ไขข้อข้องใจ การใช้สมุนไพรรักษาหลอดเลือดตีบ

ไขข้อข้องใจ การใช้สมุนไพรรักษาหลอดเลือดตีบ

ถาม  :  จากข่าวการใช้สมุนไพรเพื่อล้างไขมัน รักษาหลอดเลือดสมองและหัวใจตีบ มีส่วนประกอบสำคัญ คือ ขิงสด พุทราจีนแห้ง เห็ดหูหนูดำ อย่างละ 1 ส่วน ต้มกับน้ำ 2 ลิตรครึ่ง ดื่มกินต่างน้ำ ไม่ทราบมีหลักการทางวิชาการแพทย์แผนจีนอย่างไรบ้าง

ตอบ  :  ส่วนผสมสูตรนี้ได้รับการพูดถึงและแนะนำต่อๆ กันมา โดยเฉพาะในหมู่คนไต้หวัน ลองมาวิเคราะห์ตัวสมุนไพรแต่ละชนิดดู

 

เห็ดหูหนูดำ มีฤทธิ์กลางค่อนไปทางเย็น รสหวาน เป็นอาหารประเภทเชื้อราชนิดหนึ่ง มีสรรพคุณบำรุงพลัง บำรุงปอด บำรุงสมอง กระตุ้นการไหลเวียนเลือด และช่วยหยุดเลือด

การศึกษาวิจัยสมัยใหม่พบว่า สามารถต้านการเกาะตัวของเลือด ลดการรวมตัวของเกล็ดเลือด ลดความหนืดของเลือด ป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง คนที่มีไขมันในเลือดสูง

เห็ดหูหนูดำจึงได้รับฉายาว่า อาหารแอสไพริน” 食物阿司匹林

มีรายงานว่าคนยุโรปใช้เห็ดหูหนูดำแทนยาแอสไพรินต้านการเกาะตัวของเลือด เพราะทำให้หลอดเลือดเปราะ แตกง่าย

ในอีกมุมหนึ่งของ “เปิ่นเฉ่ากังมู่” 本草纲目ได้กล่าวว่า เห็ดหูหนูมีที่เกิดจากไม้ สามารถทำลายสารจิงของไตได้ทำให้มีความเย็นชาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศการทำงานของไตลดน้อยลง“本耳乃朽木所生,有衰精肾之害。能导致性冷淡、阳痿、肾功能减退”.

ในตำรายาสมุนไพรจีนบางครั้งกล่าวถึงเห็ดหูหนูดำ มีคุณสมบัติในการหยุดเลือด ซึ่งดูเหมือนจะขัดแย้งกับคุณสมบัติการสลายหรือป้องกันการเกาะตัวของเลือด สาเหตุเลือดออกมีมีทั้งแบบยิน(เย็น)และแบบหยาง(ร้อน)  เห็ดหูหนูดำเหมาะสำหรับภาวะเลือดออกแบบร้อนเพราะไปทำให้เลือดเย็นสลายการอุดกั้น(凉血化瘀) การทำให้เลือดเย็น สลายอุดกั้นเป็นวิธีการหนึ่ง ของการหยุดเลือด

 

พุทราจีน(大枣)มีฤทธิ์อุ่น รสหวาน สรรพคุณกว้างขวางมาก ดังนี้

  1. ได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้ “百果之王” และได้ชื่อว่าเป็นผลไม้วิตามินแห่งธรรมชาติ“天然的维生素丸”เพราะอุดมไปด้วยวิตามิน เอ, บี, ซี และกรดอะมิโนกว่า 18 ชนิด
  2. บำรุงพลัง, บำรุงไต, บำรุงเลือด, เสริมหยาง, บำรุงตับ, ลดความดันโลหิต, สงบอารมณ์, ช่วยนอนหลับ และรักษาอาการอ่อนเพลีย
  3. คัมภีร์ “เสินหนงเปิ่นเฉ่าจิง” 《神农本草经》จัดเป็นยาที่บำรุงเลือดและม้ามชั้นดี将大枣列为“上品”มีส่วนประกอบของธาตุเหล็กและแคลเซียม คนที่มีภาวะเลือดจาง ป้องกันความเสื่อมชรา โดยเฉพาะในสตรีพื้นฐานสุขภาพดีอยู่ที่เลือด“女子以血为本”ทำให้ใบหน้ามีสีเลือด
  4. ธัญพืชทั้ง 5 ร่วมกับพุทราจีน สรรพคุณเหนือกว่าเห็ดหลินจือ“五谷加大枣,胜过灵芝草。” เสมือนเป็นยาอายุวัฒนะ วันหนึ่งกินพุทราจีน 3 เม็ด ร่างกายทั้งตัวจะไม่แก่“一日吃三枣,终身不显老”
  5. เนื่องจากสรรพคุณบำรุงเลือดและช่วยนอนหลับ จึงมีการใช้พุทราจีนเป็นตัวยาสำคัญในการรักษาโรคของจิตประสาทแปรปรวน (ฮีตทีเรีย脏躁证) เช่นตำรับยา กันม่ายต้าเจ่าทัง (甘麦大枣汤)
  6. ปกป้องตับ ใช้ในผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง หรือตับแข็งระยะแรก
  7. มีวิตามินซีมาก เสริมภูมิต้านทาน ป้องกันมะเร็ง
  8. ใช้ลดพิษของยาสมุนไพรตัวอื่นๆ

