ไต

รู้ได้อย่างไรว่า “ไต” เราแข็งแรง

พลังไตเป็นรากฐานของอวัยวะภายใน ทั้ง 5 (肾是五脏之根)  ไตเป็นที่เก็บของพลังสำรอง  เมื่ออวัยวะภายในอื่นๆขาดแคลนพลังจะเรียกใช้บริการของไต คนที่ไตแข็งแรง แสดงออกถึงอย่างไร? 1. ไตดี : การเจริญเติบโตดี (เกี่ยวข้องกับระบบฮอร์โมน) ผู้หญิงใช้เลข 7 มาแบ่งช่วงอายุ ผู้ชายใช้เลข 8 มาแบ่งช่วงอายุ ผู้หญิงอายุ 4×7 = 28ปี  เป็นช่วงที่พลังไต ถึงขีดสุด เอ็นกระดูกแข็งแรง                   5×7 = 35ปี เป็นช่วงที่พลังไตเริ่มเสื่อมถอยในผู้หญิง ผู้ชายอายุ   4×8 = 32ปี เป็นช่วงที่พลังสูงสุดของเพศชาย                    5×8 = 40 ปี เป็นช่วงที่พลังไตเริ่มเสื่อมถอยในผู้ชาย 2. ไตดี : ระบบสืบพันธุ์ดี จิงของไต (มีความหมายคล้ายกับระบบฮอร์โมน) เป็นตัวกระตุ้นระบบการสืบพันธุ์ กระตุ้นการเจริญเติบโต ทำให้ผู้ชายมีเชื้ออสุจิ ผู้หญิงมีประจำเดือน คนที่ไตอ่อนแอ ในผู้หญิงจะมีอาการประจำเดือนไม่ปกติ มดลูกเย็น …

รู้ได้อย่างไรว่า “ไต” เราแข็งแรง Read More »

“ไต” ต้องดูแลแบบองค์รวม

คนจำนวนมากพอเรียนรู้ว่าอวัยวะไต (ในความหมายแพทย์แผนจีน) ได้ชื่อว่า เป็นอวัยวะรากฐานของชีวิต จึงคิดแต่จะบำรุงไตอย่างเดียว คิดเพียงง่ายๆว่าถ้าไตดีทุกอย่างก็ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วต้องเรียนรู้เพิ่มเติมอีกว่าไตยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอวัยวะอื่นๆ ด้วย อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับไต เช่น หัวใจ, ตับ, ม้าม, ปอด ซึ่งถ้าอวัยวะเหล่านั้นมีปัญหา เช่น เสื่อมหรือทำงานผิดปกติ ก็มีผลกระทบต่ออวัยวะไตด้วย การดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์แผนจีน จึงต้องเข้าใจความเชื่อมสัมพันธ์ของอวัยวะภายในต่างๆ ต้องดูแลอวัยวะอื่นปรับสมดุลควบคู่กับการดูแลไตไปด้วยกัน จึงจะทำให้ต้นไม้แห่งชีวิตเติบใหญ่มีพลังอย่างแท้จริง ความสัมพันธ์ระหว่าง อวัยวะตับ กับ ไต ตับกับไต เป็นอวัยวะที่มีแหล่งกำเนิดเดียวกัน (肝肾同源) หน้าที่ของตับ คือ การเก็บเลือด, ทำให้เลือดไหลเวียนคล่องตัวไม่ติดขัด ส่วนหน้าที่ของไต คือ การเก็บสารจิง ไตสร้างไขกระดูก, ไขกระดูกสร้างตับ สร้างเลือด แม้ว่าหน้าที่ของตับและไตจะต่างกัน แต่จะเห็นว่ารากฐานของมันเกี่ยวข้องกัน  เป็นแหล่งของสารจิงและเลือด สารจิงมาจากไตซึ่งมีมาตั้งแต่เกิด สารจิงสร้างไขกระดูกและไขกระดูกสร้างเลือด “สารจิงกับเลือดมีแหล่งกำเนิดเดียวกัน”(精血同源)ร่างกายทุกอวัยวะล้วนได้รับเลือดไปบำรุงหล่อเลี้ยง ต้องอาศัยการทำงานของตับและสารจิงของไตที่ดีในการสร้างเลือด  เก็บเลือด  ขับเคลื่อนเลือด ดังนั้นการบำรุงไตจึงต้องดูแลการทำงานของตับควบคู่กันไปด้วย คนที่มียินของตับและไตพร่อง นอกจากจะมีอาการปวดเมื่อยเอว แก้มแดง ไข้หลังเที่ยง ร้อนฝ่ามือฝ่าเท้ากลางอก มีเหงื่อลักออก …

“ไต” ต้องดูแลแบบองค์รวม Read More »

เทคนิคเชื่อมประสาน หัวใจกับไต

หัวใจกับไต เป็นอวัยวะที่มีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นถ้าต้องการรักษาความสัมพันธ์ของชีวิตและรากฐานของไตให้แข็งแรง จำเป็นต้องปรับสมดุลระหว่างหัวใจกับไต โดยทำให้หัวใจและไตทำงานเชื่อมประสานกัน เทคนิคง่ายๆ ในการเชื่อมประสาน หัวใจ กับ ไต 1. การนอนหลับในช่วงเวลา 23.00 – 1.00 น.(子时睡觉) การนอนหลับในช่วงเวลานี้  ซึ่งเป็นช่วงที่พลังยินมากที่สุด  จะเป็นการเสริมธาตุน้ำ และควบคุมธาตุไฟ (หัวใจ) ไม่ให้มากเกินไป  ถ้าไม่นอนหลับในช่วงเวลานี้  พลังงานหยางจะไม่ถูกควบคุม   เมื่อเลยเวลาเที่ยงคืนไปมากเท่าไร  การควบคุมพลังหยางก็ยิ่งจะยากขึ้น ขณะเดียวกันการเสริมพลังยิน (พลังไต – ธาตุน้ำ) ก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้น้ำกับไฟแยกตัวได้ง่าย ไฟจะสะสมอยู่ด้านบน, น้ำจะสะสมอยู่ด้านล่างดังนั้นการครุ่นคิด, การทำงานกลางดึก, อยู่เวรดึก, ดูหนังดึกๆ ไม่นอนหลับตอนกลางคืน  จึงเป็นการทำลายความสมดุลของไตและหัวใจ 2. การงีบหลับสั้นๆตอนกลางวัน ช่วง 11.00 – 13.00 น.(午时要小睡) ช่วงเวลานี้เป็นช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงจากพลังหยางสูงสุดเป็นจุดเริ่มต้นพลังยิน (หลังเที่ยงวันความเย็นความมืดเริ่มเข้าแทนที่ความร้อนความสว่าง)ช่วงเวลาดังกล่าว พลังหยางของร่างกายจะกระจายตัวออกนอกขึ้นบนมากที่สุด วิธีป้องกันการสูญเสียพลังคือการยับยั้งพลังไม่ให้ถูกใช้ต่อเนื่องมากเกินไป  ยังเป็นการสงบพลังขึ้นด้านบนและทะนุถนอมการสูญเสียยิน (ความเย็นของร่างกาย) ไปในเวลาเดียวกัน  จึงเป็นช่วงเวลาของการเสริมยินลดการสูญเสียพลังหยางที่สำคัญอีกช่วงเวลาหนึ่ง การปิดตา  …

เทคนิคเชื่อมประสาน หัวใจกับไต Read More »