ยาจีนน่ารู้

“เหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง” ยาจีนสำเร็จรูปป้องกันและรักษาโควิด?

สถานการณ์โควิดสายพันธุ์เดลต้าของประเทศไทยต้นเดือนสิงหาคม 2564 มียอดคนติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นทะลุ 20,000 คนต่อวัน และตายเกิน 200 คนต่อวัน ซึ่งดูแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไปอีกระยะหนึ่ง ด้วยการประเมินจากจำนวนผู้ฉีดวัคซีนทั่วประเทศที่มีไม่ถึง 10% และการตรวจเชิงรุกหาเชื้อ Covid-19 ด้วย Antigen Kit Test (ATK) และ RT-PCR มากขึ้น โควิดสายพันธุ์เดลต้า แพร่กระจายค่อนข้างรวดเร็ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อยแต่เป็นพาหะ สามารถแพร่เชื้อไปยังคนอื่น โดยเฉพาะคนใกล้ตัว ครอบครัว ชุมชนที่อยู่กันแออัด ในที่อากาศไม่ถ่ายเท ผู้สูงอายุโดยเฉพาะคนที่ร่างกายไม่แข็งแรง และมีโรคประจำตัวจัดเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยง เมื่อติดเชื้อแล้ว มีโอกาสลุกลามไปถึงปอด ทำให้เสียชีวิตได้ง่าย   ความตื่นตระหนกเกิดขึ้นอย่างมาก เมื่อมีข่าวผู้ที่เคยได้วัคซีนครบ 2 เข็มแล้วยังติดโควิด โรงพยาบาลมีเตียงไม่พอรองรับ อัตราการครองเตียงในกทม.เต็ม 100% ไอซียูติดลบ มีข่าวผู้ป่วยนอนตายในบ้าน นอนตายข้างถนน คนติดเชื้อในกลุ่มสีเขียวอาการไม่มากต้องแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) หรือแยกกักตัวในชุมชน(Community Isolation) หรือ Hospitel  หรือโรงพยาบาลสนามตามสถานะและเงื่อนไขของแต่ละคน ยาและสมุนไพรที่ผู้คนเรียกหาในท้องตลาด เมื่อระบบสาธารณสุข บุคคลากรทางการแพทย์เริ่มรับมือไม่ไหวกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น …

“เหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง” ยาจีนสำเร็จรูปป้องกันและรักษาโควิด? Read More »

สมุนไพรจีนกับสารสกัดจากสมุนไพร ต่างกันอย่างไร?

หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าการใช้สมุนไพร หรืออาหารเสริมสุขภาพ ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ไม่มีพิษภัยใดๆ แต่แท้จริงแล้ว ยาในทัศนะแพทย์จีนล้วนมีพิษทั้งสิ้น ในคัมภีร์ “หวงตี้เน่ยจิง” ได้กล่าวถึงบทบาทของยาและอาหารในการรักษาโรคไว้อย่างชัดเจน  ยาสมุนไพรก็มีพิษกระบวนการของการเกิดโรค บางโรคกว่าจะแสดงอาการใช้เวลานานค่อยๆ สะสมทางปริมาณจนถึงจุดเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ แต่บางโรคเกิดขึ้นทันที  ส่วนยาที่ใช้รักษาก็มีทั้งยาตำรับใหญ่  ตำรับเล็ก  มีพิษและไม่มีพิษ จึงต้องวิเคราะห์ให้ถ่องแท้ยาที่มีพิษมากใช้รักษาโรค ๑๐ ส่วน สามารถขจัดโรคได้แค่ ๖ยาที่มีพิษธรรมดาใช้รักษาโรค ๑๐ ส่วน สามารถขจัดโรคได้แค่ ๗ยาที่มีพิษน้อยใช้รักษาโรค ๑๐ ส่วน สามารถขจัดโรคได้แค่ ๘ยาที่ไม่มีพิษใช้รักษาโรค ๑๐ ส่วน สามารถขจัดโรคได้แค่ ๙แต่การกินอาหารบางประเภท เช่น ธัญพืช เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ เพื่อดูแลสุขภาพสามารถขจัดโรคได้ทั้งหมด สรุปก็คือ ขึ้นชื่อว่ายาแล้ว ล้วนมีพิษ การกินอาหารตามใจตัวเองก็อาจจะกลายเป็นพิษได้เช่นกัน  ควรใช้อาหารเพื่อช่วยในการรักษาโรค แต่เมื่อไม่ได้ผลจึงค่อยคิดถึงการใช้ยายาที่มีพิษด้านหนึ่งรักษาโรค แต่ก็มีผลกระทบต่อร่างกาย จึงไม่สามารถกำจัดโรคได้อย่างสิ้นเชิง ต้องกินอาหารที่เหมาะสมเสริมเข้าไปเพื่อสร้างสมดุลภายในร่างกาย ศาสตร์ของแพทย์แผนจีนให้ความสำคัญต่ออาหารเป็นอย่างมาก เพราะอาหารบางอย่างในบางเงื่อนไขก็คือยาพิษ ที่สามารถทำลายร่างกายหรือทำให้โรครุนแรงขึ้นได้เช่นกัน  อาหารอย่างดีก็เป็นพิษ มีเรื่องเล่ากันว่า ในสมัยราชวงศ์หมิง กษัตริย์จูหยวนจางได้ทำการหาเหตุฆ่าขุนนางชั้นผู้ใหญ่ และครอบครัว ๙ …

