ม้าม

ระบบย่อยและดูดซึมอาหาร ในมุมแพทย์แผนจีน

สำหรับระบบย่อยและดูดซึมอาหาร แพทย์แผนจีนให้ความสำคัญของการทำหน้าที่ร่วมกันของอวัยวะม้ามและกระเพาะอาหาร โดยกระเพาะอาหารทำหน้าที่รับและย่อยอาหารและส่งไปลำไส้เล็กเพื่อย่อยจนได้สารจำเป็น และแยกแยะอาหารที่ถูกย่อยแล้วในสิ่งที่ดี (ใช้ได้) กับสิ่งที่ข้น (ใช้ไม่ได้) ส่วนดีจะถูกส่งไปที่ม้าม ม้ามทำหน้าที่ลำเลียงสารจำเป็นนี้ไปใช้ทั่วร่างกาย ส่วนลำไส้ใหญ่ทำหน้าขับอุจจาระและควบคุมการดูดซึมกลับของน้ำ กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะที่ไม่ชอบความแห้งชอบความชื้น(恶燥喜润) ไม่ชอบร้อนชอบความเย็น(恶热喜凉) ไม่ชอบการสะสมแต่ชอบการระบายลงล่าง(恶积喜降) ตรงข้ามกับการทำหน้าที่ของม้าม หน้าที่สำคัญของกระเพาะอาหารมี 3 อย่างคือ รองรับอาหารและน้ำ (主受纳) เสมือนขุนนางที่ทำหน้าที่ดูแลเก็บกักอาหารเสบียงกัง (仓廪之官,主纳水谷) เป็นที่เก็บอาหารที่ผ่านการเคี้ยวในปาก และเดินทางผ่านหลอดอาหาร กระเพาะอาหารจึงเป็นเสมือนทะเลของน้ำและอาหารที่รับประทานเข้าไป 胃为“水谷之海”ถ้าลมปราณกระเพาะอาหารจะทำให้เก็บกักอาหารเพื่อทำการย่อยเบื้องต้นได้ดี มีความอยากอาหาร ทานอาหารได้มาก การย่อยอาหาร กระเพาะอาหารทำหน้าที่ย่อยอาหารในระดับต้นๆ (腐熟水谷) เพื่อให้มีขนาดเล็กลงแล้วส่งไปย่อยต่อที่ลำไส้เล็ก ควบคุมการไหลลงของพลังสู่ด้านล่างในการขับเคลื่อนอาหารและการขับถ่ายอุจจาระ เพื่อการย่อยที่ลำไส้เล็กและการขับถ่ายที่ลำไส้ใหญ่ เป็นการสร้างสมดุลของพลังแกนกลางของร่างกาย โดยทำงานคู่กับพลังของม้ามที่มีทิศทางขึ้นบนเพื่อส่งลำเลียงสารจำเป็นไปอวัยวะปอด ม้าม ม้ามถือเป็นต้นกำเนิดของแรงขับเคลื่อนชีวิต โบราณกล่าวว่า “ม้ามและกระเพาะอาหารเป็นรากฐานของชีวิตหลังกำเนิด” 故称脾胃为“后天之本” ทำหน้าที่ควบคุมเลือด พลังลมปราณ ม้ามเป็นธาตุดินมีความเชื่อมโยงกับกระเพาะอาหาร กล้ามเนื้อ ริมฝีปากและปาก ตำราแพทย์จีนโบราณได้บันทึกรูปร่างของม้าม มีลักษณะโค้งแบนเหมือนเคียว คล้ายกายวิภาคของตับอ่อนในแผนปัจจุบัน ม้ามในความหมายแพทย์แผนจีนมีหน้าที่ในการควบคุมเลือด สร้างน้ำย่อยในการย่อยอาหาร การดูดซึม ลำเลียงอาหาร อวัยวะม้ามจึงมีหมายถึงครอบคลุมถึงม้ามและตับอ่อน รวมถึงลำไส้เล็กด้วย …

ระบบย่อยและดูดซึมอาหาร ในมุมแพทย์แผนจีน Read More »

“พลังพร่อง” คืออะไร?

บ่อยๆ ที่เรารู้สึกอ่อนเพลีย อ่อนแรง เมื่อยล้า ภายหลังการตรากตรำทำงานมาทั้งวัน อยากจะนอนหลับพักผ่อน พอหลับไปสักงีบ รู้สึกว่ากลับมากระชุ่มกระชวยอีกครั้งแต่มีผู้ป่วยหรือคนบางคน (บางครั้งอาจรู้สึกว่าไม่ใช่ผู้ป่วย) จะมีความรู้สึกเมื่อยล้า อ่อนแรง ไม่ค่อยอยากพูด พูดแล้วไม่มีกำลัง ไปเดินเหินมากหน่อย หรือไปวิ่งออกกำลังกายอาการจะเหนื่อยรุนแรงขึ้น บางครั้งมีอาการตาลาย เวียนศีรษะ ซึ่งมีอาการเป็นประจำทุกวันผู้ป่วยเหล่านี้บางครั้งมาพบแพทย์ด้วยอาการต่างๆ บางครั้งตรวจพบความผิดปกติบ้าง ไม่พบความผิดปกติบ้าง ขึ้นกับความรุนแรงของโรค แพทย์จีนจัดคนกลุ่มนี้เป็นพวกพลังพร่องพลังพร่องคืออะไรพลัง เป็นหยาง เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของการทำให้มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางสรีระของอวัยวะภายใน (จั้งฝู่) ของร่างกายเป็นตัวกระตุ้น ขับเคลื่อน ให้ความอบอุ่น ปกป้องอันตรายจากภายนอก ดึงรั้งสารต่างๆ และสารน้ำให้อยู่ในร่างกาย ช่วยการเปลี่ยนแปลงย่อยอาหาร บำรุงเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย การขาดพลังหรือพลังพร่อง จึงทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเสื่อมถอย อวัยวะภายในอ่อนแอ จึงเกิดอาการได้หลายระบบ อาการพลังพร่อง และการตรวจพบความผิดปกติอะไร– คนที่พลังพร่อง จะมีใบหน้าไม่สดใส ไร้ชีวิตชีวา เหนื่อยง่าย พูดไม่มีกำลัง เสียงเบา ไม่ค่อยอยากจะพูด เวลาเดินหรือออกกำลังกายมักจะเหนื่อยมากขึ้น– อาการร่วมอื่นๆ เช่น เวียนศีรษะ ตามัว เหงื่อออกง่าย ตรวจร่างกาย : ตัวลิ้นซีด …

“พลังพร่อง” คืออะไร? Read More »