เปรียบเทียบการรักษา แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน

ในมุมมองของแพทย์แผนจีน ปัจจัยของการเกิดโรคที่มีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน (จั้งฝู่) โดยตรงคือปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ แพทย์แผนจีนอธิบายว่าอารมณ์ทั้ง 7 (โมโห ดีใจ กังวล เศร้าโศก เสียใจ ตกใจ กลัว) มีผลโดยตรงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการทำงานของอวัยวะภายในที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของร่างกาย

เปรียบเทียบการรักษาระหว่างแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน
1. ปัญหาการนอนไม่หลับ
ผู้ป่วยบางรายเมื่อได้ยานอนหลับแบบแพทย์แผนปัจจุบัน กลับไม่หลับ แต่ถ้าให้ยานอนหลับที่แรงมาก จะหลับและเพลียตลอดทั้งวัน มึนงงทั้งวัน

แพทย์แผนปัจจุบันเน้นการคลายหรือกดประสาท แต่แพทย์แผนจีนมองว่าต้องบำรุงประสาท (บำรุงพลังและเลือดของหัวใจ) ให้มีกำลังพอเป็นหลัก เสริมฤทธิ์ด้วยยาสมุนไพรจีนช่วยนอนหลับเป็นด้านรอง มีแต่การบำรุง (เพราะพลังหัวใจพร่องมาก) เป็นหลักเท่านั้นจึงทำให้หลับ ถ้ายังไปใช้วิธีการกดประสาท พลังหัวใจจะยิ่งอ่อนแอมากขึ้น ไม่สามารถแก้ปัญหาระยะยาวได้

2. ปัญหาระบบย่อยอาหาร

แพทย์แผนปัจจุบันเน้นที่การกระตุ้นความอยากอาหาร ใช้ยาช่วยย่อยอาหารและเสริมบำรุงวิตามิน ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก กรณีโลหิตจาง

แพทย์แผนจีนเน้นบำรุงระบบม้าม เพื่อทำให้ความอยากอาหาร การย่อยและดูดซึมอาหารทำงานดีขึ้น ก่อน การบำรุงด้วยธาตุเหล็กหรือวิตามิน ในขณะที่ระบบย่อยอาหารไม่ดี จะทำให้ไม่สามารถดูดซึมได้ บางรายกลับท้องเสีย ปวดท้องเนื่องจากระคายเคืองจากธาตุเหล็กที่ได้ เมื่อพลังม้ามดีขึ้น การลำเลียงอาหารไปสมองดีขึ้น สมองได้อาหารหล่อเลี้ยง จะไม่มึนงง สมาธิดีขึ้น สมองได้รับการบำรุง

3. ภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติ
ถ้าพบว่าเกล็ดเลือดต่ำโดยไม่พบสาเหตุ ทางแพทย์แผนปัจจุบันอาจพิจารณาใช้ยาสเตียรอยด์ เพื่อทำให้เกล็ดเลือดสูงขึ้น ทำให้เลือดหยุด แต่การศึกษาวิจัยพบว่า ถ้าเพิ่มพลังและเลือดของระบบม้ามด้วยยาสมุนไพรจีน จะมีผลทำให้เกล็ดเลือดสูงขึ้นได้ และทางคลินิกสามารถรักษาภาวะเลือดออกมากโดยไม่รู้สาเหตุในระบบต่างๆ รวมถึงการรักษาภาวะโลหิตจางได้ด้วย

การใช้สเตียรอยด์ระยะยาวจะมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา ไม่ว่าจะเกิดสิว ตัวบวม เบาหวาน หน้ากลมเหมือนพระจันทร์ มีโหนกที่คอ กระดูกพรุน ติดเชื้อง่าย เป็นต้น แต่การใช้หลักการบำรุงม้ามเพื่อควบคุมเลือด จะปลอดภัยกว่ามาก

สรุป
แพทย์จีนมองปัญหาโรคและอาการต่างๆของผู้ป่วยเชื่อมโยงกันและวางการแก้ไขปัญหาหลักพื้นฐานด้วยการปรับสมดุล

ส่วนยาแก้อาการเป็นเพียงตัวประกอบเพื่อให้การรักษาปรากฏการณ์ เรียกว่า รักษาทั้งแก่นและปรากฏการณ์ โดยวิธีนี้เท่านั้นจึงจะแก้ไขปัญหา ระยะยาวได้โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงของยา
แผนปัจจุบัน แม้จะมีการมองปัญหาที่เชื่อมโยงกัน แต่ในทางปฏิบัติของการรักษา การใช้ยา มักคิดแบบวิธีแยกส่วน เช่น นอนไม่หลับ ต้องให้ยากดประสาท (ไม่มียาบำรุงให้หลับ นอกจากอาจพิจารณาใช้วิตามิน) ระบบย่อยไม่ดี (ต้องใช้ยากระตุ้นอาหาร ยาช่วยย่อย) เลือดออกมาก (ต้องหยุดเลือดหรือทำให้เกล็ดเลือดเพิ่ม) ยารักษาโลหิตจาง (วิตามิน ธาตุเหล็ก โฟลิก) เป็นต้น จะเห็นว่ายาที่ให้บางครั้งขัดแย้งกัน บางครั้งมีผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการ เมื่อให้รวมๆกันไม่มีลักษณะผสมกลมกลืน เพื่อบรรลุจุดหมายเดียวกัน เมื่อต้องกินนานๆ จะมีผลอันไม่พึงประสงค์ตามมามาก

การพิจารณาเปรียบเทียบแผนจีนกับแผนปัจจุบัน จะทำให้เราเลือกบริหารจัดการกับปัญหาผู้ป่วยในมุมมองที่กว้างขึ้น สามารถแก้อาการเฉพาะได้รวดเร็ว และการรักษาองค์รวมเพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวกลับสู่สมดุลโดยเร็ว และไม่มีผลแทรกซ้อนจากการใช้ย