โรคปวด

เปรียบเทียบการรักษา แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน

ในมุมมองของแพทย์แผนจีน ปัจจัยของการเกิดโรคที่มีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน (จั้งฝู่) โดยตรงคือปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ แพทย์แผนจีนอธิบายว่าอารมณ์ทั้ง 7 (โมโห ดีใจ กังวล เศร้าโศก เสียใจ ตกใจ กลัว) มีผลโดยตรงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการทำงานของอวัยวะภายในที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของร่างกาย เปรียบเทียบการรักษาระหว่างแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน1. ปัญหาการนอนไม่หลับผู้ป่วยบางรายเมื่อได้ยานอนหลับแบบแพทย์แผนปัจจุบัน กลับไม่หลับ แต่ถ้าให้ยานอนหลับที่แรงมาก จะหลับและเพลียตลอดทั้งวัน มึนงงทั้งวัน แพทย์แผนปัจจุบันเน้นการคลายหรือกดประสาท แต่แพทย์แผนจีนมองว่าต้องบำรุงประสาท (บำรุงพลังและเลือดของหัวใจ) ให้มีกำลังพอเป็นหลัก เสริมฤทธิ์ด้วยยาสมุนไพรจีนช่วยนอนหลับเป็นด้านรอง มีแต่การบำรุง (เพราะพลังหัวใจพร่องมาก) เป็นหลักเท่านั้นจึงทำให้หลับ ถ้ายังไปใช้วิธีการกดประสาท พลังหัวใจจะยิ่งอ่อนแอมากขึ้น ไม่สามารถแก้ปัญหาระยะยาวได้2. ปัญหาระบบย่อยอาหารแพทย์แผนปัจจุบันเน้นที่การกระตุ้นความอยากอาหาร ใช้ยาช่วยย่อยอาหารและเสริมบำรุงวิตามิน ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก กรณีโลหิตจาง แพทย์แผนจีนเน้นบำรุงระบบม้าม เพื่อทำให้ความอยากอาหาร การย่อยและดูดซึมอาหารทำงานดีขึ้น ก่อน การบำรุงด้วยธาตุเหล็กหรือวิตามิน ในขณะที่ระบบย่อยอาหารไม่ดี จะทำให้ไม่สามารถดูดซึมได้ บางรายกลับท้องเสีย ปวดท้องเนื่องจากระคายเคืองจากธาตุเหล็กที่ได้ เมื่อพลังม้ามดีขึ้น การลำเลียงอาหารไปสมองดีขึ้น สมองได้อาหารหล่อเลี้ยง จะไม่มึนงง สมาธิดีขึ้น สมองได้รับการบำรุง 3. ภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติถ้าพบว่าเกล็ดเลือดต่ำโดยไม่พบสาเหตุ ทางแพทย์แผนปัจจุบันอาจพิจารณาใช้ยาสเตียรอยด์ …

เปรียบเทียบการรักษา แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน Read More »

กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

ศาสตร์การแพทย์แผนจีนเป็นการแพทย์แผนโบราณของชาวฮั่นที่มีมากว่า 5,000 ปี สำนักการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขให้ข้อมูลว่า องค์ประกอบหลักของการแพทย์แผนจีนคือ การวินิจฉัยหรือการบอกโรค การรักษาด้วยการฝังเข็ม การใช้ยาสมุนไพร การนวดทุยหนา ชี่กง และอาหารที่เป็นยา โดยหลักพื้นฐานของการแพทย์แผนจีนจะเกี่ยวข้องกับหยินหยาง การเดินลมปราณ ลักษณะของอวัยวะส่วนต่างๆ ตลอดจนโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท การแพทย์แผนปัจจุบันอธิบายว่าเกิดจากการเสื่อมของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งเกิดจากอายุที่มากขึ้น รวมถึงอาจมาจากการยกของหนักผิดท่า ตลอดจนอุบัติเหตุกระแทกบริเวณกระดูกสันหลังบ่อยๆ ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้นจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการทรุดตัวของโครงสร้างกระดูกตามไปด้วย ทำให้เกิดกระดูกงอกหรือหินปูนขึ้นมาเพื่อต้านการทรุดตัว  โดยปกติแล้วกระดูกงอกที่ร่างกายสร้างขึ้นมาใหม่ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่บางรายเกิดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทและทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาทของร่างกายได้ โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเป็นๆ หายๆ เป็นเวลานาน และปวดขาตั้งแต่บริเวณสะโพกร้าวไปบริเวณน่องและเท้า ทางร่วม…รักษาโรค  ในการรักษาผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ต้องดูการตรวจเอกซเรย์กระดูกว่ามีลักษณะ อย่างไร มีการกดทับของกระดูกมากน้อยแค่ไหน ถ้ากดทับไม่มากก็ไม่จำเป็นต้องรับการผ่าตัดซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูง และเสี่ยงว่าผลที่ได้รับอาจไม่ดีอย่างที่คาดคิด  สำหรับแพทย์แผนจีน สิ่งสำคัญในการรักษาผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทคือ การทำให้ร่างกายของผู้ป่วยกลับมาอยู่ในภาวะสมดุล สำหรับผู้ที่ถูกกดทับมาก และจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด หรือเคยผ่านการผ่าตัดมาแล้ว สามารถใช้การแพทย์แผนจีนร่วมกับการรักษาแผนตะวันตกเพื่อฟื้นฟูความสมดุลของร่างกายได้ด้วย “อาการปวดของผู้ป่วย เกิดจากการไหลเวียนของเลือดและพลังลมปราณติดขัด ดังนั้นในการบรรเทาอาการปวด เราจะเน้นกระตุ้นให้การไหลเวียนเลือดและพลังเดินได้คล่อง ซึ่งสาเหตุการติดขัดต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป อาจเกิดจากลม ความเย็น ความชื้น เลือดหรือพลังอุดกั้น และพิจารณาภาวะพร่องของร่างกายว่ามีจุดอ่อนที่ส่วนไหน เพื่อทำให้เกิดความสมดุล” …

กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท Read More »

ปวดหัวไหล่ สกัดจุดที่หน้าแข้ง

เรื่องพลังบนเส้นลมปราณ การฝังเข็มหรือกดจุด (ซึ่งต้องกดให้ลึกพอ) นอกจากจะสามารถทะลวงให้พลังไหลเวียนคล่องเพื่อรักษาโรคต่างๆ ตามแนวทางเดินของเส้นแล้วยังมีปรากฏการณ์แปลกๆ คือการรักษาพลังลมปราณข้ามเส้น ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยปวดเอว สามารถใช้การฝังเข็มหรือกดจุดที่บริเวณเหนือข้อมือทำให้อาการปวดเคล็ดเอวทุเลาลงได้ผู้ป่วยปวดต้นคอ สามารถฝังเข็มหรือสกัดจุดที่บริเวณมือ ทำให้หายคอเคล็ดได้ผู้ป่วยปวดหัวไหล่ ฝังเข็มสกัดจุดบนหน้าแข้ง ทำให้หายปวดหัวไหล่ได้ผู้ป่วยหญิงมีอาการปวดหัวไหล่ซ้าย ยกแขนไม่ถนัด มีอาการปวดตึง มือไขว้หลังไม่ได้ เป็นมาประมาณ 2-3 วัน กินยาแก้ปวดแล้วอาการไม่ค่อยทุเลา แพทย์ให้การวินิจฉัยว่า เนื้อเยื่อรอบหัวไหล่อักเสบ ไปหาหมอฝังเข็ม หมอฝังเข็มตรวจคลำจุดบริเวณหน้าแข้งซ้ายและขวา พบว่ามีจุดกดเจ็บบริเวณหน้า แข้งขวามากกว่าซ้าย กดแล้วผู้ป่วยจะเจ็บมาก หมอฝังเข็มใช้ เข็มยาวประมาณ 3 นิ้ว แทงลงบนจุดนั้นลึกประมาณ 1.5 นิ้ว กระตุ้นเข็มขึ้นลงและหมุนอย่างแรง จนผู้ป่วยเกิดความรู้สึกหนักๆ หน่วงๆ เสียวๆ (ความรู้สึกว่าพลังลมปราณเคลื่อน) กระตุ้น 3 นาที คาเข็มไว้ 20 นาที ระหว่าง 20 นาทีกระตุ้นเป็นระยะ 2-3 ครั้ง ระหว่างกระตุ้นให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวแขนไปด้วย หลังจากการฝังเข็ม จะพบว่ามีผู้ป่วยหายปวดและเคลื่อน ไหวหัวไหล่ได้คล่องทันที (บางรายที่เป็นมากอาจต้องใช้การฝังเข็มแบบนี้หลายครั้ง หรือต้องเสริมการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เพิ่ม)ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น การปวดหัวไหล่สามารถทุเลาหรือ …

