บทความสุขภาพฉบับสามหลวง

โรคนับร้อยมีที่มาจากอารมณ์

“คุณหมอคะ เวลาใกล้มีประจำเดือน หนูจะปวดแน่นเต้านมและชายโครง บางทีคลำได้ก้อน แต่พอหมดประจำเดือน ก้อนที่เต้านมก็หายไปค่ะ หนูจะเป็นมะเร็งหรือเปล่าคะ” “เวลาใกล้มีประจำเดือน หนูมักปวดหัวข้างเดียว แต่บางครั้งเวลาเครียดก็เป็นค่ะ หนูเป็นโรคไมเกรนหรือเปล่าคะ” “เวลามีประจำเดือน รู้สึกอยากกินของเปรี้ยว กินแล้วหายหงุดหงิดค่ะ” หลายๆคำถามที่ยกตัวอย่างมา ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันเราพออธิบายอาการและอารมณ์ความรู้สึกได้ว่า เป็นผลมาจากภาวะการณ์เปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงใกล้มีประจำเดือน ซึ่งส่งผลต่อร่างกายและความแปรปรวนทางจิตใจ ทำให้การแสดงออกของอาการต่างๆ ในผู้หญิงแต่ละคนไม่เหมือนกัน ในทัศนะแพทย์แผนจีนได้เชื่อมโยงผลกระทบของร่างกายทั้งอวัยวะตันภายในทั้ง 5 (หัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต) อวัยวะกลวงภายในทั้ง 6 (กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ซานเจียว) เส้นลดปราณที่สัมพันธ์กับอารมณ์และสิ่งกระตุ้นทั้งมวลอย่างแนบแน่น ตัวอย่างที่จะกล่าวถึงคือเรื่องของอารมณ์ทั้ง 7 กับการเกิดโรค อารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ปุถุชนทั้งหลาย ประกอบด้วยอารมณ์ 7 อย่างด้วยกัน คือ ดีใจ โกรธ วิตก กังวล เศร้า กลัว ตกใจ (เนื่องจากอารมณ์วิตกกับอารมณ์กังวลมีลักษณะใกล้เคียงกัน และอารมณ์กลัวกับอารมณ์ตกใจก็มีลักษณะใกล้เคียงกัน จึงจัดไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เหลือเป็นอารมณ์ทั้ง …

โรคนับร้อยมีที่มาจากอารมณ์ Read More »

เรื่องของ “เนื้อหมู”

หมู เป็นสัตว์เลี้ยงที่มีมาช้านาน เช่นเดียวกับแพะ มีบันทึกจากตัวอักษรจีนในกระดองเต่าและกระดูก (甲骨文) เมื่อ 4,000 กว่าปีมาแล้ว คำว่าบ้าน (家) ซึ่งมีส่วนประกอบของตัวบ้าน (房) และเลี้ยงหมูอยู่ข้างล่าง (豕) แสดงว่าทุกบ้านล้วนมีการเลี้ยงหมู หมูเป็นสัตว์เลี้ยงที่ไม่ชอบเคลื่อนไหว ทั้งวันเอาแต่นอน มีแต่ตอนกินอาหารเท่านั้นที่จะมีการเคลื่อนไหว จะมีคอก มีบริเวณให้อยู่ ทำให้จำกัดการเคลื่อนไหว อาหารที่กินมักจะเป็นของเหลว อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ชื้นแฉะ ตามคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง กล่าวว่า “ยินสงบ หยางเคลื่อนไหว” (阴静阳躁) สัตว์ที่เคลื่อนไหวมากจะเป็นหยาง สัตว์ที่เคลื่อนไหวน้อยจะเป็นยิน ดังนั้น นก วัว แพะ ม้า สุนัข จึงจัดเป็นสัตว์ประเภทหยาง หมูจึงจัดเป็นสัตว์ประเภทยิน เนื้อหมู (猪肉) มีลักษณะฤทธิ์เย็น รสเค็มเข้าเส้นลมปราณไต การกินเนื้อหมูจึงมักไม่เกิดไฟในร่างกายง่ายแต่จะเสริมยิน ทำให้อ้วน มีการสะสมไขมัน (ความชื้นเสมหะ) ในร่างกายมาก เช่นเดียวกับลักษณะของหมู                ส่วนต่างๆ ของหมูมีคุณสมบัติในการบำรุงร่างกายต่างกัน                1. ไตหมู ใช้รักษาภาวะไตพร่อง …

เรื่องของ “เนื้อหมู” Read More »

อาการปวดและการรักษาอาการปวด ด้วยแพทย์แผนจีน

แพทย์แผนจีนอธิบายสาเหตุของอาการปวดเกิดจากการไหลเวียนของเลือดและพลังลมปราณในเส้นลมปราณ (Meridian) ติดขัด ไม่คล่อง : ความคล่อง-ไม่ติดขัด (ของเลือดและพลัง) ทำให้ไม่เจ็บปวดการปวดก็เพราะการติดขัด-ไม่คล่อง (ของเลือดและพลัง) ลักษณะการปวดแบบแพทย์แผนจีน 1. การปวดแบบเคลื่อนที่ เช่นการปวดตามข้อ และเปลี่ยนตำแหน่ง เป็นๆ หายๆ เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เหมือนลม เรียกว่า ปวดแบบลม2. การปวดแบบลึกๆ หนักๆ เหมือนผ้าชุบน้ำ เรียกว่า ปวดแบบความชื้น3. การปวดแบบอักเสบ บวม แดง ร้อน เรียกว่า ปวดแบบร้อน4. ปวดแบบรุนแรงมาก โดยเฉพาะเวลากระทบความเย็น เรียกว่า ปวดแบบเย็น5. ปวดแบบเข็มแทง เฉพาะที่ เป็นมากตอนกลางคืน เรียกว่า ปวดแบบเลือดคั่ง6. ปวดแบบเรื่อยๆ ไม่รุนแรง เป็นมากเวลาอ่อนเพลีย เรียกว่า ปวดแบบร่างกายพร่องอ่อนแอ ตำแหน่งการปวด บอกถึงการกระทบกระเทือน เส้นลมปราณอะไร เช่น 1. ปวดบริเวณหน้าผาก – ปวดเส้นลมปราณหยางหมิง2. ปวดศีรษะด้านข้าง – ปวดเส้นลมปราณซ่าวหยาง3. …

อาการปวดและการรักษาอาการปวด ด้วยแพทย์แผนจีน Read More »

เปรียบเทียบ สาเหตุของการเกิดโรค

เคยกล่าวไปแล้วหลายครั้ง เกี่ยวกับแนวคิดการรักษาแบบแผนจีนกับแผนตะวันตก วันนี้จะขยายความลงรายละเอียด ถึงความแตกต่างของการมองปัญหา เหตุของการเกิดโรคของทั้งสองแผนเหตุแห่งโรคของแผนปัจจุบัน : ความพยายาม ค้นหา “สิ่งที่ทำให้เกิดโรค”Žตำราการแพทย์ของแผนปัจจุบันให้ความสำคัญเกี่ยวกับรักษาโรคเป็นหลัก คนทั่วไปอ่านเข้าใจยาก เพราะจะเน้นหนักไปที่โรคต่างๆ มีสาเหตุจากอะไร ทำให้เกิดโรคได้อย่างไร มีกลไกการเกิดโรค การดำเนินของโรคอย่างไร ใช้ยาเคมีอะไรรักษา ยามีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไรหรือต้องใช้วิธีการอื่น เช่น การผ่าตัด กายภาพบำบัด เป็นต้น ปรากฏว่าปัจจุบันมีโรคจำนวนมากที่มักจะตรวจหาสาเหตุหรือตัวก่อให้เกิดโรคไม่ได้ รู้แต่ว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง แต่ก็ไม่สามารถฟันธงลงไปได้ว่าเป็นเพราะสาเหตุใด สุดท้ายก็สรุปว่าไม่รู้สาเหตุ และให้การดูแลรักษาด้วยการควบคุมและแก้ไขอาการเฉพาะหน้าไป บางรายโชคดีอาจฟื้นตัวหายได้หรือบรรเทาไปได้ ผู้ป่วยอีกจำนวนมากก็ต้องให้ยาควบคุมอาการไปเรื่อยๆ แนวคิดการหาสาเหตุ หรือค้นหาตัวทำให้เกิดโรคเป็นแนวคิดที่มาจากพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์แขนงต่างๆ โดยเฉพาะทางชีววิทยา พยาธิวิทยา ชีวโมเลกุล คือเมื่อมีการค้นพบกล้องจุลทรรศน์มองเห็นเซลล์เนื้อเยื่อ เห็นรายละเอียดของร่างกายสภาพปกติ และมองเห็นร่างกายภาวะไม่ปกติ (มีพยาธิสภาพ) มองเห็นตัวเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา สิ่งกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ เซลล์ผิดปกติสารก่อภูมิแพ้ในร่างกาย ความผิดปกติของยีน เป็นต้น การรักษาของแผนปัจจุบัน จึงมุ่งเน้นทำลายตัวก่อโรค เช่น ติดเชื้อแบคทีเรีย ติดเชื้อไวรัส ติดเชื้อรา จึงมีแนวทางการศึกษาวิจัยยาใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำลายหรือฆ่าแบคทีเรีย ไวรัสหรือเชื้อรา …

เปรียบเทียบ สาเหตุของการเกิดโรค Read More »

ภาวะร้อนชื้นของตับและถุงน้ำดี คืออะไร?

ผู้ป่วยตับอักเสบ ตับแข็ง นิ่วในถุงน้ำดี ถุงน้ำดีอักเสบ ที่มาพบแพทย์จีน บ่อยครั้งจะวินิจฉัยว่าเกี่ยวข้องกับภาวะร้อนชื้นของตับและถุงน้ำดี บางรายมาด้วยปัญหาผื่นคัน อักเสบเรื้อรังบริเวณขาหนีบ  บริเวณร่มผ้า  หรือการอักเสบของลูกอัณฑะ  อุ้งเชิงกรานอักเสบ  หรือการอักเสบติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ทางแพทย์จีนจะวินิจฉัยว่าเกิดจากการร้อนชื้นของเส้นลมปราณตับ      ภาวะร้อนชื้น  บ่งบอกถึงการตกค้างของของเสียหรือความชื้นเป็นระยะเวลายาวนาน   แล้วเกิดความร้อนตามมา   ลองมาติดตามดูว่าแพทย์แผนจีนกล่าวถึงเรื่องเหล่านี้อย่างไรบ้าง 1. ภาวะตับ-ถุงน้ำดีร้อนชื้น มีความหมายอย่างไร ?ภาวะที่มีการสะสมความร้อน-ความชื้นของตับและถุงน้ำดีทำให้ระบบการขับระบายของพลังตับและการขับน้ำดีผิดปกติ  เกิดอาการผิดปกติของตับ (กลไกพลังผิดปกติ)        หรือของถุงน้ำดี (ดีซ่าน) หรือของเส้นลมปราณตับ (ตกขาวมีสีเหลือง กลิ่นเหม็น) หรือเส้นลมปราณถุงน้ำดี (ร้อนสลับหนาว)  2. อาการทางคลินิกที่สำคัญของภาวะตับ-ถุงน้ำดีร้อนชื้นคืออะไร ?1. ปวดแน่นชายโครง2. เบื่ออาหาร  คอขม3. ปัสสาวะเหลืองเข้ม  ปริมาณน้อย4. ตรวจพบลิ้นมีฝ้าเหลืองเหนียว  ชีพจรลื่นเร็ว อาการร่วมอื่นๆ1. ร้อนชื้นของตับ: ตัวเหลือง  ตาเหลือง  เบื่ออาหาร  ท้องแน่น  อาเจียน คอขม  ไม่ค่อยถ่ายอุจจาระ  ปัสสาวะเหลืองเข้ม2. ร้อนชื้นของถุงน้ำดี: ปวดชายโครงด้านขวาร้าวไปถึงหัวไหล่ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ไม่ชอบอาหารประเภทมัน เลี่ยน หรือมีก้อนใต้ชายโครงขวา อุจจาระแข็งแห้ง                มีสีขาวเทา  …

ภาวะร้อนชื้นของตับและถุงน้ำดี คืออะไร? Read More »

7 อาการไอ ในมุมมองแพทย์แผนจีน

ปอดเหมือนหลังคาหรือสิ่งปกคลุมอวัยวะจั้งอื่นๆ (肺为华盖)  เปรียบเสมือนเครื่องกำบังสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงภายนอก เช่น ลม แดด ฝน หิมะของรถม้า(车盖)พระที่นั่งของกษัตริย์โบราณ  การเปลี่ยนแปลงภายนอกหรือปัจจัยก่อโรคภายนอกต้องมากระทบสิ่งกำบัง(อวัยวะปอด)ก่อนที่จะบุกรุกไปที่อวัยวะอื่นๆ  ปอดเป็นอวัยวะที่บริสุทธิ์และอ่อนแอ (清虚之体) การเปลี่ยนแปลงของอากาศมีผลกระทบโดยตรงกับการรับความรู้สึกของผิวหนังและอากาศที่เข้าสู่ถุงลม จึงเป็นด่านแรกของการถูกรุกรานจากภายนอกโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของอากาศภายนอก อากาศในปอดไม่บริสุทธิ์ ทำให้กลไกของปอดในการกำกับการแพร่กระจายของชี่  และการกำกับพลังลงล่าง(肺气不清,失于宣肃) หรือหายใจเข้าดูดซับเอาสิ่งดี หายใจออกเอาขับสิ่งที่เสีย(吸清呼浊) เสียหน้าที่ เกิดพลังย้อนขึ้นด้านบนและเกิดเสียงไอ บางครั้งร่วมกับการขากเสมหะ กลไกการเกิดโรค เนื่องจากเหตุแห่งโรคและการปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่างกันทำให้มีลักษณะการไอแตกต่างกันไป โดยทั่วไปแบ่งเป็น สาเหตุมาจากปัจจัยก่อโรคภายนอกเป็นด้านหลัก เช่น ลมเย็น ลมร้อน ความแห้ง การแสดงออกของโรคเป็นแบบเฉียบพลัน รวดเร็ว ระยะเวลาดำเนินของโรคสั้น มักมีอาการไข้ ปวดศีรษะ กลัวความเย็น และไอมีเสมหะ สาเหตุมาจากปัจจัยภายใน คือภาวะเสียสมดุลของการทำงานของอวัยวะภายใน การแสดงออกของโรคเป็นแบบช้าๆ เรื้อรัง ระยะเวลาดำเนินของโรคใช้เวลานาน 7 กลุ่มอาการไอ วินิจฉัยแบบแพทย์แผนจีน 1.ลมเย็นโจมตีปอด(风寒犯肺) อาการสำคัญ  เริ่มต้นไอคันคอ ไอเสียงดัง หายใจเร็ว ขากเสมหะใส เป็นฟอง มีอาการแน่นจมูก น้ำมูกใส ฝ้าบนลิ้นขาวบาง ชีพจรลอย …

7 อาการไอ ในมุมมองแพทย์แผนจีน Read More »

ฤดูกาลกับการปฏิบัติตัว เพื่อให้เกิดสมดุล

ธรรมชาติมีผลกระทบต่อสุขภาพ คนที่จะมีสุขภาพดี ต้องเรียนรู้ธรรมชาติ และดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ คนจีนโบราณเขามีหลักในการปฏิบัติตัวให้สอดคล้องกับฤดูกาลอย่างไร? ลองติดตามดูซิครับ ประเทศจีนนั้นโดยทั่วไปจะมีฤดูกาลอยู่ 4 ฤดู โดยแต่ละฤดู มีระยะเวลา 3 เดือน แต่ละฤดูมีลักษณะแปรเปลี่ยนของอากาศ คือ ฤดูใบไม้ผลิ อากาศอบอุ่น, ฤดูร้อน อากาศร้อนอบอ้าว, ฤดูใบไม้ร่วง อากาศเย็น, ฤดูหนาว อากาศหนาวเย็นยะเยือก การเปลี่ยนแปลงของอากาศมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสารในร่างกายและมีผลต่อจิตใจ การแพทย์จีนเชื่อว่าการตระเตรียมร่างกายและจิตใจให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทำให้โรคภัยไข้เจ็บไม่เบียดเบียน เช่น  ฤดูใบไม้ผลิ มีระยะเวลา 3 เดือน ธรรมชาติเริ่มต้นเคลื่อนไหว ต้นไม้ใบหญ้า เริ่มแตกหน่อ สรรพสิ่งเริ่มงอกงาม พลังผลักดันของธรรมชาติสูง ควรนอนหลับตั้งแต่หัวค่ำ ตื่นนอนแต่เช้า การนอนหัวค่ำเพื่อดูดซับพลังยินแก่อวัยวะภายใน ตื่นนอนแต่เช้า เดินเล่นหรือออกกำลังกาย เพื่ออาศัยพลังหยางในฤดูกาลนี้หย่อนคลายกล้ามเนื้อและผ่อนคลายจิตใจ (เมื่อถึงฤดูร้อนก็จะมีพลังไปสอดรับกับภาวะความร้อนอบอ้าว)นอกจากนี้ ฤดูใบไม้ผลิ คนมักเป็นหวัดบ่อย ต้องระวังเรื่องเสื้อผ้า การเปลี่ยนแปลงของอากาศและการกินอาหาร มีข้อแนะนำคือ ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือนวดบริเวณ 2 ข้างของปีกจมูก จุดอิ๋งเซียง (วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ …

ฤดูกาลกับการปฏิบัติตัว เพื่อให้เกิดสมดุล Read More »

โรคแพ้อากาศ

เป็นโรคแพ้อากาศมา 40 ปี นานขนาดนี้จะมีวิธีรักษาให้หายขาดหรือไม่?ไปหาคำตอบกันครับ คนไข้ : ผมอายุ 65 ปี ผมออกกำลังกายด้วยการเดิน วิ่งเบาๆ ปั่นจักรยานวันละ 30 นาที ทุกวัน สภาพร่างกายแข็งแรงดี แต่มีปัญหาที่จะเรียนปรึกษาคุณหมอคือ ผมเป็นโรคแพ้อากาศตั้งแต่ตอนอายุ 23 ปี ครั้วแรกที่เป็นก็เหมือนเป็นหวัดธรรมดา คัดจมูก หายใจไม่สะดวก มีน้ำมูกหรือบางครั้งก็ข้นนิดๆเท่านั้น จะเป็นไม่เลือกเวลาเช้า กลางวัน เย็น กลางคืน ตี 1 ตี 2 บางครั้งก็นานเป็น 5-6 ชั่วโมง บางครั้งครึ่งวัน บางครั้งเป็นพักเดียวก็หาย ตอนใกล้หายจะมีอาการง่วงนิดหน่อยแล้วก็หาย น้ำมูกที่ออกมาเป็นน้ำใสๆ ทุกวันนี้รักษาด้วยยาจากโรงพยาบาล มันก็เพียงบรรเทาเท่านั้น ไม่หายขาด ไม่เคยปวดหัว ไม่เคยเจ็บที่ดั้งจมูก ไม่ทราบว่ามีวิธีการรักษาแบบแพทย์แผนจีนให้หายขาดหรือไม่ขอความกรุณาคุณหมอช่วยตอบด้วยนะครับ ตอบ : อาการที่เล่ามาเป็นโรคแพ้อากาศ ยาทางแพทย์ปัจจุบันส่วนมากที่ได้รับเข้าใจว่า เป็นยาแก้แพ้ บรรเทาอาการเท่านั้น ในเรื่องแพ้อากาศแพทย์แผนจีนมองว่า นอกจากสาเหตุจากปัจจัยภายนอก เช่น ความเย็น …

โรคแพ้อากาศ Read More »

เห็ดหูหนู สุดยอดของเห็ด

เห็ดหูหนูเป็นเห็ดที่หาง่าย ราคาไม่แพง มีการบริโภคอย่างกว้างขวาง ไม่ใช่เฉพาะอาหารจีนเท่านั้น ปัจจุบันเป็นอาหารทั่วไป เช่น ผัดเนื้อไก่ใส่ขิงใส่เห็ดหูหนู ยำเห็ดหูหนู แกงจืดเห็ดหูหนู เป็นต้น เรียกว่า เป็นอาหารที่คุ้นเคยสำหรับคนไทย  เห็ดหูหนูมีอยู่ 2 ชนิด  1. เห็ดหูหนูขาว   2. เห็ดหูหนูดำ เห็ดหูหนูขาว ได้ถูกยกย่องเป็น สุดยอดของเห็ด สมัยก่อนเป็นเห็ดที่พบได้น้อยตามธรรมชาติ ราคาแพง เป็นอาหารบำรุงสำหรับคนที่มีฐานะร่ำรวย แต่ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยง ทำให้ราคาถูก หาซื้อได้ง่าย ในสมัยปลายราชวงศ์ชิง มีการระบาดของวัณโรค ผู้ป่วยมักมีอาการไข้หลังเที่ยงวัน ไอแห้งๆ มีเสมหะปนเลือด มีการใช้เห็ดหูหนูขาวบำรุงรักษา เสริมกับยา ทำให้ผลการรักษาดีขึ้น การศึกษาวิจัยสมัยใหม่พบว่า เห็ดหูหนูขาว มีส่วนประกอบของโปรตีน ไขมัน น้ำตาล ไฟเบอร์ กรดอะมิโน วิตามิน และสารจำเป็นต่างๆ รวมทั้งน้ำมันยางอย่างอุดมสมบูรณ์ สรรพคุณที่สำคัญ คือ ชะลอความเสื่อมของเซลล์ เสริมภูมิคุ้มกัน ทำให้การไหลเวียนเลือดของหัวใจดีขึ้น (ลดอาการหลอดเลือดหัวใจขาด ตีบ) มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ลดอาการแทรกซ้อน ภายหลังการฉายแสงรักษาโรคมะเร็ง สรรพคุณทางยาจีน เสริมบำรุงสารน้ำของปอด บำรุงไต …

เห็ดหูหนู สุดยอดของเห็ด Read More »

12 คาบเวลา ปรับสมดุลตาม นาฬิกาชีวิต

หลักการดูแลสุขภาพให้สอดคล้อง ตามวันเวลา ใน 24 ชั่วโมง สามารถแบ่งได้เป็น 12 คาบ โดยแต่ละคาบเท่ากับ 2 ชั่วโมง พลังลมปราณในร่างกายจะเคลื่อนที่ในพลังลมปราณหลัก 12 เส้นๆ ละ 2 ชั่วโมง เวลาในแต่ละคาบจะมีอวัยวะที่แน่นอนคอยกำกับควบคุมพลังลมปราณ ทำให้เกิดการไหลเวียนของพลังสูงสุดในเส้นลมปราณของอวัยวะนั้นๆที่มีกฎเกณฑ์แน่นอน “วิธีปฏิบัติตัวไร้โรค  12  คาบเวลา” 十二时无病法 1.  子时 (จื่อสือ) ช่วงเวลา 23.00 – 1.00  น. พลังวิ่งในเส้นลมปราณถุงน้ำดีสูงสุด : นอนหลับให้ดี 好好睡觉 เวลานี้เป็นช่วงกำเนิดพลังหยาง คนเราจะง่วงนอนมากก่อนถึงเวลา  23.00 น. พอเลยเวลา  23.00  น. เมื่อพลังหยางเริ่มเกิดมักจะหายง่วงนอนการนอนดึกๆ นานๆ จะทำให้เกิดผลเสียตามมา คือ เกิดโรคนอนไม่หลับ การกินอาหารในช่วงเวลานี้ถือเป็นข้อห้าม เพราะจะทำลายพลังการทำงานของถุงน้ำดีในการขับสารพิษของเสียออกจากร่างกาย 2.  丑时 (โฉ่วสือ) ช่วงเวลา 1.00 – …

12 คาบเวลา ปรับสมดุลตาม นาฬิกาชีวิต Read More »

อาหารสมุนไพร ป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว

คนสูงอายุ มักจะมีปัญหาเรื่องของ หลอดเลือดแข็งตัว จากสาเหตุความเสื่อมตามอายุขัยหรือจากโรคความดันโลหิตสูง  โรคไขมันในเลือดสูง  เบาหวานที่เป็นมาหลายปีแม้ว่าจะได้รับการบำบัดดูแลรักษาอย่างดีด้วยยามาอย่างต่อเนื่องก็ตาม หลอดเลือดแข็งตัว  ทำให้อวัยวะสำคัญๆ เกิดปัญหาได้ง่าย  เช่น สมอง หัวใจ และไต ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองแข็งตัว  มีโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก เกิดอัมพฤกษ์ – อัมพาต อีกทั้งทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ง่าย, ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจแข็งตัว ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน จะทำให้หัวใจขาดเลือด, ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสื่อมแข็งตัว ทำให้ไตฝ่อ ไตทำหน้าที่น้อยลงเกิดภาวะไตวาย และในกรณีที่หลอดเลือดทั่วร่างกายแข็งตัว  อวัยวะทุกส่วนของร่างกายขาดเลือดหล่อเลี้ยง   เกิดอาการไม่สบายทั้งตัว  ปลายมือปลายเท้าชา  กล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่างกายอ่อนเพลีย ดังนั้นการดูแลหลอดเลือดให้แข็งแรง ยืดหยุ่น จึงเป็นการดูแลสมอง หัวใจ และสุขภาพโดยรวมด้วย ปรมาจารย์แพทย์จีน หลี่สือเจิน ( 李时珍)  กับเคล็ดลับอาหาร ป้องกันรักษาโรคสมอง 1. เก๋อเกิน  (葛根) บางคนเรียกว่า โสมภูเขา  ( 山人参 ) มีสรรพคุณสำคัญ คือ เสริมธาตุน้ำ  ขยายหลอดเลือด …

อาหารสมุนไพร ป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว Read More »

โคโรคหรือหนิวหวง กับตำรับยาที่น่าสนใจ

ถ้าคนชำแหละวัวบังเอิญพบว่าวัวตัวที่ถูกชำแหละมีนิ่วในถุงน้ำดีต้องเรียกว่าพบโชคลาภอันยิ่งใหญ่ ราคาของนิ่วดูเหมือนจะแพงกว่าราคาตัวของวัวทั้งตัวเสียอีก…นิ่วของวัว จึงเป็นของหายาก ไม่ใช่สิ่งที่จะพบหาได้ง่ายๆ มีความพยายามเลียนแบบธรรมชาติ ทำการผลิตหรือทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดีวัว เช่น นำก้อนวัตถุชิ้นเล็กๆ เพื่อเป็นเชื้อใส่เข้าไปในถุงน้ำดี และเย็บปิดถุงน้ำดีเพื่อให้ก้อนนิ่วๆค่อยๆก่อตัวในถุงน้ำดี หรือแยกแยะส่วนประกอบของนิ่วในถุงน้ำดีของวัวที่เป็นโรค แล้วเลียนแบบผลิตนิ่วถุงน้ำดีโดยอาศัยสัดส่วนตามที่แยกแยะได้ อย่างไรก็ตามคุณภาพนิ่วจากฝีมือมนุษย์ต่อการรักษาโรคจะสู้นิ่วในถุงน้ำดีแบบธรรมชาติไม่ได้  แต่ราคาจะถูกกว่ากันมาก หนิวหวง (牛黄) ที่ใช้กันในท้องตลาดจะเป็นแบบที่มนุษย์ผลิตขึ้นมากกว่า 98% สรรพคุณของโคโรคหรือหนิวหวง (牛黄 ) – เป็นยาที่มีรสขมหวาน ฤทธิ์เย็น – เข้าสู่เส้นลมปราณหัวใจและตับ – มีสรรพคุณในการขับความร้อนของหัวใจ(รวมหมายถึงสมอง) เปิดทวาร (ทำให้ฟื้นสติ) สลายเสมหะ แก้อาการชักเกร็ง มักใช้รักษาผู้ป่วยที่มีความร้อนภายในแล้วรบกวนสมองทำให้หมดสติ (ภาวะเส้นเลือดสมองแตกแบบแกร่ง) พูดจาเพ้อ ผู้ป่วยโรคจิตประสาทที่เอะอะโวยวาย เด็กชักกระตุก แผลอักเสบในลำคอ ฟัน แผลในปากและแผลบนลิ้น ฝีหนอง การอักเสบต่างๆ ของร่างกาย ช่วยกระตุ้นการขับน้ำดีปกป้องตับ ขนาดที่ใช้    :   ครั้งละ 0.2 – 0.5 กรัมโดยใช้ผสมเป็นลูกกลอนรับประทาน (ไม่ใช้การต้ม) ข้อควรระวัง  :   หลีกเลี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ และคนที่ไม่มีภาวะร้อนแกร่ง (ต้องเป็นไข้ตัวร้อนหรืออักเสบ …

โคโรคหรือหนิวหวง กับตำรับยาที่น่าสนใจ Read More »

ทำไมคน ความดันโลหิตสูง ชอบกินเค็ม?

หลายคนมีคำถามว่า ทำไมคนที่มีความดันโลหิตสูงจึงชอบอาหารที่มีรสจัดหรือรสเค็ม? ประเด็นนี้ แพทย์แผนจีนมองว่าคนที่มีความดันโลหิตสูงมักจะชอบรสเค็ม ไม่ใช่เพราะกินรสเค็มเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง แต่คนที่เป็นความดันโลหิตสูงมีพื้นฐานความพร่องของพลังตับและไต คนปกติสุขภาพดีสามารถกระตุ้นพลังไตโดยไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารรสเค็มหรือปรุงรสแต่พอควรได้ แต่คนที่อวัยวะภายในเสื่อมลง(ตัวอย่างเช่น คนที่เป็นโรคเรื้อรัง คนสูงอายุ) จะเบื่ออาหาร การรับรสชาติลดน้อยลง จึงต้องการอาหารรสจัด รสเข้มข้นมากระตุ้นร่างกาย รสเค็มเข้าเส้นลมปราณไต คนที่พลังหยวนชี่อ่อนแอจึงมีความต้องการรสเค็มไปกระตุ้นการทำงานของไตมากเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามการสร้างนิสัยรับประทานอาหารเค็มเป็นประจำมากเกินไป ก็มีผลต่อความอ่อนแอของไตในระยะยาว  สำหรับการดูแลป้องกันและดูแลตนเองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ทำได้ดังนี้ ควบคุมอารมณ์ ควบคุมกลไกพลังของร่างกาย ทำให้อวัยวะภายในทำงานปกติ ฝึกสงบจิตอารมณ์ การหยุดจิต สงบอารมณ์ ปิดตา เป็นการควบคุมพลังหัวใจ(รวมถึงการพักสมอง) ดึงเลือดกลับสู่ด้านล่าง คลายหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ฝึกหายใจลึกเข้าถึงช่องท้อง เคลื่อนไหวกระบังลม ช่วยกระตุ้นอวัยวะภายใน โดยเฉพาะ ม้ามและไต มั่นขมิบก้น เป็นการเสริมพลังไต และดึงพลังลงล่าง ดูแลอาหารการกิน หลีกของมันจัด หวานจัด เค็มจัด พยายามไม่กินอาหารรสจัดเกินไป พักผ่อนเพียงพอ  ไม่นอนดึก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ห้ามหักโหมจนเกินไป ความดันค่าล่าง กับความดันค่าบน ความดันโลหิตค่าบนสูง เป็นความดันที่มักพบในผู้สูงอายุ สัมพันธ์กับความเสื่อมและการแข็งตัวของหลอดเลือด ภาวะไขมันในเลือดสูง ทำให้ขาดความยืดหยุ่น หลอดเลือดฝอยส่วนปลายขยายตัวได้น้อย  …

ทำไมคน ความดันโลหิตสูง ชอบกินเค็ม? Read More »

จิงของไต ไม่พอ

“ลูกของดิฉันมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กอื่น ให้คุณหมอเด็กที่โรงพยาบาลตรวจรักษา หมอบอกว่าเป็นความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมนการเจริญเติบโตตอนนี้ได้ฮอร์โมนรักษาดีขึ้นมาก คุณหมอนัดดูแลให้เป็นระยะๆ อยู่”Ž“ผมกับภรรยาไปปรึกษาแพทย์เรื่องมีบุตรยาก แต่งงานกันมาเกือบ 5 ปี ยังไม่มีบุตรเลย ทั้งที่ไม่ได้ คุมกำเนิด หมอตรวจน้ำเชื้อผมแล้วบอกว่า เชื้ออ่อน ปริมาณน้อย ไม่แข็งแรง ส่วนประจำเดือนของภรรยาผมก็ไม่แน่นอน หมอนัดไปปรึกษาวางแผนการรักษา ที่โรงพยาบาล แต่บางคนก็แนะนำให้ไปหาหมอจีน เพราะได้ข่าวจากเพื่อนคนหนึ่งว่า ยาจีนสามารถรักษาภาวะมีบุตรยากได้ ผมก็ยังไม่เข้าใจอะไร กำลังตัดสินใจอยู่”Ž“ไม่ได้พบเขาตั้งนาน เขาเปลี่ยนไปมาก หน้าตาแก่ไปเยอะ ความจำเสื่อม ขาก็ไม่มีแรง ผมร่วง ผมขาว เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ทั้งๆ ที่อายุ 50 เศษๆ เอง ผมแนะนำให้เขาไปซื้อยาบำรุงชะลอความแก่ ตำรับยาจีนมากิน เพราะว่าเขาเป็นโรคไตเสื่อม”Žปัญหาเรื่องการเติบโตช้า วัยเจริญพันธุ์ (ช่วงที่สามารถสืบพันธุ์) ไม่สามารถผลิตเชื้อหรือระบบประจำเดือนผิดปกติ รวมทั้งความเสื่อมชราเร็วกว่ากำหนด มักมีปัจจัยเรื่องของฮอร์โมนภายในร่างกายเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่มาก ภาษาแพทย์จีนเรียกว่า “ภาวะจิงของไตไม่พอ” หรือ “ภาวะจิงของไตพร่อง” 1. ความหมายและสิ่งตรวจพบของ “จิงของไตไม่พอ”Žอาการจิง เป็นสารสุดยอดของร่างกาย เก็บสะสมที่ไต (เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนต่างๆ ของร่างกาย) จิงของไตมีมาแต่กำเนิด (จากพันธุกรรม) …

จิงของไต ไม่พอ Read More »

ดูแลสุขภาพด้วยการ ถูฝ่ามือกับฝ่าเท้า

แพทย์จีนนามอุโฆษฉายา “ ราชาสมุนไพร 药王” อายุยืนยาว 141 ปีแห่งราชวงศ์ถังซุนซือเหมี่ยว孙思邈 ( ปีคศ. 541-คศ.682)เคล็ดลับคือท่านใช้เทคนิคการดูแลสุขภาพ 13 วิธี“ 养生十三法”ในการดูแลตัวเองทุกวันหนึ่งในวิธีนั้นคือเทคนิคการถูฝ่ามือกับฝ่าเท้า(手心搓脚心) เทคนิคการถูฝ่ามือกับฝ่าเท้า การใช้ใจกลางฝ่ามือถูกับใจกลางฝ่าเท้า(手心搓脚心) กลางฝ่ามือของคนเรามีจุดฝังเข็มคือ จุดเหลากง(劳宫穴)เป็นจุดของเส้นลมปราณเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นตัวแทนของหัวใจปลายนิ้วกลางเป็นจุดปลายของเส้นลมปราณนี้ เรียกว่าจุด จงชง(中冲穴) เอาเท้าขวาพาดบนหน้าตักซ้าย หงายฝ่าเท้าขวาขึ้น ให้เอามือ 2 ข้างมาถูกัน ให้ปลายนิ้วกลางถูกันผ่านจุดเหลากง(劳宫穴)จนเกิดความร้อน ใช้ฝ่ามือซ้ายถูกลางฝ่าเท้าขวา แล้วเอาไปถูใจกลางฝ่าเท้า ซึ่งมีจุดหย่งเฉวียน(涌泉穴)ซึ่งเป็นจุดของเส้นลมปราณไต ถูขึ้นลง 100 ครั้งจนเกิดความร้อน จากนั้นสลับเอาเท้าซ้ายพาดบนหน้าตักขวา หงายฝ่าเท้าซ้าย ใช้ฝ่ามือขวาถูกลางฝ่าเท้าซ้าย ขึ้นลง 100 ครั้งจนเกิดความร้อนเช่นกัน ทำให้พลังส่วนบนและส่วนล่างถ่ายเทถึงกัน  เวลาที่เหมาะสมคือ ช่วงเช้าตื่นนอน และก่อนนอน หลังจากถูฝ่ามือกับฝ่าเท้าเสร็จ 30 นาที ให้ดื่มน้ำอุ่นๆ 1 แก้ว โดยทั่วไปใช้เวลาทำครั้งละประมาณ 10 นาที ติดต่อกันทุกวัน      หมายเหตุ: –  …

ดูแลสุขภาพด้วยการ ถูฝ่ามือกับฝ่าเท้า Read More »