โภชนาการและอาหาร

เปิด 5 เทคนิค การกินอาหารเพื่อสุขภาพ

เหตุผลที่ระบบการย่อยและการดูดซึมอาหารไม่มีระเบียบ ไร้กฎเกณฑ์ เกิดจากการกินอาหารจุบจิบ ตามอารมณ์ กินตามใจปาก เพราะฉะนั้น เพื่อให้ระบบต่างๆในร่างกายกลับมาสู่สมดุลอีกครั้ง เราไปดู5เทคนิคการกินอาหารเพื่อสุขภาพกัน เทคนิคการกินอาหารเพื่อสุขภาพ 1. การกินข้าวต้มหรือโจ๊กเหมาะเป็นอาหารมื้อเช้าสำหรับคนที่มีระบบการย่อยและดูดซึมไม่ค่อยดีช่วงตื่นนอนตอนเช้า ระบบการย่อยอาหารของเรา เพิ่งจะเริ่มทำงาน (หลังจากพักมาตลอดทั้งคืน) ให้ดื่มน้ำ หลังตื่นนอนทันที 1-2 แก้ว เพื่อกระตุ้นระบบย่อยอาหาร พลังลมปราณที่ไหลผ่านเส้นลมปราณ กระเพาะอาหาร ม้าม สูงสุดในช่วง 07.00-09.00 น. และ 09.00 – 11.00 น. ตามลำดับ เราจึงควรกินอาหารเช้าที่มีลักษณะ ย่อยง่ายในช่วงเวลาดังกล่าว 2. กินเมื่อยังไม่รู้สึกหิว และหยุดเมื่อเริ่มอิ่มไม่ควรปล่อยให้หิวจัดเกินไป เพราะจะทำลายพลังของกระเพาะอาหาร และไม่ควรกินอาหารอิ่มเกินไป เพราะจะทำลายสมรรถภาพการย่อยและการดูดซึม ทำให้อาหารตกค้างเป็นของเสีย ควรหยุดกินอาหารเมื่อมีความอิ่ม ร้อยละ 70-80 3. อาหารมื้อเช้าต้องดี มื้อเที่ยงต้องอิ่ม มื้อเย็นต้องน้อยปริมาณอาหารมื้อเช้า ร้อยละ 30-40 มื้อเที่ยง ร้อยละ 40-50 มื้อเย็น ร้อยละ 20-30 4. ควรกินอาหารตามมื้อหลัก ตามเวลาอย่างที่กล่าวไปตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่า …

เปิด 5 เทคนิค การกินอาหารเพื่อสุขภาพ Read More »

ทำไมต้องมี? อาหารเสริมสุขภาพ

ร่างกายคนเราต้องการสารอาหารที่ได้สมดุล เพื่อสุขภาพที่ดี เพราะภาวะปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ (โดยเฉพาะคนเมือง) ได้รับอาหารประเภทไขมัน แป้ง เกลือ เนื้อสัตว์ทำให้ขาดเส้นใย ผัก ผลไม้ วิตามิน แร่ธาตุ ทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคอ้วน เบาหวาน โรคความเสื่อม นอกจากนี้อุปนิสัยและความเคยชินหลายอย่างก็มีผลต่อการขาดสารอาหาร คนที่ดื่มเหล้า เหล้า 1 กรัมทำให้ร่างกายเสียพลังงาน 7 แคลอรี โดยไม่ได้ให้คุณค่าของสารอาหารเลย  เหล้าทำให้ร่างกายสูญเสียวิตามินบี ซี สังกะสี แมกนีเซียม โพแทสเซียม เหล้าทำลายตับ ทำให้พิษสะสมในร่างกายมากขึ้น ทำให้เป็นโรคตับแข็งหรือโรคมะเร็งง่ายขึ้น คนสูบบุหรี่บุหรี่มีผลระคายเคืองต่อปอด เพิ่มความเสี่ยงของ โรคมะเร็งโดยตรงและทางอ้อม การสูบบุหรี่ทำให้ความต้องการสารอาหารพวกวิตามินบี12 กรดโฟลิก วิตามินซี และอี ซึ่งเป็นสารต้าน อนุมูลอิสระมากขึ้น เพราะต้องไปต่อสู้กับความเสื่อมของ เนื้อเยื่อ และการเพิ่มขึ้นของอนุมูลอิสระที่ทำลายเนื้อเยื่อ ต่างๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังพบว่าบีตาแคโรทีนในคนสูบบุหรี่จะต่ำกว่าคนทั่วไปอีกด้วย คนดื่มกาแฟ  ชาการดื่มกาแฟและชา โดยเฉพาะก่อนหรือหลังอาหาร ๑ ชั่วโมงจะมีผลลดการดูดซึมธาตุเหล็กถึงร้อยละ 80 การดื่มกาแฟปริมาณมากจะทำให้แคลเซียมถูกขับออกจากร่างกายมากขึ้น  ทำให้กระดูกพรุน การเตรียมอาหารการล้าง การปรุง การเก็บเกี่ยว …

ทำไมต้องมี? อาหารเสริมสุขภาพ Read More »

การศึกษาวิจัย อาหารและสมุนไพร เพื่อนำมารักษาโรค

สารพฤกษเคมี (phytochemical) ที่พบในผักและผลไม้ มีบทบาทในการป้องกันการเกิดโรคของร่างกาย โดยเฉพาะผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน แต่ก่อนจะนำมาใช้ประโยชน์ได้ต้องผ่านขั้นตอนการศึกษาวิจัยเสียก่อน ตัวอย่างการศึกษาวิจัยอาหาร-สมุนไพร เพื่อนำมารักษาโรค1. มะระสารสกัดน้ำมะระมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด เชื่อว่าสารเพปไทด์ในมะระจะมีฤทธิ์เช่นเดียวกับอินซูลิน   การออกฤทธิ์คล้ายกับยา metformin (metfron) 2. อบเชยมีองค์ประกอบของไฮดรอกซี-ซาลโคน มีผลยับยั้ง เอนไซม์ ทำให้การยอมรับต่ออินซูลินของเซลล์ดีขึ้น 3. กระเทียมมีสารสำคัญคือ ajoere ยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือด ป้องกันการอุดตันของเลือด 4. เจียวกู่หลาน (ชาสตูล หรือปัญจขันธ์)มีสารสำคัญคือ ไตรเทอร์พีน มีโครงสร้างคล้ายกับจินเซนโนไซด์ (พบในโสม) สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของหลอดเลือดและลดไขมันในเลือด 5. เห็ดหลินจือเห็ดหลินจือ (เห็ดหมื่นปี) ทางแพทย์จีนระบุว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ใช้บำรุงร่างกาย ทำให้อายุยืน ช่วยนอนหลับ สารสำคัญคือ โพลีแซ็กคาไรด์ A B C D E G H และอื่นๆ ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง กระตุ้นภูมิต้านทาน ลดการอักเสบและป้องกันอันตรายจากการฉายรังสี เป็นต้น 6. ถั่วเหลืองการศึกษาทางระบาดวิทยา พบว่า การกินผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองมีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงจากการเป็นมะเร็งทั้งชนิดที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน และไปเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเป็นมะเร็งปอด ต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งกระเพาะอาหาร …

การศึกษาวิจัย อาหารและสมุนไพร เพื่อนำมารักษาโรค Read More »

ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อการดูแลหัวใจและหลอดเลือด

“ผลิตภัณฑ์สมุนไพรจีน CO-RED (โค-เรด)เกิดจากการบูรณาการประสบการณ์ทางคลินิก การค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์และเภสัชกรรมแผนปัจจุบันแผนจีน ผสานกับเทคโนโลยีตะวันตก ภายใต้การควบคุมการผลิตและระบบการจัดการบริหารคุณภาพระดับมาตรฐานสากล CO-RED (โค-เรด) จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้รักและใส่ใจการดูแลสุขภาพ” สรรพคุณ 3 in 1 เพื่อควบคุมไขมันในเลือดรวมทั้งการดูแลหัวใจและหลอดเลือด ควบคุมไขมันในเลือด โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันเลว(LDL) เสริมพลังการทำงานของหัวใจ ด้วย Coenzyme Q 10 กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ป้องกันการเกาะตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ด้วยสารสกัดอาหารสมุนไพรที่มีการใช้กันมายาวนานและมีความปลอดภัยสูง  ทำไมต้อง CO-RED อะไรคือความแตกต่าง? สรรพคุณ 3 in 1 เพื่อควบคุมไขมันในเลือดรวมทั้งการดูแลหัวใจและหลอดเลือด ควบคุมไขมันในเลือด โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันเลว(LDL) เสริมพลังการทำงานของหัวใจ ด้วย Coenzyme Q 10 กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ป้องกันการเกาะตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ด้วยสารสกัดอาหารสมุนไพรที่มีการใช้กันมายาวนานและมีความปลอดภัยสูง ไม่มีผลข้างเคียงต่อตับและไต หรือการอักเสบของกล้ามเนื้อ สามารถใช้ในการควบคุมไขมันในเลือด แทนยากลุ่มStatin ในผู้ป่วยที่มีผลข้างเคียงจากยา ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ รวมถึงโรคสมองเสื่อม มีผลการวิจัยทางการแพทย์และประสบการณ์ในทางคลินิกยืนยันได้ผลจริง ใช้สารสกัดคุณภาพ ทันสมัย ปลอดภัย มาตรฐานยุโรปและตามข้อกำหนดของคณะกรรมการอาหารและยาของไทย ควบคุมการผลิตโดยโรงงานมาตรฐานของไทยที่ผลิตสินค้าให้ต่างประเทศ ผ่านการรับรองให้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจาก อย. ของประเทศไทย มีส่วนผสมอาหารสมุนไพรจีนสกัดที่ป้องกันการเกาะตัวของเลือด กระตุ้นการไหลเวียนเลือดและช่วยระบบย่อยอาหาร เลือก Red yeast rice คุณภาพในกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐานส่งออกยุโรป มีส่วนผสม Coenzyme Q 10 ในผลิตภัณฑ์ ควบคุมตรวจสอบระดับปริมาณ Citrinin และเชื้อราปนเปื้อนตามมาตรฐานสากล ข้อควรระวังในการบริโภค CO-RED 1. ผู้ป่วยโรคตับ2. ผู้ป่วยโรคไต3. สตรีตั้งครรภ์ สตรีระหว่างให้นมบุตร4. ห้ามรับประทานร่วมกับยาลดไขมันกลุ่ม Statin ยาต้านเชื้อรา ยากดภูมิคุ้มกัน ยารักษาโรคเอดส์5. คนที่แพ้เชื้อรา ใครบ้างที่เหมาะกับผลิตภัณฑ์ CO-RED   ผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง รับประทานยาเคมีแล้วมีผลข้างเคียง   ผู้ป่วยที่ต้องการลดไขมันด้วยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ   คนที่ต้องการดูแลหลอดเลือดให้สะอาด แข็งแรง ยืดหยุ่น   คนที่ต้องการป้องกันภาวะสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง มีอะไรใน CO-RED Red Yeast …

ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อการดูแลหัวใจและหลอดเลือด Read More »

เบาหวาน ในทัศนะแพทย์แผนจีน

เบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) ได้น้อยหรือไม่ได้เลย ผลก็คือ น้ำตาลไม่สามารถเผาผลาญไปใช้เป็นพลังงาน มีการคั่งค้างของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่างๆ น้ำตาลที่คั่งอยู่ในเลือดมากๆ ก็จะถูกกรองที่ไต มาพร้อมปัสสาวะ ดูดกลับไม่หมด ทำให้ปัสสาวะมีรสหวาน มีมดขึ้น เรียกว่าเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวาน มีปัสสาวะบ่อยและมาก เนื่องจากมีน้ำตาลออกมาพร้อมปัสสาวะ (ไตดูดกลับไม่หมด) ทำให้ผู้ป่วยเสียน้ำมาก กระหายน้ำ และเนื่องจากร่างกายขาดพลังงาน (เพราะขาดอินซูลินที่จะสลายน้ำตาลเป็นพลังงาน) ทำให้ผู้ป่วยหิวเก่ง ขณะเดียวกันก็จะซูบผอม เพราะร่างกายจะสลายไขมันและกล้ามเนื้อไปเป็นพลังงานแทน โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีการบันทึกในตำราแพทย์จีนมาช้านาน เรียกเป็นภาษาจีน ว่า เซียวเข่อ คำว่า เซียว หมายถึง สูญเสีย หรือสลายอาหาร สูญเสียน้ำและสูญเสียพลัง (ร่างกายซูบผอม) คำว่า เข่อ หมายถึง กระหายน้ำ ดื่มมาก ดื่มแล้วไม่หายกระหาย รวมความแล้ว โรคเซียวเข่อ หมายถึง ดื่มมาก กินมาก ปัสสาวะมาก ซูบผอม และปัสสาวะมีรสหวาน เนื่องจากอาการดื่มมาก เป็นอาการที่อยู่ส่วนบนเกี่ยวข้องกับปอด ซางเจียว ช่องไฟธาตุส่วนบน อาการกินมากเป็นอาการที่อยู่ส่วนกลางเกี่ยวข้องกับม้าม จงเจียว ช่องไฟธาตุส่วนกลาง และอาการปัสสาวะบ่อยเกี่ยวข้องกับไต เซี่ยเจียว ช่องไฟธาตุส่วนล่าง ผู้ป่วยในแต่ละรายมีความรุนแรงของโรคในแต่ละอวัยวะไม่เหมือนกัน สาเหตุของเบาหวานในทรรศนะแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีนต่างกันหรือไม่ ในทรรศนะแพทย์แผนปัจจุบัน เบาหวานพบได้ประมาณร้อยละ …

