อาหาร

การศึกษาวิจัย อาหารและสมุนไพร เพื่อนำมารักษาโรค

สารพฤกษเคมี (phytochemical) ที่พบในผักและผลไม้ มีบทบาทในการป้องกันการเกิดโรคของร่างกาย โดยเฉพาะผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน แต่ก่อนจะนำมาใช้ประโยชน์ได้ต้องผ่านขั้นตอนการศึกษาวิจัยเสียก่อน ตัวอย่างการศึกษาวิจัยอาหาร-สมุนไพร เพื่อนำมารักษาโรค1. มะระสารสกัดน้ำมะระมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด เชื่อว่าสารเพปไทด์ในมะระจะมีฤทธิ์เช่นเดียวกับอินซูลิน   การออกฤทธิ์คล้ายกับยา metformin (metfron) 2. อบเชยมีองค์ประกอบของไฮดรอกซี-ซาลโคน มีผลยับยั้ง เอนไซม์ ทำให้การยอมรับต่ออินซูลินของเซลล์ดีขึ้น 3. กระเทียมมีสารสำคัญคือ ajoere ยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือด ป้องกันการอุดตันของเลือด 4. เจียวกู่หลาน (ชาสตูล หรือปัญจขันธ์)มีสารสำคัญคือ ไตรเทอร์พีน มีโครงสร้างคล้ายกับจินเซนโนไซด์ (พบในโสม) สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของหลอดเลือดและลดไขมันในเลือด 5. เห็ดหลินจือเห็ดหลินจือ (เห็ดหมื่นปี) ทางแพทย์จีนระบุว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ใช้บำรุงร่างกาย ทำให้อายุยืน ช่วยนอนหลับ สารสำคัญคือ โพลีแซ็กคาไรด์ A B C D E G H และอื่นๆ ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง กระตุ้นภูมิต้านทาน ลดการอักเสบและป้องกันอันตรายจากการฉายรังสี เป็นต้น 6. ถั่วเหลืองการศึกษาทางระบาดวิทยา พบว่า การกินผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองมีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงจากการเป็นมะเร็งทั้งชนิดที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน และไปเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเป็นมะเร็งปอด ต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งกระเพาะอาหาร …

การศึกษาวิจัย อาหารและสมุนไพร เพื่อนำมารักษาโรค Read More »

อาหารต้านปวดเมื่อยร่างกาย กับแพทย์แผนจีน

กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด หรือที่เรียกว่ากลุ่มอาการเอมพีเอส (MPS – Myofascial pain syndrome) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมาก บางครั้งมีอาการปวดตื้อๆ ลึกๆ ปวดร้าวไปบริเวณข้างเคียง บางครั้งปวดพอรำคาญ บางครั้งปวดรุนแรงมากจนเคลื่อนไหวลำบาก มีจุดกดเจ็บหรือจุดที่ไวต่อการกระตุ้น (Trigger point) อยู่ในกล้าม เนื้อหรือในเนื้อเยื่อพังผืด ปวดมากหลังตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังใช้กล้ามเนื้อนั้นเป็นระยะเวลา นานอย่างต่อเนื่อง สาเหตุของการเกิดโรคนี้ เกิดจากการที่กล้ามเนื้อนั้นมีการทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง เกิดการสะสมของของเสียในกล้ามเนื้อ ส่งผลให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวและขาดออกซิเจน จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อแบบเกร็งค้าง จึงมีการบีบกดของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ ทำให้การนำออกซิเจนมาช่วยในการเผาผลาญสารอาหารทำได้ไม่เต็มที่ กล้ามเนื้อไม่ได้รับออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการเผาผลาญพลังงาน จึงทำให้เกิดการเผาผลาญแบบไม่ใช้ออกซิเจน มีการคั่งค้างของกรดแล็กติก อาการปวดและกรดแล็กติก จะไปกระตุ้นกล้ามเนื้อให้เกร็งแข็งโดยอัตโนมัติ และถ้าไม่ได้มีการผ่อนคลายอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ก็มักจะทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (Myofascial pain) อาการเช่นนี้มักจะพบได้ในกล้ามเนื้อทุกมัดที่ต้องออกแรงอย่างหนัก กล้ามเนื้อที่มีอาการปวดล้าได้ง่ายได้แก่ กล้ามเนื้อ บริเวณบ่า คอด้านหลัง และหลังส่วนล่าง ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิง พบในวัยทำงานมากกว่าวัยอื่นๆ พบบ่อยในกลุ่มพนักงานสำนักงาน (Office) กลุ่มผู้ใช้แรงงาน โดยอาการจะเป็นมากขึ้นถ้ามีการใช้งานกล้ามเนื้อหนักอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน และใช้งานในท่าที่ไม่เหมาะสม  โดยทั่วไปอาการอาจไม่รุนแรง แค่พอรำคาญ หรือรุนแรงจนส่งผลต่อการเคลื่อนไหว มุมมองแพทย์แผนจีนกับอาการปวดเมื่อย อาการปวดเมื่อย …

อาหารต้านปวดเมื่อยร่างกาย กับแพทย์แผนจีน Read More »

รับมือกับภาวะ “ท้องผูกเรื้อรัง”

ภาวะท้องผูก เป็นอาการที่พบบ่อยในชีวิตประจำวัน มีหลายสาเหตุ การใช้ยาระบายหรือยาถ่าย ต้องระมัดระวังในผู้ป่วยที่ท้องผูกจากภาวะการอักเสบในช่องท้อง หรือกระเพาะ หรือลำไส้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ไทฟอยด์ ลำไส้อักเสบ รวมทั้งกรณีที่มีการอุดตันของลำไส้ ลำไส้ทะลุ หรือมีเลือดออก หรือผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องรุนแรงหรืออาเจียน ซึ่งต้องหาสาเหตุที่แน่นอน การใช้ยาในผู้สูงอายุหรือคนที่มีร่างกายอ่อนแอต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ภาวะท้องผูกที่จะกล่าวต่อไป เป็นภาวะท้องผูกเรื้อรังที่ไม่ได้มีโรคเฉียบพลันเป็นต้นเหตุโดยตรง ในทัศนะแพทย์แผนปัจจุบัน จะใช้ยาที่มีฤทธิ์หลักๆ ๓ อย่างด้วยกัน คือ 1. ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ 2. ยาเพิ่มปริมาณน้ำในลำไส้ 3. ยาที่ช่วยหล่อลื่นลำไส้ แต่ในทัศนะแพทย์จีนมักจะวิเคราะห์แยกโรคดังภาวะสมดุลของร่างกายเป็นหลัก และให้การรักษาอาการท้องผูก ร่วมกับสร้างสมดุลภายในของร่างกาย โดยสาเหตุใหญ่ๆ แบ่งได้ 2 ลักษณะ ซึ่งประกอบไปด้วย 1. ลักษณะแกร่ง ได้แก่ แบบร้อน และแบบพลังอุดกั้น 2. ลักษณะพร่อง ได้แก่ แบบเย็น (หยางพร่อง)  แบบพลังพร่อง และแบบเลือดพร่อง ท้องผูกเป็นภาวะการทำงานผิดปกติของลำไส้ใหญ่ ทำให้การถ่ายอุจจาระไม่คล่อง โดยทั่วไป 3-5 วัน บางครั้ง 7-8 วัน ถึงจะถ่ายอุจจาระสักครั้ง (บางรายนานถึงครึ่งเดือน) …

รับมือกับภาวะ “ท้องผูกเรื้อรัง” Read More »