โรคระบบทางเดินหายใจ

ข้อสรุป “ยาเหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง” รักษาโควิด-19 ได้จริงหรือ?

ในมุมมองแพทย์แผนจีน การเกิดโรค อาการ และความรุนแรงของโรค เป็นผลจากการต่อสู้กันของสิ่งก่อโรคที่เข้า่สู่ร่างกายกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (เจิ้งชี่) การเอาชนะโรคจึงต้องเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงเป็นหลัก และป้องการเข้าสู่ร่างกายหรือรีบทำลายเมื่อเชื้อยังมีปริมาณน้อย ช่วงที่สิ่งก่อโรคหรือศัตรูยังไม่ได้บุกเข้าร่างกาย ต้องเน้นการปิดช่องทางเข้าของเชื้อโรค(ผิวหนัง เยื่อบุทางเดินหายใจ)และเสริมสร้างปอดและพลังปกป้องผิว (เว่ยชี่卫气) ใช้การบำรุงเป็นด้านหลักเพื่อเตรียมพร้อม ไม่ใช่ไปเน้นการทำลายหรือการต่อสู้กับสิ่งก่อโรค(เพราะเชื้อโรคยังไม่ได้เข้าสู่ร่างกาย) การใช้ยารักษาในการป้องกันจึงไม่มีประโยชน์และจะมีโทษมากกว่า เหมือนยังไม่เป็นมะเร็งแล้วไปกินยารักษามะเร็ง จึงเป็นเหตุผลที่ว่ายารักษาโควิด-19 ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น ยาฟาวิพิราเวียร์หรือฟ้าทะลายโจรหรือยาเหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง ที่มีฤทธิ์ทำลายลดการแบ่งตัวของไวรัส (ขับพิษขับร้อน) จึงต้องใช้รักษาเมื่อมีการติดเชื้อและมีอาการพิษร้อน เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแล้ว เกิดปฏิกิริยาการต่อสู้กันระหว่างร่างกายกับสิ่งก่อโรคบางคนไม่มีอาการ บางคนมีอาการไม่มาก บางคนมีอาการมาก หลักการรักษาของแพทย์แผนจีน แม้ว่าจะต้องให้ความสำคัญมีตัวยาสมุนไพรขับพิษ รวมถึงขับปัจจัยก่อโรคอื่นๆ เช่น ความเย็น ความร้อน ความชื้น เสมหะ แต่ยังต้องให้ความสำคัญในการเสริมภูมิปรับสมดุลควบคู่ไปด้วย การต่อสู้กับโรคโควิด-19 จึงไม่มียาตำรับเดียวที่ครอบคลุมคนไข้ทุกคน จากภาพรวมทั้งหมดยาทั้ง ยาฟาวิพิราเวียร์  ฟ้าทะลายโจร เหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง เป็นยาที่เน้นการขับพิษร้อน ขจัดสิ่งก่อโรคเป็นหลัก จึงเหมาะสำหรับใช้เพื่อการรักษาเมื่อมีการติดเชื้อและมีอาการอักเสบ ไอ มีไข้ เจ็บคอ  อย่างไรก็ตามอาจพิจารณาให้การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อทันที ทั้งที่ยังไม่มีอาการเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรครุนแรงได้ ทั้งนี้ยังต้องระมัดระวังอีกด้านหนึ่งคือปัญหาการดื้อยา ผลข้างเคียงของยาและการรักษาที่เกินความจำเป็น การรักษาทางคลินิกแบบแพทย์แผนจีนจึงต้องมีการปรับลดตัวยาในตำรับให้สอดคล้องกับสภาพเป็นจริงของผู้ป่วย 1. ยาเหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง เป็นตำรับยาฤทธิ์เย็น มียาขับพิษขับร้อน …

ข้อสรุป “ยาเหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง” รักษาโควิด-19 ได้จริงหรือ? Read More »

“เหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง” ยาป้องกันและรักษาโควิด จริงหรือ?