เบาหวาน ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

“ขิง” ในทัศนะแพทย์แผนจีน

“ขิง” ในทัศนะแพทย์แผนจีน เป็นทั้งยาสมุนไพรที่ใช้บ่อยและเป็นทั้งอาหาร เครื่องปรุงรส ที่ต้องมีไว้ประจำครัวเรือนขงจื๊อ ปราชญ์จีนสมัยชุนชิว (ค.ศ.๔๗๙-ค.ศ.๕๐๐) ได้เสนอว่า “อาหารทุกมื้อไม่ควรละเลยขิง” ท่านเชื่อว่าบรรดาผักต่างๆ ขิงมีคุณค่ามากที่สุด สามารถทำให้มีชีวิตชีวา ขจัดของเสียในร่างกาย ขงจื๊อเป็นคน มณฑลซานตุง ปัจจุบันที่เมืองไหลอู๋ของซานตุง มีโรงงานผลิตเหล้าขิง ที่มีชื่อ ซึ่งแสดงถึงความเชื่อของขงจื๊อได้รับการสืบทอดต่อกันมา ซูตงปอ กวีเอกสมัยราชวงศ์ซ่ง ได้เขียนบทกวี “ตงปอจ๋อจี้” พูดถึงพระที่วัดเฉียนถางจิ้ง แห่งเมืองหางเจ่า ซึ่งมีอายุกว่า ๘๐ ปี มีใบหน้า อันอิ่มเอิบ สุขภาพแข็งแรง ได้คำตอบจากพระท่านนั้นว่า” ท่านฉันขิงมากว่า ๔๐ ปี ท่านจึงไม่แก่” ซูตงปอจึงมีความเชื่อว่าขิงคือยาอายุวัฒนะดีๆ นี่เอง ความเชื่อของคนจีนต่อขิงมีมากมาย เช่น“ เดือนสิบมีขิงคือโสมน้อยๆ นั้นเอง”” ชา ๑ แก้ว ขิง ๑ แว่น ขับลมบำรุงกระเพาะดีนักแล”” ตื่นนอน ขิง ๓ แว่น ไม่แพ้ซุปใส่โสม”” ทุกวันกินขิง ๓ แว่น ไม่ต้องรบกวนหมอสั่งยา”ความเชื่อเหล่านี้ถูกถ่ายทอดไปในหมู่ประชาชน เป็นภูมิปัญญาที่ยึดถือเป็นหลักการดูแลสุขภาพ …

“ขิง” ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

อาหารต้านปวดเมื่อยร่างกาย กับแพทย์แผนจีน

กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด หรือที่เรียกว่ากลุ่มอาการเอมพีเอส (MPS – Myofascial pain syndrome) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมาก บางครั้งมีอาการปวดตื้อๆ ลึกๆ ปวดร้าวไปบริเวณข้างเคียง บางครั้งปวดพอรำคาญ บางครั้งปวดรุนแรงมากจนเคลื่อนไหวลำบาก มีจุดกดเจ็บหรือจุดที่ไวต่อการกระตุ้น (Trigger point) อยู่ในกล้าม เนื้อหรือในเนื้อเยื่อพังผืด ปวดมากหลังตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังใช้กล้ามเนื้อนั้นเป็นระยะเวลา นานอย่างต่อเนื่อง สาเหตุของการเกิดโรคนี้ เกิดจากการที่กล้ามเนื้อนั้นมีการทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง เกิดการสะสมของของเสียในกล้ามเนื้อ ส่งผลให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวและขาดออกซิเจน จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อแบบเกร็งค้าง จึงมีการบีบกดของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ ทำให้การนำออกซิเจนมาช่วยในการเผาผลาญสารอาหารทำได้ไม่เต็มที่ กล้ามเนื้อไม่ได้รับออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการเผาผลาญพลังงาน จึงทำให้เกิดการเผาผลาญแบบไม่ใช้ออกซิเจน มีการคั่งค้างของกรดแล็กติก อาการปวดและกรดแล็กติก จะไปกระตุ้นกล้ามเนื้อให้เกร็งแข็งโดยอัตโนมัติ และถ้าไม่ได้มีการผ่อนคลายอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ก็มักจะทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (Myofascial pain) อาการเช่นนี้มักจะพบได้ในกล้ามเนื้อทุกมัดที่ต้องออกแรงอย่างหนัก กล้ามเนื้อที่มีอาการปวดล้าได้ง่ายได้แก่ กล้ามเนื้อ บริเวณบ่า คอด้านหลัง และหลังส่วนล่าง ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิง พบในวัยทำงานมากกว่าวัยอื่นๆ พบบ่อยในกลุ่มพนักงานสำนักงาน (Office) กลุ่มผู้ใช้แรงงาน โดยอาการจะเป็นมากขึ้นถ้ามีการใช้งานกล้ามเนื้อหนักอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน และใช้งานในท่าที่ไม่เหมาะสม  โดยทั่วไปอาการอาจไม่รุนแรง แค่พอรำคาญ หรือรุนแรงจนส่งผลต่อการเคลื่อนไหว มุมมองแพทย์แผนจีนกับอาการปวดเมื่อย อาการปวดเมื่อย …

อาหารต้านปวดเมื่อยร่างกาย กับแพทย์แผนจีน Read More »

