หัวใจ

เรื่องของ หัวใจ ในทัศนะแพทย์จีน

ในความหมายของแพทย์จีนมีศัพท์และความเข้าใจที่ไม่ตรงกันหลายเรื่องเวลาหมอจีนอธิบายโรคให้กับคนไข้ฟัง รู้สึกแปลกๆ ยิ่งถ้าคนไข้หรือแพทย์แผนปัจจุบันที่ไม่เข้าใจความหมายอาจตีความหมายผิดๆ ตัวอย่างเช่น – เลือดของหัวใจไม่พอ ทำให้ใจสั่น นอนไม่หลับ ฝันมาก ลืมง่าย ความคิดเชื่องช้า ไม่มีชีวิตชีวา– ไฟหัวใจร้อนสู่เบื้องบน ทำให้ปลายลิ้นแดงอักเสบ มีแผลที่ลิ้น– พลังหัวใจอ่อนแอ ทำให้เลือดอุดกั้น– เหงื่อออกมาก เพราะหัวใจมีปัญหา เป็นต้น ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า ” หัวใจ ” หรืออวัยวะภายใน เช่น ตับ ปอด ม้าม ไต ในความหมายแพทย์จีนไม่ได้มีความหมาย ถึงตัวอวัยวะภายในตามวิชากายวิภาคเพียงอย่างเดียว แต่ครอบคลุมถึงหน้าที่การงานหรือคุณสมบัติทางสรีรวิทยาเป็นสำคัญและไม่ได้หมายถึงเฉพาะตัวอวัยวะนั้นๆ แต่บางครั้งไป คาบเกี่ยวกับระบบหรืออวัยวะอื่นๆ ด้วยต่อไปจะกล่าวถึงอวัยวะภาย ใน ” หัวใจ ” ในความหมายของแพทย์จีน 1. หัวใจควบคุมหลอดเลือด หรือกำหนดชีพจรหมายถึงระบบไหลเวียนเลือดในความหมายแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งครอบคลุมถึงตัวหัวใจ หลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำและหลอดเลือดฝอย เมื่อหัวใจบีบตัว เลือดที่อยู่ในหัวใจจะถูกผลัก ดันไปตามหลอดเลือดแดง เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย แขน ขา ศีรษะ ลำตัว อวัยวะภายใน (จั้งฝู่ = ตันและกลวง) รวมทั้งตัวหัวใจด้วย …

เรื่องของ หัวใจ ในทัศนะแพทย์จีน Read More »

เทคนิคเชื่อมประสาน หัวใจกับไต

หัวใจกับไต เป็นอวัยวะที่มีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นถ้าต้องการรักษาความสัมพันธ์ของชีวิตและรากฐานของไตให้แข็งแรง จำเป็นต้องปรับสมดุลระหว่างหัวใจกับไต โดยทำให้หัวใจและไตทำงานเชื่อมประสานกัน เทคนิคง่ายๆ ในการเชื่อมประสาน หัวใจ กับ ไต 1. การนอนหลับในช่วงเวลา 23.00 – 1.00 น.(子时睡觉) การนอนหลับในช่วงเวลานี้  ซึ่งเป็นช่วงที่พลังยินมากที่สุด  จะเป็นการเสริมธาตุน้ำ และควบคุมธาตุไฟ (หัวใจ) ไม่ให้มากเกินไป  ถ้าไม่นอนหลับในช่วงเวลานี้  พลังงานหยางจะไม่ถูกควบคุม   เมื่อเลยเวลาเที่ยงคืนไปมากเท่าไร  การควบคุมพลังหยางก็ยิ่งจะยากขึ้น ขณะเดียวกันการเสริมพลังยิน (พลังไต – ธาตุน้ำ) ก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้น้ำกับไฟแยกตัวได้ง่าย ไฟจะสะสมอยู่ด้านบน, น้ำจะสะสมอยู่ด้านล่างดังนั้นการครุ่นคิด, การทำงานกลางดึก, อยู่เวรดึก, ดูหนังดึกๆ ไม่นอนหลับตอนกลางคืน  จึงเป็นการทำลายความสมดุลของไตและหัวใจ 2. การงีบหลับสั้นๆตอนกลางวัน ช่วง 11.00 – 13.00 น.(午时要小睡) ช่วงเวลานี้เป็นช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงจากพลังหยางสูงสุดเป็นจุดเริ่มต้นพลังยิน (หลังเที่ยงวันความเย็นความมืดเริ่มเข้าแทนที่ความร้อนความสว่าง)ช่วงเวลาดังกล่าว พลังหยางของร่างกายจะกระจายตัวออกนอกขึ้นบนมากที่สุด วิธีป้องกันการสูญเสียพลังคือการยับยั้งพลังไม่ให้ถูกใช้ต่อเนื่องมากเกินไป  ยังเป็นการสงบพลังขึ้นด้านบนและทะนุถนอมการสูญเสียยิน (ความเย็นของร่างกาย) ไปในเวลาเดียวกัน  จึงเป็นช่วงเวลาของการเสริมยินลดการสูญเสียพลังหยางที่สำคัญอีกช่วงเวลาหนึ่ง การปิดตา  …