สมุนไพรจีนกับสารสกัดจากสมุนไพร ต่างกันอย่างไร? Read More »

เรื่องราวของเก๋ากี้

คนไทย คนจีน มักคุ้นเคยกับสมุนไพร เก๋ากี้ หรือเก่าฉี่ (ภาษาจีนกลาง) เพราะใช้เป็นทั้งสมุนไพร หรือเป็นอาหารสมุนไพร ที่ใช้ประกอบอาหารสุขภาพ “เก๋ากี้” จัดเป็นยา อาหาร และสมุนไพรจีน มีประวัติศาสตร์ยาวนาน อย่างน้อยสามพันปี มีบทกวีใน “ซือจิง” ที่เขียนเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวเก๋ากี้มาเป็นอาหาร มีบทบันทึกในคัมภีร์แพทย์จีนโบราณ “เสินหนงเปิ่นเฉ่าจิง” ได้จัดเก๋ากี้เป็นยาและอาหารเกรดสูง ปรามาจารย์ทางสมุนไพรจีน ซุนซือเหมียว ดื่มเหล้าดองเก๋ากี้ประจำทำให้อายุยืนยาว คัมภีร์ “ เสินหนงเปิ่นเฉ่าจิง ” ได้จัด เก๋ากี้เป็นอาหารเกรดสูง เพราะกินได้นานไม่มีพิษ และยังได้ กล่าวถึงสรรพคุณของสมุนไพรตัวนี้ไว้ว่า “เสริมความแข็งแรงของกระดูก ทำให้ไม่แก่ชรา ทนต่อความเย็น ความร้อน” คัมภีร์ “เปินเฉ่ากังมู่ ” ได้บันทึกสรรพคุณของเก๋ากี้ไว้ว่า “เก๋ากี้รับประทานนานทำให้กระดูกและเอ็นแข็งแรง ตัวจะเบา ไม่ชรา ตาสว่าง ทำให้นอนหลับดี ทำให้อายุยืนจึงมักพบสมุนไพรเก๋ากี้เป็นส่วนประกอบสำคัญในยาอายุวัฒนะในราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง สรรพคุณของสมุนไพร เก๋ากี้ 1. ช่วยรักษาสุขภาพทำให้อายุยืนยาว คัมภีร์ “เสินหนงเปิ่นเฉ่าจิ่ง” จัดเก๋ากี้เป็นอาหารและสมุนไพร …

เรื่องราวของเก๋ากี้ Read More »

น้ำผึ้ง ตามศาสตร์แพทย์จีน

หลี่สือเจิน ได้บันทึกไว้ในคัมภีร์ชื่อ เปิ่น-เฉา-กัง-มู่ เกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำผึ้งทางด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคไว้ว่า “น้ำผึ้ง มีสรรพคุณ 5 ประการ” กล่าวคือ1. ขับร้อน2. บำรุงส่วนกลาง (กระเพาะอาหารและม้าม)3. ขับพิษ รักษาแผล4. ทำให้ชุ่มชื่นลดความแห้งแก้ไอ5. แก้ปวด ฤทธิ์และรสกับการประยุกต์น้ำผึ้งมีรสหวาน คุณสมบัติหรือฤทธิ์เป็นกลาง วิ่งเส้นลมปราณปอด ม้าม ลำไส้ใหญ่เนื่องจากส่วนประกอบสำคัญร้อยละ 79 คือฟรักโทส และกลูโคส ซึ่งสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทันที นอกจากนี้ยังมีกรดอะมิโน เอนไซม์หลายชนิด วิตามินบี และเกลือแร่ กรดกลูโคนิก ร้อยละ 0.5 ซึ่งทำให้มีรสเปรี้ยวอยู่ด้วยกัน สรรพคุณที่ระบุไว้ในตำราอาหารและยาจีน 1. บำรุงภาวะพร่องอ่อนแอ ผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง แผลกระเพาะอาหาร วัณโรคปอด ฯลฯ2. ลดความแห้งของปอด ทำให้ชุ่มชื่น เหมาะสำหรับอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ ไอเรื้องรัง มักจะทำให้ชุ่มคอ อาจใช้ร่วมกับสมุนไพร ซาเซิน เซิงตี้3. ช่วยระบายทำให้อุจจาระนิ่ม เหมาะสำหรับคนสูงอายุ หญิงหลังคลอด ผู้ป่วยฟื้นจากโรคที่มีอาการท้องผูก4. มีฤทธิ์สมานแผล เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคแผลกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กอักเสบ ผู้ป่วยที่ระบบการย่อยอ่อนแอ …