ความจริงก็คือ เหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง  (连花清瘟胶囊) ไม่ใช้ในการป้องกันโควิด-19 แต่ใช้ในการรักษาเท่านั้น  อย่าหลงเชื่อการโฆษณาคำกล่าวอ้างว่าสามารถรับประทานทั้งป้องกันและรักษาและสามารถกินได้ทุกเพศทุกวัยแม้มีโรคประจำตัว วันที่ 2 เมษายน 2563 FDA ของประเทศจีนได้อนุมัติเพิ่มข้อบ่งใช้รักษา COVID-19 ให้กับ Lianhua Qingwen Capsule (เหลียนฮัว ชิงเวิน แคปซูล) อย่างเป็นทางการ โดยเพิ่มข้อบ่งใช้รักษา COVID-19 ในระดับเบา (Mild case) ที่แสดงอาการไข้ อ่อนเพลียหรือไอ และระดับปานกลาง (Moderate Case) ที่แสดงอาการไข้ อ่อนเพลียหรือไอ ร่วมกับปอดอักเสบ(กลุ่มสีเหลือง) ควบคู่กับการรักษาตามมาตรฐานของแผนปัจจุบัน โดยขนาดรับประทาน 4 แคปซูล 3 เวลา นาน 7-10 วัน สำหรับตัวยาส่วนประกอบของ เหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง มีด้วยกัน 13 ชนิด ดังนี้ 1. จินหยินฮวา (金银花) ฤทธิ์เย็นเล็กน้อย รสหอม ขมเล็กน้อย มีสรรพคุณขับพิษ …

“เหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง” ยาป้องกันและรักษาโควิด จริงหรือ? Read More »

“เหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง” ยาจีนสำเร็จรูปป้องกันและรักษาโควิด?

สถานการณ์โควิดสายพันธุ์เดลต้าของประเทศไทยต้นเดือนสิงหาคม 2564 มียอดคนติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นทะลุ 20,000 คนต่อวัน และตายเกิน 200 คนต่อวัน ซึ่งดูแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไปอีกระยะหนึ่ง ด้วยการประเมินจากจำนวนผู้ฉีดวัคซีนทั่วประเทศที่มีไม่ถึง 10% และการตรวจเชิงรุกหาเชื้อ Covid-19 ด้วย Antigen Kit Test (ATK) และ RT-PCR มากขึ้น โควิดสายพันธุ์เดลต้า แพร่กระจายค่อนข้างรวดเร็ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อยแต่เป็นพาหะ สามารถแพร่เชื้อไปยังคนอื่น โดยเฉพาะคนใกล้ตัว ครอบครัว ชุมชนที่อยู่กันแออัด ในที่อากาศไม่ถ่ายเท ผู้สูงอายุโดยเฉพาะคนที่ร่างกายไม่แข็งแรง และมีโรคประจำตัวจัดเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยง เมื่อติดเชื้อแล้ว มีโอกาสลุกลามไปถึงปอด ทำให้เสียชีวิตได้ง่าย   ความตื่นตระหนกเกิดขึ้นอย่างมาก เมื่อมีข่าวผู้ที่เคยได้วัคซีนครบ 2 เข็มแล้วยังติดโควิด โรงพยาบาลมีเตียงไม่พอรองรับ อัตราการครองเตียงในกทม.เต็ม 100% ไอซียูติดลบ มีข่าวผู้ป่วยนอนตายในบ้าน นอนตายข้างถนน คนติดเชื้อในกลุ่มสีเขียวอาการไม่มากต้องแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) หรือแยกกักตัวในชุมชน(Community Isolation) หรือ Hospitel  หรือโรงพยาบาลสนามตามสถานะและเงื่อนไขของแต่ละคน ยาและสมุนไพรที่ผู้คนเรียกหาในท้องตลาด เมื่อระบบสาธารณสุข บุคคลากรทางการแพทย์เริ่มรับมือไม่ไหวกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น …

“เหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง” ยาจีนสำเร็จรูปป้องกันและรักษาโควิด? Read More »

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดหัวใจ(2)

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจของแผนปัจจุบัน ถ้าไม่มีอาการหรือการตีบตันของหลอดเลือดน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ การตรวจทั่วไปบอกได้ยาก  แต่ถ้ามีอาการ จากการซักถาม และ การตรวจร่างกาย ด้วยตาดู หูฟัง สัมผัสจับชีพจร วัดความดัน สามารถบอกตัวโรคได้ถึง 80%-90%  แต่ก็มีวิธีการหลายอย่างที่จะสามารถช่วยการวินิจฉัยได้ชัดเจนขึ้น •    ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)  เพื่อดูการนำไฟฟ้าของหัวใจ และ จังหวะการเต้นของหัวใจ การเดินสายพาน (Exercise Stress Test ) เพื่อดูสมรรถภาพของหัวใจ   •    การเอกซ์เรย์ทรวงอก(Chest X-ray) เพื่อดูขนาดของหัวใจ และเส้นเลือด จากเงารังสี •    การตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง(Echocardiogram  เรียกสั้นๆว่า “Echo” เพื่อดูการทำงานของหัวใจแบบเป็นภาพเคลื่อนไหว ดูการวิ่งของกระแสเลือด ดูขนาดห้องหัวใจ และ การทำงานของลิ้นหัวใจ •    การฉีดสี (Coronary Angiogram ) เพื่อดูลักษณะของหลอดเลือดหัวใจที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง เพื่อบอกหลอดเลือดตีบกี่เส้น ตีบที่ตำแหน่งไหน •    ตรวจเลือดเพื่อดูสารสัมพันธ์กับกล้ามเนื้อหัวใจ(Cardiac Enzyme ) …

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดหัวใจ(2) Read More »

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดหัวใจ(1)

ข่าวท่าน รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ทีมสู้โควิดประเทศไทยเสียชีวิตกระทันหัน ขณะร่วมวิ่งมินิฮาร์ฟมาราธอน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2563 ในวันเดียวกันที่จังหวัดระยอง มีนักวิ่งเสียชีวิต 2 ราย ในงานวิ่ง อาสาพาวิ่ง 2020 เส้นทางวิ่งรอบอ่างเก็บน้ำดอกกราย อ.ปลวกแดง มีนักวิ่งเข้าร่วมแข่งนับพัน ผู้เสียชีวิตทั้งสองรายเป็นเพศชายอายุ 54 ปี และ 30 ปี ทั้ง 3 คนเสียชีวิตด้วยหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันเป็นข่าวสะเทือนขวัญทั้งๆที่ทุกคนเป็นคนรักสุขภาพ ออกกำลังกาย สถานการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจ Coronary Artery Disease  ของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานว่า โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลก และก็เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย รองมาจากมะเร็งและอุบัติเหตุ ซึ่งโรคหัวใจที่คนไทยเป็นกันมากที่สุด คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  ปีพ.ศ. 2557 มีรายงาน โรคหัวใจขาดเลือดประมาณ 450 รายต่อวัน เสียชีวิตชั่วโมงละ 2 คน  แนวโน้มของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมีสถิติเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ …

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดหัวใจ(1) Read More »

ไขข้อข้องใจ การใช้สมุนไพรรักษาหลอดเลือดตีบ

ข่าวการใช้สมุนไพรเพื่อล้างไขมัน รักษาหลอดเลือดสมองและหัวใจตีบ มีส่วนประกอบสำคัญ คือ ขิงสด พุทราจีนแห้ง เห็ดหูหนูดำ ต้มกับน้ำ ใช้ดื่มกินต่างน้ำ เรื่องนี้มีหลักการทางวิชาการแพทย์แผนจีนอย่างไร ไปติดตามกัน