ขิงสด (生姜) ฤทธิ์อุ่น รสเผ็ด มีสรรพคุณ ขับเหงื่อ ขับความเย็น อุ่นกระเพาะอาหาร หยุดอาเจียนทำลายพิษอาหารทะเลและพิษของพวกเห็ด

มีอีกฉายาว่า “หญ้าฟื้นคืนจิตวิญญาณ” 别名叫“还魂草”

จากการศึกษาวิจัยสมัยใหม่พบว่า ขิง มีสารจิงเจอรอล (Gingerol)“姜辣素”มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจและขยายหลอดเลือดแดง ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น เพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกาย ทำให้เลือดไปเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น ทำให้รูขุมขนเปิด ขับพิษออกทางผิวหนัง นอกจากนี้ ขิง ยังกระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหาร กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยของเยื่อบุกระเพาะอาหาร กระตุ้นการย่อยและดูดซึมอาหาร จึงมีฤทธิ์ในการแก้อาเจียน

 

การผสมสูตรสมุนไพร 3 ตัว

  1. เห็ดหูหนูดำ ฤทธิ์เย็น สลายการเกาะตัวของเลือด ทำให้เลือดไม่แข็งตัว เลือดไม่ร้อน ช่วยให้หลอดเลือดยืดหยุ่นดี
  2. พุทราจีน มีฤทธิ์อุ่น บำรุงเลือด พลัง เสริมหยาง บำรุงม้าม ทำให้แข็งแรง มีพลังขับเคลื่อน ป้องกันฤทธิ์เย็นของเห็ดหูหนู
  3. ขิง มีฤทธิ์อุ่น กระตุ้นพลังไหลเวียน ทำให้กระเพาะอาหารทำงานดีขึ้น เลือดไหลเวียนได้คล่องทั่วทั้งร่างกาย ช่วยเสริมฤทธิ์เห็ดหูหนูดำในการสลายเลือดติดขัดภายในหลอดเลือดแดง โดยเฉพาะที่สมองและหัวใจ

                เมื่อนำสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด มารวมกัน คือสลายการอุดตันไม่ให้เลือดเกาะตัว+ บำรุงพลังและเลือด + ขับเคลื่อนพลัง ขยายหลอดเลือด

 

ข้อควรระวัง

                – เห็ดหูหนู ฤทธิ์เย็น ห้ามกินร่วมกับ หอยขม (ฤทธิ์เย็น) คนที่ตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานมาก, คนที่เลือดออกง่ายสตรีระหว่างที่ประจำเดือน คนที่ระบบย่อยไม่ดี กระเพาะอาหารเย็น ต้องระมัดระวัง

                – เห็ดหูหนูดำต้องทำให้สุก  สารออกฤทธิ์จึงจะละลายออกมา ร่างกายจึงจะดูดซึมสารอาหารที่สำคัญเข้าไปได้

                – ขิง ช่วยทำให้การย่อย ช่วยดูดซึมดีขึ้น ปริมาณมากทำให้รสชาติไม่อร่อย จึงต้องกะปริมาณตามสภาพร่างกายของแต่ละคนคนที่ขี้หนาว กระเพาะอาหารเย็นควรเพิ่มปริมาณขิง พุทราจีนมากขึ้น ลดปริมาณเห็ดหูหนูดำให้น้อยลง สูตรนี้จึงปรับลดได้ตามสภาพร่างกาย

                – พุทราจีน เอาไส้ในออกจะช่วยลดอาการร้อนใน

                – สมุนไพรตำรับนี้ สามารถนำไปประยุกต์ในการรักษาฝ้าบนใบหน้า, ขอบตาดำ

(眼睛周围出现黑晕), ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ภาวะเลือดสมองตีบโดยปรับเพิ่มตัวยาบางตัวให้เหมาะสม

  • ควรตรวจเลือดดูค่าผลเลือดเป็นระยะ คนที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจหรือมีโรคหลายโรคซับซ้อน ควรให้ข้อมูลและควรอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ช

1 thought on “ไขข้อข้องใจ การใช้สมุนไพรรักษาหลอดเลือดตีบ”

  1. สวัสดีค่ะ
    มีอาการปวดหัวระหว่างหลับ 2 คืนที่ผ่านมา และตอนกลางวันก็รู้สึกปวดหัว มีการกระพริบตาหนักๆถี่ๆจนรู้สึกปวดหัวค่ะ อยากทานยาจีนเพื่อช่วยให้เลือดในสมองไหลเวียนดีค่ะ รบกวนคุณหมอแนะนำด้วยค
    ขอบคุณค่ะ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *