Day: August 29, 2022

7 อาหารป้องกัน โรคหลอดเลือดสมอง

คนสูงอายุ มักจะมีปัญหาเรื่องของหลอดเลือดแข็งตัว จากสาเหตุความเสื่อมตามอายุขัยหรือจากโรคความดันโลหิตสูง  โรคไขมันในเลือดสูง  เบาหวานที่เป็นมาหลายปีแม้ว่าจะได้รับการดูแลรักษาอย่างดีด้วยยามาอย่างต่อเนื่องก็ตาม หลอดเลือดแข็งตัว  ทำให้อวัยวะสำคัญๆ เกิดปัญหาได้ง่าย  เช่น สมอง หัวใจ และไต ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองแข็งตัว  มีโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก เกิดอัมพฤกษ์ – อัมพาต อีกทั้งทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ง่าย, ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจแข็งตัว ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน จะทำให้หัวใจขาดเลือด, ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสื่อมแข็งตัว ทำให้ไตฝ่อ ไตทำหน้าที่น้อยลงเกิดภาวะไตวาย ปรมาจารย์แพทย์จีน หลี่สือเจิน ( 李时珍)  กับเคล็ดลับ 7 อาหาร ป้องกันรักษาโรคหลอดเลือดสมอง 1. เก๋อเกิน  (葛根) หรือโสมภูเขา  ( 山人参 ) สรรพคุณ เสริมธาตุน้ำ  ขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเลือดต้านมะเร็ง ป้องกันการตายของเซลล์ประสาทสมอง  สูตรการทำอาหารง่ายๆ โดยใช้ เก๋อเกิน 30 กรัม, ข้าวสาร 50 กรัม เอามาทำข้าวต้ม …

7 อาหารป้องกัน โรคหลอดเลือดสมอง Read More »

5 เรื่องควรรู้ ก่อนดื่ม “ชา”

ชาเขียว มีฤทธิ์ค่อนไปทางเย็นหรือเย็นมาก มีสรรพคุณระบายความร้อน ขับไฟออกจากร่างกาย ควรจะต้องเป็นไฟหรือความร้อนส่วนเกิน (ไม่ใช่ความร้อนของพลังหยางของร่างกาย) โดยเฉพาะความร้อนบริเวณส่วนบนของร่างกาย เช่น ช่องปาก ตา คอหอย เรื่องควรรู้..ก่อนดื่มชา 1. ชาเขียวไม่เหมาะสมกับคนที่มีภาวะหยางของไตพร่อง (พลังหยางน้อย) เพราะชาเขียว มีฤทธิ์ค่อนไปทางเย็นหรือเย็นมาก มีสรรพคุณระบายความร้อน ขับไฟออกจากร่างกาย ควรจะต้องเป็นไฟหรือความร้อนส่วนเกิน (ไม่ใช่ความร้อนของพลังหยางของร่างกาย) โดยเฉพาะความร้อนบริเวณส่วนบนของร่างกาย เช่น ช่องปาก ตา คอหอย จึงจะทำให้ร่างกายด้านล่าง เย็น เป็นตะคริว  ปวดเมื่อยเอว และเข่าไม่มีกำลัง ปัสสาวะบ่อย กล้ามเนื้อขาอ่อนกำลัง 2. ไม่ควรดื่มชาที่แช่เย็น เพราะจะทำให้ทำลายหยางชี่ได้รุนแรงขึ้น (เพราะชาก็เย็นอยู่แล้วยังอยู่ในสภาพเย็นอีก) 3. ไม่ควรดื่มชาขณะท้องว่าง ควรดื่มหลังอาหารเท่านั้น ทำให้กระเพาะอาหารกระทบความเย็นโดยตรง การดูดซึมของชาเข้าสู่ร่างกายรวดเร็ว ทำลายร่างกายได้เร็วขึ้น สังเกตได้เวลาดื่มชาขณะท้องว่าง จะทำให้ปวดท้อง ใจสั่น คลื่นไส้ได้ 4. ไม่ควรดื่มชาแก้วใหญ่ๆ ดื่มตลอดวัน หรือดื่มแทนน้ำ ควรดื่มชาอุ่น 2 – 5 …

5 เรื่องควรรู้ ก่อนดื่ม “ชา” Read More »

