ระบบย่อยและดูดซึมอาหาร ในมุมแพทย์แผนจีน

สำหรับระบบย่อยและดูดซึมอาหาร แพทย์แผนจีนให้ความสำคัญของการทำหน้าที่ร่วมกันของอวัยวะม้ามและกระเพาะอาหาร โดยกระเพาะอาหารทำหน้าที่รับและย่อยอาหารและส่งไปลำไส้เล็กเพื่อย่อยจนได้สารจำเป็น และแยกแยะอาหารที่ถูกย่อยแล้วในสิ่งที่ดี (ใช้ได้) กับสิ่งที่ข้น (ใช้ไม่ได้) ส่วนดีจะถูกส่งไปที่ม้าม ม้ามทำหน้าที่ลำเลียงสารจำเป็นนี้ไปใช้ทั่วร่างกาย ส่วนลำไส้ใหญ่ทำหน้าขับอุจจาระและควบคุมการดูดซึมกลับของน้ำ กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะที่ไม่ชอบความแห้งชอบความชื้น(恶燥喜润) ไม่ชอบร้อนชอบความเย็น(恶热喜凉) ไม่ชอบการสะสมแต่ชอบการระบายลงล่าง(恶积喜降) ตรงข้ามกับการทำหน้าที่ของม้าม หน้าที่สำคัญของกระเพาะอาหารมี 3 อย่างคือ รองรับอาหารและน้ำ (主受纳) เสมือนขุนนางที่ทำหน้าที่ดูแลเก็บกักอาหารเสบียงกัง (仓廪之官,主纳水谷) เป็นที่เก็บอาหารที่ผ่านการเคี้ยวในปาก และเดินทางผ่านหลอดอาหาร กระเพาะอาหารจึงเป็นเสมือนทะเลของน้ำและอาหารที่รับประทานเข้าไป 胃为“水谷之海”ถ้าลมปราณกระเพาะอาหารจะทำให้เก็บกักอาหารเพื่อทำการย่อยเบื้องต้นได้ดี มีความอยากอาหาร ทานอาหารได้มาก การย่อยอาหาร กระเพาะอาหารทำหน้าที่ย่อยอาหารในระดับต้นๆ (腐熟水谷) เพื่อให้มีขนาดเล็กลงแล้วส่งไปย่อยต่อที่ลำไส้เล็ก ควบคุมการไหลลงของพลังสู่ด้านล่างในการขับเคลื่อนอาหารและการขับถ่ายอุจจาระ เพื่อการย่อยที่ลำไส้เล็กและการขับถ่ายที่ลำไส้ใหญ่ เป็นการสร้างสมดุลของพลังแกนกลางของร่างกาย โดยทำงานคู่กับพลังของม้ามที่มีทิศทางขึ้นบนเพื่อส่งลำเลียงสารจำเป็นไปอวัยวะปอด ม้าม ม้ามถือเป็นต้นกำเนิดของแรงขับเคลื่อนชีวิต โบราณกล่าวว่า “ม้ามและกระเพาะอาหารเป็นรากฐานของชีวิตหลังกำเนิด” 故称脾胃为“后天之本” ทำหน้าที่ควบคุมเลือด พลังลมปราณ ม้ามเป็นธาตุดินมีความเชื่อมโยงกับกระเพาะอาหาร กล้ามเนื้อ ริมฝีปากและปาก ตำราแพทย์จีนโบราณได้บันทึกรูปร่างของม้าม มีลักษณะโค้งแบนเหมือนเคียว คล้ายกายวิภาคของตับอ่อนในแผนปัจจุบัน ม้ามในความหมายแพทย์แผนจีนมีหน้าที่ในการควบคุมเลือด สร้างน้ำย่อยในการย่อยอาหาร การดูดซึม ลำเลียงอาหาร อวัยวะม้ามจึงมีหมายถึงครอบคลุมถึงม้ามและตับอ่อน รวมถึงลำไส้เล็กด้วย …

ระบบย่อยและดูดซึมอาหาร ในมุมแพทย์แผนจีน Read More »