ว, หัวใจเต้นเร็ว ขณะเดียวกันสภาพจิตใจของคนที่หายใจช้า, หัวใจเต้นช้า มักมีภาวะทางจิตสมาธิดี และเป็นคนมองโลกในแง่ดี มีความสุขกับชีวิต จะเกิดภาวะปล่อยวาง,ไม่บีบคั้น   จิตเป็นสมาธิจะควบคุมการปรับสมดุลทำให้ร่างกายทำงานช้าลง คือการยืดอายุนั้นเอง   3. อาศัยบนที่สูง, อากาศเย็น รักษาสุขภาพ (高寒养生) คัมภีร์ “หวงตี้เน่ยจิง” ได้กล่าวถึงคนที่อาศัยอยู่ในที่สูงและอากาศเย็น มักมีอายุที่ยืนยาว อากาศที่เย็น จะลดอุณหภูมิ,ลดการเผาผลาญ, …

3 เคล็ดลับ ปรับสมดุลยินหยาง Read More »

“น้ำ ยินหยาง” กับแพทย์แผนจีน

“น้ำ เป็นยินแต่ซ่อนเร้นความเป็นหยางอยู่ภายใน” มีคำกล่าวว่าน้ำนิ่งไหลลึก แม้ว่าน้ำเป็นภาวะยิน ดูภายนอกหยุดนิ่ง แต่น้ำก็มีการเคลื่อนไหวไหลเวียนอยู่ภายใน  คือ การซ่อนเร้นของพลังหยางที่ขับเคลื่อนอยู่ภายใน  การไหลของน้ำ การระเหยของไอน้ำ การเกิดฟ้าผ่าท่ามกลางฝนที่ตกลงมา คือสิ่งแสดงออกของพลังหยางในปริมาณต่างๆ ที่อยู่ในยิน เช่นเดียวกับเหล้า, น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นของเหลวที่มีพลังหยางสะสมอยู่ภายใน ในเงื่อนไขหนึ่ง  มันสามารถปลดปล่อยพลังออกมาให้เห็นในรูปแบบต่างๆ น้ำ แม้จะอ่อนนุ่ม สงบจากภายนอกแต่ก็มีพลังที่เคลื่อนไหวภายใน  เช่นเดียวกับคนที่อ่อนน้อม ลุ่มลึก สุขุม แต่ครุ่นคิด  จึงเป็นคนที่รอบคอบ และน่าเกรงขามกว่าคนที่ดูภายนอกเป็นหยาง  บุ่มบ่าม มุทะลุ เพราะแสดงอย่างตรงไปตรงมา เข้าใจความรู้สึกง่าย “น้ำ “มีความสำคัญต่อชีวิต เป็นแหล่งแปรเปลี่ยนของสรรพสิ่ง 水为万物之源 ปรมจารย์แพทย์จีน  หลี่สือเจิน ได้กล่าวไว้ใน คัมภีร์ “เปิ่นเฉ่ากังมู่” 本草纲目ถึงบทบาทของน้ำต่อชีวิต ไว้ว่า “น้ำเป็นแหล่งแปรเปลี่ยนของสรรพสิ่ง ดินเป็นแม่ผู้ให้กำเนิดสรรพสิ่ง”  水为万物之源,土为万物之母 หมายความว่า  การเคลื่อนไหว ลำเลียงอาหาร เลือด ต้องอาศัยน้ำเป็นตัวนำพา  ส่วนการเจริญเติบโตของร่างกายก็ต้องอาศัย แร่ธาตุและอาหารจากดินเป็นส่วนที่มาบำรุงเลี้ยง แพทย์แผนจีนเชื่อว่า สุขภาพและอุปนิสัยของคน มีส่วนสำคัญจากสภาพแหล่งน้ำที่บริโภคและอาหารในแต่ละท้องถิ่น …

“น้ำ ยินหยาง” กับแพทย์แผนจีน Read More »

หยางแท้ – ยินเทียม ร้อนแท้ – เย็นเทียม

“ดิฉันเป็นคนขี้หนาว แขนขาเย็น แต่ตัวร้อน ท้องผูก เป็นแผลร้อนในบ่อย ดิฉันเป็นโรคอะไรค่ะ”Ž“คนใกล้ชิดมักจะบอกว่า ผมมีกลิ่นปาก ผมไปหาหมอฟันแล้วหาสาเหตุไม่ได้ หมอจีนบอกว่าผมร้อนภายใน เพราะเป็นคนกระหายน้ำ ดื่มน้ำมาก หงุดหงิด ลิ้นและชีพจรก็บ่งบอก และให้ยาผมมากิน ปรากฏว่าดีขึ้นมาก”Ž อาการหลายๆ อาการที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์แผนจีน มักจะถูกรวบรวมเป็นกลุ่มอาการ ประสานกับการตรวจวินิจฉัยด้วยการมอง (ดู), ถาม, ดม-ฟัง และจับชีพจร-สัมผัส สรุปเป็นการวินิจฉัยแยกแยะภาวะของโรค เพื่อวางแผนการรักษา อาการต่างๆ ของผู้ป่วยข้างต้น 2 รายอาจจะมีรายละเอียดบางอย่างเหมือนกัน บางอย่างต่างกันบ้าง แต่บางครั้งสรุปว่า มีพื้นฐานของการเสียสมดุลคล้ายกัน การวางแนวการรักษาก็จะเป็นแนวเดียวกัน แต่มีรายละเอียดที่ต้องปรับวิธีการ หรือการใช้ยาจำเพาะแตกต่างกัน เรียกว่า การปรับลดตำรับยา1. ร้อนแท้ – เย็นเทียม มีอาการแสดงออกทางคลินิกที่สำคัญอย่างไร?– อาการ ที่ผู้ป่วยมาหาบ่อยๆ ได้แก่อาการแขนขาเย็น ตัวร้อน (ส่วนอกและท้อง)– อาการร่วมอื่นๆ ได้แก่ ไข้สูง กลัวความเย็น ใบหน้าไม่ค่อยมีชีวิตชีวา (บางรายหมดสติ) สีดำคล้ำในผู้ป่วยที่ไม่มีไข้สูง มักมีกลิ่นเหม็น ปากเหม็น กระหายน้ำ ดื่มน้ำมาก ท้องผูก อุจจาระแห้งเป็นก้อน …

หยางแท้ – ยินเทียม ร้อนแท้ – เย็นเทียม Read More »