น้ำผึ้ง ตามศาสตร์แพทย์จีน Read More »

7 วิธี ปรับสมดุล เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะที่มีมาแต่กำเนิดให้เข้มแข็ง เพราะเป็นด้านแรกและด่านสำคัญในการต่อสู้กับเชื้อโรค ความเชื่อของแพทย์จีนที่ว่า “หมอที่เก่งที่สุดคือตัวเรา” การจะทำให้กลไกร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือการมีสุขภาพที่ดีต้องสร้างด้วยตัวเองเท่านั้น โดยการเข้าใจกฎเกณฑ์ของธรรมชาติและดำเนินวิถีชีวิตให้สอดคล้องและเป็นจังหวะกับธรรมชาติเท่านั้น สุขภาพที่ดีบ่งบอกถึงภูมิคุ้มกันโรคที่ดี ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ จิตใจร่าเริง มีความสุข อายุยืนยาว 1.การปรับสมดุลด้วยอาหารและยา “ ยามปกติปรับสมดุลด้วยอาหาร  ยามเจ็บป่วยปรับสมดุลด้วยยา” ดังนั้นในการป้องกันโรคจึงเน้นที่อาหาร หรือสมุนไพรที่เป็นอาหารมากกว่าใช้ยา เพราะยาเป็นการปรับสภาพไปด้านใดด้านหนึ่งที่รุนแรง ถ้าร่างกายไม่เสียสมดุลมากจึงเน้นการใช้อาหารสมุนไพรเป็นหลัก คุณลักษณะสมุนไพร มีฤทธิ์ ร้อน-อุ่น หรือเย็น มีรสชาติบอกสรรพคุณ นำยาเข้าสู่อวัยวะใด มีกลไกพลังกำหนดทิศทางของยา ขึ้นบน ลงล่าง เข้าใน กระจายออกภายนอก การใช้สมุนไพรจึงต้องคำนึงให้สอดคล้องกับลักษณะโรคหรือความเสียสมดุล แพทย์จีนไม่ได้ใช้ยาด้วยการเริ่มต้นจากการดูสารออกฤทธิ์ การแพทย์แผนจีนใช้หลักคิดทฤษฎีแพทย์จีนในการใช้ยาสมุนไพรรักษาโรค ส่วนมากเป็นเชิงตำรับ จุดมุ่งหมายเพื่อปรับสมดุลร่างกายโดยรวม ปัจจุบันสมุนไพรต่างๆได้ถูกนำมาวิเคราะห์แยกแยะสารออกฤทธิ์สำคัญ ทำให้รู้ถึงกลไกการออกฤทธิ์ของยาสมุนไพรจนเกิดความโน้มเอียงไปที่การเน้นสรรพคุณของสารออกฤทธิ์ไปรักษาอาการของโรคเป็นหลัก กลายเป็นการใช้สมุนไพรรักษาโรคมากกว่ารักษาคน มีผลข้างเคียงจากการใช้ยาสมุนไพร เกิดปัญหาและผลข้างเคียงจากการใช้สมุนไพร  ตัวอย่างเช่น สมุนไพรฟ้าทะลายโจร (穿心莲) มีสารสำคัญในการออกฤทธิ์ คือ สารกลุ่ม Lactone คือ –  สารแอนโดรกราโฟไลด์ (andrographolide) –  สารนีโอแอนโดรกราโฟไลด์ (neo-andrographolide) – …

7 วิธี ปรับสมดุล เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน Read More »

