Day: September 23, 2021

สมุนไพรจีน บำรุงยิน

ความรู้สึกเป็นไข้ตอนบ่าย ร้อนบริเวณแก้ม เหงื่อออก เวลากลางคืน ร้อนฝ่ามือ ฝ่าเท้า และบริเวณทรวงอก ปากคอแห้ง ลิ้นแดง ฝ้าบนลิ้นน้อย หรือลิ้นเลี่ยน ชีพจรเบาเร็ว อาการเหล่านี้คนจีนเรียกว่า อิมฮือ อิมฮือ หมายถึง ภาวะเลือด ภาวะยินพร่อง ที่รวมถึงสารจิงไม่พอ เสียสารน้ำในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะยินไม่สามารถควบคุมหยาง เกิดอาการแสดงออกของ ยินพร่อง มีความร้อนภายในร่างกาย (เนื่องจากหยางในร่างกายแกร่ง เพราะยินในร่างกายน้อยกว่าปกติ) สาเหตุที่มีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน เป็นเพราะตอนกลางวันพลัง ปกป้องผิวมักจะอยู่บริเวณส่วนนอก กล้ามเนื้อและผิวหนัง เมื่อตกกลางคืน พลังเหล่านี้จะลดลง ความร้อนภายในร่างกายที่สะสมอยู่จะระบายเหงื่อ และความร้อนสู่ภายนอก โบราณเรียกว่า “เหงื่อที่ระเหยจากกระดูกส่วนลึกของร่างกาย” เป็นลักษณะเด่นของภาวะยินพร่อง ภาวะขาดสารน้ำในร่างกาย เช่น เสียเหงื่อมาก ไข้สูงเรื้อรัง ท้องเสีย ฯลฯ ภาวะเช่นนี้จะทำให้เกิดภาวะแห้ง ภายในร่างกายเนื่องจากสูญเสียน้ำและของเหลว มักพบอาการคอแห้งริมฝีปากแห้ง ผิวหนังแห้ง ปัสสาวะน้อยสีเข้ม อุจจาระแห้งแข็ง ฯลฯ ระยะแรกของยินพร่องเป็นภาวะขาดสารน้ำแล้วมีภาวะแห้ง มักมีอาการที่ปอด กระเพาะอาหาร ระยะ หลังของยินพร่องมักมีภาวะร้อน …

สมุนไพรจีน บำรุงยิน Read More »

ทัศนะแพทย์แผนจีน ต่อการนอนหลับ

เวลากลางวัน เป็นหยาง ระบบประสาทส่วนกลาง จะถูกกระตุ้นให้มีความตื่นตัว หลังเที่ยงวัน พลังหยางของธรรมชาติจะค่อยๆ ลดลงจนถึงเที่ยงคืน ภาวะความตื่นตัวของระบบประสาทส่วนกลางค่อยๆ อ่อนล้าหรือลดลง การทำงานของคนเราควรจะต้องให้สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติ และสภาพของ “นาฬิกาชีวิต” ของร่างกาย เวลากลางคืน เป็นยิน ระบบประสาทส่วนกลางควรอยู่ในสภาพสงบและพัก เพื่อขจัดความเมื่อยล้าจากการทำงาน การเคลื่อนไหวของร่างกาย จิตใจ ตลอดวันที่ผ่านมา การนอนหลับจึงเป็นวิธีการพักผ่อนตามธรรมชาติที่ดีที่สุด ถ้าการนอนหลับเพียงพอ หลับสนิท และเป็นการหลับตอนกลางคืนในช่วงเวลาที่เหมาะสมก็จะทำให้ร่างกายมีการฟื้นตัวได้ดีที่สุด เมื่อตื่นนอนตอนเช้าก็จะมีความสดชื่น มีสภาพร่างกาย สภาพของสมองที่พร้อมจะทำงานให้เกิดประสิทธิภาพดีที่สุด ปัญหาจะเกิดขึ้นมากมาย เมื่อร่างกายและสมอง ไม่สามารถพักผ่อน และฟื้นฟูสภาพได้จากภาวะการนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หรือหลับไม่พอ ร่างกายคนเรามีระบบการทำงานของร่างกายที่มีกฎเกณฑ์ เพื่อดำรงไว้ซึ่งระบบสมดุล กฎเกณฑ์เหล่านี้เปรียบเสมือน “นาฬิกาชีวิต” การเคลื่อนไหวของมันเป็นไปตามวิถีการหมุนรอบตัวเองของโลก การเข้าใจกฎเกณฑ์ของ “นาฬิกาชีวิต” เป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติรอบตัว นำมาซึ่งสุขภาพที่ดี อายุยืนยาว การปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ตัวอย่างกฎเกณฑ์ทางสรีระของร่างกาย เช่น ความดันของหัวใจ ประมาณ 72 ครั้ง/นาที การหายใจ ประมาณ 16 ครั้ง/นาที อุณหภูมิของร่างกาย ช่วงเช้าต่ำกว่าช่วงค่ำ …

ทัศนะแพทย์แผนจีน ต่อการนอนหลับ Read More »