ความผิดปกติของร่างกายในมุมมองของแพทย์แผนจีน

ผลวิจัยใหม่ ของสุดยอดสมุนไพรทิเบต หงจิ่งเทียน (红景天)

ผลการวิจัยใหม่ ของสุดยอดสมุนไพรทิเบต หงจิ่งเทียน (红景天) จากการค้นคว้าวิจัยใหม่ๆ เกี่ยวกับสมุนไพร หงจิ่งเทียน (红景天) พบข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ — หงจิ่งเทียน ประกอบด้วยแร่ธาตุที่พบน้อยแต่จำเป็น (Trace elements) กว่า 35 ชนิด, กรดอะมิโน 18 ชนิด และวิตามิน A, D, E ซึ่งเป็นสารซูเปอร์ออกไซด์ (超氧化物) ที่เป็นตัวทำลายอนุมูลอิสระที่เกิดจากการเผาผลาญภายในเซลล์ ช่วยชะลอวัย — หงจิ่งเทียน ช่วยลดภาวะกดดันของร่างกายและจิตใจ คนที่ได้รับภาวะกดดันจากการทำงาน ความเครียดทำให้มีผลตามมาถึงภาวะทางจิตใจ ขาดความอดทน มีอาการของโรคกระเพาะอาหาร และภูมิคุ้มกันตก — หงจิ่งเทียน สามารถปรับระดับฮอร์โมนคอร์ติโซน (Cortisol) โดยปราศจากผลข้างเคียง สามารถลดภาวะความกดดัน ลดความเครียดทางอารมณ์และความเมื่อยล้าทางร่างกาย ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด — หงจิ่งเทียน เพิ่มพลังในการทำงาน มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการสร้าง เอทีพี (ATP) ซึ่งเป็นสารให้พลังงานของร่างกาย สามารถเพิ่มความทนทาน ลดการอักเสบโดยเฉพาะหลังการออกกำลังกายที่มีอาการปวดเมื่อยล้า ช่วยเสริมสร้างสมรรถนะสำหรับนักกีฬา — …

ผลวิจัยใหม่ ของสุดยอดสมุนไพรทิเบต หงจิ่งเทียน (红景天) Read More »

ความยากลำบาก 5 ประการ ในการดูแลสุขภาพ ( 养生五难 )

หนังสือแพทย์จีนโบราณชื่อ ต๋าหนานหยางเซิงลุ่น (答难养生论) ได้พูดถึงความยากลำบาก 5 ประการที่เป็นอุปสรรคสำคัญของการดูแลสุขภาพ ดังนั้นก่อนที่จะเข้าถึงเป้าหมายการมีสุขภาพดี เราลองมาพิจารณาด่านสำคัญทั้ง 5 กัน

การเสริมสร้างสุขภาพแบบแพทย์แผนจีน

การรักษาแบบแพทย์แผนจีน ให้น้ำหนักที่การรักษาคน เนื่องจากการรักษาแบบแพทย์แผนจีนเน้นที่การเยียวยาทั้งระบบ ถ้าปัญหาหลักได้รับการแก้ไข อาการหลายๆอย่างจะหายไปพร้อมๆกัน การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันและการรักษาโรค ต้องคำนึงถึงการปรับสภาพพื้นฐานของร่างกายร่วมด้วยเสมอ

แพทย์แผนจีน กับอาการปวดกล้ามเนื้อเอ็นกระดูก (ปี้เจิ้ง)

ในมุมมองของแพทย์แผนจีน อาการปวดกล้ามเนื้อเอ็นและกระดูกหรืออาการปวดเส้น ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเมื่อยล้าหนัก ยืดหดลำบาก เหน็บชา ปวดข้อ ข้อบวมอักเสบ ปวดข้อรูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ ฯลฯ มักเป็นโรคที่มีการดำเนินโรคอย่างต่อเนื่อง หายแล้วกำเริบใหม่ได้อีก

เกร็ดความรู้ แพทย์แผนจีน กับโรคหลอดเลือดสมอง

หลอดเลือดสมองแตก มักเป็นในผู้สูงวัย มีอารมณ์โมโหฉุนเฉียวง่าย ทั้งนี้เป็นเพราะคนสูงวัยมีความเสื่อมของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ขาดความยืดหยุ่น รวมทั้งยังมีผลจากหลายปัจจัย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง

แพทย์แผนจีน กับภาวะความดันโลหิตสูง

การแพทย์แผนปัจจุบันเชื่อว่า ภาวะความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ น่าจะเกิดจากหลายๆ ปัจจัยร่วมกัน ขณะที่แพทย์แผนจีน มองว่าภาวะความดันโลหิตสูงเป็นการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อการติดขัดของการไหลเวียนเลือดส่วนปลายของสมอง

โรคกรดไหลย้อน (胃食管反流病) มุมมองแพทย์แผนจีนและแผนปัจจุบัน (2)

การตรวจวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อนโดยทั่วไปได้จากการชักประวัติและอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก แต่ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยพิเศษเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การเอกซเรย์กลืนสารทึบแสง หรือการตรวจวัดความเป็นกรด – ด่างในหลอดอาหาร ซึ่งให้ผลในการวินิจฉัยโรคได้รวดเร็ว

โรคกรดไหลย้อน (胃食管反流病) มุมมองแพทย์แผนจีนและแผนปัจจุบัน (1)

โรคกรดไหลย้อน คือภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนมาในหลอดอาหาร ทำให้หลอดอาหารเกิดการอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก ปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่ที่เรียกว่า heart burn บางครั้งอาจจะร้าวไปที่คอได้ และบางครั้งอาจจะรู้สึกรสเปรี้ยว

เรื่องของหมอเก่งกับหมอไม่เก่ง (良医与庸医)

การเป็นหมอที่เก่ง ที่ดี หรือไม่เก่ง ไม่ดี มีส่วนกำหนดชีวิตของผู้ป่วย จะรักษาผู้ป่วย หรือฆ่าผู้ป่วยโดยไม่เจตนา เป็นเรื่องที่ต้องพึงใส่ใจ

นอนดึก-นอนไม่หลับ ทำลายสุขภาพระยะยาว

นายสมศักดิ์ตื่นแต่เช้าไปทำงาน ด้วยสภาพร่างกายอิดโรย ต้องติดตามดูฟุตบอลโลกนัดสำคัญติดต่อกันหลายคืนกับเพื่อนๆ ท่ามกลางกับแกล้มและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอดคืน เวลาเข้านอนก็รู้สึกหลับไม่สนิท เพราะตื่นเต้นจากเหตุการณ์ในเกมกีฬาทำให้นำเอากลับไปฝันต่อ เด็กหญิงณิชา ชอบท่องอินเทอร์เน็ตติดต่อสื่อสารกับเพื่อนๆ เป็นชีวิตจิตใจ มักใช้เวลาตอนดึกๆ เพลิดเพลินจนติดลม กว่าจะได้นอนก็ตี ๑ ตี ๒ เข้าไปแล้ว นางอารี อาชีพพยาบาล ทำงานเข้าเวรดึกบ้าง เวรเช้าบ้าง เช่นเดียวกับนางสาวสมสกุล อาชีพแอร์โฮสเตส บริการผู้โดยสารสายการบินต่างประเทศ เวลาการนอนพักผ่อนไม่แน่นอนเหมือนคนทั่วไป หลังจากทำงานมา  ๕ ปี รู้สึกว่าตัวเองแก่ไปมาก สุขภาพระยะหลังก็ไม่ค่อยจะดี คนที่นอนไม่หลับ นอนไม่พอ นอนแล้วฝันบ่อยๆ (หลับไม่สนิท) นอนแล้วผวาตกใจตื่นกลางดึก เมื่อตื่นกลางดึกแล้วหลับต่อยาก คนที่นอนผิดเวลา เช่น นอนกลางวัน ทำงานกลางคืน จะมีความรู้สึกอ่อนเพลีย นอนไม่อิ่ม ต้องการพักมากกว่าคนทั่วไปคนที่นอนกลางคืนทำงานกลางวัน ที่กล่าวมาข้างต้นนี้จัดเป็นประเภทนอนไม่หลับ นอนไม่พอ นอนหลับไม่สนิท สรุปแล้วมีผลต่อสุขภาพเหมือนกัน ทัศนะแพทย์แผนจีน ต่อการนอนหลับ เวลากลางวัน เป็นหยาง ระบบประสาทส่วนกลาง จะถูกกระตุ้นให้มีความตื่นตัว หลังเที่ยงวัน พลังหยางของธรรมชาติจะค่อยๆ ลดลงจนถึงเที่ยงคืน …

นอนดึก-นอนไม่หลับ ทำลายสุขภาพระยะยาว Read More »