การศึกษาวิจัย อาหารและสมุนไพร เพื่อนำมารักษาโรค
สารพฤกษเคมี (phytochemical) ที่พบในผักและผลไม้ มีบทบาทในการป้องกันการเกิดโรคของร่างกาย โดยเฉพาะผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน แต่ก่อนจะนำมาใช้ประโยชน์ได้ต้องผ่านขั้นตอนการศึกษาวิจัยเสียก่อน ตัวอย่างการศึกษาวิจัยอาหาร-สมุนไพร เพื่อนำมารักษาโรค1. มะระสารสกัดน้ำมะระมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด เชื่อว่าสารเพปไทด์ในมะระจะมีฤทธิ์เช่นเดียวกับอินซูลิน การออกฤทธิ์คล้ายกับยา metformin (metfron) 2. อบเชยมีองค์ประกอบของไฮดรอกซี-ซาลโคน มีผลยับยั้ง เอนไซม์ ทำให้การยอมรับต่ออินซูลินของเซลล์ดีขึ้น 3. กระเทียมมีสารสำคัญคือ ajoere ยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือด ป้องกันการอุดตันของเลือด 4. เจียวกู่หลาน (ชาสตูล หรือปัญจขันธ์)มีสารสำคัญคือ ไตรเทอร์พีน มีโครงสร้างคล้ายกับจินเซนโนไซด์ (พบในโสม) สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของหลอดเลือดและลดไขมันในเลือด 5. เห็ดหลินจือเห็ดหลินจือ (เห็ดหมื่นปี) ทางแพทย์จีนระบุว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ใช้บำรุงร่างกาย ทำให้อายุยืน ช่วยนอนหลับ สารสำคัญคือ โพลีแซ็กคาไรด์ A B C D E G H และอื่นๆ ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง กระตุ้นภูมิต้านทาน ลดการอักเสบและป้องกันอันตรายจากการฉายรังสี เป็นต้น 6. ถั่วเหลืองการศึกษาทางระบาดวิทยา พบว่า การกินผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองมีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงจากการเป็นมะเร็งทั้งชนิดที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน และไปเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเป็นมะเร็งปอด ต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งกระเพาะอาหาร …