กรณีศึกษา : ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย

ผู้ป่วยที่มาหาหมอด้วยปัญหาปวดท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย มีให้พบเห็นเสมอ เวลาท้องอืด ท้องเฟ้อ บางคนคิดถึง ยาหม่อง ยาลม ยาธาตุน้ำขาว ยาธาตุน้ำแดง ขมิ้นชัน ขิง หรือน้ำร้อนใส่กระเป๋าน้ำร้อน ฯลฯ ตามแต่จะมีคนแนะนำ หรือตามแต่ประสบการณ์ที่เคยทดลองกับตนเองมาแล้วได้ผล ความจริงท้องอืด ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย เป็นเพียงอาการที่แสดงออกเท่านั้น แต่สาเหตุมีด้วยกันหลายแบบ ถ้าสังเกตสักนิด จะทำให้เราเลือกวิธีการรักษาและป้องกันได้ไม่ยาก ตัวอย่างเช่น นาย ก. ปกติเป็นคนแข็งแรงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องท้องอืดท้องเฟ้อ อยู่มาคืนหนึ่งขณะเข้าโครงการลดน้ำหนักกินแต่ผัก ผลไม้ ก่อนนอนกินแตงโม แช่เย็น น้ำมะพร้าวแช่เย็น ส้มโอปริมาณมาก พร้อมดื่มชาเขียวใส่น้ำแข็งอีก 2 แก้ว แล้วเข้านอน เนื่องจากอากาศค่อนข้างร้อน ที่บ้านไม่มีแอร์ เลยเปิดพัดลมจ่อเข้าลำตัว แถมยังนอนบนพื้นปูนอีกต่างหาก นอนไปค่อนคืนตกใจตื่น เพราะคืนนั้นฝันทั้งคืน แถมยังปวดท้อง ท้องอืด เย็นๆ ในท้อง ลุกขึ้นเข้าห้องน้ำ มีการถ่ายเหลวเป็นอาหารที่ไม่ย่อย  แพทย์แผนจีนวินิจฉัยภาวะโรคของนาย ก. ว่าเป็นเพราะความเย็นกระทบทำให้พลังหยางของน้ำอุดกั้นเลือด และพลังสะดุด เกิดอาการปวดแน่นและอาหารไม่ย่อย นาย ก. กินอาหารที่มีคุณสมบัติเย็น …

กรณีศึกษา : ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย Read More »

ขับเหงื่อ : ขับพิษ

ร่างกายของเราในยามปกติสุขก็มีพิษสะสมอยู่มาก พิษที่มีอยู่ในร่างกายได้มาหลายทางด้วยกัน เช่นจากอาหารที่กินเข้าไป อากาศที่หายใจ น้ำที่ดื่ม สิ่งแวดล้อม หรือเกิดจากกลไกการทำงานของร่างกายเอง ฟังดูแล้วน่าตกใจว่า เราจะอยู่ได้อย่างไร เมื่อพิษมีอยู่เต็มตัว แต่โชคดีธรรมชาติได้สร้างระบบการขับพิษแก่ร่างกาย เช่น การทำลายพิษของตับ การขับถ่ายทางอุจจาระ ขับปัสสาวะ การขับเหงื่อ การหายใจ เป็นต้น การขับพิษโดยเทคนิคการขับเหงื่อในทางศาสตร์แพทย์แผนจีนมีเนื้อหาที่น่าสนใจ การขับเหงื่อเป็นการขับพิษที่เข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังทำให้เลือดพลังในเส้นลมปราณไหลคล่อง เพิ่มการไหลเวียนเลือดส่วนผิว ทำให้สารพิษจากร่างกายขับออกได้มากขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น เป็นการป้องกันโรคและเป็นการขจัดปัจจัยก่อโรค โดยเฉพาะความเย็น ลม ความชื้น ที่กระทบจากภายนอก ประโยชน์ของการขับพิษทางเหงื่อ 1. ช่วยขจัดพิษที่สะสมในร่างกาย เวลาอาบน้ำ ถูขี้ไคล จะพบว่าคราบขี้ไคล เกิดจากเหงื่อกับเซลล์ผิวหนังที่เสื่อมตายหลุดลอก หรือกลิ่นตัวที่หมักหมม เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปร่วมทำปฏิกิริยาด้วยคนที่เป็นโรคไตที่การขับของเสียทางไตลดลง ต้องหันมาสนใจหรือใช้การขับเหงื่อช่วยอีกทางหนึ่ง 2. การขับปัจจัยก่อโรค เสียชี่ ที่อยู่ระดับผิว แพทย์แผนจีนใช้การขับเหงื่อเป็นการทะลวงขับการถูกโจมตี และการคั่งค้างของเสียชี่จากภายนอก ที่ทำให้เกิดอาการกลัวหนาว ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว เนื่องจากการกระทบลมเย็น ลมร้อน หรือลมชื้น เช่นเดียวกับยาแผนปัจจุบัน การกินยาพาราเซตามอล หรือยาแอสไพริน ทำให้ขับเหงื่อ …

ขับเหงื่อ : ขับพิษ Read More »