5 สมุนไพรบำรุงตับ

สมุนไพรมีทั้งที่บำรุงตับและไต ปรับสมดุลอวัยวะต่างๆ  ช่วยการย่อยอาหาร ช่วยกระตุ้นการขับน้ำดี ช่วยดึงรั้งเลือดไม่ให้ระบายมากไป หลิงจือ (灵芝) ฤทธิ์กลางๆ เข้าเส้นลมปราณสู่อวัยวะภายในทั้ง 5 คือ หัวใจ ปอด ตับ ม้าม ไต (归心、肺、肝、肾经) ทำให้ขอบเขตการใช้ทางคลินิกค่อนข้างที่กว้างขวางครอบคลุม ระบบไหลเวียนเลือด ระบบทางเดินหายใจ ระบบย่อยและดูดซึม ระบบประสาทและระบบฮอร์โมนต่อมไร้ท่อ ระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งโรคทางอายุรกรรม โรคสตรี โรคเด็ก โรคทางหูคอ ตา จมูก ฯลฯ เนื่องจากรสหวาน ฤทธิ์กลางๆ ไม่มีพิษ (甘平无毒) ไม่ร้อนหรือเย็น ทำให้ใช้ได้ทั้งคนที่มีพื้นฐานร่างกายร้อน(หยาง)และร่างกายเย็น(ยิน) ใช้เป็นทั้งอาหารและเป็นทั้งยา (药食两用) ใช้ในการปรับสมดุลองค์รวมทั้ง 2  ทิศทาง คือทั้งบำรุงและขับระบาย(整体上双向调节人体机能平衡) สรรพคุณ กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว Macrophage ต้านมะเร็ง เป็นสมุนไพรที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ไม่มีพิษหรือผลข้างเคียง จึงมีความปลอดภัย โดยออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว Macrophage ซึ่งทำหน้าที่ทำลายเซลล์มะเร็ง กระตุ้นการสร้าง interleukin-2 (白细胞介素-2)ในการต่อต้านเซลล์มะเร็ง กระตุ้นปริมาณเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจ ลดการใช้ …

5 สมุนไพรบำรุงตับ Read More »

สรรพคุณของ “พริกไทย” ในแพทย์แผนจีน

มีความเข้าใจเกี่ยวกับพริกไทยผิดๆถูกๆ หลายประการ เช่น กินพริกไทยทุกวันสุขภาพจะดี กินพริกไทยมากๆจะลดความอ้วนได้ พริกไทยเป็นยาบำรุงพลังทางเพศที่ดี ลองมาพิจารณาคุณสมบัติและสรรพคุณที่บันทึกไว้ในตำราเกี่ยวกับยาสมุนไพรจีน คุณสมบัติและรสของพริกไทยพริกไทยมีรสเผ็ด คุณสมบัติอุ่น ไม่มีพิษ วิ่งเส้นลมปราณกระเพาะอาหารลำไส้ใหญ่ สรรพคุณหลักของพริกไทยทำให้พลังลงสู่ส่วนล่าง อุ่นกระเพาะอาหาร ขับเสมหะ ขับพลังเย็นของอวัยวะจั้งฝู่ (อวัยวะภายในทั้งกลวงและตัน) ขับความเย็นในกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารย่อยได้ดีขึ้น รักษาอหิวาต์ที่มีอาเจียนร่วม อาการปวดแน่นลิ้นปี่เนื่องจากความเย็นย้อนขึ้นข้างบน บำรุงพลังของไต แก้บิดที่เป็นชนิดเย็น ฆ่าพิษของอาหารพวกปลา ปู เนื้อสัตว์ หรือเห็ด รักษาอาการปวดฟัน หลี่สือเจิน บันทึกไว้ว่าพริกไทย รสเผ็ดจัด คุณสมบัติร้อน จัดเป็นพืชที่เป็นหยาง เหมาะสำหรับคนที่กระเพาะอาหารเย็นชื้น(อาการอาเจียน ปวดท้องใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบดีขึ้น กลัวหนาว แขนขาเย็น ลิ้นซีดฝ้าขาว ชีพจรลึกช้า)  กินพริกไทยมากเกินไปมีโทษอะไรบ้างทำให้ตาลาย เวียนศีรษะ เกิดฝีหนองเนื่องจากพริกไทยมีคุณสมบัติร้อนและแห้ง ถ้ากินมากทำให้ม้าม กระเพาะอาหาร ปอดถูกทำลายปอดแห้ง ปอดร้อน ทำให้เกิดฝีที่ผิวหนัง มีการอักเสบ เพราะรสเผ็ดวิ่งเส้นลมปราณปอดกระจายสู่ผิวหนังกระเพาะอาหาร ม้าม ร้อนแห้ง เกิดอาการอาเจียนเป็นเลือดคนที่กินพริกไทยมากและบ่อยเกินไป ทำให้ตาอักเสบได้ง่าย ทำให้คอบวมอักเสบเจ็บคอบ่อย เป็นแผลในปากและฟันอักเสบเป็นหนอง ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพริกไทย– พบว่าการกินพริกไทยจะเพิ่มการหลั่งน้ำย่อยของระบบทางเดินอาหารและเพิ่มการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้– …