3 เคล็ดลับ ปรับสมดุลยินหยาง

เคล็ดลับเหล่านี้ เป็นภาพรวมของการปรับสมดุลยินหยาง ที่เน้นหลักการสงบมีความสำคัญกว่าการเคลื่อนไหว เพราะความสงบทางจิตจะควบคุมการเคลื่อนไหวได้อย่างมีสติ การเคลื่อนไหวเน้นทางร่างกายมากกว่าทางจิต อย่างไรก็ตามสำหรับบางคนแล้วอาจต้องเสริมความเคลื่อนไหวทางกาย และอาศัยในที่อุ่นร้อนมากสักหน่อย เพราะร่างกายสู้ความหนาวไม่ได้ น้นคือการปรับสมดุลให้สอดคล้องกับสภาพของปัจเจกบุคคล 1. ใช้ความสงบรักษาสุขภาพ (静养) คนที่ไม่สงบจะมีการเสียพลังงานตลอดเวลา และไม่สามารถเก็บพลังได้ การนั่งสมาธิ, การนอนหลับที่เพียงพอตามเวลาที่เหมาะสม จะประหยัดการใช้พลังงานชีวิต ทำให้มีพลังไว้ใช้นานๆ 2. ใช้ความเนิบช้า รักษาสุขภาพ (缓慢养生) ถ้าเราสามารถควบคุมการหายใจ, การเต้นของหัวใจ, การปรับสมดุลของระบบประสาท, การหลั่งฮอร์โมนให้ละมุนละม่อม ไม่รวดเร็วรุนแรง จะเป็นการประหยัดพลังงานชีวิตที่สำคัญ การศึกษาสมัยใหม่พบว่า คนที่หายใจช้า, หัวใจเต้นช้า มักจะมีอายุยืน ไม่ค่อยเจ็บป่วย หรือเมื่อเจ็บป่วยก็หายเร็วกว่าเมื่อเทียบกับคนที่หายใจเร็ว, หัวใจเต้นเร็ว ขณะเดียวกันสภาพจิตใจของคนที่หายใจช้า, หัวใจเต้นช้า มักมีภาวะทางจิตสมาธิดี และเป็นคนมองโลกในแง่ดี มีความสุขกับชีวิต จะเกิดภาวะปล่อยวาง,ไม่บีบคั้น   จิตเป็นสมาธิจะควบคุมการปรับสมดุลทำให้ร่างกายทำงานช้าลง คือการยืดอายุนั้นเอง   3. อาศัยบนที่สูง, อากาศเย็น รักษาสุขภาพ (高寒养生) คัมภีร์ “หวงตี้เน่ยจิง” ได้กล่าวถึงคนที่อาศัยอยู่ในที่สูงและอากาศเย็น มักมีอายุที่ยืนยาว อากาศที่เย็น จะลดอุณหภูมิ,ลดการเผาผลาญ, …

3 เคล็ดลับ ปรับสมดุลยินหยาง Read More »

การประยุกต์ใช้ “แสงสี” ในชีวิตประจำวัน

การประยุกต์เรื่องของแสงสีในชีวิตประจำวัน อาศัยอิทธิพลของแสงสีต่างๆที่มีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกและผลกระทบต่ออวัยวะภายในมาจัดการ กับสภาพแวดล้อม เช่น ที่อยู่อาศัย ห้องนอน ห้องทำงาน อุปกรณ์ใช้สอย การตกแต่ง ผนังกำแพง ม่านหน้าต่าง แสงไฟ ชุดทำงานของพนักงานบริษัท หรืออาชีพต่างๆ รวมทั้งการจัดห้องสำหรับผู้ป่วย ฯลฯ ตัวอย่างเช่น1. การใช้แสงสีที่มีลักษณะอุ่นเพื่อการกระตุ้นแสงสีที่ใช้คือ สีแดง สีชมพู หรือสีส้ม เช่น หากนำไปใช้ในห้อง อาบน้ำจะทำให้มีการกระตุ้น มีความเบิกบาน เหมาะสำหรับผู้มี อารมณ์เศร้าโศก อึดอัดใจ ง่วงนอน สมองเฉื่อยชา มีคุณสมบัติในการ ขจัดความพร่อง ความเย็นชา 2. การใช้แสงสีที่มีลักษณะเย็นเพื่อการยับยั้งแสงสีที่ใช้ได้แก่ สีเขียว สีน้ำเงิน สีเขียวอ่อน สีฟ้า เช่น หากนำไปใช้ในห้องอาบน้ำจะทำให้รู้สึก เย็นชื่นใจ อารมณ์สงบ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอารมณ์หงุดหงิดง่ายๆ นอนไม่หลับ มีความกลัว ตกใจง่าย คิดมาก3. ใช้แสงสีเพื่อถนอมสายตาแสงสีที่ใช้ได้แก่ สีเขียว และสีดำ เหมาะสำหรับคนที่สายตาสั้น สายตายาว และตาบอดสี 4. …

การประยุกต์ใช้ “แสงสี” ในชีวิตประจำวัน Read More »