อาหารแสลง อาหารต้องห้าม

เรามักได้ยินคนเฒ่าคนแก่พูดถึงข้อห้ามมากมายเกี่ยวกับการกินและข้อควรปฏิบัติ เช่น คนที่ร้อนในง่ายห้ามกินของร้อน (คุณสมบัติหยาง) ของทอดๆ มันๆ ของเผ็ด เช่น – กินทุเรียนแล้วห้ามกินเหล้า – กินทุเรียนแล้วควรกินมังคุดหรือกินน้ำเกลือตาม – กินลำไยมากระวังตาจะแฉะ – เวลาเริ่มเป็นหวัด เจ็บคอ ควรกินพวกยาขม – เวลาร้อนใน ให้กินน้ำจับเลี้ยง หรือกินน้ำเก๊กฮวย – หญิงปวดประจำเดือนห้ามกินของเย็น (ลักษณะยิน) เช่น แตงโม น้ำมะพร้าว – คนที่กินยาบำรุงจีน ห้ามกินผักกาดขาว หัวไชเท่า ฯลฯ เพราะจะล้างยา (ทำไมฤทธิ์ของยาน้อยลง) ฯลฯ คำกล่าวเหล่านี้ก็มีในทัศนะทางการแพทย์แผนจีนมาจากพื้นฐานที่ว่า “อาหารคือยา อาหารและยามีแหล่งที่มาเดียวกัน” การเลือกกินอาหารให้เหมาะสมเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องประยุกต์เปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับภาวะที่เป็นจริงของบุคคล เงื่อนไขของเวลา และสภาพภูมิประเทศ (สิ่งแวดล้อม) จึงจะเกิดผลที่ดีต่อสุขภาพ ในแง่ของคนไข้ การเลือกกินอาหารให้เหมาะสม จะทำให้โรคร้ายทุเลาลง ช่วยเสริมการรักษาและฟื้นฟูร่างกาย ในทางกลับกันการเลือกอาหารไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ย่อมทำให้โรคร้ายรุนแรง กำเริบและบั่นทอนสุขภาพมากขึ้น อาหารแสลงหรืออาการต้องห้าม ในความหมายที่กว้าง หมายถึง 1. การกินอาหารที่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป …

อาหารแสลง อาหารต้องห้าม Read More »

“ไขมันในเลือดสูง” ในมุมมองแพทย์แผนจีน

คำว่า “โรคโคเลสเตอรอลในเลือดสูง” ไม่มีในตำราแพทย์จีนโบราณ ดังนั้นถ้ามาตรวจกับแพทย์แผนจีนแล้วบอกว่ามีไขมันในเลือดสูงซึ่งเป็นการวินิจฉัยจากการตรวจเลือดแบบแพทย์แผนปัจจุบัน การรักษาโรคนี้แพทย์จีนจะเน้นไปที่การรักษาสมดุลของการทำงานของอวัยวะภายในและปรับเรื่องการไหลเวียนเลือด พลังและของเหลวในร่างกาย ไม่ให้มีการติดขัด บางครั้งจะกล่าวถึงเสมหะ ความชื้น การทำงานของตับและม้ามไม่สมดุล ต้องขับเสมหะชื้น กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ไม่ให้อาหารตกค้าง รวมทั้งการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการรับประทานอาหาร สาเหตุไขมันในเลือดสูงในมุมมองแพทย์แผนจีน 1. การรับประทานอาหารและการดำเนินชีวิต : อุปนิสัยการกิน ทำงานหักโหม ขาดการพักผ่อน ความเครียดทางอารมณ์ ทำให้การทำงานของอวัยวะภายในแปรปรวน เกิดเสมหะความชื้นและเลือดอุดกั้น 2. การทำงานของอวัยวะภายในเสียสมดุล โดยอวัยวะหลักที่เกี่ยวข้อง คือ ตับ ม้าม ไต พลังตับติดขัดอุดกั้นทำให้การไหลเวียนเลือดไม่คล่อง กลไกพลังในช่องกลางตัว (ซานเจียว) ที่ทำหน้าที่เป็นเส้นทางลำเลียงน้ำและของเหลวทั่วร่างกายก็ติดขัดไปด้วย ระบบย่อยและลำเลียงอาหาร (ม้าม) มีประสิทธิภาพลดลง กลายเป็นความชื้นตกค้าง ไตกำกับน้ำ ถ้าพลังไตอ่อนแอ การขับระบายน้ำไม่ดี พลังความร้อนในร่างกายน้อย เกิดความชื้นตกค้างในร่างกาย อีกด้านหนึ่งกรณีไตยินพร่อง (ทำให้เกิดความร้อนและแห้งในเซลล์ต่างๆของร่างกาย) ก็จะทำให้ของเหลวเหนียวข้นเป็นเสมหะและเลือดอุดกั้นเช่นกัน ดังนั้น ไขมันในเลือดสูงในความหมายแพทย์แผนจีน คือ เสมหะความชื้น เลือดอุดกั้น ม้ามพร่องเกิดความชื้นเสมหะ มีเลือดอุดกั้นจากพลังตับติดขัด ยินพร่องเกิดเสมหะเลือดอุดกั้น …

“ไขมันในเลือดสูง” ในมุมมองแพทย์แผนจีน Read More »

