อายุขัย กับการเกิดโรค
สังขารของคนเราเป็นอนิจจัง มีการเกิด การพัฒนา การเสื่อม และการดับสูญในที่สุด เมื่อชีวิตได้ถือกำเนิดก็มีการเจริญเติบโต พัฒนาจนเป็นเด็ก วัยหนุ่มสาว ร่างกายแข็งแรงถึงจุดสูงสุด จากนั้นก็เริ่มสู่วัยเสื่อมถอย ความชราภาพเข้าแทนที่ จนถึงการดับสูญของชีวิตในที่สุด กฎของการเกิดพัฒนา-เสื่อมถอยและดับสูญ เป็นกฎของสรรพสิ่งในจักรวาล แพทย์แผนจีนได้สรุปความสัมพันธ์ของโรคภัยไข้เจ็บกับอายุขัยของแต่ละช่วงของร่างกายมนุษย์ไว้อย่างน่าสนใจ เนื่องจากในแต่ละช่วงของอายุมีสภาพทางสรีระ ภาวะความคุ้มกัน และพลังในการต่อสู้กับโรค (ปัจจัยก่อโรคทั้ง 6 ได้แก่ เย็น ร้อน ชื้น ลม แห้ง ไฟ และอารมณ์ ทั้ง 7) แตกต่างกัน ทำให้แต่ละช่วงอายุมีจุดอ่อน จุดแข็ง ของร่างกายไม่เหมือนกัน ซึ่งสามารถสรุปเป็นกฎเกณฑ์ได้ ดังนี้ จั้ง-ฝู่ (อวัยวะภายในที่ควบคุม การทำงานทั้งหมดของร่างกาย) ของทารกหรือเด็กเล็กค่อนข้างอ่อนแอ ไม่แข็งแรง เนื่องจากยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ทำให้การทำงานของระบบต่างๆก็ไม่สมบูรณ์ การทำงานของระบบเลือด พลังการสร้างสารน้ำ สารคัดหลั่ง รวมทั้งน้ำย่อย ฮอร์โมนก็มีภาวะไม่แน่นอนคงที่ มีความแปรปรวน แพทย์จีนเรียกภาวะนี้ว่า “เป็นภาวะยิน-หยาง ยังไม่สุกงอมสมบูรณ์” สรีรสภาพที่เปราะบาง แปรปรวน ทำให้เลือดและพลังยังไม่ …