สรรพคุณของ “พริกไทย” ในแพทย์แผนจีน Read More »

ถอดประสบการณ์จากจีน ตำรับสมุนไพรจีนป้องกันโควิด-19

จากข่าวที่โด่งดังเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ว่าประเทศจีนได้ก้าวผ่านสถานการณ์ระบาดหนักของโรคโควิด-19 มาแล้ว และหนึ่งในวิธีการรับมือก็คือ การใช้ตำรับสมุนไพรจีน เข้ามาช่วยดูแลรักษาผู้ป่วยนั่นเอง

ประโยชน์ของ ใบบัว

คนอ้วน คนที่มีไขมันในเลือดสูง คนที่อยากผอม คนที่กินอาหารมัน อาหารจำพวกเนื้อเป็นประจำ ควรหันมาใช้รับประทานใบบัว ทั้งหาง่ายและประหยัด และคุณอาจสวยด้วยวิธีง่ายๆแบบนี้ก็ได้

สมุนไพร “ตานเซิน”

ถ้ามีใครซักคนถามว่า สมุนไพรจีนตัวไหนสักตัว มีสรรพคุณในการรักษาโรคหัวใจขาดเลือดได้ผลชัดเจนที่สุด คนที่รู้เกี่ยวกับแพทย์จีนจำนวนมาก อาจจะให้คำตอบว่า ก็ “โสมตานเซิน (丹参)หรือ อั่งตังเซียม” ไงล่ะ

ชะเอม (甘草) กันเฉ่า กับสรรพคุณในทางการแพทย์จีน

สรรพคุณในทางการแพทย์จีนเกี่ยวกับ “ชะเอม” (甘草) กันเฉ่า ได้กล่าวว่า ชะเอมมีรสหวาน ฤทธิ์กลางๆ (ไม่ร้อน – ไม่เย็น) เข้าเส้นลมปราณ หัวใจ, ปอด, ม้าม และกระเพาะอาหาร

มารู้จักกับ โคโรคหรือหนิวหวง (牛黄 )

ตำรับยาจีนหลายตำรับในท้องตลาดที่ได้ชื่อว่าเป็นยาจีนที่แพงระดับมหากาฬ และนับวันจะแพงมากขึ้น เพราะเชื่อว่าช่วยรักษาแผลอักเสบ, ทำลายพิษ และรักษามะเร็งได้ ยาตำรับนี้มีตัวยาหลักที่หายากและราคาแพงคือ โคโรค (牛黄) ลองมารู้จักตัวยานี้กันเถอะ

ถั่งเช่า(冬虫夏草) กับ 6 สรรพคุณตามตำราแพทย์จีน

พูดถึงถั่งเช่า หรือราแมลง ตกลงเป็นแมลงหรือรากันแน่? ความมหัศจรรย์ลึกล้ำของถั่งเช่า คือการแปรเปลี่ยนของพลังระหว่างตัวหนอนกับเชื้อราในธรรมชาติ มันเป็นสิ่งก่อรูปร่วมกัน ตัวหนอนกับเชื้อรา

เรียนรู้สมุนไพร จื่อซู (紫苏)จากตัวนาก (水獭)

สมุนไพรจีน จื่อซู (紫苏) เป็นสมุนไพรที่ชาวบ้านทั่วไปในเมืองฉางซา มณฑลยูนาน ใช้กันมานานในการปรุงอาหารโดยเฉพาะอาหาร กุ้งหอยปูปลา ควรจะเติมสมุนไพรจื่อซู (紫苏) ลงไปเล็กน้อย จะให้ฆ่าพิษต่างๆ ของอาหารทะเลได้

หงจิ่งเทียน (红景天) สุดยอดสมุนไพรทิเบต กับอาการแพ้ที่สูง

สำหรับคนที่คิดจะไปเที่ยวทิเบต “ดินแดนแห่งกงล้อและมนตรา” หรือที่เรียกกันว่า “หลังคาโลก” (世界屋脊) ต้องมีการเตรียมตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศและความสูง เนื่องด้วยอากาศที่หนาวเย็น มีความกดอากาศต่ำ และมีปริมาณออกซิเจนในอากาศต่ำมาก