ปวดหัวไหล่ สกัดจุดที่หน้าแข้ง Read More »

ปวดประจำเดือน สัญญาณเตือนเนื้องอก

อาการปวดประจำเดือน สำหรับผู้หญิงหลายคนอาจจะมองเป็นเรื่องธรรมดาที่พบได้ทั่วไป โดยเฉพาะในวัยรุ่นสาวๆ แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า อาการปวดประจำเดือนในวัยรุ่นสาวๆ หรือแม้กระทั่งวัยเลยคำว่า “สาว” มานานแล้ว แต่ยังมีอาการปวดประจำเดือนอยู่นั้น คือสัญญาณเตือนภัยที่น่ากลัว บางคนเมื่ออายุยังน้อยๆ และมีอาการปวดประจำเดือน เมื่อไปตรวจส่วนใหญ่ก็คงจะไม่พบความผิดปกติอะไร แต่หากอายุมากขึ้นและยังปวดประจำเดือนอยู่ คราวนี้ไปตรวจอาจพบว่ามีก้อนเนื้องอกเกิดขึ้น วิธีคิดแบบนี้หมายความว่า เนื้องอกป้องกันลำบาก เพราะเมื่ออายุมากขึ้นก็จะต้องเกิด ถ้าเป็นมากก็ตัดออก หรือในบางรายที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกงอกผิดที่ บางทีก็มีพังผืดยึดเกาะ บ้าง ยึดติดกับลำไส้ ก็ตัดได้ลำบาก แต่บางคนที่อายุสูงขึ้นกว่านั้น มองว่าไม่ใช้มดลูกแล้วก็อาจจะพิจารณาตัดมดลูกยกออกออกทั้งยวงเลย ประเด็นสำคัญก็คือ เนื้องอกที่เกิดขึ้นนั้น หากพิจารณากันให้ดีๆ มองให้ต่อเนื่องจะเห็นว่า จริงๆ แล้วคนส่วนใหญ่ในช่วงระยะแรกๆ ก็ยังไม่เป็นก้อนเนื้องอก เพียงแต่เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งมักจะมาตรวจพบในภายหลัง ซึ่งเนื้องอกที่เกิดขึ้นมานี้ ก็คือผลที่ต่อเนื่องมาจากอาการเล็กๆ น้อยๆ ที่แสดงออกให้เห็นในช่วงแรกๆ เช่น อาการปวดประจำเดือนนั่นเอง ซึ่งในทางแพทย์จีนเชื่อว่า สาเหตุใหญ่ๆ ของการเกิดเนื้องอกที่มีสัญญาณเตือนจากภาวะปวดประจำเดือนนั้น มักจะเกิดจากความไม่สมดุลของร่างกายที่มีพื้นฐานหลักๆ อยู่ 3 แบบคือ 1.กลุ่มที่มีเลือดและพลังพร่อง หรือเลือดและพลังไม่พอ คนกลุ่มนี้ในเวลาปกติมักจะเป็นคนที่มีประจำเดือนน้อยอยู่แล้ว หน้าตามักจะซีดเซียว ใบหน้าดูไม่ค่อยมีสีเลือด ลิ้นมักจะมีสีออกซีดๆ ถือเป็นกลุ่มที่มีพื้นฐานเป็นคนที่มีเลือดและพลังไม่พอ มักเป็นคนที่เหนื่อยง่าย …

ปวดประจำเดือน สัญญาณเตือนเนื้องอก Read More »

อาการปวดและการรักษาอาการปวด ด้วยแพทย์แผนจีน

แพทย์แผนจีนอธิบายสาเหตุของอาการปวดเกิดจากการไหลเวียนของเลือดและพลังลมปราณในเส้นลมปราณ (Meridian) ติดขัด ไม่คล่อง : ความคล่อง-ไม่ติดขัด (ของเลือดและพลัง) ทำให้ไม่เจ็บปวดการปวดก็เพราะการติดขัด-ไม่คล่อง (ของเลือดและพลัง) ลักษณะการปวดแบบแพทย์แผนจีน 1. การปวดแบบเคลื่อนที่ เช่นการปวดตามข้อ และเปลี่ยนตำแหน่ง เป็นๆ หายๆ เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เหมือนลม เรียกว่า ปวดแบบลม2. การปวดแบบลึกๆ หนักๆ เหมือนผ้าชุบน้ำ เรียกว่า ปวดแบบความชื้น3. การปวดแบบอักเสบ บวม แดง ร้อน เรียกว่า ปวดแบบร้อน4. ปวดแบบรุนแรงมาก โดยเฉพาะเวลากระทบความเย็น เรียกว่า ปวดแบบเย็น5. ปวดแบบเข็มแทง เฉพาะที่ เป็นมากตอนกลางคืน เรียกว่า ปวดแบบเลือดคั่ง6. ปวดแบบเรื่อยๆ ไม่รุนแรง เป็นมากเวลาอ่อนเพลีย เรียกว่า ปวดแบบร่างกายพร่องอ่อนแอ ตำแหน่งการปวด บอกถึงการกระทบกระเทือน เส้นลมปราณอะไร เช่น 1. ปวดบริเวณหน้าผาก – ปวดเส้นลมปราณหยางหมิง2. ปวดศีรษะด้านข้าง – ปวดเส้นลมปราณซ่าวหยาง3. …

อาการปวดและการรักษาอาการปวด ด้วยแพทย์แผนจีน Read More »

ประจำเดือน หน้าต่างสุขภาพ

“มีความเชื่อกันว่า สุขภาพของผู้หญิงดีไม่ดี สามารถดูได้จากความผิดปกติของประจำเดือน” “ผู้หญิงคลอดลูกมา ๑ คน สุขภาพจะทรุดโทรมไป บางคนพอมีลูก ๒-๓ คน ก็ดูแก่ไปถนัดตา” “เมื่อเข้าสู่วัยทองของชีวิต (วัยหมดประจำเดือน) จะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจอย่างมาก โดยเฉพาะในคนที่มีพื้นฐานสุขภาพไม่ดี” แพทย์แผนจีนได้กล่าวถึงโรคของผู้หญิง แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน 4 ประเภท ตามพื้นฐานทางสรีระของร่างกาย 1. โรคเกี่ยวกับประจำเดือน 2. โรคเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ 3. โรคเกี่ยวกับการคลอด(ก่อนและหลังการคลอด) 4. โรคเกี่ยวกับตกขาว เนื่องจากสรีระของผู้ชายและผู้หญิงมีความแตกต่างกัน โรคที่เกิดก็มีลักษณะแตกต่างกัน ผู้หญิงเป็นยิน ผู้ชายเป็นหยาง เลือดเป็นยิน พลังเป็นหยาง โรคของผู้หญิงมักเกี่ยวข้องกับเรื่องของยินหรือเลือด, ของ เหลว เป็นหลัก ครั้งนี้จะนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาประจำเดือน ซึ่งเชื่อว่าเป็นหน้าต่างสุขภาพของผู้หญิงได้อย่างไร ผู้หญิงบางคนเมื่อย่างเข้าสู่วัยมีประจำเดือน ระยะแรกประจำเดือนอาจจะมาไม่ตรงตามกำหนด ถือเป็นภาวะปกติ แต่เมื่อเวลาผ่านไปเป็นปีหรือหลายๆปี ภาวะประจำเดือนยังมาครั้งหนึ่ง และหายไปหลายๆ เดือน ถือว่าเป็นความผิดปกติ ตัวอย่างปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือนที่พบบ่อยๆ ได้แก่ 1. รอบประจำเดือนมาผิดปกติ ภาวะรอบประจำเดือนของผู้หญิงจะ ๒๘ …