เทคนิคเชื่อมประสาน หัวใจกับไต Read More »

“พลังพร่อง” คืออะไร?

บ่อยๆ ที่เรารู้สึกอ่อนเพลีย อ่อนแรง เมื่อยล้า ภายหลังการตรากตรำทำงานมาทั้งวัน อยากจะนอนหลับพักผ่อน พอหลับไปสักงีบ รู้สึกว่ากลับมากระชุ่มกระชวยอีกครั้งแต่มีผู้ป่วยหรือคนบางคน (บางครั้งอาจรู้สึกว่าไม่ใช่ผู้ป่วย) จะมีความรู้สึกเมื่อยล้า อ่อนแรง ไม่ค่อยอยากพูด พูดแล้วไม่มีกำลัง ไปเดินเหินมากหน่อย หรือไปวิ่งออกกำลังกายอาการจะเหนื่อยรุนแรงขึ้น บางครั้งมีอาการตาลาย เวียนศีรษะ ซึ่งมีอาการเป็นประจำทุกวันผู้ป่วยเหล่านี้บางครั้งมาพบแพทย์ด้วยอาการต่างๆ บางครั้งตรวจพบความผิดปกติบ้าง ไม่พบความผิดปกติบ้าง ขึ้นกับความรุนแรงของโรค แพทย์จีนจัดคนกลุ่มนี้เป็นพวกพลังพร่องพลังพร่องคืออะไรพลัง เป็นหยาง เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของการทำให้มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางสรีระของอวัยวะภายใน (จั้งฝู่) ของร่างกายเป็นตัวกระตุ้น ขับเคลื่อน ให้ความอบอุ่น ปกป้องอันตรายจากภายนอก ดึงรั้งสารต่างๆ และสารน้ำให้อยู่ในร่างกาย ช่วยการเปลี่ยนแปลงย่อยอาหาร บำรุงเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย การขาดพลังหรือพลังพร่อง จึงทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเสื่อมถอย อวัยวะภายในอ่อนแอ จึงเกิดอาการได้หลายระบบ อาการพลังพร่อง และการตรวจพบความผิดปกติอะไร– คนที่พลังพร่อง จะมีใบหน้าไม่สดใส ไร้ชีวิตชีวา เหนื่อยง่าย พูดไม่มีกำลัง เสียงเบา ไม่ค่อยอยากจะพูด เวลาเดินหรือออกกำลังกายมักจะเหนื่อยมากขึ้น– อาการร่วมอื่นๆ เช่น เวียนศีรษะ ตามัว เหงื่อออกง่าย ตรวจร่างกาย : ตัวลิ้นซีด …

“พลังพร่อง” คืออะไร? Read More »