อาหารกับยาสมุนไพร เพื่อสุขภาพ

เราคุ้นเคยเกี่ยวกับการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ คือ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เกลือแร่ และวิตามิน ในปริมาณและสัดส่วนที่พอเหมาะ เพื่อให้มีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ ทัศนะเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ ที่จะพยายามวิเคราะห์แยกแยะส่วนประกอบระดับโมเลกุล ชีวเคมี ระดับพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต และเสริมสร้างสารที่จำเป็นในรูปแบบของสารอาหารประเภทต่างๆ  การแพทย์แผนจีนมีมุมมองอะไรที่แตกต่างไปจากนี้ “อาหารและยามีที่มาเดียวกัน” อาหารและยามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ยาจำนวนมาก ค้นพบโดยบังเอิญในขณะที่เสาะหาอาหารเพื่อการยังชีพ อาหารบางชนิดเมื่อผ่านการกินยามาระยะหนึ่ง ทำให้รู้ว่ามีคุณสมบัติทางยาในการรักษาโรค ตำรับอาหารจีนจำนวนมากมักมีสมุนไพรร่วมอยู่ด้วย พร้อมทั้งบรรยายสรรพคุณในการรักษาโรค ตัวอย่าง อาหารสมุนไพรจะพบได้ตามร้านอาหารและภัตตาหารอาหารและยาถือว่ามีคุณลักษณะที่เหมือนกัน คือ มีคุณสมบัติทั้ง 4 และมีรสทั้ง 5 คุณสมบัติทั้ง 4 เช่นเดียวกับฤดูกาล คือ เย็น สุขุม (ค่อนข้างเย็น) ร้อน อุ่น คุณสมบัติทั้ง 4 นำมาประยุกต์ในการรักษาโรคอย่างไร การแพทย์จีนอาศัยยาหรืออาหารที่มีคุณสมบัติเย็น สุขุม (ค่อนข้างเย็น) ไปรักษาโรคที่มีลักษณะร้อน(หยาง) และใช้อาหารที่มีคุณสมบัติ ร้อน อุ่น ไปรักษาโรคที่มีลักษณะเย็น(ยิน) รสทั้ง 5 ของอาหาร …

อาหารกับยาสมุนไพร เพื่อสุขภาพ Read More »

กินอย่างไร ให้มีผลต่อสุขภาพ

โบราณกล่าวว่า “โรคเกิดจากช่องทวารปาก” ซึ่งมีความหมายหลายนัยด้วยกัน 1. กินอาหารที่ไม่สะอาดอาหารที่ไม่สะอาดทำให้มีเชื้อโรค พยาธิ สารพิษ เข้าสู่ร่างกาย เกิดอาการปวดท้องแน่นท้อง อาเจียน เป็นบิด มีพยาธิ อาหารที่เน่าเหม็น ทำให้เกิดการหมักหมม มีพิษสะสม เกิดอาการต่างๆ ตามมามากมาย 2. เวลาและปริมาณที่กินไม่เหมาะสมหลักการเลือกปริมาณการกิน คือ หลักที่ว่าไม่ควรให้หิวจัดหรืออิ่มจัด และ “อาหารเช้าต้องดี อาหารเที่ยงต้องอิ่ม อาหารเย็นต้องน้อย” ปริมาณมื้อเช้าร้อยละ ๓๕ มื้อเที่ยงร้อยละ ๔๐ มื้อเย็นร้อยละ ๒๕ โบราณกล่าวว่า “มื้อเย็นลดน้อยหน่อย ชีวิตยืนยาวถึงเก้าสิบ” เป็นการเน้นถึงปริมาณอาหารมื้อเย็น ควรอยู่ในปริมาณที่น้อยเมื่อเทียบกับมื้ออื่น เพื่อลดการทำงานของระบบการย่อยอาหาร ป้องกันการตกค้างของอาหารในกระเพาะอาหาร ลำไส้ ป้องกันภาวะอ้วน ป้องกันการนอนหลับไม่สนิท ลดการรบกวนภาวะพักผ่อนฟื้นฟูของร่างกาย ซึ่งเป็นพื้นฐานของการบำรุง ดูแลสุขภาพ เพื่อให้เกิดอายุยืนยาว นอกจากนี้หลังอาหารใหม่ๆ ไม่ควรนอนหลับทันที แพทย์แผนจีนถือว่า ถ้าภาวะอาหารในกระเพาะอาหารยังมีอยู่จะรบกวนการนอนหลับ ด้านกลับกัน การนอนหลับก็เป็นการทำให้ระบบย่อยทำงานน้อยลง (อยู่ในภาวะพักฟื้นฟู) ผลทำให้อาหารตกค้าง ไม่ดูดซึม เกิดความร้อนในร่างกายไปรบกวนการนอนหลับทำให้หลับไม่สนิทอีกจึงมีคำกล่าวว่า “หลังอาหารเดินร้อยก้าว บรรลุเก้าสิบเก้าอายุขัย” เพื่อต้องการให้มีการเคลื่อนไหวเบาๆ ในทางวิทยาศาสตร์ เราพบว่า การเดินหลังอาหารเย็นจะช่วยลดปริมาณฮอร์โมนอินซูลินในกระแสเลือดที่หลั่งมากในตอนเย็น (อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากตับอ่อน ถ้ามีมากจะทำให้มีการแปรเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่างๆของร่างกายทำให้อ้วน) …

กินอย่างไร ให้มีผลต่อสุขภาพ Read More »

สมุนไพรจีนกับสารสกัดจากสมุนไพร ต่างกันอย่างไร?

หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าการใช้สมุนไพร หรืออาหารเสริมสุขภาพ ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ไม่มีพิษภัยใดๆ แต่แท้จริงแล้ว ยาในทัศนะแพทย์จีนล้วนมีพิษทั้งสิ้น ในคัมภีร์ “หวงตี้เน่ยจิง” ได้กล่าวถึงบทบาทของยาและอาหารในการรักษาโรคไว้อย่างชัดเจน  ยาสมุนไพรก็มีพิษกระบวนการของการเกิดโรค บางโรคกว่าจะแสดงอาการใช้เวลานานค่อยๆ สะสมทางปริมาณจนถึงจุดเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ แต่บางโรคเกิดขึ้นทันที  ส่วนยาที่ใช้รักษาก็มีทั้งยาตำรับใหญ่  ตำรับเล็ก  มีพิษและไม่มีพิษ จึงต้องวิเคราะห์ให้ถ่องแท้ยาที่มีพิษมากใช้รักษาโรค ๑๐ ส่วน สามารถขจัดโรคได้แค่ ๖ยาที่มีพิษธรรมดาใช้รักษาโรค ๑๐ ส่วน สามารถขจัดโรคได้แค่ ๗ยาที่มีพิษน้อยใช้รักษาโรค ๑๐ ส่วน สามารถขจัดโรคได้แค่ ๘ยาที่ไม่มีพิษใช้รักษาโรค ๑๐ ส่วน สามารถขจัดโรคได้แค่ ๙แต่การกินอาหารบางประเภท เช่น ธัญพืช เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ เพื่อดูแลสุขภาพสามารถขจัดโรคได้ทั้งหมด สรุปก็คือ ขึ้นชื่อว่ายาแล้ว ล้วนมีพิษ การกินอาหารตามใจตัวเองก็อาจจะกลายเป็นพิษได้เช่นกัน  ควรใช้อาหารเพื่อช่วยในการรักษาโรค แต่เมื่อไม่ได้ผลจึงค่อยคิดถึงการใช้ยายาที่มีพิษด้านหนึ่งรักษาโรค แต่ก็มีผลกระทบต่อร่างกาย จึงไม่สามารถกำจัดโรคได้อย่างสิ้นเชิง ต้องกินอาหารที่เหมาะสมเสริมเข้าไปเพื่อสร้างสมดุลภายในร่างกาย ศาสตร์ของแพทย์แผนจีนให้ความสำคัญต่ออาหารเป็นอย่างมาก เพราะอาหารบางอย่างในบางเงื่อนไขก็คือยาพิษ ที่สามารถทำลายร่างกายหรือทำให้โรครุนแรงขึ้นได้เช่นกัน  อาหารอย่างดีก็เป็นพิษ มีเรื่องเล่ากันว่า ในสมัยราชวงศ์หมิง กษัตริย์จูหยวนจางได้ทำการหาเหตุฆ่าขุนนางชั้นผู้ใหญ่ และครอบครัว ๙ …

สมุนไพรจีนกับสารสกัดจากสมุนไพร ต่างกันอย่างไร? Read More »

น้ำผึ้ง ตามศาสตร์แพทย์จีน

หลี่สือเจิน ได้บันทึกไว้ในคัมภีร์ชื่อ เปิ่น-เฉา-กัง-มู่ เกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำผึ้งทางด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคไว้ว่า “น้ำผึ้ง มีสรรพคุณ 5 ประการ” กล่าวคือ1. ขับร้อน2. บำรุงส่วนกลาง (กระเพาะอาหารและม้าม)3. ขับพิษ รักษาแผล4. ทำให้ชุ่มชื่นลดความแห้งแก้ไอ5. แก้ปวด ฤทธิ์และรสกับการประยุกต์น้ำผึ้งมีรสหวาน คุณสมบัติหรือฤทธิ์เป็นกลาง วิ่งเส้นลมปราณปอด ม้าม ลำไส้ใหญ่เนื่องจากส่วนประกอบสำคัญร้อยละ 79 คือฟรักโทส และกลูโคส ซึ่งสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทันที นอกจากนี้ยังมีกรดอะมิโน เอนไซม์หลายชนิด วิตามินบี และเกลือแร่ กรดกลูโคนิก ร้อยละ 0.5 ซึ่งทำให้มีรสเปรี้ยวอยู่ด้วยกัน สรรพคุณที่ระบุไว้ในตำราอาหารและยาจีน 1. บำรุงภาวะพร่องอ่อนแอ ผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง แผลกระเพาะอาหาร วัณโรคปอด ฯลฯ2. ลดความแห้งของปอด ทำให้ชุ่มชื่น เหมาะสำหรับอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ ไอเรื้องรัง มักจะทำให้ชุ่มคอ อาจใช้ร่วมกับสมุนไพร ซาเซิน เซิงตี้3. ช่วยระบายทำให้อุจจาระนิ่ม เหมาะสำหรับคนสูงอายุ หญิงหลังคลอด ผู้ป่วยฟื้นจากโรคที่มีอาการท้องผูก4. มีฤทธิ์สมานแผล เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคแผลกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กอักเสบ ผู้ป่วยที่ระบบการย่อยอ่อนแอ …

น้ำผึ้ง ตามศาสตร์แพทย์จีน Read More »