ประจำเดือน หน้าต่างสุขภาพ Read More »

“ขิง” ในทัศนะแพทย์แผนจีน

“ขิง” ในทัศนะแพทย์แผนจีน เป็นทั้งยาสมุนไพรที่ใช้บ่อยและเป็นทั้งอาหาร เครื่องปรุงรส ที่ต้องมีไว้ประจำครัวเรือนขงจื๊อ ปราชญ์จีนสมัยชุนชิว (ค.ศ.๔๗๙-ค.ศ.๕๐๐) ได้เสนอว่า “อาหารทุกมื้อไม่ควรละเลยขิง” ท่านเชื่อว่าบรรดาผักต่างๆ ขิงมีคุณค่ามากที่สุด สามารถทำให้มีชีวิตชีวา ขจัดของเสียในร่างกาย ขงจื๊อเป็นคน มณฑลซานตุง ปัจจุบันที่เมืองไหลอู๋ของซานตุง มีโรงงานผลิตเหล้าขิง ที่มีชื่อ ซึ่งแสดงถึงความเชื่อของขงจื๊อได้รับการสืบทอดต่อกันมา ซูตงปอ กวีเอกสมัยราชวงศ์ซ่ง ได้เขียนบทกวี “ตงปอจ๋อจี้” พูดถึงพระที่วัดเฉียนถางจิ้ง แห่งเมืองหางเจ่า ซึ่งมีอายุกว่า ๘๐ ปี มีใบหน้า อันอิ่มเอิบ สุขภาพแข็งแรง ได้คำตอบจากพระท่านนั้นว่า” ท่านฉันขิงมากว่า ๔๐ ปี ท่านจึงไม่แก่” ซูตงปอจึงมีความเชื่อว่าขิงคือยาอายุวัฒนะดีๆ นี่เอง ความเชื่อของคนจีนต่อขิงมีมากมาย เช่น“ เดือนสิบมีขิงคือโสมน้อยๆ นั้นเอง”” ชา ๑ แก้ว ขิง ๑ แว่น ขับลมบำรุงกระเพาะดีนักแล”” ตื่นนอน ขิง ๓ แว่น ไม่แพ้ซุปใส่โสม”” ทุกวันกินขิง ๓ แว่น ไม่ต้องรบกวนหมอสั่งยา”ความเชื่อเหล่านี้ถูกถ่ายทอดไปในหมู่ประชาชน เป็นภูมิปัญญาที่ยึดถือเป็นหลักการดูแลสุขภาพ …

“ขิง” ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

รักษาอาการปวด แบบแพทย์แผนจีน

แพทย์แผนจีนอธิบายสาเหตุของอาการปวดเกิดจากการไหลเวียนของเลือดและพลังลมปราณในเส้นลมปราณ (Meridian) ติดขัด ไม่คล่อง : ความคล่อง-ไม่ติดขัด (ของเลือดและพลัง) ทำให้ไม่เจ็บปวดการปวดก็เพราะการติดขัด-ไม่คล่อง (ของเลือดและพลัง) ตัวอย่างการรักษาอาการปวด– ปวดชายโครงผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากการกระทบกระเทือนชายโครง แม้ว่าจะมีกระดูกซี่โครงหักหรือไม่ก็ตาม เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อบริเวณชายโครงย่อมได้รับบาดเจ็บ ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการปวดแน่นๆ หายใจไม่สะดวก (ทั้งนี้รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัด) ตามแนวชายโครง แพทย์แผนปัจจุบัน : มักให้การรักษาด้วยยาระงับปวด ยากล่อมประสาท หรือฉีดยาชาเฉพาะที่ที่มีการกดเจ็บแพทย์แผนจีน : มองว่าเส้นลมปราณ ถุงน้ำดี และตับ ซึ่งเป็นเส้นลมปราณบริเวณด้านข้างลำตัวถูกกระทบกระเทือนทำให้เลือดและพลังติดขัด การรักษาจึงต้องทะลวงการอุดกั้นของเส้นลมปราณให้คล่องตัว อาการปวดจึงจะทุเลา ในทางคลินิกจะพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีภาวะทางอารมณ์หงุดหงิดร่วมด้วย (เพราะการไหลเวียนติดขัดของถุงน้ำดี จะสัมพันธ์กับพลังของตับ)– ผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบแพทย์แผนปัจจุบัน : มักให้การรักษาด้วยการผ่าตัดไส้ติ่งหรือถุงน้ำดีทิ้งแพทย์แผนจีน : มองว่าการอักเสบเป็นผลจาก อุดกั้นของของเสียในลำไส้ใหญ่ จนเกิดความร้อน ความชื้นตกค้าง การระบายความร้อนความชื้นของอวัยวะกลวง ลำไส้ใหญ่ และถุงน้ำดี จะทำให้ลดอาการอักเสบ การปวดได้ บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้การผ่าตัดตามความเชื่อของการแพทย์แผนปัจจุบันทั้งหมด– คออักเสบแพทย์แผนปัจจุบัน : มักให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อกับยาแก้ปวดลดไข้แพทย์แผนจีน : นอกจากจะใช้ยาสมุนไพรขับพิษขับร้อนแล้ว คออักเสบมีความเกี่ยวกับเส้นลมปราณปอด การขับความร้อนบนเส้นลมปราณลำไส้ใหญ่ (สัมพันธ์กับปอด)ออกโดยการถ่ายอุจจาระหรือระบายความร้อนบนจุดฝังเข็มปลายทางของเส้นลมปราณปอด (จุดซ่าวซาง) ทำให้อาการเจ็บคอและการอักเสบจะทุเลาได้เร็วขึ้น– ปวดประจำเดือนผู้หญิงที่ปวดประจำเดือนที่ไม่ได้เป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกหรือรังไข่ หรือที่อาจถือว่าเป็นธรรมดาของผู้หญิงส่วนใหญ่ แผนปัจจุบันเชื่อว่ามีสาเหตุมาจากการแปรปรวนของฮอร์โมนระหว่างที่มีประจำเดือนและมีการหลั่งสารพรอสตาแกลนดิน (prostaglandins) มากผิดปกติ ทำให้มดลูกหดเกร็งตัว เกิดอาการปวดที่บริเวณท้องน้อย แพทย์แผนปัจจุบัน …

รักษาอาการปวด แบบแพทย์แผนจีน Read More »

อาการปวดกล้ามเนื้อเอ็นกระดูก กับอาการปี้เจิ้ง (痹症) ในทัศนะแพทย์แผนปัจจุบัน กับแพทย์แผนจีน

เมื่อพูดถึงอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูก (Musculoskeletal Pain) ในความหมายของการแพทย์แผนปัจจุบัน คือ ความรู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูกในส่วนต่างๆ ของร่างกายทั่วตัว ที่พบบ่อย เช่น ปวดหลัง ปวดเอว ปวดไหล่ ปวดต้นคอ เป็นต้น ส่วนใหญ่พบแพทย์ก็ตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆ อาการปวดก็เป็นๆ หายๆ อยู่คู่กับเราไปตลอด